ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 31.50 อ่อนค่าตามทิศทางตลาดตปท.หลังดอลล์แข็ง มองกรอบพรุ่งนี้ 31.40-31.60

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday February 20, 2018 17:31 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ 31.50 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าจาก เปิดตลาดเช้าที่ระดับ 31.40 บาท/ดอลลาร์ เนื่องจากมีแรงซื้อดอลลาร์ในตลาดโลก ส่งผลให้ดอลลาร์กลับมาแข็งค่าเมื่อเทียบกับ ทุกสกุลเงินหลัก ระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 31.38-31.51 บาท/ดอลลาร์

"วันนี้บาททยอยอ่อนค่าต่อเนื่องตามทิศทางในตลาดโลก เนื่องจากมีแรงซื้อดอลลาร์กลับมา" นักบริหารเงิน กล่าว

นักบริหารเงินประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทวันพรุ่งนี้ไว้ที่ 31.40-31.60 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เย็นนี้เงินเยนอยู่ที่ 107.12 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 106.69 เยน/ดอลลาร์
  • ส่วนเงินยูโรอยู่ที่ 1.2348 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.2397 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,801.02 จุด ลดลง 8.65 จุด, -0.48% มูลค่าการซื้อขาย 44,082 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 2,014.34 ล้านบาท(SET+MAI)
  • ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2560 งบกลาง รายการ
ค่าใช้จ่ายส่งเสริมและสร้างความเข้มแข็งเศรษฐกิจภายในประเทศ ครั้งที่ 4 จำนวน 5,547 ล้านบาท เพื่อให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อ
เศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) ดำเนิน 5 โครงการ วงเงิน 2,254 ล้านบาท และกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ดำเนิน 14
โครงการ วงเงิน 3,292 ล้านบาท
  • ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุว่า ทิศทางเศรษฐกิจไทยปี 2561 คาดว่าจะยังคงขยายตัวได้ต่อเนื่องจากปี 2560 ที่ 4.0%
(กรอบการประมาณการ 3.5-4.5%) แม้ว่า GDP ในไตรมาสที่ 4 ปี 2560 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (ปรับผลทางฤดูกาล)
กลับให้ภาพที่ชะลอลง
  • สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) อยู่ระหว่างการศึกษาแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารการจัดเก็บ
ภาษี โดยจะเสนอให้มีการแยกหน่วยงานจัดเก็บภาษีออกมาจากกระทรวงการคลัง ซึ่งหมายถึงกรมสรรพากร กรมสรรพสามิต และกรม
ศุลกากร แล้วตั้งเป็นหน่วยงานจัดเก็บภาษีกึ่งอิสระ (Semi-autonomous Revenue Agency) หรือ SARA โดยยังคงมีกระทรวง
การคลังเป็นผู้กำหนดนโยบายเรื่องภาษี
  • นายคาร์ลอส โดมิงเกซ รัฐมนตรีกระทรวงการคลังฟิลิปปินส์ ได้ออกมากล่าวย้ำถึงความจำเป็นที่ธนาคารเพื่อการ

พัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) จะต้องปฏิรูปด้วยการเดินหน้าโครงการพัฒนาใหม่ ๆ เพื่อให้ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกได้รับผลประโยชน์ทาง

เศรษฐกิจด้วยกันอย่างทั่วถึง


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ