ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองมาตรการกีดกันการค้าสหรัฐฯกระทบภาคอุตฯและการค้าของไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ข่าวเศรษฐกิจ Friday March 2, 2018 18:22 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุว่า จากมาตรการกีดกันทางการค้าของสหรัฐฯ ที่ล่าสุดนายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ เตรียมประกาศเก็บภาษีนำเข้าเหล็กและอะลูมิเนียมจากคู่ค้าทุกประเทศ (Safeguard) ที่ 25% และ 10% ตามลำดับ แม้จะยังไม่ได้ เปิดเผยรายละเอียดที่ชัดเจนว่าจะเรียกเก็บภาษีนำเข้าเหล็กและอะลูมิเนียมประเภทใดบ้างและเป็นระยะเวลานานเท่าใด แต่ก็ ปฏิเสธไม่ได้ว่าเส้นทางการทำการค้ากับสหรัฐฯ จะไม่ราบรื่นอีกต่อไป

สำหรับผลกระทบทางตรงต่อไทยจากการเก็บภาษีของสหรัฐฯ น่าจะจำกัดอยู่ในกลุ่มวัสดุก่อสร้างและผลิตภัณฑ์เหล็กแปรรูป ขั้นต้น เช่น ท่อเหล็ก แผ่นเหล็ก ลวดเหล็กแรงดึงสูง แผ่นอะลูมิเนียม ส่วนผลิตภัณฑ์แปรรูปที่ใช้เป็นสินค้าอุปโภคบริโภคไม่น่าอยู่ในขอบ ข่ายของ Safeguard อาทิ โต๊ะเหล็ก และเครื่องใช้ในครัวเรือนที่เป็นเหล็ก เป็นต้น ซึ่งในปัจจุบันไทยส่งออกไปสหรัฐฯ ในสินค้า เหล็ก เหล็กกล้า ผลิตภัณฑ์จากเหล็ก อะลูมิเนียมและของทำด้วยอะลูมิเนียมรวมทั้งสิ้นมีมูลค่า 1 พันล้านดอลลาร์ฯ คิดเป็น 14.7% ของการส่งออกสินค้าไทยในกลุ่มนี้ไปยังตลาดโลก โดยต้องยอมรับว่าไทยพึ่งพาการส่งออกไปตลาดสหรัฐฯ เป็นลำดับต้นๆ

                              การส่งออกสินค้าในกลุ่มเหล็กและอะลูมิเนียมของไทย*
     การส่งออกสินค้าไทยไปสหรัฐฯ ปี 2560                         อันดับการส่งออกของไทยไปยังตลาดต่างๆ
                                                                   (สัดส่วนการส่งออก)
สินค้า                            มูลค่า         สัดส่วนการพึ่งพา
                              (ล้านดอลลาร์ฯ)    ตลาดสหรัฐฯ ต่อ
                                           การส่งออกทั้งหมดของไทย (%)
เหล็กและเหล็กกล้า                   152.9          11.2       1. สหรัฐฯ (11.2%) 2. เกาหลีใต้
(10.3%)                                                    3. อินเดีย (8.0 %)
ผลิตภัณฑ์เหล็ก                       674.8          15.5       1. สหรัฐฯ (15.5%) 2. ญี่ปุ่น (12.4%)
                                                           3. จีน (7.7%)
อะลูมิเนียม                          225.1         14.5       1. ญี่ปุ่น (26.4%) 2. สหรัฐฯ (14.5%)
                                                           3. เกาหลีใต้ (10%)
รวม 3 รายการ                    1,052.8         14.5

รวมการส่งออกทั้งหมดของไทยไปสหรัฐฯ    26,536         11.2        1. จีน (12.4%) 2. สหรัฐฯ (11.2%)
                                                            3.EU (10.0%)

ส่วนผลทางอ้อมจากการกีดกันการนำเข้าของสหรัฐฯ จะทำให้สินค้ากลุ่มเหล็กและอะลูมิเนียมล้นตลาด ส่งผลสืบเนื่องมา ยังราคาสินค้าในกลุ่มนี้ปรับตัวลดลง โดยส่งผลต่อธุรกิจไทย 2 ด้าน คือ ไทยได้อานิสงส์จากนำเข้าวัตถุดิบในราคาต่ำลงสำหรับการ ผลิตสินค้าขั้นปลายน้ำ โดยธุรกิจที่ได้ประโยชน์ ได้แก่ การผลิตยานยนต์ การก่อสร้าง อากาศยาน รวมทั้งการผลิตอาหารกระป๋องที่ใช้ อะลูมิเนียมในการผลิต แต่ในขณะเดียวกันสินค้าเหล็กและอะลูมิเนียมขั้นกลางน้ำที่มีราคาต่ำลงก็อาจกลายมาเป็นคู่แข่งกับสินค้าไทยที่ส่ง ออกไปในตลาดโลกได้เช่นกัน ซึ่งผู้ประกอบการไทยอาจถูกสินค้าจากแคนาดา เกาหลีใต้ และจีนเข้ามาชิงพื้นที่ตลาดของไทยที่ยังคง ต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด

ทั้งนี้ ไทยพึ่งพาการนำเข้าเหล็กและอะลูมิเนียมจากต่างประเทศมีมูลค่าประมาณ 20.97 พันล้านดอลลาร์ฯ คิดเป็น 9.4% ของการนำเข้าสินค้าทั้งหมดของไทยในปี 2560

นอกจากนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ในระยะข้างหน้ามีความเป็นไปได้ที่สหรัฐฯ จะยังเดินหน้าใช้มาตรการกีดกันทาง การค้าอย่างเข้มข้น โดยเฉพาะการใช้มาตรการ Safeguard ที่มีผลกีดกันสินค้าจากทุกประเทศ โดยไม่ขัดต่อ WTO และให้ผลกระทบ ที่รุนแรงและครอบคลุมกว่าการใช้มาตรการ AD/CVD ทั้งนี้ สินค้ากุ้งแช่แข็ง เนื้อปลาแช่แข็งเป็นกลุ่มเสี่ยงที่สหรัฐฯ อาจนำมาตรการ Safeguard มาบังคับใช้ เพื่อสนับสนุนธุรกิจการผลิตสินค้าอาหารทะเลในสหรัฐฯ ให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้นและเอื้อประโยชน์สร้างการจ้าง งานในประเทศ ซึ่งถ้าหากเกิดการใช้มาตรการ Safeguard ขึ้นจริง คงมีธุรกิจไทยที่เกี่ยวเนื่องได้รับผลกระทบไม่น้อย ดังนั้น ธุรกิจไทยที่มีสหรัฐฯ เป็นตลาดเป้าหมายควรมีแผนกระจายความเสี่ยงโดยแสวงหาตลาดใหม่อย่างจริงจัง เพราะมาตรการที่สหรัฐฯ นำมาใช้ในขณะนี้นับว่าเป็นการกีดกันทางการค้าอย่างครอบคลุมรอบด้าน เป็นการยากที่จะพึ่งพาการส่งออกไปยังสหรัฐฯ เพียงตลาด เดียว

ทั้งนี้ ในเบื้องต้นมีหลายประเทศได้เตรียมออกมาตอบโต้สหรัฐฯ โดยแคนาดาและจีนที่มีแผนขึ้นภาษีนำเข้าถั่วเหลือง รวม ทั้งเกาหลีใต้และยุโรปที่มีแนวโน้มจะขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจากสหรัฐฯเช่นเดียวกัน ซึ่งข้อพิพาททางการค้าที่มีแนวโน้มขยายขอบเขตไป ครอบคลุมหลายเศรษฐกิจหลักในโลกและหลายหมวดสินค้า จะทำให้ในที่สุดแล้วโครงสร้างการผลิต การค้า และราคาสินค้าต่างๆ ที่ เกี่ยวข้องในตลาดโลกได้รับผลกระทบและมีความซับซ้อนมากขึ้น ประเด็นดังกล่าว จะส่งผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมและการค้าของ สินค้าไทยอย่างยากจะหลีกเลี่ยง ขึ้นอยู่กับว่าสถานะของไทยว่าเป็นผู้ขายหรือผู้ซื้อสินค้าดังกล่าวในเวทีโลก


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ