(เพิ่มเติม) ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 31.22 แนวโน้มแข็งค่า หลังมีแรงขายดอลล์จากความกังวลการเมืองสหรัฐฯ กรณีปลดรมว.ต่างประเทศ

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday March 14, 2018 14:35 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ 31.22 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าจาก ปิดตลาดเย็นวานนี้ที่ระดับ 31.25 บาท/ดอลลาร์ หลังมีแรงเทขายดอลลาร์ออกมาเนื่องจากนักลงทุนมีความกังวลเรื่องแนวนโยบาย ของประธานาธิบดีสหรัฐฯ กรณีสั่งปลดรัฐมนตรีต่างประเทศ

"บาทแข็งค่าจากเย็นวานนี้ หลังมีแรงเทขายดอลลาร์ออกมาเนื่องจากนักลงทุนกังวลกรณีประธานาธิบดีสหรัฐสั่งปลด รัฐมนตรีต่างประเทศ" นักบริหารเงิน กล่าว

นักบริหารเงิน คาดกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้อยู่ที่ 31.15-31.30 บาท/ดอลลาร์

"วันนี้บาทมีโอกาสแข็งค่าลงไปต่ำกว่า 31.20 ซึ่งเป็นระดับแข็งค่าสุดในรอบ 52 เดือน" นักบริหารเงิน กล่าว

THAI BAHT FIX 3M (13 มี.ค.) อยู่ที่ระดับ 1.00593% ส่วน THAI BAHT FIX 6M (13 มี.ค.) อยู่ที่ระดับ 1.11891%

SPOT ล่าสุดอยู่ที่ระดับ 31.1933 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ 106.59 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 107.16 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ 1.2390 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 1.2329 ดอลลาร์/ยูโร
  • อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 31.2640 บาท/
ดอลลาร์
  • "บีไอเอส" เตือนการออกเงินดิจิทัลรวมถึง "บิทคอยน์" โดยธนาคารกลางอาจมาพร้อมความเสี่ยงถูกฉ้อโกงแม้จะ
สามารถปฏิวัติระบบการเงินโลกได้ก็ตาม
  • ผู้อำนวยการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ระบุว่า เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับสกุลเงินดิจิทัล ซึ่งรวมถึง
บล็อกเชน ได้ช่วยสร้างความคืบหน้าต่อตลาดการเงิน โดยเทคโนโลยีดังกล่าวซึ่งมีต้นทุนการชำระเงินต่ำ จะช่วยสร้างโอกาสให้แก่
ประชาชนหลายล้านคนที่อยู่ในประเทศที่ยากจนซึ่งไม่สามารถมีบัญชีธนาคาร
  • บรรดารัฐมนตรีคลังและเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางของกลุ่มประเทศ G20 จะจัดการประชุมที่กรุงบัวโนสไอเรส ประเทศ
อาร์เจนตินา ในวันที่ 19-20 มี.ค. โดยวาระการประชุมจะเกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลสกุลเงินดิจิทัล
  • กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ขยับขึ้นเพียง 0.2% ในเดือนก.พ. เมื่อเทียบราย
เดือน สอดคล้องกับตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ และชะลอตัวจากระดับ 0.5% ในเดือนม.ค. โดยข้อมูล CPI เดือนก.พ.บ่งชี้
ถึงการชะลอตัวของเงินเฟ้อสหรัฐ และลดแนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 4 ครั้งของเฟดในปีนี้
  • ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ได้ประกาศปลดนายเร็กซ์ ทิลเลอร์สัน ออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐ หลัง
เกิดความขัดแย้งด้านนโยบายต่างประเทศหลายครั้งในช่วงที่ผ่านมา

นักวิเคราะห์กล่าวว่า การปลดนายทิลเลอร์สันออกจากตำแหน่งทำให้ตลาดวิตกกังวลว่า คณะทำงานของปธน.ทรัมป์อาจ เดินหน้าใช้นโยบายกีดกันการค้าต่อไป และจะทำให้สหรัฐมีท่าทีแข็งกร้าวมากขึ้นในการเจรจาประเด็นภาษีนำเข้ากับบรรดาประเทศคู่ ค้า

  • ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินยูโรและปอนด์ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้
(13 มี.ค.) หลังจากดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนก.พ.ของสหรัฐขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง ซึ่งได้ลดแนวโน้มการปรับขึ้นอัตรา
ดอกเบี้ย 4 ครั้งของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในปีนี้ นอกจากนี้ ดอลลาร์ยังได้รับแรงกดดันจากรายงานข่าวที่ว่า ประธานาธิบดีโด
นัลด์ ทรัมป์ได้ประกาศปลดนายเร็กซ์ ทิลเลอร์สัน ออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐ หลังจากเกิดความขัดแย้งด้านนโยบาย
ต่างประเทศหลายครั้งในช่วงที่ผ่านมา
  • สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดดีดตัวขึ้นเมื่อคืนนี้ (13 มี.ค.) เนื่องจากนักลงทุนกลับเข้าซื้อทองคำซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่
ปลอดภัยอีกครั้ง หลังจากสถานการณ์การเมืองในสหรัฐเริ่มส่งสัญญาณที่ไม่แน่นอน จากการที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ได้ปลดนาย
เร็กซ์ ทิลเลอร์สัน ออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐ
  • นักลงทุนจับตาการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในวันที่ 20-21 มี.ค. ขณะที่ CME
Group ระบุว่า จากการใช้เครื่องมือ FedWatch วิเคราะห์ภาวะการซื้อขายสัญญาล่วงหน้าอัตราดอกเบี้ยสหรัฐ พบว่า นักลงทุนคาด
การณ์ว่ามีโอกาส 86% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนนี้ ซึ่งเป็นครั้งแรกในปีนี้ และมีโอกาสที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งที่ 2
ในเดือนมิ.ย. และครั้งที่ 3 ในเดือนก.ย.
  • นักลงทุนยังจับตาข้อมูลเงินเฟ้อและข้อมูลเศรษฐกิจด้านอื่นๆของสหรัฐในสัปดาห์นี้ ได้แก่ ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI)
เดือนก.พ., สต็อกสินค้าคงคลังภาคธุรกิจเดือนม.ค., ดัชนีภาคการผลิต (Empire State Manufacturing Index) เดือนมี.ค.
จากเฟดนิวยอร์ก, จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ราคานำเข้าและส่งออกเดือนก.พ., ดัชนีตลาดที่อยู่อาศัยเดือนมี.ค.
จากสมาคมผู้สร้างบ้านแห่งชาติ (NAHB), ตัวเลขการเริ่มสร้างบ้านและการอนุญาตก่อสร้างเดือนก.พ., การผลิตภาคอุตสาหกรรม
เดือนก.พ. และความเชื่อมั่นผู้บริโภคเบื้องต้นเดือนมี.ค.จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ