ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 31.20 แกว่งกรอบแคบ ตลาดยังขาดปัจจัย รอติดตามผลการประชุมเฟดกลางสัปดาห์หน้า

ข่าวเศรษฐกิจ Friday March 16, 2018 17:39 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดวันนี้ที่ระดับ 31.20 บาท/ดอลลาร์ จากเปิด ตลาดที่ระดับ 31.24 บาท/ดอลลาร์ ระหว่างวันเคลื่อนไหวในกรอบระหว่าง 31.19-31.26 บาท/ดอลลาร์

"ระหว่างวันมีแรงเทขายดอลลาร์ทำกำไร" นักบริหารเงินระบุ

นักบริหารเงิน ประเมินว่ากรอบการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทในสัปดาห์หน้าระหว่าง 31.10-31.50 บาท/ดอลลาร์

"เนื่องจากตลาดยังขาดปัจจัยที่ชัดเจนทำให้คาดว่าว่าทิศทางน่าจะทรงๆ และตลาดน่าจะยังรอผลประชุมของธนาคาร กลางสหรัฐฯ ในช่วงกลางสัปดาห์หน้าซึ่งค่อนข้างแน่ชัดแล้วว่าเฟดน่าจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย"นักบริหารเงิน ระบุ

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 105.66 เยน/ดอลลาร์ จากตอนเช้าที่อยู่ที่ระดับ 106.03 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.2320 ดอลลาร์/ยูโร จากตอนเช้าที่อยู่ที่ระดับ 1.2299 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,811.76 จุด ลดลง 4.32 จุด, -0.24% มูลค่าการซื้อขาย 76,035.35 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 1,450.92 ลบ.(SET+MAI)
  • ธนาคาร ซี ไอเอ็มบี ไทย แนะจับตาความผันผวนของตลาดการเงิน โดยเฉพาะอัตราแลกเปลี่ยนที่มีแนวโน้มผันผวน
ขึ้น โดยสัปดาห์หน้าจะมีการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯวันที่ 20-21 มีนาคม ซึ่งคาดว่าธนาคารกลางสหรัฐฯจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก
0.25% และคาดว่ารายงานการประชุมจะชี้ถึงแนวโน้มการขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วขึ้น ขณะเดียวกันประเด็นความขัดแย้งการค้าระหว่าง
สหรัฐฯกับประเทศต่างๆยังดำเนินอยู่ ซึ่งคาดว่าจะส่งผลให้ดอลลาร์สหรัฐฯผันผวนยิ่งขึ้น
  • ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) จะมีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีก 0.25%
จากระดับ 1.25-1.50% เป็น 1.50-1.75% ในการประชุมรอบที่สองของปีนี้ ในวันที่ 20-21 มีนาคม 2561 สำหรับผลต่อประเทศ
ไทย คงส่งผลให้ส่วนต่างระหว่างอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ และไทยกว้างขึ้น อันอาจทำให้มีเงินทุนบางส่วนไหลออกไป ในขณะ
ที่การปรับขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยคงเกิดขึ้นในระดับที่น้อยกว่าการเปลี่ยนแปลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล
สหรัฐฯ ทั้งนี้ ในส่วนของอัตราดอกเบี้ยของไทยยังไม่น่าจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ โดยทิศทางอัตราดอกเบี้ยในประเทศคง
จะขึ้นกับการส่งสัญญาณทางการเงินของคณะกรรมการนโยบายการเงินของไทย

สำหรับผลกระทบต่อทิศทางของค่าเงินบาท แม้ว่าในช่วงที่ผ่านมาจะมีเงินทุนไหลออกไปบางส่วน แต่ยังไม่มีน้ำหนักมากพอ ที่จะทำให้ทิศทางค่าเงินบาทกลับมาอ่อนค่า เนื่องจากปัจจัยกดดันค่าเงินบาทระยะนี้มาจากความเสี่ยงด้านการเมืองสหรัฐฯ ที่อยู่ใน ระดับสูง รวมทั้งท่าทีของการดำเนินนโยบายการค้าของสหรัฐฯ ที่แข็งกร้าวมากขึ้น อันส่งผลให้มีแรงขายเงินดอลลาร์ฯ ออกมา จาก ความกังวลต่อความเสี่ยงสงครามการค้า กอปรกับการขาดดุลการคลังในระดับสูง ซึ่งคงเป็นเหตุการณ์ที่อาจจะกดดันการอ่อนค่าของ เงินดอลลาร์ฯ อีกระยะ

  • นักกฎหมายผู้เชี่ยวชาญกฎหมายไอที กล่าวถึงกรณีที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการร่าง พ.ร.ก.การประกอบธุรกิจ
ทรัพย์สินดิจิทัล และร่างแก้ไขประมวลรัษฎากรเพื่อการจัดเก็บภาษีรายได้และเงินปันผลที่เกิดจากการลงทุนเงินสกุลดิจิทัลว่า ใน
ภาพรวมตัวพ.ร.ก.น่าจะพอไปได้ ในส่วนประมวลรัษฎากรรัฐบาลน่าจะถอยมารอดูจังหวะน่าจะเหมาะมากกว่า เรื่องภาษีเป็นเรื่องที่
จัดเก็บลำบาก ยิ่งเมี่อกลไกของการเทรดซับซ้อนยิ่งต้องดูให้ดี ไม่เช่นนั้นจะกลายเป็นการไล่นักลงทุนออกไปจากประเทศกลายเป็นผล
เสียมากกว่าผลดี
  • สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ชี้แจงถึงกรณีที่มีข่าวปรากฎทางสื่อว่ากำลังซื้อทรุดหนักสุดในรอบ 10 ปี เนื่อง
จากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว รายได้ผู้บริโภคคงที่ และหนี้ครัวเรือนเพิ่มสูงขึ้นนั้นว่า การบริโภคภาคเอกชนในภาพรวมขยายตัวเพิ่มขึ้น
เรื่อยๆ จากปี 2557 ที่ขยายตัว 0.8% มาสู่ปี 2560 ที่ขยายตัว 3.2% โดยในไตรมาสที่ 4 ปี 2560 พบว่า การบริโภคภาคเอกชนมี
การขยายตัวอย่างต่อเนื่องที่ 3.5% โดยสัญญาณการขยายตัวดังกล่าว ยังสอดคล้องกับการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากการใช้จ่ายภายใน
ประเทศ
  • รัฐสภาญี่ปุ่นได้มีมติอนุมัติการเสนอชื่อนายฮารุฮิโกะ คุโรดะ ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ต่อ
อีกสมัย พร้อมกับรับรองการเสนอชื่อรองผู้ว่าการ BOJ อีก 2 คน โดยคาดว่า คณะผู้บริหารของ BOJ ชุดนี้จะเดินหน้าใช้นโยบายผ่อน
คลายการเงินเชิงรุกต่อไป เนื่องจากเงินเฟ้อของญี่ปุ่นยังคงอยู่ห่างไกลจากเป้าหมายของ BOJ ที่ระดับ 2%
  • หอการค้าสหรัฐ ซึ่งเป็นกลุ่มล็อบบี้ภาคธุรกิจรายใหญ่ที่สุดในสหรัฐ ได้ออกมาเตือนประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ไม่ให้
เรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากจีน โดยระบุว่า อาจจะส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจและผู้บริโภคของสหรัฐ
  • นางคริสติน ลาการ์ด ผู้อำนวยการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้ออกมาเรียกร้องให้รัฐบาลทั่วโลกต่อ
ต้านนโยบายกีดกันการค้าด้วยการใช้วิธีการที่สร้างสรรค์ หลังจากสหรัฐประกาศเรียกเก็บภาษีนำเข้าเหล็กและอลูมิเนียมเมื่อสัปดาห์ที่
ผ่านมา
  • คืนนี้สหรัฐจะเปิดเผยตัวเลขเศรษฐกิจหลายตัว ได้แก่ ตัวเลขการเริ่มสร้างบ้านและการอนุญาตก่อสร้างเดือนก.พ.,
การผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนก.พ., ความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนมี.ค.ของมหาวิทยาลัยมิชิแกน

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ