ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 32.17/21 แนวโน้มสัปดาห์หน้ายังอ่อนค่าต่อ จับตาตัวเลข GD

ข่าวเศรษฐกิจ Friday May 18, 2018 17:34 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 32.17/21 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่า จากช่วงเช้าที่เปิดตลาดที่ระดับ 32.08 บาท/ดอลลาร์

เย็นนี้เงินบาทปรับตัวอ่อนค่าจากช่วงเช้า เนื่องจากดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับค่าเงินสกุลหลักๆ หลังจากที่ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐในทุกช่วงระยะเวลาปรับตัวสูงขึ้นเกินกว่าระดับ 3% และยังทำสถิติสูงสุดในรอบ 10 ปี ขณะที่ตัว เลขเศรษฐกิจของสหรัฐฯ หลายตัวที่ประกาศออกมาช่วงนี้ปรับตัวดีขึ้น ซึ่งเป็นตัวช่วยหนุนให้บอนด์ยีลยังปรับสูงขึ้น

สัปดาห์หน้าเงินบาทยังมีโอกาสจะอ่อนค่าต่อ และถือว่าเป็นการกลับทิศทางเข้าสู่การอ่อนค่าของเงินบาทที่ชัดเจน อย่าง ไรก็ดี ต้องติดตามการรายงานข้อมูลเศรษฐกิจของไทยในวันจันทร์ทั้ง GDP ไตรมาส 1 และการส่งออกเดือนเม.ย.ซึ่งหากการตัว เลขออกมาดี ก็น่าจะช่วยให้บาทไม่ปรับอ่อนค่าไปอย่างรวดเร็วนัก

"ตอนนี้ Flow ทั่วโลกต่างไหลเข้าไปยังสหรัฐ ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐก็ออกมาดี บอนด์ยีลจึงสูง ส่งผลให้ดอลลาร์แข็งค่า ขึ้นต่อเนื่อง" นักบริหารเงินระบุ

นักบริหารเงิน คาดว่า สัปดาห์หน้าเงินบาทยังมีแนวโน้มอ่อนค่า ให้กรอบการเคลื่อนไหวที่ 32.20-32.30 บาท/ ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เย็นนี้เงินเยนอยู่ที่ระดับ 110.85 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 110.95 เยน/ดอลลาร์
  • ส่วนเงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1758 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.1800 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,754.17 จุด เพิ่มขึ้น 2.97 จุด (+0.17%) มูลค่าการซื้อขาย 60,169 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 5,776.67 ลบ.(SET+MAI)
  • กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เปิดเผยสถิติการจดทะเบียนธุรกิจประจำเดือนเมษายน 2561 โดยจำนวนธุรกิจจัดตั้งใหม่ พบ
ว่า มีผู้ประกอบธุรกิจยื่นขอจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนบริษัทจัดตั้งใหม่ทั่วประเทศในเดือนเมษายน 2561 จำนวน 5,120 ราย เมื่อเทียบ
กับเดือนมีนาคม 2561 จำนวน 6,728 ราย ลดลงจำนวน 1,608 ราย คิดเป็น 24% และเมื่อเทียบกับเดือนเมษายน 2560
จำนวน 4,783 ราย เพิ่มขึ้นจำนวน 337 ราย คิดเป็น 7%
  • ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาคลีฟแลนด์เปิดเผยว่า ควรเผยแพร่รายงานเสถียรภาพทางการเงิน เพื่อ
ให้สาธารณชนได้เห็นถึงวิธีการที่เฟดทำการประเมินความผันผวนของระบบทางการเงิน รวมทั้งภาวะฟองสบู่ และการหาแนวทางใน
การรับมือกับความเสี่ยงต่างๆที่จะส่งผลต่อเสถียรภาพในตลาดการเงิน
  • ทางการจีนได้ออกมาปฏิเสธรายงานข่าวที่ว่าจีนได้ยื่นข้อเสนอเพื่อซื้อสินค้าของสหรัฐ รวมถึงมาตรการอื่นๆ เพื่อลด
การขาดดุลการค้าของสหรัฐลงราว 2 แสนล้านดอลลาร์ต่อปี
  • นักลงทุนยังวิตกกังวลเกี่ยวกับผลการเจรจาการค้าระหว่างรองนายกรัฐมนตรีจีนและรัฐมนตรีคลังสหรัฐ หลังจาก
ประธานาธิบดีทรัมป์ได้แสดงความเห็นล่าสุดว่า เขาเริ่มไม่มั่นใจว่าการเจรจาการค้าระหว่างเจ้าหน้าที่ระดับสูงของสหรัฐและจีนซึ่ง
กำลังดำเนินไปอยู่ในขณะนี้ จะประสบความสำเร็จหรือไม่ เนื่องจากจีนมีท่าทีปกป้องผลประโยชน์ของตนเองมากเกินไป
  • เศรษฐกิจของมาเลเซียปรับตัวลงอยู่ที่ 5.4 % ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2561 นับเป็นความท้าทายของคณะรัฐบาล
ชุดใหม่ที่ต้องรับมือกับการฟื้นฟูเศรษฐกิจที่ชะลอตัวติดต่อกัน 2 ไตรมาส
  • สัปดาห์หน้าติดตามการรายงานอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 1/61 ของสำนักงานคณะกรรมการ
พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) ว่าจะยังสามารถขยายตัวได้ต่อเนื่องจากไตรมาส 4/60 ที่ขยายตัวได้ 4%
หรือไม่ รวมทั้งการเติบโตทางเศรษฐกิจในปีนี้ว่าสภาพัฒน์จะมีการปรับกรอบเป้าหมายใหม่หรือไม่ จากในปัจจุบันที่คาดว่าปีนี้เศรษฐกิจ
ไทยจะโตได้ 3.6-4.6%
  • นอกจากนี้ สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) จะแถลงภาวะการค้าระหว่างประเทศของไทย
ในเดือน เม.ย.61 ทั้งในด้านของการส่งออก การนำเข้า และดุลการค้า ต้องติดตามว่ามูลค่าการส่งออกในเดือนเม.ย.นี้ จะยังเติบ
โตได้ต่อเนื่องจากเดือนมี.ค.หรือไม่ ที่มูลค่าการส่งออกในเดือนดังกล่าวสูงสุดเป็นประวัติการณ์ แตะระดับ 2.23 หมื่นล้านดอลลาร์
  • ข้อมูลเศรษฐกิจของต่างประเทศที่สำคัญในสัปดาห์หน้า ได้แก่ คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลาง
สหรัฐ (FOMC) เปิดเผยรายงานการประชุมเมื่อวันที่ 1-2 พ.ค., จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงานรายสัปดาห์ของสหรัฐ และ
ดัชนีราคาบ้าน-ยอดขายบ้าน, การส่งออก-นำเข้า-ดุลการค้า เดือนเม.ย.ของประเทศญี่ปุ่น, ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนเม.
ย.ของประเทศอังกฤษ เป็นต้น

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ