รายงานภาวะเศรษฐกิจรายวันประจำวันที่ 24 เมษายน 2557

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday April 24, 2014 11:56 —กระทรวงการคลัง

Macro Morning Focus ประจำวันที่ 24 เมษายน 2557

Summary:

1. กนง. มีมติคงดอกเบี้ยนโยบายที่ ร้อยละ 2.0

2. หอการค้าไทยคาด GDP ของไทยในไตรมาสที่ 1 ปี 57 หดตัวร้อยละ -1 จากวิกฤติการเมือง

3. PMI ประเทศจีนปรับตัวดีขึ้น จากเดือนมีนาคม

1. กนง. มีมติคงดอกเบี้ยนโยบายที่ ร้อยละ 2.0
  • คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในการประชุม ครั้งที่ 3/2557 วันที่ 23 เม.ย.57 มีมติ 6 ต่อ 1 เสียงให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 2.0 เนื่องจากมองว่าอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวเพียงพอต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม กนง. เตรียมทบทวนประมาณการอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (GDP) ของไทยในการประชุมครั้งหน้า หลังจากเห็นแนวโน้มเศรษฐกิจในไตรมาส 1/57 หดตัวมากกว่าคาดการณ์และทั้งปีอาจจะเติบโตได้ต่ำกว่าร้อยละ 2.7
  • สศค. วิเคราะห์ว่า การที่ กนง. คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ ร้อยละ 2.0 หลังจากที่ได้มีการปรับลดดอกเบี้ยลงเมื่อช่วงเดือนมี.ค. 57 ที่ ผ่านมาเนื่องจากคาดว่าแนวโน้มเศรษฐกิจไทยที่ จะขยายตัวต่ำกว่าที่คาดการณ์ ตามอุปสงค์ภายในประเทศที่ชะลอลง ภายหลังผลจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐเริ่มทยอยหมดลง กอปรกับอุปสงค์ภายนอกประเทศที่ชะลอลง ในขณะที่แรงกดดันทางด้านอัตราเงินเฟ้อในปัจจุบันยังคงอยู่ในระดับที่บริหารจัดการได้ทั้งนี้ สศค. คาดว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะยังคงทรงตัวอยู่ที่ร้อยละ 2.00 (ช่วงคาดการณ์ร้อยละ 1.00 – 2.00 ต่อปี) เนื่องจากแรงกดดันจากเงินเฟ้อที่มีไม่มากนักส่วนหนึ่งมาจากราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่คาดว่าจะทรงตัวสำหรับอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจไทย (GDP) ในปี 57 คาดว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 2.6 ต่อปี (คาดการณ์ ณ เดือน มี.ค. 57)
2. หอการค้าไทยคาด GDP ของไทยในไตรมาสที่ 1 ปี 57 หดตัวร้อยละ -1 จากวิกฤติการเมือง
  • ประธานกรรมการหอการค้าไทย เปิดเผยว่า ปัญหาการเมืองในประเทศส่งผลให้ภาพรวมเศรษฐกิจไทยชะลอตัวอย่างชัดเจน โดยคาดว่าเศรษฐกิจไทยไตรมาสแรกมีโอกาสหดตัวร้อยละ -1 และในไตรมาส 2 จะขยายตัวได้ไม่เกินร้อยละ 1 ส่งผลให้ GDP ทั้งปี 57 จะขยายตัวได้ไม่เกินร้อยละ 2.5 อย่างไรก็ตาม หากไม่มีการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ภายในครึ่งปี หลังจะทำให้เศรษฐกิจไทยทั้งปี มีโอกาสติดลบต่อ ทั้งนี้ ปัญหาการเมืองที่ผ่านมาได้ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการในภูมิภาคโดยเฉพาะผู้ประกอบการค้าส่งและค้าปลีกในไตรมาสแรกของปีนี้หดตัวถึงร้อยละ -30 รวมทั้งธุรกิจท่องเที่ยวและอสังหาริมทรัพย์
  • สศค. วิเคราะห์ว่า เศรษฐกิจไทยในช่วงไตรมาสแรกของปี 57 มีสัญญาณชะลอตัวต่อเนื่องซึ่งส่วนหนึ่งมาจากผลกระทบของสถานการณ์การเมืองที่ยืดเยื้อ โดยผ่านการท่องเที่ยวที่หดตัวและผลผลิตภาคอุตสาหกรรมที่ลดลง สะท้อนจากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินทางเข้าประเทศไทยในเดือน มี.ค. 57 หดตัวร้อยละ -9.4 ต่ อปีทำให้ในไตรมาสที่ 1 ปี 57 หดตัวร้อยละ -5.9 ต่อปี ขณะที่ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในเดือน ก.พ. 57 หดตัวต่อเนื่องมาอยู่ที่ร้อยละ -4.4 ต่อปีและดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือน ก.พ. 57 อยู่ที่ระดับ 85.7 ซึ่งเป็นการปรับลดลงต่ำสุดในรอบ 56 เดือน สำหรับการบริโภคภาคเอกชนมีสัญญาณหดตัวลงเช่นกัน สะท้อนจากยอดการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ในเดือน มี.ค. 57 หดตัวร้อยละ -1.2 ต่อปี ทำให้ในไตรมาสที่ 1 ปี 57 หดตัวร้อยละ -0.2 ต่อปีและดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยโดยรวมในเดือน มี.ค. 57 อยู่ที่ระดับ 58.7 ซึ่งเป็นการปรับลดลงในระดับที่ต่ำสุดในรอบ 12 ปี อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจไทยยังมีแรงสนับสนุนจากภาคการส่งออกที่ มีแนวโน้มขยายตัวดีขึ้นจากปีก่อนโดยเฉพาะการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและตลาดคู่ค้าหลัก เช่น ยุโรป ญี่ปุ่น ฮ่องกง และกลุ่ม CLMV โดยล่าสุด มูลค่าการส่งออกสินค้าในเดือน ก.พ. 57 ขยายตัวดีขึ้นต่อเนื่องที่ร้อยละ 2.4 ต่อปี และหากนำมูลค่าส่งออกหักสินค้าในหมวดทองคำแล้วพบว่าขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 0.3 ต่อปี ทั้งนี้ สศค. คาดว่าอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทยในปี 57 จะขยายตัวร้อยละ 2.6 (ช่วงคาดการณ์ร้อยละ 2.1–3.1) (คาดการณ์ ณ เดือน มี.ค. 57)
3. PMI ประเทศจีนปรับตัวดีขึ้นจากเดือนมีนาคม
  • นายฉู หงปิน นักเศรษฐศาสตร์ของเอชเอสบีซีเปิดเผยตัวเลขดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อที่ปรับตัวดีขึ้น ในภาคอุตสาหกรรมเบื องต้นของจีนในเดือน เม.ย. 57 ขณะที่ อุปสงค์ภายในประเทศปรับตัวดีขึ นเล็กน้อยจากเดือนมีนาคมอยู่ที่ 48.0 ปรับตัวขึ นเป็น 48.3 ส่วนทางด้านแรงกดดันด้านเงินฝื ดมีแนวโน้มผ่อนคลายลง แต่ความเสี่ยงช่วงขาลงต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจยังคงมีความชัดเจน เนื่องจากค สั่งซื อสินค้าส่งออกล็อตใหม่และการจ้างงานต่างหดตัวลงอีกทั้งทางเอชเอสบีซีคาดว่าทางการจีนอาจด เนินมาตรการใหม่ๆเพิ่มเติมในช่วงต่อจากนี
  • สศค. วิเคราะห์ว่า จากดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อที่ปรับตัวดีขึ้น ในภาคอุตสาหกรรมเบื้องต้นของจีนในเดือนเมษายน 57 ปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อย จากเดือนมีนาคมอยู่ที่ 48.0 ปรับตัวขึ้นเป็น 48.3 ซึ่งแสดงถึงสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของจีนที่ ปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อยจากเดือนมีนาคม อย่างไรก็ตาม ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้ออยู่ต่ำกว่า 50 แสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจจีนยังคงอยู่ในระยะชะลอตัว นอกจากนี้มูลค่าการส่งออกเดือน มี.ค. 57 ที่ ยังหดตัวร้อยละ -6.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -18.1 ทำให้ดุลการค้าเดือน มี.ค. 57 กลับมาเกินดุลอีกครั้งที่ 7.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หลังจากขาดดุลในเดือนก่อนหน้าถึง -2.3 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ สศค. คาดว่าเศรษฐกิจจีนขยายตัวร้อยละ 7.3 ในปี 57 (คาดการณ์ ณ เดือน มีนาคม 2557)

ที่มา: Bureau of Macroeconomic Policy,Fiscal Policy Office, Ministry of Finance

Tel: 02-273-9020 Ext. 3257


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ