เอกสารแนบ: รายงานภาวะเศรษฐกิจการคลังประจำเดือนมิถุนายน และไตรมาสที่ 2 ปี 2557

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday July 30, 2014 15:19 —กระทรวงการคลัง

เอกสารแนบ

“เครื่องชี้เศรษฐกิจไทยล่าสุดในเดือนมิถุนายน 2557 และไตรมาสที่ 2 ของปี 2557 แม้ว่าจะยังมีสัญญาณชะลอตัวในด้านการท่องเที่ยวต่างชาติและการใช้จ่ายภาคเอกชน แต่เริ่มมีสัญญาณบวกจากความเชื่อมั่นทั้งทางด้านผู้บริโภคและธุรกิจที่ปรับตัวดีขึ้น สะท้อนทิศทางการใช้จ่ายและการผลิตที่คาดว่าจะเริ่มดีขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี 2557 ประกอบกับการส่งออกและการใช้จ่ายภาครัฐกลับมาขยายตัวเป็นบวกอีกครั้ง นอกจากนี้เสถียรภาพเศรษฐกิจอยู่ในเกณฑ์มั่นคง ซึ่งปัจจัยเหล่านี้จะช่วยสนับสนุนเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลังต่อไป”

1. การบริโภคภาคเอกชนในไตรมาสที่ 2 ปี 2557 มีสัญญาณทรงตัวจากไตรมาสก่อนหน้า สะท้อนได้จากยอดการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ในไตรมาสที่ 2 ขยายตัวร้อยละ 0.3 ต่อปี ดีขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -0.1 ต่อปี ขณะที่ปริมาณจำหน่ายรถจักรยานยนต์ในไตรมาสที่ 2 ปี 2557 ยังคงหดตัวที่ร้อยละ -18.2 ต่อปี แต่เป็นการหดตัวในอัตราที่ชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ -20.8 ต่อปี จากการหดตัวที่ลดลงจากยอดขายรถจักรยานยนต์ทั้งในภูมิภาคและ กทม. นอกจากนี้ ปริมาณจำหน่ายรถยนต์นั่งในไตรมาสที่ 2 หดตัวในอัตราที่ชะลอลงเช่นกัน โดยมาอยู่ที่ร้อยละ -37.7 ต่อปี จากไตรมาสก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ -55.3 ต่อปี ซึ่งสะท้อนถึงการหดตัวของการบริโภคในหมวดสินค้าคงทน อย่างไรก็ดี ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวมในไตรมาสที่ 2 ปี 2557 เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 61.2 จากไตรมาสก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 59.9 เนื่องจากผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น จากสถานการณ์ทางการเมืองที่คลี่คลายลง อันส่งผลให้การดำเนินนโยบายต่างๆ มีความชัดเจนมากขึ้น สำหรับปริมาณการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคในเดือนมิถุนายน 2557 กลับมาขยายตัวที่ร้อยละ 1.0 ต่อปี ทำให้ในไตรมาสที่ 2 ปี 2557 ขยายตัวที่ร้อยละ 0.4 ต่อปี จากไตรมาสก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -3.9

    เครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชน          2556               2556                       2557
                                             Q1     Q2     Q3     Q4     Q1      Q2   พ.ค.    มิ.ย.  YTD
    ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ (%yoy)     -0.7    6.8   -0.3   -7.3   -1.0   -0.1     0.3    2.3   -0.2   0.1
    %qoq_SA / %mom_SA                      -2.0   -3.2   -0.9    5.5   -3.2    -2.1    0.8   -2.3     -
ปริมาณนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค (%yoy)      4.4    4.6    7.7    6.2   -0.2   -3.9     0.4   -4.5    1.0   -1.8
    %qoq_SA / %mom_SA                      -4.2   -1.1   -1.3    6.7   -7.9     3.8   -7.6    2.2      -
ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่ง (%yoy)        -6.1   97.2   -3.3  -24.8  -39.7  -55.3   -37.7  -44.4  -33.7  -47.8
    %qoq_SA / %mom_SA                      -3.3  -27.3   -2.8  -11.0  -25.6     0.2  -17.3    8.8      -
ปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ (%yoy)    -6.0    5.4   -6.2   -8.7  -20.8  -20.8   -18.2  -17.8  -15.6  -19.5
    %qoq_SA / %mom_SA                      -2.0   -4.9   -3.7   -8.2   -7.9    -3.4   -1.9   -3.7      -
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค                  70.2   73.8   72.8   69.3   64.9   59.9    61.2   60.7   65.3   60.6

2. การลงทุนภาคเอกชนทั้งการลงทุนในหมวดก่อสร้าง และหมวดเครื่องจักร ส่งสัญญาณชะลอตัวจากไตรมาสก่อนหน้า สะท้อนจากภาษีธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ที่หดตัวร้อยละ -7.6 ต่อปี จากไตรมาสก่อนหน้าที่หดตัว -6.6 ต่อปี ขณะที่ยอดขายปูนซิเมนต์หดตัวร้อยละ -3.0 ต่อปี จากไตรมาสก่อนหน้าที่หดตัว -2.4 ต่อปี แต่เมื่อขจัดผลทางฤดูกาลออก (q-o-q SA) พบว่า มีสัญญาณดีขึ้นเล็กน้อย โดยขยายตัวร้อยละ 0.7 ต่อไตรมาส สำหรับการลงทุนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักร สะท้อนจากปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์หดตัวอยู่ที่ร้อยละ -30.6 ต่อปี หดตัวในอัตราที่ลดลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -36.6 ต่อปี สำหรับปริมาณการนำเข้าสินค้าทุนในไตรมาสที่ 2 ปี 2557 ยังคงหดตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ -12.6 ต่อปี แต่เมื่อขจัดผลทางฤดูกาลออก (q-o-q SA) พบว่า มีสัญญาณปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อยโดยขยายตัวร้อยละ 0.7 ต่อไตรมาส

    เครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชน           2556               2556                       2557
                                             Q1     Q2     Q3     Q4     Q1     Q2    พ.ค.    มิ.ย.   YTD
เครื่องชี้การลงทุนก่อสร้าง
ภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ (%yoy) 17.9   35.2   11.0   22.0    9.1   -6.6   -7.6   -1.0   -13.5   -7.1
   %qoq_SA / %mom_SA                       -1.5   -1.4    8.2    4.0  -14.0   -3.8    1.6   -10.3      -
ปริมาณจำหน่ายปูนซีเมนต์ (%yoy)            8.3   15.9   14.6    3.0    0.3   -2.4   -3.0   -1.8    -4.2   -2.7
   %qoq_SA / %mom_SA                       -0.6    1.3   -1.3    1.0   -2.2    0.7    0.9    -3.1      -

เครื่องชี้การลงทุนในเครื่องจักร
ปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ (%yoy)     -8.4   19.4    3.2  -26.2  -24.1  -36.6  -30.6   -31.7  -27.5  -33.8
   %qoq_SA / %mom_SA                       -3.1   -7.6  -14.2   -0.9  -16.3   -2.8    -6.1   -1.7      -
ปริมาณนำเข้าสินค้าทุน (%yoy)             -5.9    3.7   -1.5   -7.9  -16.6  -14.1  -12.6   -15.4   -4.7  -13.4
   %qoq_SA / %mom_SA                       -9.8   -0.8   -4.7   -2.3   -7.0    0.7    -0.1    5.2      -
ปริมาณนำเข้าสินค้าทุนหักเครื่องบิน          -10.2   -0.7  -11.2  -10.0  -18.0  -11.4   -4.4    -6.0   -3.3   -8.0
เรือและรถไฟ (%yoy)
   %qoq_SA / %mom_SA                       -8.3   -5.6   -0.8   -4.5   -1.0    1.8    -2.6    -0.5

3. เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจไทยด้านการคลังในไตรมาสที่ 2 ปี 2557 (ไตรมาสที่ 3 ปีงบประมาณ 2557) พบว่า รัฐบาลสามารถเบิกจ่ายงบประมาณรวมในไตรมาสที่ 2 ของปี 2557 (ไตรมาสที่ 3 ของปีงบประมาณ 2557) ได้จำนวน 514.7 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 6.8 ต่อปี โดยรายจ่ายงบประมาณปีปัจจุบันสามารถเบิกจ่ายได้จำนวน 476.7 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 5.6 ต่อปี แบ่งออกเป็น (1) รายจ่ายประจำ 418.4 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 4.3 ต่อปี (2) รายจ่ายลงทุน 58.2 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 16.1 ต่อปี ส่งผลให้ในช่วง 9 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2557 เบิกจ่ายได้ 1,720.0 พันล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 68.1 ของกรอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2557 (2,525.0 พันล้านบาท) ทั้งนี้ รัฐบาลสามารถจัดเก็บรายได้สุทธิของรัฐบาล (หลังหักการจัดสรรให้ อปท.) ในไตรมาสที่ 2 ปี 2557 (ไตรมาสที่ 3 ของปีงบประมาณ 2557) ได้จำนวน 611.5 พันล้านบาท หดตัวร้อยละ -4.7 ต่อปี โดยมีรายการสำคัญ ดังนี้ (1) ภาษีฐานรายได้ หดตัวร้อยละ -8.2 ต่อปี เนื่องจากผลกระทบของการปรับลดอัตราภาษี และ (2) ภาษีฐานบริโภค (ภาษีมูลค่าเพิ่ม) ขยายตัวร้อยละ 2.5 ต่อปี ทั้งนี้ รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ (หลังหักจัดสรรให้ อปท.) ในช่วง 9 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2557 ได้จำนวน 1,552.6 พันล้านบาท หดตัวร้อยละ -4.2 ต่อปี และต่ำกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ -110.2 พันล้านบาท หรือร้อยละ -6.6 สำหรับดุลเงินงบประมาณในไตรมาสที่ 2 ปี 2557 (ไตรมาสที่ 3 ของปีงบประมาณ 2557) พบว่าดุลเงินงบประมาณเกินดุล 109.3 พันล้านบาท และทำให้ในช่วง 9 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2557 ดุลเงินงบประมาณขาดดุลจำนวน -340.8 พันล้านบาท

    เครื่องชี้ภาคการคลัง
       (พันล้านบาท)
                   FY2556       FY2556                                               FY2557
                            Q1/FY56 Q2/FY56 Q3/FY56 Q4/FY56  Q1/FY57 Q2/FY57 Q3/FY57   พ.ค.   มิ.ย.  YTD
รายได้สุทธิของรัฐบาล  2,161.3    508.5   469.6   641.9    537.5   503.5    437.7   611.5  282.4 192.8 1,552.6
(หลังหักการจัดสรรให้ อปท.)
(%y-o-y)              9.4     27.6    13.7     3.4     -1.2    -1.0     -6.8    -4.7  -14.3   5.3    -4.2
รายจ่ายรัฐบาลรวม    2,402.5    785.9   585.7   482.0    548.9   831.1    553.0   514.7  154.3 164.6 1,898.8
(%y-o-y)              4.7     60.5   -24.9     4.8     -3.0     5.7     -5.6     6.8   14.1  -1.1     2.4
ดุลเงินงบประมาณ        -239   -283.6  -109.1   165.1    -11.4  -334.7   -115.5   109.3    9.3 159.7  -340.8

4. ด้านอุปสงค์ต่างประเทศ สะท้อนจากการส่งออกสินค้าของไทยในเดือนมิถุนายน 2557 กลับมาขยายตัวเป็นบวกอีกครั้ง โดยมูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐมีมูลค่า 19.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวที่ร้อยละ 3.9 ต่อปี และเมื่อขจัดผลทางฤดูกาล (m-o-m SA) พบว่า ขยายตัวร้อยละ 2.6 ต่อเดือน ส่งผลทำให้ไตรมาสที่ 2 ปี 2557 มูลค่าการส่งออกสินค้าขยายตัวเล็กน้อยอยู่ที่ร้อยละ 0.3 ต่อปี จากไตรมาสก่อนหน้าที่หดตัวที่ร้อยละ -1.0 โดยในเดือนมิถุนายน 2557 มีตลาดส่งออกหลัก ได้แก่ สหภาพยุโรป กลุ่มประเทศ CLMV สิงคโปร์ และสหรัฐอเมริกา ขณะที่สินค้าส่งออกที่มีการขยายตัวดี ได้แก่ สินค้าในหมวดเครื่องใช้ไฟฟ้า ยานพาหนะ เกษตร และแร่และเชื้อเพลิง เป็นสำคัญ และในไตรมาสที่ 2 มีตลาดส่งออกหลัก ได้แก่ สหภาพยุโรป อินเดีย ตะวันออกกลาง ฟิลิปปินส์ ไต้หวัน สหรัฐอเมริกา และกลุ่มประเทศ CLMV โดยสินค้าส่งออกที่สำคัญในไตรมาสที่ 2 ปี 2557 ได้แก่ สินค้าในหมวดเกษตรกรรม อิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า สำหรับมูลค่าการนำเข้าสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐในเดือนมิถุนายน 2557 มีมูลค่าอยู่ที่ 18.0 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หดตัวร้อยละ -14.0 ต่อปี ส่งผลทำให้ไตรมาสที่ 2 ปี 2557 มูลค่าการนำเข้าสินค้าหดตัวร้อยละ -12.6 ต่อปี ทั้งนี้ ส่งผลให้ดุลการค้าระหว่างประเทศในเดือนมิถุนายน 2557 เกินดุลที่ 1.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และในไตรมาสที่ 2 ปี 2557 ขาดดุล -0.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

  ประเทศคู่ค้าหลัก 16 ประเทศ           2556               2556                       2557
(สัดส่วนการส่งออกปี 55 >>ปี 56)                  Q1     Q2     Q3     Q4     Q1     Q2    พ.ค.    มิ.ย.   YTD
ส่งออกไปทั้งโลก (%yoy)                -0.3     3.9   -2.2   -1.7   -1.0   -1.0    0.3   -2.1     3.9   -0.4
%qoq_SA / %mom_SA                     -    -1.3   -2.8    1.7    1.7   -1.4   -0.8   -1.8     2.6      -
 1.จีน (11.7%>>>11.9%)               1.4     7.3  -13.4   -0.3   12.9   -4.4   -4.2   -5.7     3.2   -4.3
 2.สหรัฐฯ (9.9%>>>10%)               0.8     0.8   -3.5    0.7    5.2    0.6    4.9    2.8    11.2    2.8
 3.ญี่ปุ่น (10.2%>>>9.7%)              -5.2     1.5   -6.3  -10.1   -5.5    2.0   -4.9   -9.9    -0.1   -1.5
 4.สหภาพยุโรป (8.5%>>>8.8%)          2.7     7.0   -5.3    3.3    6.3    4.8   11.0   11.9    15.4    7.8
 5.ฮ่องกง (5.7%>>>5.8%)              0.7    11.2    7.7   -1.4  -12.0   -1.8    1.7    4.4     6.4   -0.1
 6.มาเลเซีย (5.4%>>>5.7%)            4.7    -0.8    5.8   12.4    2.0   -0.1   -0.1   -9.8     1.8   -0.1
 PS.อาเซียน-9 (24.6%>>>26.0%)        5.0     5.9    2.4   10.8    1.2   -5.4    0.2    0.1     2.3   -2.5
 PS.อาเซียน-5 (17.2%>>>17.6%)        2.0     5.4   -0.7   11.2   -7.1  -11.0   -3.7   -3.3     0.0   -7.3
 PS.อินโดจีน-4 (7.4%>>>8.3%)         11.8     7.0    9.9   10.0   20.3    7.1    8.8    7.5     7.7    8.0

5. เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปทานมีสัญญาณหดตัว ในสาขาอุตสาหกรรมและบริการ สะท้อนจากดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (ข้อมูลเบื้องต้น) ในไตรมาสที่ 2 ปี 2557 หดตัวในอัตราที่ชะลอลงที่ร้อยละ -5.0 ต่อปี โดยอุตสาหกรรมที่ยังคงหดตัว ได้แก่ อุตสาหกรรมยานยนต์ เครื่องประดับ เครื่องปรับอากาศ และอาหาร เป็นสำคัญ ในขณะที่อุตสาหกรรมที่มีการผลิตเพิ่มขึ้น ได้แก่ วิทยุโทรทัศน์ ยางพลาสติก เครื่องหนัง และอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือนมิถุนายน 2557 ปรับเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 มาอยู่ที่ระดับ 88.4 เนื่องจากผู้ประกอบการมีระดับความเชื่อมั่นมากขึ้นจากสถานการณ์ทางการเมืองที่คลี่คลายลง ประกอบกับการยกเลิกการประกาศเคอร์ฟิว ทำให้ภาพรวมของการดำเนินกิจการมีความสะดวกและคล่องตัวมากขึ้น อีกทั้งอยู่ในช่วงการแข่งขันฟุตบอลโลก ทำให้คำสั่งซื้อในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องเพิ่มขึ้น อาทิ อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม ประเภทเสื้อผ้ากีฬา รองเท้ากีฬา อุตสาหกรรมอาหาร และอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทเครื่องรับโทรทัศน์ เป็นต้น ในขณะที่ภาคบริการ สะท้อนจากนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินทางเข้าประเทศไทยในไตรมาสที่ 2 ปี 2557 มีจำนวนทั้งสิ้น 5.32 ล้านคน หดตัวร้อยละ -12.3 ต่อปี โดยนักท่องเที่ยวที่หดตัวมากที่สุดได้แก่ กลุ่มเอเชีย ซึ่งเป็นนักท่องเที่ยวระยะใกล้ ขณะที่นักท่องเที่ยวกลุ่มยุโรปยังคงขยายตัว สำหรับดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรกรรมในไตรมาสที่ 2 ปี 2557 สามารถขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 4.3 ต่อปี ตามการเพิ่มขึ้นของผลผลิตในหมวดปศุสัตว์ที่ยังคงขยายตัวในเกณฑ์ดี โดยเฉพาะสุกรและไก่เนื้อ จากความต้องการที่มีเข้ามาอย่างต่อเนื่อง และไม่มีสถานการณ์โรคระบาด

    เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปทาน           2556               2556                       2557
                                             Q1     Q2     Q3     Q4     Q1     Q2    พ.ค.    มิ.ย.   YTD
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม* (%yoy)            -3.2   2.9   -4.9   -3.5   -7.1   -7.1   -5.0   -4.0    -6.6   -6.1
    %qoq_SA / %mom_SA                      -2.9   -5.4   -1.4    3.4   -3.4   -3.4   -1.2    -2.7      -
นักท่องเที่ยวต่างชาติ (%yoy)               18.8  22.1   24.3   21.4    9.3   -7.8  -12.3  -10.7   -24.4   -9.9
   %qoq_SA / %mom_SA                    -   4.4    6.4    1.0   -2.2  -11.8   -0.4   -7.6   -11.0      -
ดัชนีผลผลิตเกษตรกรรม (%yoy)             -1.0   2.1   -5.0   -4.3    1.5    4.4    4.3    6.4     1.2    4.3
%qoq_SA / %mom_SA                           -0.4  -3.2   -0.2    5.4   -0.4   -0.5    0.3     1.2      -
*ข้อมูลเบื้องต้น

          6. ด้านเสถียรภาพในประเทศยังคงอยู่ในเกณฑ์ดี แม้ว่าจะเริ่มมีแรงกดดันเงินเฟ้อและการว่างงานที่สูงขึ้นเล็กน้อย ขณะที่เสถียรภาพต่างประเทศยังคงแข็งแกร่ง โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในในไตรมาสที่ 2 ปี 2557 ขยายตัวที่ร้อยละ 2.5 ต่อปี เนื่องจากในช่วงไตรมาสที่ 2 มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นของราคาหมวดผักสดและปศุสัตว์เนื่องจากภัยแล้งที่ส่งผลให้อุปทานลดลง ประกอบกับอาหารสำเร็จรูป มีราคาเพิ่มสูงขึ้นจากการทยอยปรับราคาก๊าซหุงต้ม (LPG) ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 1.7 ต่อปี สำหรับอัตราการว่างงานในไตรมาสที่ 2 ปี 2557 อยู่ที่ร้อยละ 1.0 ต่อปี ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากไตรมาสก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 0.9 ต่อปี ขณะที่สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ล่าสุด ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2557 อยู่ที่ร้อยละ 45.9 ต่ำกว่ากรอบความยั่งยืนทางการคลังที่ตั้งไว้ไม่เกินร้อยละ 60.0 สำหรับ เสถียรภาพภายนอกประเทศยังอยู่ในระดับมั่นคง และสามารถรองรับความเสี่ยงจากความผันผวนของเศรษฐกิจโลกได้ สะท้อนได้จากทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2557 อยู่ในระดับสูงที่ 168.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งสูงกว่าหนี้ต่างประเทศระยะสั้นประมาณ 2.7 เท่า

    เครื่องชี้เสถียรภาพเศรษฐกิจ           2556               2556                       2557
                                             Q1     Q2     Q3     Q4     Q1     Q2    พ.ค.    มิ.ย.   YTD
ภายในประเทศ
เงินเฟ้อทั่วไป (%yoy)                    2.2    3.1    2.3    1.7    1.7    2.0    2.5    2.6     2.4    2.2
เงินเฟ้อพื้นฐาน (%yoy)                   1.0    1.5    1.0    0.5    0.8    1.2    1.7    1.8     1.7    1.5
อัตราการว่างงาน (yoy%)                 0.7    0.7    0.7    0.8    0.6    0.9    1.0    0.9     1.1    1.0
หนี้สาธารณะ/GDP                       45.7   44.2   44.5   45.5   45.7   46.5    n.a.  45.9     n.a.  45.9
ภายนอกประเทศ
ดุลบัญชีเดินสะพัด (พันล้าน $)              -2.8    0.5   -6.7    0.4    3.0    8.2    n.a.  -0.7     n.a.   6.9
ทุนสำรองทางการ (พันล้าน $)            167.2  177.8  170.8  172.3  167.2  167.5  168.2  167.6   168.2  168.2
ฐานะสุทธิ Forward  (พันล้าน $)          23.0   23.7   23.7   21.2   23.0   23.6   23.7   23.2    23.7   23.7

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ