ผลการดำเนินงานของกระทรวงการคลังรอบ 6 เดือน “คลังมั่นใจ แจงผลงาน 6 เดือน ช่วยสนับสนุนการฟื้นตัวเศรษฐกิจ”

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday April 22, 2015 14:11 —กระทรวงการคลัง

นายสมหมาย ภาษี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง แถลงผลงานของกระทรวงการคลังในรอบ 6 เดือนว่า รัฐบาลได้เข้ามาบริหารประเทศตั้งแต่วันที่ 12 กันยายน 2557 ภายใต้ภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอย อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของ 6 เดือนแรกติดลบ ซึ่งเกิดจากปัจจัยสำคัญๆ เช่น เหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมืองในประเทศ และภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว นอกจากนั้น เป็นเพราะรัฐบาลที่ผ่านมาละเลยการปฏิรูปโครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศที่จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน แต่มักใช้นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจและประชานิยมที่ทำให้เกิดภาระทางการคลังมากมาย แต่ไม่ช่วยให้ประเทศก้าวข้ามกับดักทางเศรษฐกิจที่เรียกว่า Middle Income Trap ได้

ตลอด 6 เดือนที่ผ่านมา กระทรวงการคลังในฐานะกระทรวงที่รับผิดชอบการบริหารการเงินการคลังของประเทศ ได้มีส่วนกำหนดและสนับสนุนนโยบายเศรษฐกิจที่สำคัญๆ หลายประการ เพื่อช่วยเร่งรัดการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ และวางรากฐานทางเศรษฐกิจเพื่อความแข็งแกร่งในอนาคตของประเทศ

ในภาพรวมภาวะเศรษฐกิจเริ่มคลี่คลายขึ้น มีสัญญาณของการฟื้นตัวที่ชัดเจน แต่ยังคงเปราะบางอยู่ โดยอัตราการขยายตัวในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา (ครึ่งหลังของปี 2557) มีอัตราการเจริญเติบโตร้อยละ 1.4 ต่อปี (เปรียบเทียบกับครึ่งแรกของปี 2557 ที่หดตัวที่ร้อยละ -0.02 ต่อปี) และการขยายตัวด้านต่างๆ ก็มีแนวโน้มที่ดีขึ้น

อย่างไรก็ดี ในภาวะที่เศรษฐกิจโลกยังคงมีความเปราะบาง ส่งผลให้การส่งออกสินค้าของประเทศไทยยังคงชะลอตัว ดังนั้น นโยบายเศรษฐกิจจึงจำเป็นต้องมีบทบาทสำคัญในการกระตุ้นการใช้จ่ายภายในประเทศ ทั้งในส่วนของภาครัฐ และสนับสนุนบทบาทภาคเอกชน

สำหรับในช่วง 6 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2558 รัฐบาลมีรายได?นำส?งคลัง 970 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.9 จากปีก่อน โดยภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บจากฐานการบริโภคภายในประเทศ ซึ่งเป็นรายได้สำคัญของรัฐบาลสามารถขยายตัวได้ดีที่ร้อยละ 6.8 ต่อปี สะท้อนการบริโภคภายในประเทศยังคงเติบโตต่อเนื่อง ในขณะที่รัฐบาลสามารถเบิกจ่ายเงินงบประมาณได้จำนวน 1.46 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.6 จากปีก่อน ทำให้สามารถอัดฉีดเงินงบประมาณสุทธิเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจผ่านการขาดดุลงบประมาณทั้งสิ้น 491.8 พันล้านบาท

หน่วย : ล้านบาท

                                                  ครึ่งแรก                           เปรียบเทียบ
                                     ปีงบประมาณ 2558     ปีงบประมาณ 2557          จำนวน     ร้อยละ
          1. รายได้                          969,950            933,567         36,383       3.9
          2. รายจ่าย                       1,461,719          1,384,103         77,616       5.6
          3. ดุลเงินงบประมาณ                 -491,769           -450,536        -41,233       9.2

ในการนี้ กระทรวงการคลังจึงได้ดำเนินมาตรการสำคัญ ๆ ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา ประกอบด้วย มาตรการระยะสั้นที่ช่วยสนับสนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ และมาตรการระยะปานกลางถึงระยะยาวที่ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม ลดภาระหนี้และค่าครองชีพของประชาชน สนับสนุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ความโปร่งใส และธรรมาภิบาล ดังนี้

(1) มาตรการระยะ 6 เดือนแรกที่ช่วยสนับสนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ เพื่อเร่งพลิกฟื้นเศรษฐกิจของประเทศจากภาวะที่ประสบปัญหาข้อขัดข้องต่างๆ

1.1 เร่งรัดเบิกจ่ายเงินค้างชำระโครงการรับจำนำข้าวเปลือก

1.2 การทบทวนเงินกันไว้เบิกจ่ายเหลื่อมปี

1.3 เร่งรัดการทำสัญญาจ้างรายจ่ายลงทุนปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 และ 2558

1.4 ทบทวนและเร่งรัดเบิกจ่ายงบกลาง (วงเงิน 7,800 ล้านบาท)

1.5 จัดสรรเงินงบไทยเข้มแข็งที่ยังเหลืออยู่ (วงเงิน 15,200 ล้านบาท)

1.6 โครงการจ่ายเงินช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวทุกครัวเรือน (วงเงิน 40,000ล้านบาท)

1.7 โครงการชดเชยรายได้แก่เกษตรกรชาวสวนยาง (วงเงิน 8,000 ล้านบาท)

1.8 มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะที่ 2 ประกอบด้วย โครงการเงินกู้เพื่อการพัฒนาระบบบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ (วงเงิน 37,603 ล้านบาท) และระบบขนส่งทางถนนระยะเร่งด่วน (วงเงิน 40,692 ล้านบาท)

1.9 การเพิ่มค่าลดหย่อนทางภาษีเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวและจัดอบรมสัมมนาในประเทศ

(2) มาตรการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันเพื่อวางรากฐานระยะยาว เพื่อให้การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศเป็นไปอย่างยั่งยืน

2.1 การปรับปรุงโครงสร้างภาษีศุลกากร กลุ่มวัตถุดิบ/สินค้าทุน

2.2 การเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของ SMEs

2.2.1 ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่ SMEs

2.2.2 สนับสนุนสินเชื่อให้แก่ SMEs กลุ่มต่างๆ เช่น รายย่อย ผู้ส่งออก อิสลาม เป็นต้น

2.2.3 การจัดตั้งกองทุนร่วมลงทุนในกิจการ SMEs (SMEs Private Equity Trust Fund)

กองทุนร่วมลงทุนในกิจการ SMEs มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ของประเทศ ให้เติบโตและแข็งแรง โดยเข้าร่วมทุนผ่านกองทุนร่วมลงทุนในกิจการ SMEs ซึ่งจะเป็นการช่วยลดสัดส่วนหนี้สินต่อทุนของกิจการ SMEs ทำให้ธุรกิจสามารถเติบโตอย่างเข้มแข็งมากขึ้น โดยได้กำหนดแนวทางให้มีลักษณะเป็นกองทุนเปิดระหว่างภาครัฐและเอกชน กำหนดขนาดวงเงิน 10,000-25,000 ล้านบาท มีสัดส่วนการร่วมลงทุนจากภาครัฐร้อยละ 10-50 ส่วนที่เหลือจะเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนไทยเข้าร่วมลงทุน โดยมีเป้าหมายเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ที่มีศักยภาพในการเติบโตทั้งขนาดเล็กและขนาดกลางเป็นหลักโดยเฉพาะกลุ่มที่มีศักยภาพ อาทิ อุตสาหกรรมด้านเกษตร และอุตสาหกรรมเกี่ยวกับดิจิตอล

2.2.4 การค้ำประกันสินเชื่อผ่านบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม

2.3 การส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุน

2.3.1 การนำเสนอร่างพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. ...

2.3.2 การให้ใบอนุญาตสินเชื่อประเภท Nano-Finance เพื่อสนับสนุนการเข้าถึงแหล่ง เงินทุนของประชาชนรายย่อย และขจัดปัญหาหนี้นอกระบบ

สินเชื่อประเภท Nano-Finance มีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดโอกาสให้นิติบุคคลที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนดสามารถให้สินเชื่อรายย่อยเพื่อการประกอบอาชีพ ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนที่มีรายได้น้อยสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบได้มากขึ้น ทั้งนี้ มีผู้สนใจยื่นขอจดทะเบียนแล้ว 15 ราย โดยจำนวน 4 ราย ที่จัดส่งเอกสารครบถ้วนและมีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ และอีก 11 รายกำลังตรวจสอบเอกสาร ซึ่งคาดว่าจะเริ่มดำเนินการปล่อยสินเชื่อได้ในไตรมาสที่ 2 ปี 2558

2.4 การแก้ไขปัญหารัฐวิสาหกิจที่ประสบปัญหา เช่น การรถไฟแห่งประเทศไทย และ องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ เป็นต้น

2.5 การปรับลดภาษีสรรพสามิตเพื่อส่งเสริมกิจการผลิตรถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล

(3) มาตรการลดความเลื่อมล้ำทางสังคม และการลดภาระหนี้และค่าครองชีพของประชาชน เพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อน และเสริมสร้างความเสมอภาคทางเศรษฐกิจของประชาชน

3.1 การลดความเลื่อมล้ำทางสังคม

3.1.1 การส่งเสริมการออมภาคประชาชนผ่านกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.)

กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) มีวัตถุประสงค์เพื่อให้แรงงานที่อยู่นอกระบบ 25 ล้านคน ที่มีอายุ 15 - 60 ปี มีโอกาสสะสมเงินออมตั้งแต่วัยทำงาน และมีรายได้ในลักษณะเงินบำนาญ รวมทั้งจะรับโอนผู้ประกันตนและเงินของผู้ประกันตนตามมาตรา 40 กรณีบำนาญชราภาพทั้งหมดที่แสดงความจำนงเป็นสมาชิกของ กอช. ส่วนผู้ประกันตนที่ไม่ประสงค์จะเป็นสมาชิก กอช. จะได้รับเงินที่ผู้ประกันตนส่งเข้ากองทุนเงินสมทบจากรัฐ และดอกผลคืนทั้งจำนวน

3.1.2 การนำเสนอพระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก และร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร

3.1.3 โครงการดำเนินการเพื่อการกลับไปใช้สิทธิในบำเหน็จบำนาญตามพระราชบัญญัติ บำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2494 พ.ศ. 2557

3.1.4 อุดหนุนค่าเบี้ยประกันภัยเพื่อส่งเสริมให้ชาวนาผู้ปลูกข้าวนาปีมีเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงภัยธรรมชาติรวมทั้งภัยศัตรูพืชและโรคระบาด

3.2 การลดภาระหนี้และค่าครองชีพของประชาชน

3.2.1 โครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินของเกษตรกรรายย่อยผ่านระบบธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

3.2.2 มาตรการให้ความช่วยเหลือจังหวัดชายแดนภาคใต้

3.2.3 การเบิกจ่ายเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวของข้าราชการและลูกจ้างประจำของส่วนราชการ

3.2.4 การขยายระยะเวลาดำเนินมาตรการลดภาระค่าครองชีพของประชาชนด้านการเดินทางออกไปอีก 6 เดือน

(4) มาตรการส่งเสริมประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางการค้าและการลงทุนในภูมิภาค เพื่อเพิ่มโอกาสทางธุรกิจให้สามารถเจริญเติบโตไปพร้อมกับประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาค

4.1 มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการจัดตั้งสำนักงานใหญ่ข้ามประเทศ (IHQ) และมาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการจัดตั้งบริษัทการค้าระหว่างประเทศ (ITC)

4.2 การสนับสนุนการจัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ 6 จังหวัด

4.2.1 ลดหย่อนอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล

4.2.2 สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำและการค้ำประกันสินเชื่อ

4.2.3 จัดหาที่ดินราชพัสดุเพื่อใช้ประโยชน์ในการพัฒนาเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ

4.2.4 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและด่านศุลกากร

4.2.5 การจัดตั้งศูนย์บริการเบ็ดเสร็จด้านการลงทุน (One Stop Service)

4.3 การปรับปรุงพิธีการศุลกากรให้เป็น National Single Window และ ASEAN Single Window

(5) มาตรการสนับสนุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อพัฒนาการเชื่อมโยงการคมนาคมขนส่งทั้งภายในและระหว่างประเทศ สอดคล้องกับการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในภูมิภาค และเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งของประเทศ

5.1 การจัดหาเงินทุนสำหรับโครงการเพื่อยกระดับโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของไทย รวมทั้งโครงการเชื่อมโยงระหว่างภูมิภาค (Regional Connectivity)

5.2 การออกระเบียบและกฎเกณฑ์ภายใต้ พรบ.การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 (Public-Private Partnership: PPP)

(6) มาตรการส่งเสริมความโปร่งใสและธรรมาภิบาล และปรับปรุงประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษีอากร เพื่อส่งเสริมการบริหารจัดการภาครัฐให้มีความยั่งยืนและเป็นธรรม

6.1 การปฏิรูปเงินทุนหมุนเวียน

6.2 แนวทางดำเนินงานโครงการความร่วมมือป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ

6.2.1 โครงการความร่วมมือป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ

6.2.2 โครงการความโปร่งใสในการก่อสร้างภาครัฐ (CoST)

6.2.3 แนวทางปฏิบัติในการจัดหาพัสดุด้วยวิธีตลาดอิเล็กทรอนิกส์ (e-Market) และ ด้วยวิธีการประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding)

6.3 การปรับปรุงการลดช่องโหว่ในการจัดเก็บภาษีอากร

6.3.1 การปรับปรุงการจัดเก็บภาษีสำหรับกิจการโรงเรียนเอกชนและโรงเรียนกวดวิชา

6.3.2 การปรับปรุงการจัดเก็บภาษีเงินได้ห้างหุ้นส่วนสามัญและคณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคล

6.4 การจัดทำพระราชบัญญัติการทวงถามหนี้ พ.ศ. 2558

กระทรวงการคลังมีความมั่นใจว่านโยบายและมาตรการเศรษฐกิจต่างๆ จะสามารถช่วยสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ลดความเลื่อมล้ำทางสังคมและลดค่าครองชีพของประชาชน และเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันในระยะยาว ทำให้ประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางการค้าและการลงทุนในภูมิภาค ในอนาคตต่อไป

สำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง

โทร. 02273 9020 ต่อ 3236

--กระทรวงการคลัง--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ