รายงานสถานะหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือน พ.ค.2558 และผลการบริหารจัดการหนี้ภาครัฐที่ดำเนินการโดยสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ประจำเดือน พ.ค. 2558

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday July 8, 2015 10:38 —กระทรวงการคลัง

นายธีรัชย์ อัตนวานิช รองผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะในฐานะโฆษกสำนักงานบริหาร หนี้สาธารณะ ได้แถลงข่าวการดำเนินงานของสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) ดังนี้

1. รายงานหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2558

ยอดหนี้สาธารณะคงค้าง ณ 31 พฤษภาคม 2558 มีจำนวนทั้งสิ้น 5,687,007.62 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 42.58 ของ GDP เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้า หนี้สาธารณะลดลงสุทธิ 88,702.91 ล้านบาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้

หนี้ของรัฐบาลลดลง 73,893.27 ล้านบาท ซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญเกิดจาก

  • การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ จำนวน 24,000 ล้านบาท
  • การกู้เงินเพื่อการลงทุนจากแหล่งเงินกู้ในประเทศและต่างประเทศ จำนวน 1,921.11 ล้านบาท มีรายละเอียด ดังนี้
  • การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยและการรถไฟแห่งประเทศไทยกู้ต่อ จำนวน 1,804.62 ล้านบาท สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว สายสีน้ำเงิน สายสีม่วง รถไฟสายสีแดง และโครงการปรับปรุงทางรถไฟที่ไม่ปลอดภัย
  • กรมทางหลวงเบิกจ่ายเงินกู้เพื่อให้ใช้ในโครงการก่อสร้างทางสายหลักเป็น 4 ช่องจราจร (ระยะที่ 2) จำนวน 82.59 ล้านบาท
  • กรมทางหลวงชนบทเบิกจ่ายเงินกู้เพื่อ ใช้ในโครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณถนนนนทบุรี 1 จำนวน 33.90 ล้านบาท
  • การนำเงินกู้ล่วงหน้าเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ จำนวน 60,000 ล้านบาท ไปชำระคืนหนี้พันธบัตรรัฐบาลภายใต้ พ.ร.บ. การบริหารหนี้สาธารณะฯ ที่ครบกำหนด
  • การชำระหนี้ที่กู้มาเพื่อชดใช้ความเสียหายให้แก่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ จำนวน 20,450 ล้านบาท
  • การชำระคืนหนี้ภายใต้ พ.ร.บ. การบริหารหนี้สาธารณะ จำนวน 16,336.80 ล้านบาท
  • การชำระหนี้ที่กู้มาเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ต่างประเทศที่กระทรวงการคลังค้ำประกัน จำนวน 516.67 ล้านบาท

หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน มียอดหนี้คงค้างลดลง 9,289.46 ล้านบาท เนื่องจาก รัฐวิสาหกิจต่างๆ มีการชำระคืนต้นเงินกู้มากกว่าการเบิกจ่ายเงินกู้ต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม ในเดือนพฤษภาคม 2558 มีการกู้เงินเพื่อลงทุนที่สำคัญ ได้แก่ การเบิกจ่ายเงินกู้เพื่อซื้อหัวรถจักร 20 คัน 20 ตัน ของการรถไฟแห่งประเทศไทย การกู้เงินเพื่อลงทุนใน 4 โครงการ ของการประปาส่วนภูมิภาค การกู้เงินเพื่อลงทุนในโครงการต่างๆ ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และการเบิกจ่ายเงินกู้เพื่อดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย

หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) มียอดหนี้คงค้างลดลง 4,621.76 ล้านบาท เนื่องจากรัฐวิสาหกิจต่างๆ มีการชำระคืนต้นเงินกู้มากกว่าการเบิกจ่ายเงินกู้ทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยมีรายการที่สำคัญ ได้แก่ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรชำระหนี้เงินต้นที่กู้มาเพื่อดำเนินโครงการรับจำนำข้าว โดยใช้เงินจากการระบายข้าว จำนวน 3,588.60 ล้านบาท และธนาคารอาคารสงเคราะห์ไถ่ถอนพันธบัตรที่ครบกำหนด 1,000 ล้านบาท

หน่วยงานของรัฐ มียอดหนี้คงค้างลดลง 898.42 ล้านบาท เนื่องจากกองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย สำนักงานธนานุเคราะห์ และสำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อน มีการชำระคืนต้นเงินกู้มากกว่าการเบิกจ่ายเงินกู้

หนี้สาธารณะ ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2558 เท่ากับ 5,687,007.62 ล้านบาท แบ่งเป็น หนี้ในประเทศ 5,353,021.23 ล้านบาท หรือเท่ากับร้อยละ 94.13 และหนี้ต่างประเทศ 333,986.39 ล้านบาท (ประมาณ 9,920.85 ล้านเหรียญสหรัฐ) หรือเท่ากับร้อยละ 5.87 ของยอดหนี้สาธารณะคงค้าง และหากเปรียบเทียบกับ เงินสำรองระหว่างประเทศ จำนวน 158,518.37 ล้านเหรียญสหรัฐ (ข้อมูล ณ 29 พฤษภาคม 2558) หนี้ต่างประเทศจะคิดเป็นสัดส่วนเพียงร้อยละ 6.25 ของเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงเสถียรภาพและความมั่นคงในด้านการเงินของประเทศ

โดยหนี้สาธารณะแบ่งออกเป็นหนี้ระยะยาวถึง 5,538,910.47 ล้านบาท หรือร้อยละ 97.40 และมีหนี้ระยะสั้นเพียง 148,097.15 ล้านบาท หรือร้อยละ 2.60

2. รายงานผลการบริหารจัดการหนี้ภาครัฐที่ดำเนินการโดยสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ประจำเดือนพฤษภาคม 2558

สบน. มีการบริหารจัดการหนี้ภาครัฐ วงเงินรวม 115,294.64 ล้านบาท แบ่งเป็น หนี้ของรัฐบาล จำนวน 103,891.88 ล้านบาท และหนี้รัฐวิสาหกิจ จำนวน 11,402.76 ล้านบาท

การบริหารจัดการหนี้ของรัฐบาล วงเงิน 103,891.88 ล้านบาท ประกอบด้วย

ผลการกู้เงินในประเทศของรัฐบาล จำนวน 25,137.60 ล้านบาท

  • การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ โดยการออกพันธบัตรรัฐบาล 3 รุ่น อายุ 15 ปี30 ปี และ 50 ปี จำนวน 20,000 ล้านบาท มีอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยที่ร้อยละ 3.53 ต่อปี และออกพันธบัตรออมทรัพย์ รุ่นอายุ 3 ปี จำนวน 4,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยคงที่ร้อยละ 3 ต่อปี
  • การเบิกจ่ายเงินกู้ให้กู้ต่อ จำนวน 1,137.60 ล้านบาท

การเบิกจ่ายเงินกู้จากต่างประเทศของรัฐบาล จำนวน 783.51 ล้านบาท ประกอบด้วยการเบิกจ่ายเงินกู้จากธนาคารพัฒนาเอเชีย จำนวน 82.59 ล้านบาท สำหรับโครงการก่อสร้างทางสายหลักให้เป็น 4 ช่องจราจร (ระยะที่ 2) ของกรมทางหลวง และการเบิกจ่ายเงินกู้จากองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น จำนวน 700.92 ล้านบาท แบ่งเป็นเงินกู้สำหรับโครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณถนนนนทบุรี 1 ของกรมทางหลวงชนบท จำนวน 33.90 ล้านบาท และโครงการรถไฟสายสีแดงของการรถไฟ แห่งประเทศไทย จำนวน 667.02 ล้านบาท

การปรับโครงสร้างหนี้ในประเทศของรัฐบาล จำนวน 23,000 ล้านบาท

  • การปรับโครงสร้างหนี้ R-bill ที่ครบกำหนด ซึ่งออกภายใต้ พ.ร.บ. การบริหารหนี้สาธารณะฯ พ.ศ. 2548 และที่แก้ไขเพิ่มเติม จำนวน 10,000 ล้านบาท โดยการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ทั้งจำนวน
  • การปรับโครงสร้างหนี้ที่ออกภายใต้ พ.ร.ก. ช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ (FIDF 1) โดยการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการปรับโครงสร้างหนี้ จำนวน 13,000 ล้านบาท เพื่อ (1) ปรับโครงสร้างหนี้ตั๋วสัญญาใช้เงิน จำนวน 3,000 ล้านบาท (2) คืนเงินทดรองจ่ายจากบัญชีเงินฝากกระทรวงการคลัง (Premium FIDF 1) จำนวน 10,000 ล้านบาท

การชำระหนี้ของรัฐบาล จำนวน 54,970.77 ล้านบาท แบ่งเป็น

  • การชำระหนี้โดยใช้เงินจากงบประมาณ จำนวน 21,942.83 ล้านบาท แบ่งเป็นชำระต้นเงิน 19,089.87 ล้านบาท และชำระดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียม 2,852.92 ล้านบาท
  • การชำระหนี้พันธบัตรรัฐบาลที่ครบกำหนด ซึ่งออกภายใต้ พ.ร.บ. การบริหารหนี้สาธารณะฯ พ.ศ. 2548 และที่แก้ไขเพิ่มเติม จำนวน 36.80 ล้านบาท โดยใช้เงินจากบัญชีเงินกู้เพื่อการบริหารหนี้
  • การชำระหนี้ภายใต้ พ.ร.ก. ช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ (FIDF 1) จำนวน 24,487.21 ล้านบาท แบ่งเป็น ชำระต้นเงิน 22,644.87 ล้านบาท และชำระดอกเบี้ย จำนวน 1,842.34 ล้านบาท โดยใช้เงินจากบัญชีสะสมเพื่อการชำระคืนต้นเงินกู้ชดใช้ความเสียหายของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ
  • การชำระหนี้ภายใต้ พ.ร.ก. ช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ (FIDF 3) จำนวน 8,220.93 ล้านบาท แบ่งเป็น การชำระต้นเงิน จำนวน 7,805.13 ล้านบาท และชำระดอกเบี้ย จำนวน 415.80 ล้านบาท โดยใช้เงินจากบัญชีสะสมเพื่อการชำระคืนต้นเงินกู้ชดใช้ความเสียหายของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ
  • การชำระต้นเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างหนี้ต่างประเทศที่กระทรวงการคลังค้ำประกัน จำนวน 175 ล้านบาท โดยใช้เงินงบประมาณที่สำนักงบประมาณจัดสรรให้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
  • การชำระหนี้ต้นเงินกู้ล่วงหน้าเพื่อชำระหนี้ที่รัฐบาลให้กู้ต่อ จำนวน 108 ล้านบาท บาท โดยใช้เงินงบประมาณที่สำนักงบประมาณจัดสรรให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย

การบริหารจัดการหนี้รัฐวิสาหกิจ วงเงิน 11,402.76 ล้านบาท ประกอบด้วย

การกู้เงินในประเทศของรัฐวิสาหกิจ จำนวน 4,100 ล้านบาท โดยการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคและการประปาส่วนภูมิภาค กู้เงินเพื่อดำเนินโครงการต่างๆ ที่บรรจุอยู่ในแผนการบริหารหนี้สาธารณะ

การเบิกจ่ายเงินกู้ต่างประเทศของรัฐวิสาหกิจ จำนวน 9.76 ล้านบาท โดยการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย เบิกจ่ายเงินกู้เพื่อจัดทำโครงการรถไฟสายสีม่วง

การปรับโครงสร้างหนี้ในประเทศของรัฐวิสาหกิจ จำนวน 7,293 ล้านบาท ประกอบด้วยการปรับโครงสร้างหนี้ของการรถไฟแห่งประเทศไทย 2,800 ล้านบาท และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร 4,493 ล้านบาท

คณะโฆษกสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ

โทร. 02 265 8050 ต่อ 5505, 5522, 5903

เอกสารแนบ 1

สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) ขอแถลงสถานะหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2558 ดังนี้

ยอดหนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 31 พฤษภาคม 2558 มีจำนวน 5,687,007.62 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 42.58 ของ GDP เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้า หนี้สาธารณะลดลงสุทธิ 88,702.91 ล้านบาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1. หนี้ของรัฐบาล 4,063,421.60 ล้านบาท ลดลง 73,893.27 ล้านบาท

2. หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน 1,049,090.04 ล้านบาท ลดลง 9,289.46 ล้านบาท

3. หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) 568,363.99 ล้านบาท ลดลง 4,621.76 ล้านบาท

4. หนี้หน่วยงานของรัฐ 6,131.99 ล้านบาท ลดลง 898.42 ล้านบาท

1. หนี้ของรัฐบาล

1.1 หนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าเพิ่มขึ้นสุทธิ 6,556.73 ล้านบาท เนื่องจาก

1.1.1 หนี้ต่างประเทศ ลดลงจากเดือนก่อนหน้า จำนวน 1,961.07 ล้านบาท โดยผลจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนทำให้ยอดหนี้คงค้างในรูปเงินบาทเพิ่มขึ้น 12.29 ล้านบาท ในขณะที่การเบิกจ่ายและชำระคืนเงินกู้สกุลเงินต่างๆ ทำให้ยอดหนี้คงค้างในรูปเงินบาทลดลงสุทธิ 1,973.36 ล้านบาท

อย่างไรก็ดี หากพิจารณาในรูปเงินบาท หนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรงจำแนกเป็นสกุลเงินต่างๆ หลังจากที่ทำการป้องกัน ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยน

1.1.2 หนี้ในประเทศ เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า จำนวน 8,517.80 ล้านบาท โดยมีรายการสำคัญเกิดจาก

  • การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลเงินงบประมาณและการบริหารหนี้ เพิ่มขึ้น 7,663.20 ล้านบาท จากการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ โดยการออกพันธบัตรรัฐบาล 20,000 ล้านบาท และพันธบัตรออมทรัพย์ 4,000 ล้านบาท และการชำระคืนหนี้ภายใต้ พ.ร.บ. การบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 จำนวน 16,336.80 ล้านบาท
  • เงินกู้ให้กู้ต่อ เพิ่มขึ้น 1,029.60 ล้านบาท โดยแบ่งเป็น

การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยเบิกจ่ายเงินกู้มากกว่าการชำระคืน จำนวน 598.74 ล้านบาท โดยเป็นการเบิกจ่ายเงินกู้ จำนวน 706.74 ล้านบาท (เพื่อจัดทำโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน วงเงิน 278.65 ล้านบาท โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว วงเงิน 370.87 ล้านบาท และโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง วงเงิน 57.22 ล้านบาท) และชำระคืนต้นเงินกู้ จำนวน 108 ล้านบาท

การรถไฟแห่งประเทศไทย จำนวน 430.86 ล้านบาท เพื่อจัดทำโครงการปรับปรุงทางรถไฟที่ ไม่ปลอดภัย 8 สายทาง วงเงิน 335.74 ล้านบาท และโครงการรถไฟสายสีแดง วงเงิน 95.12 ล้านบาท

  • การชำระต้นเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างหนี้ต่างประเทศที่กระทรวงการคลังค้ำประกัน จำนวน 175 ล้านบาท

1.2 หนี้ที่รัฐบาลกู้เพื่อชดใช้ความเสียหายให้แก่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ลดลงจากเดือนก่อนหน้า 20,450 ล้านบาท โดยมีรายการที่สำคัญเกิดจาก

  • เงินกู้ภายใต้ พ.ร.ก. ช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟู (FIDF 1) ลดลง จำนวน 12,644.87 ล้านบาท จากการชำระคืนต้นเงินกู้ จำนวน 22,644.87 โดยใช้เงินจากบัญชีสะสมเพื่อการชำระคืนต้นเงินกู้ชดใช้ความเสียหายของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ และการออกพันธบัตรรัฐบาล จำนวน 10,000 ล้านบาท เพื่อคืนเงินทดรองจ่ายจากบัญชี เงินฝากกระทรวงการคลัง (Premium FIDF1)
  • การชำระหนี้ภายใต้ พ.ร.ก. ช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูระยะที่ 2 (FIDF 3) จำนวน 7,805.13 ล้านบาท โดยใช้เงินจากบัญชีสะสมเพื่อการชำระคืนต้นเงินกู้ชดใช้ความเสียหายของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ

1.3 หนี้เงินกู้ล่วงหน้าเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ ลดลงจากเดือนก่อนหน้า 60,000 ล้านบาท เนื่องจากหนี้เงินกู้ดังกล่าวเป็นหนี้ที่กู้ล่วงหน้ามาเพื่อใช้ในการปรับโครงสร้างหนี้ ซึ่งได้นำไปชำระคืนหนี้พันธบัตรรัฐบาลภายใต้ พ.ร.บ. การบริหารหนี้สาธารณะฯ ที่ครบกำหนดเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2558

2. หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน

2.1 หนี้ที่รัฐบาลค้ำประกัน

2.1.1 หนี้ต่างประเทศ ลดลงจากเดือนก่อนหน้า จำนวน 1,001.64 ล้านบาท โดยเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนทำให้ยอดหนี้คงค้างในรูปเงินบาทลดลง 546.15 ล้านบาท ประกอบกับการเบิกจ่ายและชำระคืนหนี้สกุลเงินเยน ทำให้ยอดหนี้คงค้างในสกุลเงินบาทลดลง 455.49 ล้านบาท

2.1.2 หนี้ในประเทศ เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าเพิ่มขึ้น จำนวน 2,554.15 ล้านบาท เนื่องจาก

  • การรถไฟแห่งประเทศไทยออกพันบัตร 2,800 ล้านบาท และไถ่ถอนพันธบัตรที่ครบกำหนด 1,000 ล้านบาท
  • การประปาส่วนภูมิภาคออกพันธบัตร 600 ล้านบาท
  • รัฐวิสาหกิจมีการเบิกจ่ายจากแหล่งเงินกู้มากกว่าชำระคืนต้นเงินกู้ จำนวน 154.15 ล้านบาท โดยเป็นการเบิกจ่ายเงินกู้ 1,065 ล้านบาท และชำระคืนต้นเงินกู้ 910.85 ล้านบาท

2.2 หนี้ที่รัฐบาลไม่ค้ำประกัน

2.2.1 หนี้ต่างประเทศ ลดลงจากเดือนก่อนหน้า จำนวน 8,033.26 ล้านบาท โดยเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนทำให้ยอดหนี้คงค้างในรูปเงินบาทเพิ่มขึ้น 2,783.72 ล้านบาท ประกอบกับการเบิกจ่ายเงินและชำระคืนหนี้สกุลเงินต่างๆ ทำให้ยอดหนี้คงค้างในสกุลเงินบาทลดลง 10,816.98 ล้านบาท

2.2.2 หนี้ในประเทศ เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าลดลง 2,808.71 ล้านบาท เนื่องจาก

  • การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคออกพันธบัตร 3,000 ล้านบาท และไถ่ถอนพันธบัตร 90 ล้านบาท
  • การประปาส่วนภูมิภาคออกพันธบัตร 500 ล้านบาท
  • บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ไถ่ถอนหุ้นกู้ที่ครบกำหนด 3,000 ล้านบาท
  • การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยไถ่ถอนพันธบัตรที่ครบกำหนด 1,800 ล้านบาท
  • รัฐวิสาหกิจมีการเบิกจ่ายจากแหล่งเงินกู้ต่างๆ น้อยกว่าชำระคืนต้นเงินกู้ จำนวน 1,418.71 ล้านบาท โดยเป็นการเบิกจ่ายเงินกู้ 265.25 ล้านบาท และชำระคืนต้นเงินกู้ 1,683.96 ล้านบาท

3. หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน)

3.1 หนี้ต่างประเทศ ลดลงจากเดือนก่อนหน้า จำนวน 32.75 ล้านบาท โดยเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนทำให้ยอดหนี้คงค้างในรูปเงินบาทเพิ่มขึ้น 10.98 ล้านบาท ประกอบกับการเบิกจ่ายเงินและชำระคืนหนี้สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ทำให้ยอดหนี้คงค้างในสกุลเงินบาทลดลง 43.73 ล้านบาท

3.2 หนี้ในประเทศ เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าลดลง 4,589.01 ล้านบาท เนื่องจาก

  • ธนาคารอาคารสงเคราะห์ไถ่ถอนพันธบัตรที่ครบกำหนด 1,000 ล้านบาท
  • ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรเบิกจ่ายจากแหล่งเงินกู้น้อยกว่าชำระคืนต้นเงินกู้ จำนวน3,589.01 ล้านบาท โดยเป็นการเบิกจ่ายเงินกู้ 4,493 ล้านบาท และชำระคืนต้นเงินกู้ 8,082.01 ล้านบาท

ทั้งนี้ หากพิจารณาในรูปเงินบาท หนี้ต่างประเทศของรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน และรัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) หลังทำการป้องกันความเสี่ยงของอัตราแลกเปลี่ยน จำแนกเป็นสกุลเงินต่างๆ

4. หนี้หน่วยงานของรัฐ เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าลดลง จำนวน 898.42 ล้านบาท เนื่องจาก

  • กองทุนอ้อยและน้ำตาลทรายเบิกจ่ายจากแหล่งเงินกู้น้อยกว่าชำระคืนต้นเงินกู้ จำนวน 793.05 ล้านบาท โดยเป็นการเบิกจ่ายเงินกู้ 12.03 ล้านบาท และชำระคืนต้นเงินกู้ 805.08 ล้านบาท
  • สำนักงานธนานุเคราะห์ชำระคืนต้นเงินตามสัญญาเงินกู้ 88.95 ล้านบาท
  • สำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้านชำระคืนต้นเงินตามสัญญาเงินกู้ จำนวน 16.42 ล้านบาท

หนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 31 พฤษภาคม 2558 มีจำนวน 5,687,007.62 ล้านบาท ซึ่งหากแบ่งประเภทหนี้สาธารณะคงค้างเป็นหนี้ต่างประเทศ-หนี้ในประเทศ และหนี้ระยะยาว-หนี้ระยะสั้น มีรายละเอียด ดังนี้

หนี้ต่างประเทศและหนี้ในประเทศ หนี้สาธารณะคงค้าง จำนวน 5,687,007.62 ล้านบาท แบ่งออกเป็น หนี้ต่างประเทศ 333,986.39 ล้านบาท หรือร้อยละ 5.87 และหนี้ในประเทศ 5,353,021.23 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 94.13 ของยอดหนี้สาธารณะคงค้าง

หนี้ระยะยาวและหนี้ระยะสั้น แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้

  • หนี้ระยะยาวและหนี้ระยะสั้น (แบ่งตามอายุของเครื่องมือการกู้เงิน) หนี้สาธารณะคงค้าง จำนวน 5,687,007.62 ล้านบาท แบ่งออกเป็น หนี้ระยะยาว 5,538,910.47 ล้านบาท หรือร้อยละ 97.40 และ หนี้ระยะสั้น 148,097.15 ล้านบาท หรือร้อยละ 2.60 ของยอดหนี้สาธารณะคงค้าง
  • หนี้ระยะยาวและหนี้ระยะสั้น (แบ่งตามอายุคงเหลือ) หนี้สาธารณะคงค้าง จำนวน 5,687,007.62 ล้านบาท แบ่งออกเป็น หนี้ระยะยาว 4,968,692.78 ล้านบาท หรือร้อยละ 87.34 และหนี้ระยะสั้น 718,314.84 ล้านบาท หรือร้อยละ 12.63 ของยอดหนี้สาธารณะคงค้าง

ส่วนวิจัยนโยบายหนี้สาธารณะ สำนักนโยบายและแผน สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ

โทร. 0 2265 8050 ต่อ 5512, 5522

เอกสารแนบ 2

สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะขอสรุปผลการบริหารจัดการหนี้ภาครัฐที่ดำเนินการโดยสำนักงาน บริหารหนี้สาธารณะ ประจำเดือนพฤษภาคม 2558 วงเงินรวม 115,294.64 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นหนี้รัฐบาล 103,891.88 ล้านบาท และหนี้รัฐวิสาหกิจ 11,402.76 ล้านบาท

1. การบริหารจัดการหนี้รัฐบาล วงเงินรวม 103,891.88 ล้านบาท

1.1 ผลการกู้เงินในประเทศของรัฐบาล กระทรวงการคลังกู้เงินและเบิกจ่ายเงินกู้ จำนวน 25,137.60 ล้านบาท รายละเอียด ดังนี้

1.1.1 การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ จำนวน 24,000 ล้านบาท โดยการออกพันธบัตรรัฐบาลจำนวน 20,000 ล้านบาท และพันธบัตรออมทรัพย์จำนวน 4,000 ล้านบาท

1.1.2 การเบิกจ่ายเงินกู้ให้กู้ต่อ จำนวน 1,137.60 ล้านบาท โดยแบ่งเป็น (1) การให้กู้ต่อแก่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยเพื่อจัดทำโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง จำนวน 57.22 ล้านบาท สายสีน้ำเงิน จำนวน 278.65 ล้านบาท และสายสีเขียว จำนวน 370.87 ล้านบาท และ (2) การให้กู้ต่อแก่การรถไฟแห่งประเทศไทย เพื่อจัดทำโครงการรถไฟสายสีแดง จำนวน 95.12 ล้านบาท และโครงการปรับปรุงทางรถไฟที่ไม่ปลอดภัย 8 สายทาง จำนวน 335.74 ล้านบาท

1.2 ผลการกู้เงินและเบิกจ่ายเงินกู้ต่างประเทศของรัฐบาล

ในเดือนพฤษภาคม 2558 กระทรวงการคลังได้มีการเบิกจ่ายเงินกู้จากต่างประเทศ จำนวน 783.51 ล้านบาทรายละเอียดดังนี้

1.2.1 เบิกจ่ายเงินกู้จากธนาคารพัฒนาเอเชีย จำนวน 2.44 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็น 82.59 ล้านบาท สำหรับโครงการก่อสร้างทางสายหลักเป็น 4 ช่องจราจร (ระยะที่ 2) ของกรมทางหลวง

1.2.2 เบิกจ่ายเงินกู้จากองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (JICA) จำนวน 2,542.43 ล้านเยน หรือคิดเป็น 700.92 ล้านบาท แบ่งเป็นเงินกู้สำหรับโครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณถนนนนทบุรี 1 ของกรมทางหลวงชนบท จำนวน 122.96 ล้านเยน หรือคิดเป็น 33.90 ล้านบาท และเงินกู้เพื่อให้กู้ต่อแก่การรถไฟแห่งประเทศไทย สำหรับโครงการรถไฟสายสีแดง จำนวน 2,419.47 ล้านเยน หรือคิดเป็น 667.02 ล้านบาท

1.3 การปรับโครงสร้างหนี้ในประเทศของรัฐบาล จำนวน 23,000 ล้านบาท

1.3.1 การปรับโครงสร้างหนี้ในประเทศของรัฐบาล จำนวน 23,000 ล้านบาท

ในเดือนพฤษภาคม 2558 กระทรวงการคลังได้ดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้ในประเทศ ดังนี้

(1) การปรับโครงสร้างหนี้ R-bill ที่ครบกำหนด ซึ่งออกภายใต้ พ.ร.บ. การบริหารหนี้สาธารณะฯ พ.ศ. 2548 และที่แก้ไขเพิ่มเติม จำนวน 10,000 ล้านบาท โดยการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ทั้งจำนวน

(2) การปรับโครงสร้างหนี้ที่ออกภายใต้ พ.ร.ก. ช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ (FIDF 1) โดยการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการปรับโครงสร้างหนี้ จำนวน 13,000 ล้านบาท เพื่อ (1) ปรับโครงสร้างหนี้ตั๋วสัญญาใช้เงิน จำนวน 3,000 ล้านบาท (2) คืนเงินทดรองจ่ายจากบัญชีเงินฝากกระทรวงการคลัง (Premium FIDF 1) จำนวน 10,000 ล้านบาท

1.3.2 การกู้เงินล่วงหน้าเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ในประเทศของรัฐบาล ในเดือนพฤษภาคม 2558 ไม่มีการกู้เงินล่วงหน้าเพื่อปรับโครงสร้างหนี้

1.4 การชำระหนี้ของรัฐบาล กระทรวงการคลังได้ชำระหนี้ จำนวน 54,970.77 ล้านบาท โดยแบ่งเป็น

1.4.1 การชำระหนี้ของรัฐบาลจากงบประมาณ เป็นจำนวน 21,942.83 ล้านบาท รายละเอียด ดังนี้

  • ชำระหนี้ในประเทศ 19,132.62 ล้านบาท แบ่งเป็น ต้นเงิน 16,300 ล้านบาท และดอกเบี้ย 2,832.62 ล้านบาท
  • ชำระหนี้ต่างประเทศ 2,810.21 ล้านบาท แบ่งเป็น ต้นเงิน 2,789.87 ล้านบาท ดอกเบี้ย 20.30 ล้านบาท และค่าธรรมเนียม 0.04 ล้านบาท

1.4.2 การชำระหนี้ของรัฐบาลจากแหล่งอื่น เป็นจำนวน 33,027.94 ล้านบาท รายละเอียด ดังนี้

(1) การชำระหนี้พันธบัตรรัฐบาลที่ครบกำหนด ซึ่งออกภายใต้ พ.ร.บ. การบริหารหนี้สาธารณะฯ พ.ศ. 2548 และที่แก้ไขเพิ่มเติม จำนวน 36.80 ล้านบาท โดยใช้เงินจากบัญชีเงินกู้เพื่อการบริหารหนี้

(2) การชำระหนี้ภายใต้ พ.ร.ก. ช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ (FIDF 1) จำนวน 24,487.21 ล้านบาท แบ่งเป็น ชำระต้นเงิน 22,644.87 ล้านบาท ซึ่งในจำนวนนี้เป็นการชำระหนี้ล่วงหน้า จำนวน 8,204.87 ล้านบาทและชำระดอกเบี้ย จำนวน 1,842.34 ล้านบาท โดยใช้เงินจากบัญชีสะสมเพื่อการชำระคืนต้นเงินกู้ชดใช้ความเสียหายของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ

(3) การชำระหนี้ภายใต้ พ.ร.ก. ช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ (FIDF 3) จำนวน 8,220.93 ล้านบาท แบ่งเป็น การชำระต้นเงินล่วงหน้า จำนวน 7,805.13 ล้านบาท และชำระดอกเบี้ย จำนวน 415.80 ล้านบาท โดยใช้เงินจากบัญชีสะสมเพื่อการชำระคืนต้นเงินกู้ชดใช้ความเสียหายของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ

(4) การชำระหนี้ต้นเงินกู้ที่ออกภายใต้ พ.ร.บ. การบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 และที่แก้ไขเพิ่มเติม จำนวน 175 ล้านบาท โดยใช้เงินที่สำนักงบประมาณจัดสรรให้การการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เพื่อชำระหนี้เงินกู้ที่กระทรวงการคลังได้ปรับโครงสร้างหนี้แทนหน่วยงาน ซึ่งหนี้ดังกล่าวเป็นหนี้ต่างประเทศที่กระทรวงการคลังค้ำประกันและรัฐบาลรับภาระ

(5) การชำระหนี้ต้นเงินกู้ล่วงหน้าที่ออกภายใต้ พ.ร.บ. การบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 และที่แก้ไขเพิ่มเติม จำนวน 108 ล้านบาท โดยใช้เงินที่สำนักงบประมาณจัดสรรให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยเพื่อชำระหนี้ที่รัฐบาลให้กู้ต่อ

2. การบริหารจัดการหนี้รัฐวิสาหกิจ ในเดือนพฤษภาคม 2558 วงเงินรวม 11,402.76 ล้านบาท

2.1 ผลการกู้เงินในประเทศของรัฐวิสาหกิจ

ในเดือนพฤษภาคม 2558 รัฐวิสาหกิจมีการกู้เงินในประเทศเป็นเงิน 4,100 ล้านบาท

2.2 ผลการเบิกจ่ายเงินกู้ต่างประเทศของรัฐวิสาหกิจ

การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยเบิกจ่ายเงินกู้จาก JICA สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง จำนวน 35.41 ล้านเยน หรือคิดเป็น 9.76 ล้านบาท

2.3 ผลการปรับโครงสร้างหนี้ในประเทศของรัฐวิสาหกิจ

ในเดือนพฤษภาคม 2558 รัฐวิสาหกิจได้มีการปรับโครงสร้างหนี้ในประเทศเป็นเงิน 7,293 ล้านบาท

--กระทรวงการคลัง--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ