เอกสารแนบ: รายงานภาวะเศรษฐกิจภูมิภาคประจำเดือนสิงหาคม 2559

ข่าวเศรษฐกิจ Friday September 30, 2016 16:32 —กระทรวงการคลัง

เอกสารแนบ

"เศรษฐกิจภูมิภาคยังฟื้นตัวได้ต่อเนื่อง นำโดย ภาคเหนือ และภาคใต้ ตามแรงขับเคลื่อนของการบริโภคสินค้าคงทน และความเชื่อมั่นปรับตัวดีขึ้น ประกอบกับการลงทุน ภาครัฐที่ยังขยายตัวต่อเนื่อง นอกจากนี้ รายได้จากการเยี่ยมเยือนของนักท่องเที่ยวที่ขยายตัวได้ดีเกือบทุกภูมิภาค ช่วยให้เศรษฐกิจภูมิภาคยังขยายตัวต่อเนื่อง ขณะที่เสถียรภาพยังอยู่ ในเกณฑ์ดีทุกภูมิภาค"

1. ภาคเหนือ : การบริโภคภาคเอกชนขยายตัวได้ต่อเนื่อง สอดคล้องกับการลงทุนภาคเอกชนมีสัญญาณปรับตัวดีขึ้น ประกอบกับได้แรงขับเคลื่อนจากการลงทุนภาครัฐเข้ามา เสริม สำหรับด้านอุปทาน โดยเฉพาะการท่องเที่ยวยังขยายตัวได้ทั้งจำนวนและรายได้ ในขณะที่รายได้เกษตรกรหดตัว ตามการหดตัวของปริมาณและราคา ความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม ยังไม่กลับเข้าสู่ภาวะปกติ

ในด้านอุปสงค์ พบว่าการบริโภคสินค้าและบริการขยายตัวต่อเนื่อง โดยดูจากภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ เฉพาะส่วนที่เก็บบนฐานการใช้จ่ายขยายตัวที่ร้อยละ 5.7 ต่อปี สอดคล้องกับการบริโภคในหมวดสินค้าคงทน โดยดูจากยอดรถยนต์นั่งและรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ที่ขยายตัวในอัตราเร่งที่ร้อยละ 5.3 และร้อยละ 27.1 ต่อปี ตามลำดับ ตาม ปรับตัวดีขึ้นของดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค สอดคล้องกับการลงทุนภาคเอกชนที่ส่งสัญญาณเริ่มปรับตัวดีขึ้นเช่นกัน สะท้อนได้จากยอดรถปิคอัพจดทะเบียนใหม่กลับมาขยายตัวอีกครั้งที่ร้อยละ 3.7 ต่อปี โดยเป็นการขยายตัวในจังหวัดเศรษฐกิจสำคัญ อาทิ เชียงใหม่ สุโขทัย กำแพงเพชร พิษณุโลก และแม่ฮ่องสอน เป็นสำคัญ เช่นเดียวกับเม็ดเงินลงทุนในโรงงานอุตสาหกรรม ที่กลับมาขยายตัวในอัตราเร่งที่ร้อยละ 229.1 ต่อปี โดยเป็นการลงทุนในโรงงานการผลิตผลิตภัณฑ์เคมีในจังหวัดกำแพงเพชร เม็ดเงินลงทุน 8.2 พันล้านบาท อย่างไรก็ดียอดรถบรรทุก จดทะเบียนใหม่ยังคงหดตัวที่ร้อยละ -6.6 ต่อปี ในด้านรายจ่ายลงทุนของรัฐบาลในภูมิภาคยังขยายตัวในระดับสูงที่ร้อยละ 43.2 ต่อปี

ในด้านอุปทาน พบว่าการท่องเที่ยวขยายตัวดีทั้งจำนวนและรายได้ โดยมีจำนวนนักท่องเที่ยว 3.0 ล้านคนครั้ง ขยายตัวในอัตราเร่งที่ร้อยละ 18.2 ต่อปี แบ่งเป็นนักท่องเที่ยว ชาวไทยขยายตัวในระดับสูงที่ร้อยละ 23.6 ต่อปี และนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศที่ร้อยละ 6.1 ต่อปี ส่วนรายได้จากการเยี่ยมเยือนอยู่ที่ 12,764 ล้านบาท ขยายตัวขึ้นร้อยละ 18.2 ต่อปี แบ่งเป็นรายได้จากนักท่องเที่ยวชาวไทยขยายตัวในอัตราเร่งขึ้นที่ร้อยละ 19.1 ต่อปี และรายได้จากนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศขยายตัวร้อยละ 16.9 ต่อปี ส่วนภาคเกษตร พบว่าผลผลิต และราคาหดตัว ส่งผลให้รายได้เกษตรกรหดตัวเช่นกัน ในขณะที่ภาคอุตสาหกรรมยังมีสัญญาณชะลอตัว โดยดูจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมที่ยังอยู่ในระดับต่ำที่ 70.8 ปัจจัยลบ ได้แก่ คำสั่งซื้อ ยอดขาย ต้นทุน และผลประกอบการ

ในด้านเสถียรภาพภายใน พบว่ายังอยู่ในเกณฑ์ดี โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 1.1 ต่อปี ขณะที่จำนวนการว่างงานอยู่ที่ 60,065 คน คิดเป็นอัตราการว่างงาน ร้อยละ 0.8 ของกำลังแรงงาน (ข้อมูลเดือนกรกฎาคม)

ตารางที่ 1 เครื่องชี้เศรษฐกิจภาคเหนือ

หน่วย: %yoy                                            ปี 2558                                        ปี 2559
                                     ทั้งปี       Q1       Q2       Q3       Q4         Q1       Q2     มิ.ย.     ก.ค.     ส.ค.      YTD
เครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชน
ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่                12.2      8.3      9.7     13.4     17.8       20.4     14.8     16.2      3.8      5.7     14.4
บนฐานการใช้จ่ายภายใน
ยอดรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่              -13.9      -18    -22.1    -15.1       11       15.8      5.5      8.1     -6.5      5.3      8.7
ยอดรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่           -2.7     10.5     -8.5    -14.3      2.8       -2.8      2.7      3.6     11.8     27.1        4
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (ระดับ)           65.8     69.2     66.2     63.3     64.5       64.5     62.8     62.6     63.1     64.1     63.7
รายได้เกษตรกร                        -4.7     11.8      -18      -13     -9.9      -18.2     -3.1     -6.9    -16.5    -35.9    -16.7
เครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชน
ยอดรถปิคอัพจดทะเบียนใหม่                -6.1    -12.2    -17.1     -3.9       18       -1.4        0      9.4    -11.1      3.2     -1.4
ยอดรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่              -25.3    -36.2    -28.7      -18    -12.4       -4.8     -5.5    -10.6    -13.3     -6.6     -6.4
เม็ดเงินลงทุนในโรงงานอุตสาหกรรม         37.1    -54.8    177.8    260.8      -38        130    -49.6    209.3    -87.8    229.1     16.1
เครื่องชี้อุตสาหกรรม
ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (ระดับ)     81.6     82.7     78.5     78.8     86.5       81.6     74.1     70.3     69.9     70.8       76
เครื่องชี้การท่องเที่ยว
จำนวนผู้เยี่ยมเยือน                      16.3     20.8     24.6       22        6        5.5      5.9      4.3      9.5     18.2      7.6
รายได้จากการเยี่ยมเยือน                 16.3     28.2     24.9     22.2      3.8        9.8        8     10.1      5.8     18.2      9.7
เครื่องชี้เสถียรภาพเศรษฐกิจ
อัตราเงินเฟ้อทั่วไป                      -1.2     -0.6     -1.7     -1.5       -1       -0.4      1.5      1.8      1.1      1.1      0.7
อัตราการว่างงาน                        0.7      0.8      0.7      0.8      0.7        0.9      0.9      0.9      0.8        -      0.9
(% ต่อกำลังแรงงาน)
          ที่มา: กรมสรรพากร กรมการขนส่งทางบก มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กรมโรงงานอุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
ศูนย์วิจัยตลาดการท่องเที่ยว สำนักดัชนีการค้า สำนักงานสถิติแห่งชาติ คำนวณและรวบรวม: สศค.

          2. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : การบริโภคภาคเอกชน โดยเฉพาะการบริโภคสินค้าคงทนขยายตัวต่อเนื่อง สอดคล้องกับการลงทุนภาคเอกชนที่เริ่มมีสัญญาณปรับตัวดีขึ้น
โดยได้แรงขับเคลื่อนจากการลงทุนภาครัฐเข้ามาเสริม สำหรับด้านอุปทาน โดยเฉพาะการท่องเที่ยวยังขยายตัวได้ทั้งจำนวนและรายได้ ในขณะที่รายได้เกษตรกรหดตัว ตามการหดตัวของ
ปริมาณและราคา ความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมยังไม่กลับเข้าสู่ภาวะปกติ
          ในด้านอุปสงค์ พบว่าการบริโภคสินค้าและบริการ โดยเฉพาะการบริโภคสินค้าคงทน โดยดูจากยอดรถยนต์นั่ง และยอดรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ที่ขยายตัวในอัตรา
เร่งที่ร้อยละ 12.5 และ 12.5 ต่อปี ตามลำดับ เนื่องจากการขยายตัวของยอดรถยนต์จดทะเบียนในจังหวัดเศรษฐกิจสำคัญ อาทิ มุกดาหาร นครราชสีมา หนองคาย และบุรีรัมย์
อย่างไรก็ดีการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ เฉพาะส่วนที่เก็บบนฐานการใช้จ่ายยังคงหดตัวเล็กน้อยที่ร้อยละ -3.7 ต่อปี ในขณะที่การลงทุนเริ่มส่งสัญญาณปรับตัวดีขึ้น สะท้อนได้
จากยอดรถปิคอัพจดทะเบียนใหม่และยอดรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่กลับมาขยายตัวในอัตราเร่งที่ร้อยละ 7.5 และ 15.9 ต่อปี ตามลำดับ สอดคล้องกับเม็ดเงินลงทุนในโรงงานอุตสาหกรรม
ที่กลับมาขยายตัวในระดับสูงเช่นกันที่ร้อยละ 83.5 ต่อปี โดยเป็นการลงทุนในโรงงานการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงชีวมวล ในจังหวัดกาฬสินธุ์ เม็ดเงิน 3.03 พันล้านบาท
เช่นเดียวกันกับรายจ่ายลงทุนของรัฐบาลในภูมิภาคขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 31.8 ต่อปี
          ในด้านอุปทาน พบว่าการท่องเที่ยวขยายตัวทั้งจำนวนและรายได้ โดยมีจำนวนนักท่องเที่ยว 3.3 ล้านคนครั้ง ขยายตัวที่ร้อยละ 7.5 ต่อปี แบ่งเป็นนักท่องเที่ยวชาวไทย
ขยายตัวร้อยละ 3.5 ต่อปี และนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศที่กลับมาขยายตัวในอัตราเร่งที่ร้อยละ 45.3 ต่อปี ส่วนรายได้จากการเยี่ยมเยือนอยู่ที่ 5,940 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ
6.9 ต่อปี แบ่งเป็นรายได้จากนักท่องเที่ยวชาวไทยขยายตัวร้อยละ 4.5 ต่อปี และรายได้จากนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 26.3 ต่อปี ส่วนภาคเกษตร  พบว่า
ผลผลิตและราคาหดตัว ส่งผลให้รายได้เกษตรหดตัวเช่นกัน สอดคล้องกับภาคอุตสาหกรรมยังมีสัญญาณชะลอตัว โดยดูจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมที่ยังอยู่ในระดับต่ำที่ 76.5 ปัจจัยลบ
ได้แก่ คำสั่งซื้อ ยอดขาย ผลผลิต และผลประกอบการ
          ในด้านเสถียรภาพภายใน พบว่ายังอยู่ในเกณฑ์ดี โดยอัตราเงินเฟัอทั่วไปอยู่ในระดับที่ยังเอื้อต่อการบริโภคภายในภูมิภาคที่ร้อยละ 0.8 ต่อปี ขณะที่จำนวนการว่างงานอยู่ที่
86,095 คน คิดเป็นอัตราการว่างงานร้อยละ 1.1 ของกำลังแรงงาน (ข้อมูลเดือนกรกฎาคม)

ตารางที่ 2 เครื่องชี้เศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

หน่วย: %yoy                                            ปี 2558                                        ปี 2559
                                     ทั้งปี       Q1       Q2       Q3       Q4         Q1       Q2     มิ.ย.     ก.ค.     ส.ค.      YTD
เครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชน
ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่                 7.2     10.4      6.8        8      3.6        6.4      2.8      8.6     -1.2     -3.7      2.9
บนฐานการใช้จ่ายภายใน
ยอดรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่              -13.6    -24.1    -20.4    -14.9     18.3       21.6      2.3        8     -4.8     12.5     10.4
ยอดรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่            0.8     11.5     -0.4      -10      3.1      -10.6      4.2     -1.3      4.9     12.5     -0.8
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (ระดับ)           66.8     70.6     67.2       64     65.2         65       63     62.9     63.5     64.3     66.8
รายได้เกษตรกร                        -9.1      3.5    -24.3    -23.5     -9.4      -17.4     -6.2     -3.7     -4.2    -18.9    -14.6
เครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชน
ยอดรถปิคอัพจดทะเบียนใหม่               -12.4    -14.9    -20.8    -15.5      8.1       -8.8     -7.8      5.5    -11.9      7.5     -7.2
ยอดรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่              -16.2    -23.1    -19.8     -7.9    -12.4       -5.6      0.6     11.1    -18.5     15.9     -2.7
เม็ดเงินลงทุนในโรงงานอุตสาหกรรม        -44.4       42    -53.7    -27.2    -67.2      -60.5    -19.5    -62.8    -77.9     83.5    -38.4
เครื่องชี้อุตสาหกรรม
ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (ระดับ)     81.4     84.8     81.5     77.6     81.8       79.9     74.6       76     75.4     76.5     76.9
เครื่องชี้การท่องเที่ยว
จำนวนผู้เยี่ยมเยือน                       3.6      3.3      1.8     -0.2      9.2       -6.9     -3.5        2     12.9      7.5     -1.3
รายได้จากการเยี่ยมเยือน                  5.8      3.5      4.3      2.5       12       -6.5     -2.4      2.1      8.5      6.9     -1.4
เครื่องชี้เสถียรภาพเศรษฐกิจ
อัตราเงินเฟ้อทั่วไป                      -0.6     -0.6     -0.9     -0.8     -0.2        0.3      1.3      1.5      0.6      0.8      0.8
อัตราการว่างงาน                        0.6      0.6      0.7      0.6      0.5        0.8      1.1      1.1      1.1        -      0.9
(% ต่อกำลังแรงงาน)
          ที่มา: กรมสรรพากร กรมการขนส่งทางบก มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กรมโรงงานอุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
ศูนย์วิจัยตลาดการท่องเที่ยว สำนักดัชนีการค้า สำนักงานสถิติแห่งชาติ คำนวณและรวบรวม: สศค.

          3. ภาคกลาง : การบริโภคภาคเอกชนขยายตัวได้ต่อเนื่อง สอดคล้องกับการลงทุนภาคเอกชนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักรมีสัญญาณปรับตัวดีขึ้น โดยได้แรงขับเคลื่อนจาก
การลงทุนภาครัฐเข้ามาเสริม สำหรับด้านอุปทาน โดยเฉพาะการท่องเที่ยวยังขยายตัวได้ทั้งจำนวนและรายได้ ในขณะที่รายได้เกษตรกรหดตัว ตามการหดตัวของปริมาณและราคา
ความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมยังไม่กลับเข้าสู่ภาวะปกติ
          ในด้านอุปสงค์ พบว่าการบริโภคสินค้าและบริการปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อน โดยดูจากภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ เฉพาะส่วนที่เก็บบนฐานการใช้จ่ายขยายตัวที่ร้อยละ
0.8 ต่อปี สอดคล้องกับการบริโภคสินค้าคงทนที่ขยายตัวในอัตราเร่ง โดยดูจากยอดรถยนต์นั่งและจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ ที่ขยายตัวที่ร้อยละ 20.3 และร้อยละ 17.2 ต่อปี ตามลำดับ
ตามการปรับตัวดีขึ้นของความดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค สอดคล้องกับการลงทุนภาคเอกชนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักรมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น จากยอดรถปิคอัพจดทะเบียนใหม่และรถบรรทุก
จดทะเบียนใหม่ขยายตัวร้อยละ 6.9 และ 21.1 ต่อปี ตามลำดับ อย่างไรก็ดีเม็ดเงินลงทุนในโรงงานอุตสาหกรรมยังคงหดตัวที่ร้อยละ -78.2 ต่อปี ในขณะที่รายจ่ายลงทุนของรัฐบาล
กลับมาขยายตัวในอัตราเร่งที่ร้อยละ 84.5 ต่อปี
          ในด้านอุปทาน พบว่าการท่องเที่ยวขยายตัวทั้งจำนวนและรายได้ โดยมีจำนวนนักท่องเที่ยว 2.5 ล้านคนครั้ง ขยายตัวที่ร้อยละ 7.2 ต่อปี แบ่งเป็นนักท่องเที่ยวชาวไทย
ขยายตัวร้อยละ 4.0 ต่อปี และนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศขยายตัวที่ร้อยละ 25.1 ต่อปี ส่วนรายได้จากการเยี่ยมเยือนอยู่ที่ 2,993 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 15.2 ต่อปี แบ่งเป็น
รายได้จากนักท่องเที่ยวชาวไทยขยายตัวร้อยละ 8.4 ต่อปี และรายได้จากนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศขยายตัวร้อยละ 44.3 ต่อปี ส่วนภาคเกษตรพบว่าผลผลิตและราคาหดตัว ส่งผล
ให้รายได้เกษตรหดตัวเช่นกัน ในขณะที่ภาคอุตสาหกรรมยังมีแนวโน้มชะลอตัว โดยดูจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 87.4 ปัจจัยลบ ได้แก่ คำสั่งซื้อ ยอดขาย ผลผลิต
และผลประกอบการ
          ในด้านเสถียรภาพภายใน พบว่ายังอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ โดยอัตราเงินเฟัอทั่วไปอยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 0.7 ต่อปี ขณะที่จำนวนการว่างงานอยู่ที่ 21,733 คน คิดเป็น
อัตราการว่างงานร้อยละ 1.6 ของกำลังแรงงาน สูงกว่าอัตราการว่างงานของประเทศ (ข้อมูลเดือนกรกฎาคม)

ตารางที่ 3 เครื่องชี้เศรษฐกิจภาคกลาง
หน่วย: %yoy                                            ปี 2558                                       ปี 2559
                                     ทั้งปี       Q1       Q2       Q3       Q4         Q1       Q2     มิ.ย.     ก.ค.     ส.ค.      YTD
เครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชน
ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่                11.5     12.5     12.4      8.7     12.4        5.2      7.6      9.9     10.6      0.8      6.2
บนฐานการใช้จ่ายภายใน
ยอดรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่              -10.8    -17.3    -22.8    -11.8     29.3       16.2     13.4     19.9     13.1     20.3     15.4
ยอดรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่           -6.1      9.3    -12.2    -13.9     -6.9       -6.8      9.3      8.1     -4.1     17.2      1.9
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (ระดับ)           62.4     66.2     62.8     59.5       61       60.8     58.7     58.4     59.1     60.2     59.7
รายได้เกษตรกร                        -8.5     -2.7    -16.9    -17.1     -3.9       -6.9     -1.2      5.7      4.4     -0.7     -3.5
เครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชน
ยอดรถปิคอัพจดทะเบียนใหม่               -19.8    -26.2    -24.8    -10.2    -10.7        1.7      6.8     22.3    -11.1      6.9      2.5
ยอดรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่                -17    -15.4     -3.5    -18.2    -30.3      -12.3    -27.7    -24.7    -29.9     21.1    -18.2
เม็ดเงินลงทุนในโรงงานอุตสาหกรรม         41.2     87.2    -14.9    -41.5      235        6.4    -60.5      -72    -94.1    -78.2      -48
เครื่องชี้อุตสาหกรรม
ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (ระดับ)       88     92.4     87.2     84.3       88       89.7     89.7     88.3       88     87.4     89.2
เครื่องชี้การท่องเที่ยว
จำนวนผู้เยี่ยมเยือน                      -2.9      4.9    -12.3     -8.2      6.9       16.7     17.2       20      7.6      7.2     13.2
รายได้จากการเยี่ยมเยือน                  3.3      8.7    -18.1     -5.1       25       31.6     35.1     33.4     15.3     15.2     27.2
เครื่องชี้เสถียรภาพเศรษฐกิจ
อัตราเงินเฟ้อทั่วไป                      -0.2     -0.1     -0.5     -0.4      0.3          0      1.1      1.2      0.7      0.7      0.6
อัตราการว่างงาน                        1.1      1.1      1.2        1      1.2        1.3      1.8      1.9      1.6        -      1.5
(% ต่อกำลังแรงงาน)
          ที่มา: กรมสรรพากร กรมการขนส่งทางบก มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กรมโรงงานอุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
ศูนย์วิจัยตลาดการท่องเที่ยว สำนักดัชนีการค้า สำนักงานสถิติแห่งชาติ คำนวณและรวบรวม: สศค.

          4. ภาคตะวันออก : การบริโภคภาคเอกชน โดยเฉพาะการบริโภคสินค้าคงทนขยายตัวต่อเนื่อง สอดคล้องกับการลงทุนภาคเอกชนที่เริ่มปรับตัวดีขึ้น แต่การลงทุนภาครัฐหด
ตัวลง สำหรับด้านอุปทาน โดยเฉพาะการท่องเที่ยวยังขยายตัวได้ทั้งจำนวนและรายได้ ในขณะที่รายได้เกษตรกรขยายตัว ตามการขยายตัวของราคาสินค้าเกษตร ความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม
ยังไม่กลับเข้าสู่ภาวะปกติ
          ในด้านอุปสงค์ พบว่าการบริโภคสินค้าและบริการ โดยเฉพาะการบริโภคในหมวดสินค้าคงทนขยายตัวต่อเนื่อง โดยดูจากกับยอดรถยนต์นั่งและรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ที่
ขยายตัวในอัตราเร่งที่ร้อยละ 7.3 และ 22.6 ต่อปี ตามลำดับ ตามการปรับตัวดีขึ้นของราคาสินค้าเกษตรสำคัญ อย่างไรก็ดีการจัดภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ เฉพาะส่วนที่เก็บบนฐาน
การใช้จ่ายหดตัวลงร้อยละ -6.0 ต่อปี ในขณะที่การลงทุนภาคเอกชนเริ่มฟื้นตัวขึ้น สะท้อนได้จากยอดรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ และยอดรถปิคอัพจดทะเบียนใหม่ขยายตัวที่ร้อยละ 30.6
และ 0.2 ต่อปี ตามลำดับ สอดคล้องกับเม็ดเงินลงทุนในโรงงานอุตสาหกรรม ยังคงขยายตัวในระดับสูงที่ร้อยละ 93.6 ต่อปี โดยส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในโรงงานผลิตเครื่องถ่ายเอกสาร
อุปกรณ์เสริมและชิ้นส่วนอะไหล่ ในจังหวัดปราจีนบุรี เม็ดเงิน 3.56 พันล้านบาท และการลงทุนในประกอบและผลิตชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ และผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์สำหรับรถยนต์ เม็ดเงิน
1.4 พันล้านบาท และ โรงงานผลิตชิ้นส่วน และประกอบเครื่องปรับอากาศ เม็ดเงิน 1.1 พันล้านบาท ที่จังหวัดระยองเป็นสำคัญ ด้านการลงทุนภาครัฐในภูมิภาคกลับมาหดตัวที่ร้อยละ
-26.6 ต่อปี
          ในด้านอุปทาน พบว่าการท่องเที่ยวขยายตัวดีทั้งจำนวนและรายได้ โดยมีจำนวนนักท่องเที่ยว 3.7 ล้านคนครั้ง ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 40.9 ต่อปี แบ่งเป็นนักท่องเที่ยวชาวไทย
ขยายตัวในอัตราเร่งที่ร้อยละ 23.8 ต่อปี และนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศขยายตัวสูงต่อเนื่องที่ร้อยละ 99.7 ต่อปี ส่วนรายได้จากการเยี่ยมเยือนอยู่ที่ 20,089 ล้านบาท ขยายตัว
ร้อยละ 67.2 ต่อปี แบ่งเป็นรายได้จากนักท่องเที่ยวชาวไทยขยายตัวร้อยละ 32.1 ต่อปี และรายได้จากนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศขยายตัวในระดับสูงต่อเนื่องที่ร้อยละ 121.8 ต่อปี
ส่วนภาคเกษตรพบว่าผลผลิตหดตัว ในขณะที่ราคาสินค้าเกษตรขยายตัวในระดับสูง ส่งผลให้รายได้เกษตรกรขยายตัวเช่นกัน ในขณะที่ภาคอุตสาหกรรมมีสัญญาณชะลอตัว โดยดูจากดัชนี
ความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 98.0 ปัจจัยลบ ได้แก่ คำสั่งซื้อ ยอดขาย ผลผลิต และผลประกอบการ
          ในด้านเสถียรภาพภายใน พบว่ายังอยู่ในเกณฑ์ดี โดยอัตราเงินเฟัอทั่วไปอยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 0.2 ต่อปี ขณะที่จำนวนการว่างงานอยู่ที่ 29,908 คน คิดเป็นอัตราการ
ว่างงานร้อยละ 0.9 ของกำลังแรงงาน (ข้อมูลเดือนกรกฎาคม)

ตารางที่ 4 เครื่องชี้เศรษฐกิจภาคตะวันออก
หน่วย: %yoy                                             ปี 2558                                       ปี 2559
                                      ทั้งปี       Q1       Q2       Q3       Q4         Q1       Q2     มิ.ย.     ก.ค.    ส.ค.      YTD
เครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชน
ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่                 20.5     19.5     33.5     12.7     17.1        9.3     10.2     11.1      8.6      -6      7.7
บนฐานการใช้จ่ายภายใน
ยอดรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่               -15.2    -15.8    -23.1    -15.2     -1.9       20.2      2.5      9.1    -20.4     7.3      7.7
ยอดรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่             1.3     27.5       -1    -13.7     -5.7       -9.9     12.2     14.3      6.1    22.6      3.2
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (ระดับ)            66.5     70.3     66.7     63.6     65.3       65.1     62.4     61.7     62.9    63.9     63.7
รายได้เกษตรกร                         -5.7    -21.4    -13.6     19.2     -6.6       -6.9     17.4     10.8     14.1     2.5      9.4
เครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชน
ยอดรถปิคอัพจดทะเบียนใหม่                -11.5    -16.6    -26.7     -6.9     -0.1          0    -13.7     -0.7    -20.2     0.2     -7.1
ยอดรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่                -9.1     -7.2     -8.7     -3.3    -17.5       -8.5     -9.6     -1.3    -25.2    30.6       -7
เม็ดเงินลงทุนในโรงงานอุตสาหกรรม           3.8    154.3     72.8    -55.6      -57        1.1    -46.7     14.9    109.2    93.6    -20.5
เครื่องชี้อุตสาหกรรม
ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (ระดับ)      90.9       98       90     86.6     89.2       89.2     93.6     95.6     99.4      98     93.2
เครื่องชี้การท่องเที่ยว
จำนวนผู้เยี่ยมเยือน                       20.7       20     24.4     26.8     13.4       34.1     33.3     25.8     46.4    40.9     36.1
รายได้จากการเยี่ยมเยือน                  26.2     27.8     39.1     21.8     19.1       61.8     66.7       62     81.3    67.2     66.3
เครื่องชี้เสถียรภาพเศรษฐกิจ
อัตราเงินเฟ้อทั่วไป                       -1.4     -1.3     -1.6     -1.6     -1.3       -0.7      0.4      0.6      0.1     0.2     -0.1
อัตราการว่างงาน                         0.8      0.8      0.8        1      0.8          1      0.9      0.7      0.9       -      0.9
(% ต่อกำลังแรงงาน)
          ที่มา: กรมสรรพากร กรมการขนส่งทางบก มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กรมโรงงานอุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
ศูนย์วิจัยตลาดการท่องเที่ยว สำนักดัชนีการค้า สำนักงานสถิติแห่งชาติ คำนวณและรวบรวม: สศค.

          5. ภาคตะวันตก : การบริโภคภาคเอกชนขยายตัวได้ต่อเนื่อง โดยได้แรงขับเคลื่อนจากการลงทุนภาครัฐเข้ามาเสริมขณะที่การลงทุนภาคเอกชนยังเปราะบาง สำหรับด้าน
อุปทาน โดยเฉพาะการท่องเที่ยวยังขยายตัวได้ทั้งจำนวนและรายได้ ในขณะที่รายได้เกษตรกรหดตัว ตามการหดตัวของปริมาณและราคา ความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมยังไม่กลับเข้าสู่ภาวะปกติ
ในด้านอุปสงค์ พบว่าการบริโภคสินค้าและบริการขยายตัว โดยดูจากภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ เฉพาะส่วนที่เก็บบนฐานการใช้จ่ายกลับมาขยายตัวที่ร้อยละ 6.2 ต่อปี สอดคล้องกับการบริโภค
สินค้าคงทนที่ขยายตัวในอัตราเร่ง โดยดูจากยอดรถยนต์นั่งและยอดรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ขยายตัวที่ร้อยละ 42.3 และ 21.9 ต่อปี ตามลำดับ ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนยังเปราะบาง
จากยอดรถปิคอัพและยอดรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ที่ยังคงหดตัวร้อยละ -5.0 และ -2.2 ต่อปี ตามลำดับ อย่างไรก็ดีเม็ดเงินลงทุนในโรงงานอุตสาหกรรมกลับมาขยายตัวในระดับสูงที่ร้อยละ
141.9 ต่อปี โดยส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มดิบในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เม็ดเงิน 3.4 พันล้านบาท สอดคล้องกับ ด้านรายจ่ายภาคการคลัง โดยเฉพาะการลงทุน
ภาครัฐยังขยายตัวในอัตราเร่งที่ร้อยละ 51.4 ต่อปี และเป็นปัจจัยหลักที่ช่วยสนับสนุนการฟื้นตัวเศรษฐกิจภายในภูมิภาค
          ในด้านอุปทาน พบว่าการท่องเที่ยวขยายตัวทั้งจำนวนและรายได้ โดยมีจำนวนนักท่องเที่ยว 2.7 ล้านคนครั้ง กลับมาขยายตัวร้อยละ 3.3 ต่อปี แบ่งเป็นนักท่องเที่ยวชาวไทย
ขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 8.5 ต่อปี และนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศหดตัวร้อยละ -37.5 ต่อปี ส่วนรายได้จากการเยี่ยมเยือนอยู่ที่ 6,953 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 4.8 ต่อปี แบ่งเป็น
รายได้จากนักท่องเที่ยวชาวไทยขยายตัวร้อยละ 10.9 ต่อปี รายได้จากนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศหดตัวร้อยละ -19.2 ต่อปี ส่วนภาคเกษตรพบว่าผลผลิตและราคากลับมาหดตัว ผลให้
รายได้เกษตรกรหดตัวเช่นกัน สอดคล้องกับภาคอุตสาหกรรมยังมีสัญญาณชะลอลง จากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมที่ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 87.4 ตามปัจจัยลบ ได้แก่ คำสั่งซื้อ
ยอดขาย ผลผลิต และผลประกอบการที่ยังชะลอตัว
          ในด้านเสถียรภาพภายใน พบว่ายังอยู่ในเกณฑ์ดี โดยอัตราเงินเฟัอทั่วไปอยู่ในระดับที่เอื้อต่อการบริโภคภายในภูมิภาคที่ร้อยละ 1.1 ต่อปี ขณะที่จำนวนการว่างงานอยู่ที่
18,019 คน คิดเป็นอัตราการว่างงานร้อยละ 0.7 ของกำลังแรงงาน (ข้อมูลเดือนกรกฎาคม)

ตารางที่ 5 เครื่องชี้เศรษฐกิจภาคตะวันตก
หน่วย: %yoy                                           ปี 2558                                        ปี 2559
                                    ทั้งปี       Q1       Q2       Q3       Q4          Q1       Q2     มิ.ย.     ก.ค.     ส.ค.      YTD
เครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชน
ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่                2.6      3.6      3.9     -4.3      7.2         7.5      6.4      -29       -1      6.2      5.7
บนฐานการใช้จ่ายภายใน
ยอดรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่             -16.1    -15.8    -30.1    -20.2     20.5        16.2      8.8     27.6     -6.4     42.3     13.7
ยอดรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่            -2      7.1      3.9      -17     -0.8         1.1      5.7       16      6.4     21.9      5.7
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (ระดับ)          62.4     66.2     62.8     59.5       61        60.8     58.7     58.4     59.1     60.2     59.7
รายได้เกษตรกร                        3.9     14.8     -3.8      4.4    -13.3       -16.3    -12.6     -2.7    -16.1    -37.6    -16.7
เครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชน
ยอดรถปิคอัพจดทะเบียนใหม่               -5.6    -14.1    -19.8     -7.8     38.8        -4.1    -12.9      -16    -28.1       -5    -10.3
ยอดรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่             -15.1    -19.2    -18.8     -5.8    -15.7       -19.8       -7     -7.3    -32.6     -2.2    -15.6
เม็ดเงินลงทุนในโรงงานอุตสาหกรรม       103.8      -81    -52.3    216.1    929.3    1,402.70    147.5     11.3    -89.6    141.9    111.5
เครื่องชี้อุตสาหกรรม
ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (ระดับ)      88     92.4     87.2     84.3       88        89.7     89.7     88.3       88     87.4     89.2
เครื่องชี้การท่องเที่ยว
จำนวนผู้เยี่ยมเยือน                      0.8      8.8      0.9     -3.4       -1        -7.4     -5.2     -1.6      2.8      3.3     -3.7
รายได้จากการเยี่ยมเยือน                 3.1      0.6      9.4      6.4     -1.4        -3.8      5.4     17.7       12      4.8      2.6
เครื่องชี้เสถียรภาพเศรษฐกิจ
อัตราเงินเฟ้อทั่วไป                     -1.6       -1       -2     -1.9     -1.3        -0.3      1.2      1.2      0.8      1.1      0.6
อัตราการว่างงาน                       0.5      0.4      0.4      0.6      0.6         0.6      0.8      0.7      0.7        -      0.7
(% ต่อกำลังแรงงาน)
          ที่มา: กรมสรรพากร กรมการขนส่งทางบก มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กรมโรงงานอุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
ศูนย์วิจัยตลาดการท่องเที่ยว สำนักดัชนีการค้า สำนักงานสถิติแห่งชาติ คำนวณและรวบรวม: สศค.

          6. ภาคใต้ : การบริโภคภาคเอกชนขยายตัวได้ต่อเนื่อง ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนยังค่อยเป็นค่อยไป อีกทั้งยังได้แรงขับเคลื่อนจากการลงทุนภาครัฐเข้ามาเสริม
สำหรับด้านอุปทาน โดยเฉพาะการท่องเที่ยวยังขยายตัวได้ทั้งจำนวนและรายได้ สอดคล้องกับรายได้เกษตรกรขยายตัวในระดับสูงตัว ตามการขยายตัวของปริมาณและราคา ขณะที่
ความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมยังไม่กลับเข้าสู่ภาวะปกติ
          ในด้านอุปสงค์ พบว่าการบริโภคสินค้าและบริการขยายตัวดี โดยดูจากภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ เฉพาะส่วนที่เก็บบนฐานการใช้จ่ายขยายตัวเร่งขึ้นร้อยละ 7.9 ต่อปี
สอดคล้องกับการบริโภคในหมวดสินค้าคงทน สะท้อนจากยอดรถยนต์นั่งและจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ขยายตัวในอัตราเร่งเช่นกันที่ร้อยละ 14.8 และ 27.9 ต่อปี ตามลำดับ เนื่องจาก
การปรับตัวดีขึ้นของรายได้เกษตรกรเป็นสำคัญ ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนส่งสัญญาณปรับตัวดีขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป สะท้อนได้จากยอดรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่และรถปิคอัพจดทะเบียนใหม่
กลับมาขยายตัวในอัตราเร่งที่ร้อยละ 27.9 และ 0.1 ต่อปี ตามลำดับ แต่เม็ดเงินลงทุนในโรงงานอุตสาหกรรมกลับมาหดตัวลงเล็กน้อยที่ร้อยละ -1.5 ต่อปี เนื่องจากมีการเร่งการ
ลงทุนไปแล้วในจังหวัดสุราษฎร์ธานีและจังหวัดชุมพร ด้านรายจ่ายลงทุนของรัฐบาลในภูมิภาคยังคงขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 38.1 ต่อปี
          ในด้านอุปทาน พบว่าการท่องเที่ยวขยายตัวได้ดีทั้งจำนวนและรายได้ โดยมีจำนวนนักท่องเที่ยว 3.6 ล้านคนครั้ง ขยายตัวร้อยละ 13.4 ต่อปี แบ่งเป็นนักท่องเที่ยวชาวไทย
ที่กลับมาขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 12.4 ต่อปี และนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศขยายตัวร้อยละ 14.3 ต่อปี ส่วนรายได้จากการเยี่ยมเยือนอยู่ที่ 33,253 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 19.9
ต่อปี แบ่งเป็นรายได้จากนักท่องเที่ยวชาวไทยขยายตัวที่ร้อยละ 13.2 ต่อปี และรายได้จากนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศขยายตัวร้อยละ 22.6 ต่อปี ส่วนภาคเกษตรพบว่าผลผลิตและ
ราคาสินค้า ขยายตัวในอัตราเร่ง ส่งผลให้รายได้เกษตรขยายตัวเช่นกัน ในขณะที่ภาคอุตสาหกรรมยังส่งสัญญาณชะลอตัว โดยดูจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมปรับตัวลดลงมาอยู่ที่
ระดับ 81.5 ปัจจัยลบ ได้แก่ คำสั่งซื้อ ยอดขาย ผลผลิต และผลประกอบการที่ยังชะลอตัว
          ในด้านเสถียรภาพภายใน พบว่ายังอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ โดยอัตราเงินเฟัอทั่วไปอยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 0.3 ต่อปี ขณะที่จำนวนการว่างงานอยู่ที่ 68,738 คน คิดเป็นอัตรา
การว่างงานร้อยละ 1.2 ของกำลังแรงงาน (ข้อมูลเดือนกรกฎาคม)

ตารางที่ 6 เครื่องชี้เศรษฐกิจภาคใต้
หน่วย: %yoy                                            ปี 2558                                        ปี 2559
                                      ทั้งปี       Q1       Q2       Q3       Q4         Q1       Q2     มิ.ย.     ก.ค.    ส.ค.      YTD
เครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชน
ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่                  8.3      4.8      8.3     11.2      9.6       10.9     10.5     12.5      1.9     7.9      9.4
บนฐานการใช้จ่ายภายใน
ยอดรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่               -21.7    -27.2    -29.8    -16.6     -4.2       14.2        5      6.3    -13.7    14.8      7.7
ยอดรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่             0.5      0.8      0.1     -6.3      8.7       -5.3      8.6      6.1      3.5    27.9      4.7
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (ระดับ)            69.2     73.3       70     66.4     67.2       66.8     64.9     64.6     65.2    66.1     65.8
รายได้เกษตรกร                        -18.5    -25.6    -14.8    -17.7    -15.6      -13.1     -2.8     -7.9       18    24.7      0.1
เครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชน
ยอดรถปิคอัพจดทะเบียนใหม่                -12.5    -26.7    -17.2     -0.9     20.6        9.3      0.8      8.5    -18.6     0.1      1.4
ยอดรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่               -14.2     -9.7    -20.1    -17.6     -6.8        9.2     -1.2     -9.4    -18.6    27.9      3.3
เม็ดเงินลงทุนในโรงงานอุตสาหกรรม          41.6     64.3     -5.6    -48.4    124.5       27.9    -48.6    122.3    183.9    -1.5    -14.4
เครื่องชี้อุตสาหกรรม
ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (ระดับ)      83.8     84.7     85.6     83.3     81.5       84.1     84.3     81.7     84.6    81.5     83.9
เครื่องชี้การท่องเที่ยว
จำนวนผู้เยี่ยมเยือน                       13.4     19.9     16.3     11.5      6.1        9.7     18.7     18.2     11.4    13.4     13.4
รายได้จากการเยี่ยมเยือน                  24.9     39.5     29.5     22.6      9.3       12.9     26.7     28.4     22.1    19.9     18.7
เครื่องชี้เสถียรภาพเศรษฐกิจ
อัตราเงินเฟ้อทั่วไป                       -1.2     -0.7     -1.4     -1.4     -1.4         -1      0.2      0.5        0     0.3     -0.3
อัตราการว่างงาน                         1.2      1.1      1.1      1.2      1.3        1.3      1.4      1.3      1.2       -      1.3
(% ต่อกำลังแรงงาน)
          ที่มา: กรมสรรพากร กรมการขนส่งทางบก มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กรมโรงงานอุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
ศูนย์วิจัยตลาดการท่องเที่ยว สำนักดัชนีการค้า สำนักงานสถิติแห่งชาติ คำนวณและรวบรวม: สศค.

          7. กทม. และปริมณฑล: การบริโภคภาคเอกชน โดยเฉพาะการบริโภคสินค้าคงทนขยายตัวได้ต่อเนื่อง โดยได้แรงขับเคลื่อนจากการลงทุนภาครัฐเข้ามาเสริม แต่การลงทุน
ภาคเอกชนยังมีความเปราะบาง สำหรับด้านอุปทาน โดยเฉพาะภาคท่องเที่ยวหดตัวในด้านรายได้และจำนวน ขณะที่รายได้เกษตรกรหดตัว ตามผลผลิตสินค้าเกษตร ดัชนีความเชื่อมั่นภาค
อุตสาหกรรมปรับตัวลดลง
          ในด้านอุปสงค์ พบว่าการบริโภคสินค้าและบริการ โดยเฉพาะการบริโภคสินค้าคงทนขยายตัวดี โดยดูจากยอดรถจักรยานยนต์และรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ ขยายตัวในอัตรา
เร่งที่ร้อยละ 22.6 และ 1.2 ต่อปี ตามลำดับ อย่างไรก็ดีการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ เฉพาะส่วนที่เก็บบนฐานการใช้จ่ายหดตัวเล็กน้อยที่ร้อยละ -0.2 ต่อปี ในขณะที่การลงทุน
ภาคเอกชนยังมีความเปราะบาง  จากเม็ดเงินลงทุนในโรงงานอุตสาหกรรมกลับมาหดตัวที่ร้อยละ -85.4 ต่อปี และยอดรถปิคอัพจดทะเบียนใหม่ขยายตัวในอัตราชะลอลงที่ร้อยละ 2.3 ต่อปี
อย่างไรก็ดี ยอดรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ ขยายตัวได้ดีที่ร้อยละ 11.9 ต่อปี ทั้งนี้ ด้านรายจ่ายลงทุนของรัฐบาลในภูมิภาคยังขยายตัวในระดับสูงที่ร้อยละ 73.1 ต่อปี
          ในด้านอุปทาน พบว่าการท่องเที่ยวหดตัวลงทั้งจำนวนและรายได้ โดยมีจำนวนนักท่องเที่ยว 4.1 ล้านคนครั้ง หดตัวร้อยละ -23.0 ต่อปี แบ่งเป็นนักท่องเที่ยวชาวไทยหดตัว
ร้อยละ -35.9 ต่อปี นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศหดตัวร้อยละ -3.3 ต่อปี ส่วนรายได้จากการเยี่ยมเยือนอยู่ที่ 47,679 ล้านบาท หดตัวร้อยละ -17.0 ต่อปี แบ่งเป็นรายได้จาก
นักท่องเที่ยวชาวไทยหดตัวร้อยละ -41.3 ต่อปี รายได้จากนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศหดตัวร้อยละ -5.6 ต่อปี ส่วนภาคเกษตรพบว่าผลผลิตหดตัวในอัตราเร่ง ขณะที่ราคาขยายตัว
ในอัตราชะลอ ส่งผลให้รายได้เกษตรกรหดตัว สอดคล้องกับภาคอุตสาหกรรมยังมีสัญญาณชะลอตัว โดยดูจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมที่ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 87.4 ปัจจัยลบ
ได้แก่ คำสั่งซื้อ ยอดขาย ผลผลิต และผลประกอบการ
          ในด้านเสถียรภาพภายใน พบว่ายังอยู่ในเกณฑ์ดี โดยอัตราเงินเฟัอทั่วไปอยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 0.3 ต่อปี ขณะที่จำนวนการว่างงานอยู่ที่ 94,673 คน คิดเป็นอัตราการ
ว่างงานร้อยละ 0.8 ของกำลังแรงงาน (ข้อมูลเดือนกรกฎาคม)

ตารางที่ 7 เครื่องชี้เศรษฐกิจ กทม. และปริมณฑล
หน่วย: %yoy                                            ปี 2558                                         ปี 2559
                                     ทั้งปี       Q1       Q2       Q3       Q4         Q1       Q2     มิ.ย.     ก.ค.     ส.ค.      YTD
เครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชน
ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่                 7.6      9.7      8.7      4.6      7.5       -1.4      4.1      8.9      1.9     -0.2      1.2
บนฐานการใช้จ่ายภายใน
ยอดรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่              -10.2      -13    -24.1    -11.6     21.5       14.6     14.7     27.3     -1.1      1.2     11.1
ยอดรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่            0.6     10.1     -3.9     -7.5      4.8        8.4     12.9      5.5     12.4     22.6     12.2
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (ระดับ)           62.6     66.3     62.5     59.5       62       62.1     59.2     58.5     59.5       60     60.4
รายได้เกษตรกร                        -2.4      2.9     -6.5     -4.2       -4       -7.5      1.9      3.1      6.3     -4.4     -3.1
เครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชน
ยอดรถปิคอัพจดทะเบียนใหม่                -6.3    -13.7    -17.6     -0.5     15.6        3.3      1.7     10.2     32.8      2.3      6.1
ยอดรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่               -8.7     -5.7    -13.1     -8.5     -7.3      -15.4       -4      8.7      -22     11.9     -8.8
เม็ดเงินลงทุนในโรงงานอุตสาหกรรม          6.4     -2.2    -62.7     39.7    124.5      -43.4    -25.9    -47.5    -60.9    -85.4    -50.8
เครื่องชี้อุตสาหกรรม
ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (ระดับ)       88     92.4     87.2     84.3       88       89.7     89.7     88.3       88     87.4     89.2
เครื่องชี้การท่องเที่ยว
จำนวนผู้เยี่ยมเยือน                      28.4    -10.4     22.5     33.4     71.2       27.5     -3.6    -10.5      -22      -23      0.2
รายได้จากการเยี่ยมเยือน                 46.3      6.6     30.7     38.5     76.7       34.2      4.7     -2.1    -16.7      -17      6.7
เครื่องชี้เสถียรภาพเศรษฐกิจ
อัตราเงินเฟ้อทั่วไป                        -1     -1.2     -1.3       -1       -1       -0.3      0.4      0.4      0.1      0.3      0.1
อัตราการว่างงาน                          1        1        1        1        1        0.9      0.9      0.8      0.8        -      0.9
(% ต่อกำลังแรงงาน)
          ที่มา: กรมสรรพากร กรมการขนส่งทางบก มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กรมโรงงานอุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
ศูนย์วิจัยตลาดการท่องเที่ยว สำนักดัชนีการค้า สำนักงานสถิติแห่งชาติ คำนวณและรวบรวม: สศค.

          ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ