รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ระหว่างวันที่ 14 - 18 พฤศจิกายน 2559

ข่าวเศรษฐกิจ Monday November 21, 2016 13:59 —กระทรวงการคลัง

Executive Summary

Indicators this week
Indicators this week
  • รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ (หลังหักจัดสรรให้ อปท.) ในเดือนต.ค. 59 ได้จำนวน 203.8 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.8
  • ภาษีมูลค่าเพิ่มที่รัฐบาลจัดเก็บได้ในเดือน ต.ค. 59 มีมูลค่า 58,305 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการเติบโต ณ ระดับราคาที่แท้จริง ที่ร้อยละ 0.3 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนหน้า
  • ภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ในเดือน ต.ค. 59 หดตัวร้อยละ -2.9
  • ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือน ต.ค. 59 อยู่ที่ระดับ 86.5 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 84.8
  • การเบิกจ่ายงบประมาณรวมในเดือน ต.ค. 59 ปีงปม. 60 เบิกจ่ายได้ทั้งสิ้น 435.4 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.3
  • ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในเดือน ต.ค. 59 ซึ่งเป็นเดือนแรกของปี งปม. 60 พบว่า ดุลเงินงบประมาณ ขาดดุลจำนวน -280.9 พันล้านบาท
  • GDP สหภาพยุโรปฯ ไตรมาสที่ 3 ปี 59 (ปรับปรุง) ขยายตัวร้อยละ 1.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
  • GDP ญี่ปุ่น ไตรมาส 3 ปี 59 ขยายตัวร้อยละ 0.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
  • GDP ฮ่องกง ไตรมาส 3 ปี 59 ขยายตัวร้อยละ 1.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
  • GDP ฟิลิปปินส์ ไตรมาสที่ 3 ปี 59 ขยายตัวร้อยละ 7.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน

Indicator next week

Indicators Forecast Previous
Sep: API (%YOY)     6.1       4.0
  • ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรในเดือน ต.ค. 59 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 6.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ต่อเนื่องจากเดือน ก.ย. 59 ที่ดัชนีฯขยายตัวร้อยละ 4.0 เนื่องจากเป็นช่วงฤดูเก็บเกี่ยวพืชผลสำคัญ อาทิ ข้าวเปลือก ข้าวโพด และมันสำปะหลัง ในขณะที่หมวดปศุสัตว์ และประมง ไม่ได้มีการรายงานสถานการณ์โรคระบาด
Economic Indicators: This Week

รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ (หลังหักจัดสรรให้ อปท.) ในเดือนต.ค. 59 ได้จำนวน 203.8 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.8 ต่อปีและสูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 16.1 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 8.5 จากการนำส่งรายได้ของส่วนราชการอื่น และรัฐวิสาหกิจที่ขยายตัวร้อยละ 143.6 และ 80.5 ต่อปี ตามลำดับ ขณะที่การจัดเก็บภาษีฐานบริโภค (ภาษีมูลค่าเพิ่ม) เพิ่มขึ้น ร้อยละ 0.6 ต่อปี และการจัดเก็บภาษีฐานรายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.3 ต่อปี จากการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.7 ต่อปี และภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.7 ต่อปี ตามลำดับ

ภาษีมูลค่าเพิ่มที่รัฐบาลจัดเก็บได้ในเดือน ต.ค. 59 มีมูลค่า 58,305 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการเติบโต ณ ระดับราคาที่แท้จริง ที่ร้อยละ 0.3 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนหน้า ต่อเนื่องจากที่ขยายตัวในเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 3.2 หรือคิดเป็นการหดตัวร้อยละ -4.9 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า หลังขจัดผลทางฤดูกาล โดยภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บจากการบริโภคภายในประเทศขยายตัวร้อยละ 1.1 ขณะที่การจัดเก็บจากการนำเข้าหดตัวร้อยละ -0.9 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 59 ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ระดับราคาที่แท้จริงขยายตัวร้อยละ 1.6

ภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ในเดือน ต.ค. 59 หดตัวร้อยละ -2.9 ต่อปี และเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังปรับผลทางฤดูกาลออกแล้ว พบว่า หดตัวที่ร้อยละ -1.6 ต่อเดือน ทั้งนี้ ในช่วง 10 เดือนแรก ปี 59 ภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ขยายตัวร้อยละ 3.9 ต่อปี

ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือน ต.ค. 59 อยู่ที่ระดับ 86.5 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 84.8 โดยเป็นการปรับตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 เนื่องจากเป็นช่วงฤดูกาลที่มีคำสั่งซื้อสินค้าเพิ่มขึ้นเพื่อรองรับเทศกาลปีใหม่ ทั้งจากผู้บริโภคภายในประเทศ และต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม ดัชนีฯ ยังต่ำกว่าระดับ 100 เนื่องจากผู้ประกอบการยังมีความกังวลต่อต้นทุนสินค้า และความผันผวนของเศรษฐกิจโลก

Economic Indicators: This Week

การเบิกจ่ายงบประมาณรวมในเดือนต.ค. 59 ปีงปม. 60 เบิกจ่ายได้ทั้งสิ้น 435.4 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.3 ต่อปี โดยการเบิกจ่ายงบประมาณประจำปีปัจจุบันเบิกจ่ายได้ 422.4 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.5 ต่อปี คิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 15.5 ของวงเงินงบประมาณ (2,733.0 ล้านล้านบาท) โดยแบ่งออกเป็น (1) รายจ่ายประจำ 394.9 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.5 ต่อปี และ (2) รายจ่ายลงทุน 27.5 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.0 ต่อปี ทั้งนี้ การเบิกจ่ายงบประมาณที่สำคัญ ได้แก่ เงินอุดหนุนกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น 62.6 พันล้านบาท รายจ่ายอื่นของ ธกส. 54.1 พันล้านบาท และเงินอุดหนุนของกระทรวงศึกษาธิการ 45.5 พันล้านบาท

ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในเดือน ต.ค. 59 ซึ่งเป็นเดือนแรกของปี งปม.60 พบว่า ดุลเงินงบประมาณขาดดุลจำนวน -280.9 พันล้านบาท และเมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่เกินดุล 22.7 พันล้านบาท ส่งผลให้ดุลเงินสดก่อนกู้ขาดดุล -258.2 พันล้านบาท และเงินคงคลัง ณ สิ้นเดือน ต.ค. 59 อยู่ที่ 235.8 พันล้านบาท

ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศในเดือน ต.ค. 59 หดตัวที่ร้อยละ -5.0 ต่อปี และเมื่อปรับผลทางฤดูกาลออกแล้วพบว่า ขยายตัวที่ร้อยละ 2.2 ต่อเดือน ทำให้ในช่วง 10 เดือนแรก ของปี 59 ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์หดตัวที่ร้อยละ -1.7 ต่อปี เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ตามภาคการก่อสร้างที่ยังชะลอตัว

Economic Indicator: Next Week

ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรในเดือน ต.ค. 59 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 6.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ต่อเนื่องจากเดือน ก.ย. 59 ที่ดัชนีฯขยายตัวร้อยละ 4.0 เนื่องจากเป็นช่วงฤดูเก็บเกี่ยวพืชผลสำคัญ อาทิ ข้าวเปลือก ข้าวโพด และมันสำปะหลัง ในขณะที่หมวดปศุสัตว์ และประมง ไม่ได้มีการรายงานสถานการณ์โรคระบาด

Global Economic Indicators: This Week

US: mixed signal

ยอดค้าปลีก เดือน ต.ค. 59 ขยายตัวร้อยละ 2.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือขยายตัวร้อยละ 0.8 จากเดือนก่อน (ขจัดผลทางฤดูกาล) ชะลอลงจากยอดขายรถยนต์ที่ชะลอตัว ดุลการค้า เดือน ก.ย. 59 ขาดดุล 6.2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ขาดดุลลดลง จากมูลค่าส่งออกที่ขยายตัวเพียงร้อยละ 0.05 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่มูลค่านำเข้ากลับมาหดตัวร้อยละ -3.1 ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ต.ค. 59 หดตัวเป็นเดือนที่ 14 ที่ร้อยละ -0.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากการผลิตเชื้อเพลิงที่กลับมาหดตัว และสินค้าวัตถุดิบที่หดตัวต่อเนื่อง 14 เดือน ยอดสร้างบ้านใหม่ เดือน ต.ค. 59 ขยายตัวร้อยละ 25.5 จากเดือนก่อน (ขจัดผลทางฤดูกาล) จากยอดสร้างคอนโดมิเนียมที่ขยายตัว ใบอนุญาตก่อสร้างบ้านใหม่ เดือน ต.ค. 59 ขยายตัวร้อยละ 0.3 จากเดือนก่อน(ขจัดผลทางฤดูกาล) จากใบอนุญาตบ้านเดี่ยวที่ขยายตัวสูง อัตราเงินเฟ้อ เดือน ต.ค. 59 อยู่ที่ร้อยละ 1.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน สูงสุดในรอบ 2 ปี

China: mixed signal

ยอดค้าปลีก เดือน ต.ค. 59 ขยายตัวร้อยละ 10.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงเล็กน้อยจากเดือนก่อน การลงทุนในสินทรัพย์ถาวร เดือน ต.ค. 59 ขยายตัวร้อยละ 8.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นเล็กน้อย ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ต.ค. 59 ขยายตัวร้อยละ 6.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2

Eurozone: worsening economic trend

GDP ไตรมาสที่ 3 ปี 59 (ปรับปรุง) ขยายตัวร้อยละ 1.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือขยายตัวร้อยละ 0.4 จากไตรมาสก่อน (ขจัดผลทางฤดูกาล) ใกล้เคียงกับตัวเลขเบื้องต้น ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือน ก.ย. 59 ขยายตัวร้อยละ 1.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อน สอดคล้องกับการส่งออกเดือน ก.ย. 59 ที่ขยายตัวร้อยละ 2.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อน โดยสินค้าหลักโดยมากชะลอตัวลง ขณะที่การนำเข้าหดตัวร้อยละ -2.4 จากหมวดสินแร่เชื้อเพลิงและน้ำมันหล่อลื่น ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุล 2.6 หมื่นล้านยูโร

Japan: improving economic trend

GDP ไตรมาส 3 ปี 59 ขยายตัวร้อยละ 0.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือร้อยละ 0.5 จากไตรมาสก่อนหน้า (ขจัดผลทางฤดูกาล) เร่งขึ้นจากไตรมาสก่อน ผลจากการส่งออกสุทธิและการบริโภคภาครัฐที่ปรับตัวดีขึ้น จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ เดือน ต.ค. 59 ขยายตัวร้อยละ 16.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้า จากนักท่องเที่ยวจากเกาหลีใต้และไต้หวันที่ขยายตัวดี เมื่อวันที่ 17 พ.ย. 59 ธนาคารกลางญี่ปุ่นประกาศว่าจะเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลอายุ 1-3 ปี และ 3-5 ปี โดยใช้อัตราคงที่และไม่จำกัดวงเงิน

South Korea: worsening economic trend

มูลค่าการส่งออก เดือน ต.ค. 59 หดตัวชะลอลงที่ร้อยละ -3.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่มูลค่าการนำเข้าหดตัวร้อยละ -4.8 เร่งขึ้นจากเดือนก่อน ทำให้ดุลการค้าเกินดุล 7.0 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

Hong Kong: improving economic trend

GDP ไตรมาส 3 ปี 59 ขยายตัวร้อยละ 1.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากร้อยละ 1.7 ในไตรมาสก่อน หรือขยายตัวร้อยละ 0.6 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) จากอุปสงค์ในประเทศที่ปรับตัวดีขึ้น

India: mixed signal

อัตราเงินเฟ้อ เดือน ต.ค. 59 อยู่ที่ร้อยละ 3.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงเล็กน้อยเป็นเดือนที่ 3 มูลค่าส่งออก เดือน ต.ค. 59 ขยายตัวร้อยละ 9.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากจากเดือนก่อน แต่มูลค่านำเข้ากลับมาขยายตัวที่ร้อยละ 8.1 ทำให้ดุลการค้าขาดดุล -10.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

Indonesia: mixed signal

มูลค่าส่งออก เดือน ต.ค. 59 ขยายตัวร้อยละ 4.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อน จากสินค้าอุตสาหกรรมขณะที่มูลค่านำเข้า เดือน ต.ค. 59 ขยายตัวร้อยละ 3.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อน จากการหดตัวของน้ำมันและแก๊ส ทำให้ดุลการค้าเกินดุล 1.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

Philippines: mixed signal

GDP ไตรมาสที่ 3 ปี 59 ขยายตัวร้อยละ 7.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือขยายตัวร้อยละ 1.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (ขจัดผลทางฤดูกาล) เร่งขึ้นจากไตรมาสก่อนเล็กน้อย ผลจากการบริโภคภาคเอกชนและการลงทุนรวม

Singapore

ยอดค้าปลีก เดือน ก.ย. 59 ขยายตัวร้อยละ 1.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อน จากหมวดสินค้าด้านการแพทย์และสันทนาการ มูลค่าการส่งออกและการนำเข้า เดือน ต.ค. 59 หดตัวร้อยละ -9.2 และ -6.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ตามลำดับ ทำให้ดุลการค้าเกินดุล 5.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

UK:improving economic trend

อัตราการว่างงาน เดือน ก.ย. 59 อยู่ที่ร้อยละ 4.8 ต่อกำลังแรงงานรวม ลดลงจากเดือนก่อน อัตราเงินเฟ้อ เดือน ต.ค. 59 อยู่ที่ร้อยละ 0.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ทรงตัวจากเดือนก่อน ยอดค้าปลีก เดือน ต.ค. 59 ขยายตัวร้อยละ 7.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยขยายตัวสูงสุดในการค้าปลีกประเภทไม่มีหน้าร้านที่ขยายตัวร้อยละ 27.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน

Weekly Financial Indicators

ดัชนี SET ปรับตัวลดลงจากสัปดาห์ก่อน และเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบแคบช่วง 1470 - 1475 จุด โดย ณ วันที่ 17 พ.ย. 59 ดัชนีฯ ปิดที่ระดับ 1,473.85 จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยทั้งสัปดาห์ 57,709 ล้านบาท จากแรงขายของนักลงทุนต่างชาติ บัญชีบริษัทหลักทรัพย์ และนักลงทุนสถาบันในประเทศ จากความกังวลประเด็นความไม่ชัดเจนของนโยบายเศรษฐกิจของประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนใหม่ ความกังวลในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายสหรัฐฯ รวมทั้งราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ปรับตัวลดลงเป็นปัจจัยกดดันราคาหลักทรัพย์ในกลุ่มพลังงาน ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 14 - 17 พ.ย. 59 นักลงทุนต่างชาติขายหลักทรัพย์สุทธิ 9,732.80 ล้านบาท

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลปรับตัวเพิ่มขึ้น 1-32 bps จากแรงขายของนักลงทุนต่างชาติโดยเฉพาะในพันธบัตรระยะยาว ตามการคาดการณ์การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯ ที่จะมีการประชุมวันที่ 13-14 ธ.ค. 59 นี้ ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 14 - 17 พ.ย. 59 มีกระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติไหลออกจากพันธบัตรสุทธิ 39,434.30 ล้านบาท

เงินบาทอ่อนค่าลง โดย ณ วันที่ 17 พ.ย. 59 เงินบาทปิดที่ 35.43 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าลงร้อยละ 1.01 จากสัปดาห์ก่อน เป็นไปในทิศทางเดียวกับเงินสกุลภูมิภาคทั้งหมด อย่างไรก็ตาม เงินบาทอ่อนค่าลงน้อยกว่าเงินสกุลอื่นๆ โดยเฉลี่ย ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ในสัปดาห์นี้แข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.46 จากสัปดาห์ก่อน

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office

Tel 02-273-9020 Ext 3253 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ