รายงานสถานะหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2560

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday April 12, 2017 10:27 —กระทรวงการคลัง

นายธีรัชย์ อัตนวานิช ที่ปรึกษาด้านตลาดตราสารหนี้ ได้รายงานสถานะหนี้สาธารณะคงค้าง ดังนี้

          หนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2560 มีจำนวน 6,090,230.67 ล้านบาท โดยแบ่งเป็น หนี้รัฐบาล 4,637,934.90 ล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจ 972,466.27 ล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) 460,477.61 ล้านบาท และ หนี้หน่วยงานของรัฐ 19,351.89 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้า หนี้สาธารณะคงค้างเพิ่มขึ้นสุทธิ 30,586.06 ล้านบาท หนี้สาธารณะคงค้างต่อ GDP ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2560 คิดเป็นร้อยละ 41.96 ของ GDP ลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับ ณ สิ้นเดือนมกราคม 2560         ที่ร้อยละ 41.97

หนี้สาธารณะคงค้างจำนวน 6,090,230.67 ล้านบาท มีรายละเอียด ดังนี้

หนี้รัฐบาล จำนวน 4,637,934.90 ล้านบาท เพิ่มขึ้นสุทธิ 40,963.49 ล้านบาทโดยการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญเกิดจาก

การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณและการบริหารหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้น 46,889.03 ล้านบาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้

  • เงินกู้ระยะสั้น ลดลง 3,390 ล้านบาท เนื่องจากการลดลงของตั๋วเงินคลัง
  • เงินกู้ระยะยาว เพิ่มขึ้น 50,279.03 ล้านบาท เนื่องจากการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ

การกู้เงินเพื่อการลงทุนจากแหล่งเงินกู้ในประเทศ จำนวน 1,503.66 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นการกู้ให้กู้ต่อแก่ (1) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยเบิกจ่ายเงินกู้จำนวน 909.18 ล้านบาท เพื่อจัดทำโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว จำนวน 556.65 ล้านบาท และสีน้ำเงิน จำนวน 352.53 ล้านบาท และ (2) การรถไฟแห่งประเทศไทยเบิกจ่ายเงินกู้จำนวน 594.48 ล้านบาท เพื่อจัดทำโครงการก่อสร้างทางคู่ในเส้นทางรถไฟ สายชายฝั่งทะเลตะวันออก ช่วงฉะเชิงเทรา – คลองสิบเก้า - แก่งคอย จำนวน 306.39 ล้านบาท โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงชุมทางถนนจิระ – ขอนแก่น จำนวน 157.33 ล้านบาท โครงการปรับปรุงทางที่ไม่ปลอดภัยต่อการเดินรถ จำนวน 78.38 ล้านบาท และ โครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ - รังสิต จำนวน 52.38 ล้านบาท

  • การชำระหนี้ที่รัฐบาลกู้เพื่อชดเชยความเสียหายให้แก่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน จำนวน 7,385.82 ล้านบาท โดยใช้เงินจากบัญชีสะสมเพื่อการชำระคืนต้นเงินกู้ชดใช้ความเสียหายของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ
  • หนี้ต่างประเทศลดลง 43.38 ล้านบาท เนื่องจากการชำระคืนหนี้โครงการเงินกู้ภายใต้แผนงานเงินกู้รัฐบาลญี่ปุ่นเพื่อกระตุ้นการฟื้นฟูเศรษฐกิจ 800.73 ล้านเยน หรือ 265.32 ล้านบาท โครงการปรับปรุงและพัฒนาทางหลวงของกรมทางหลวงชนบท 3.5 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 109.17 ล้านบาท โครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณถนนนนทบุรี 251.96 ล้านเยน หรือ 73.50 ล้านบาท และผลการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยน รวมถึงการเบิกจ่ายโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดงช่วงบางซื่อ-รังสิต จำนวน1,667.34 ล้านเยน หรือ 522.68 ล้านบาท เป็นสำคัญ

หนี้ของรัฐวิสาหกิจ จำนวน 972,466.27 ล้านบาท ลดลงสุทธิ 7,014.04 ล้านบาท โดยการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญเกิดจาก

  • หนี้ในประเทศลดลงสุทธิ 4,475.11 ล้านบาท โดยรายการที่สำคัญเกิดจากหนี้ที่รัฐบาลไม่ค้ำประกันมีการชำระคืนหนี้สุทธิ จำนวน 5,441.13 ล้านบาท ซึ่งมาจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคไถ่ถอนพันธบัตรที่ครบกำหนด จำนวน 1,000 ล้านบาท และบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ไถ่ถอนหุ้นกู้ จำนวน 2,636 ล้านบาท เป็นสำคัญ
  • หนี้ต่างประเทศลดลง 2,538.93 ล้านบาท โดยรายการที่สำคัญเกิดจากการชำระคืนของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) และผลการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยน

หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) จำนวน 460,477.61 ล้านบาท ลดลงสุทธิ 3,208.18 ล้านบาท โดยรายการที่สำคัญเกิดจากการชำระคืนต้นเงินกู้ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

หนี้หน่วยงานของรัฐ จำนวน 19,351.89 ล้านบาท ลดลงสุทธิ 155.21 ล้านบาท จากการเบิกจ่ายจากแหล่งเงินกู้ต่างๆ น้อยกว่าชำระคืนต้นเงินกู้

หนี้สาธารณะ ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2560 จำนวน 6,090,230.67 ล้านบาท แบ่งออกเป็น หนี้ในประเทศ 5,769,794.70 ล้านบาท หรือร้อยละ 94.74 และหนี้ต่างประเทศ 320,435.97 ล้านบาท (ประมาณ 9,305 ล้านเหรียญสหรัฐ) หรือร้อยละ 5.26 ของหนี้สาธารณะคงค้างทั้งหมด และหนี้สาธารณะ คงค้างแบ่งตามอายุคงเหลือ สามารถแบ่งออกเป็นหนี้ระยะยาว 5,330,110.48 ล้านบาท หรือร้อยละ 87.52 และหนี้ระยะสั้น 760,120.19 ล้านบาท หรือร้อยละ 12.48 ของหนี้สาธารณะคงค้างทั้งหมด

คณะโฆษกสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ

โทร. 02 265 8050 ต่อ 5520

สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) ขอรายงานสถานะหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2560 ดังนี้

ยอดหนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2560 มีจำนวน 6,090,230.67 ล้านบาท หรือคิดเป็น ร้อยละ 41.96 ของ GDP เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้า หนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นสุทธิ 30,586.06 ล้านบาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1. หนี้รัฐบาล 4,637,934.90 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 40,963.49 ล้านบาท

2. หนี้รัฐวิสาหกิจ 972,466.27 ล้านบาท ลดลง 7,014.04 ล้านบาท

3. หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) 460,477.61 ล้านบาท ลดลง 3,208.18 ล้านบาท

4. หนี้หน่วยงานของรัฐ 19,351.89 ล้านบาท ลดลง 155.21 ล้านบาท

ทั้งนี้ สัดส่วนและรายละเอียดของหนี้สาธารณะ ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2560 ปรากฏตามแผนภาพที่ 1 และตารางที่ 1 ตามลำดับ

1. หนี้รัฐบาล

1.1 หนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าเพิ่มขึ้นสุทธิ 48,349.31 ล้านบาท เนื่องจาก

1.1.1 หนี้ต่างประเทศ ลดลงสุทธิ 43.38 ล้านบาท จากเดือนก่อนหน้า โดยเป็นผลจากการเบิกจ่ายและชำระคืนหนี้สกุลเงินต่างๆ และการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยน

1.1.2 หนี้ในประเทศ เพิ่มขึ้นสุทธิ 48,392.69 ล้านบาท จากเดือนก่อนหน้า เนื่องจาก

  • การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณและการบริหารหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้น 46,889.03 ล้านบาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้
  • เงินกู้ระยะสั้น ลดลง 3,390 ล้านบาท เนื่องจากการการลดลงของตั๋วเงินคลัง
  • เงินกู้ระยะยาว เพิ่มขึ้น 50,279.03 ล้านบาท เนื่องจากการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ
  • เงินกู้ให้กู้ต่อเพิ่มขึ้น 1,503.66 ล้านบาท เนื่องจาก
  • การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยเบิกจ่ายเงินกู้จำนวน 909.18 ล้านบาท เพื่อจัดทำโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว จำนวน 556.65 ล้านบาท และสีน้ำเงิน จำนวน 352.53 ล้านบาท
  • การรถไฟแห่งประเทศไทยเบิกจ่ายเงินกู้จำนวน 594.48 ล้านบาท เพื่อจัดโครงการก่อสร้างทางคู่ในเส้นทางรถไฟ สายชายฝั่งทะเลตะวันออก ช่วงฉะเชิงเทรา – คลองสิบเก้า - แก่งคอย จำนวน 306.39 ล้านบาท โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงชุมทางถนนจิระ – ขอนแก่น จำนวน 157.33 ล้านบาท โครงการปรับปรุงทางที่ไม่ปลอดภัยต่อการเดินรถ จำนวน 78.38 ล้านบาท และ โครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ - รังสิต จำนวน 52.38 ล้านบาท

1.2 หนี้ที่รัฐบาลกู้เพื่อชดเชยความเสียหายให้แก่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ลดลงจากเดือนก่อนหน้า จำนวน 7,385.82 ล้านบาท จากการชำระหนี้ที่กู้มาภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินและจัดการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน พ.ศ. 2541 (FIDF 1) จำนวน 6,920 ล้านบาท และหนี้ที่กู้มาภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินและจัดการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ระยะที่สอง พ.ศ. 2545 (FIDF 3) จำนวน 465.82 ล้านบาท โดยใช้เงินจากบัญชีสะสมเพื่อการชำระคืนต้นเงินกู้ชดใช้ความเสียหายของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ

2. หนี้รัฐวิสาหกิจ

2.1 หนี้ที่รัฐบาลค้ำประกัน

2.1.1 หนี้ต่างประเทศ ลดลงสุทธิ 309.66 ล้านบาท จากเดือนก่อนหน้า โดยเป็นผลจากการชำระคืนหนี้เงินเยน และการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยน

2.1.2 หนี้ในประเทศ เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าเพิ่มขึ้นสุทธิ 966.02 ล้านบาท โดยการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ เนื่องจากรัฐวิสาหกิจมีการเบิกจ่ายจากแหล่งเงินกู้ต่างๆ มากกว่าชำระคืนต้นเงินกู้

2.2 หนี้ที่รัฐบาลไม่ค้ำประกัน

2.2.1 หนี้ต่างประเทศ ลดลงสุทธิ 2,229.27 ล้านบาท จากเดือนก่อนหน้า โดยเป็นผลจากการชำระคืนหนี้สกุลเงินต่างๆ และการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยน

2.2.2 หนี้ในประเทศ เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าลดลงสุทธิ 5,441.13 ล้านบาท โดยการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ เนื่องจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคไถ่ถอนพันธบัตรที่ครบกำหนด จำนวน 1,000 ล้านบาท และบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ไถ่ถอนหุ้นกู้ จำนวน 2,636 ล้านบาท

3. หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน)

3.1 หนี้ต่างประเทศ ลดลงสุทธิ 30.18 ล้านบาท จากเดือนก่อนหน้า โดยเป็นผลจากการชำระคืนหนี้สกุลเงินเยน และการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยน

3.2 หนี้ในประเทศ เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าลดลงสุทธิ 3,178 ล้านบาท โดยการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ เนื่องจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรได้ออกพันธบัตร จำนวน 5,000 ล้านบาท และไถ่ถอนพันธบัตร จำนวน 1,000 ล้านบาท รวมถึง การชำระคืนต้นเงินกู้ 7,178 ล้านบาท ทั้งนี้ หากพิจารณาในรูปเงินบาท หนี้ต่างประเทศของรัฐวิสาหกิจ และรัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) หลังจากได้บริหารความเสี่ยงของอัตราแลกเปลี่ยนแล้ว

4. หนี้หน่วยงานของรัฐ ลดลง 155.21 ล้านบาท จากเดือนก่อนหน้า โดยการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ เนื่องจากการเบิกจ่ายจากแหล่งเงินกู้ต่างๆ น้อยกว่าชำระคืนต้นเงินกู้

หนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2560 จำนวน 6,090,230.67 ล้านบาท สามารถ แบ่งประเภทเป็นหนี้ต่างประเทศ-หนี้ในประเทศ และหนี้ระยะยาว-หนี้ระยะสั้นได้ ดังนี้

หนี้ต่างประเทศและหนี้ในประเทศ แบ่งออกเป็น หนี้ต่างประเทศ 320,435.97 ล้านบาท หรือร้อยละ 5.26และหนี้ในประเทศ 5,769,794.70 ล้านบาท หรือร้อยละ 94.74 ของยอดหนี้สาธารณะคงค้าง

หนี้ระยะยาวและหนี้ระยะสั้น แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้

  • หนี้ระยะยาวและหนี้ระยะสั้น (แบ่งตามอายุของเครื่องมือการกู้เงิน) แบ่งออกเป็น หนี้ระยะยาว 5,887,081.03 ล้านบาท หรือร้อยละ 96.66 และหนี้ระยะสั้น 203,149.64 ล้านบาท หรือร้อยละ 3.34 ของยอดหนี้สาธารณะคงค้าง
  • หนี้ระยะยาวและหนี้ระยะสั้น (แบ่งตามอายุคงเหลือ) แบ่งออกเป็น หนี้ระยะยาว 5,330,110.48 ล้านบาท หรือร้อยละ 87.52 และหนี้ระยะสั้น 760,120.19 ล้านบาท หรือร้อยละ 12.48 ของยอดหนี้สาธารณะคงค้าง

หมายเหตุ: การนำข้อมูลและ/หรือบทวิเคราะห์ของสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะไปใช้และ/หรือเผยแพร่ต่อ ขอความกรุณาอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลด้วย ส่วนวิจัยนโยบายหนี้สาธารณะ สำนักนโยบายและแผน สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ โทร. 0 2265 8050 ต่อ 5520

--กระทรวงการคลัง--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ