รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ระหว่างวันที่ 7 - 11 สิงหาคม 2560

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday August 15, 2017 15:21 —กระทรวงการคลัง

Executive Summary

Indicators this week
  • ระดับสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ในเดือน มิ.ย. 60 คิดเป็น 1.62 เท่าของสินทรัพย์สภาพคล่องที่ต้องดำรงตามกฎหมาย
  • ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยโดยรวมในเดือน ก.ค. 60 อยู่ที่ระดับ 62.2
  • อัตราการว่างงานในเดือน ก.ค. 60 อยู่ที่ร้อยละ 1.2 ของกำลังแรงงานทั้งหมด หรือคิดเป็นจำนวนผู้ว่างงาน 4.8 แสนคน
  • GDP สิงคโปร์ ไตรมาสที่ 2 ปี 60 ขยายตัวร้อยละ 2.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
  • GDP อินโดนีเซีย ไตรมาสที่ 2 ปี 60 ขยายตัวร้อยละ 5.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
  • อัตราการว่างงานของสหรัฐฯ ลดลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ ร้อยละ 4.3 ของกำลังแรงงานรวม
  • การส่งออกของจีน เดือน ก.ค. 60 ขยายตัวร้อยละ 6.0 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่การนำเข้าขยายตัวร้อยละ 10.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ต่ำสุดในรอบ 7 เดือน ส่งผลให้เกินดุลการค้า 46 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
  • ผลผลิตอุตสาหกรรมของสหราชอาณาจักร เดือน มิ.ย. 60 ขยายตัวร้อยละ 0.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
  • อัตราเงินเฟ้อของไต้หวัน เดือน ก.ค. 60 อยู่ที่ร้อยละ 0.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
Economic Indicators: This Week

ระดับสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ ในเดือน มิ.ย. 60 คิดเป็น 1.62 เท่าของสินทรัพย์สภาพคล่องที่ต้องดำรงตามกฎหมาย โดยยอดคงค้างสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบในเดือนดังกล่าวอยู่ที่ 3.4 ล้านล้านบาท ทั้งนี้ ธปท. ได้ปรับเกณฑ์การดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์จากเกณฑ์เดิมที่ต้องดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องไม่ต่ำกว่าร้อยละ 6 ของเงินรับฝากเป็นไม่ต่ำกว่าร้อยละ 100 (หรือ 1.0 เท่า) ของประมาณการกระแสเงินสดไหลออกสุทธิในสภาวะวิกฤต (Liquidity Coverage Ratio: LCR) ตั้งแต่เดือน ม.ค. 59

ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยโดยรวมในเดือน ก.ค. 60 อยู่ที่ระดับ 62.2 ลดลงจากระดับ 63.3 ในเดือนก่อน เป็นการปรับตัวลดลงเป็นเดือนที่สามติดต่อกัน เนื่องจากความกังวลปัญหา ค่าครองชีพและราคาสินค้าที่ยังอยู่ในระดับสูง ประกอบกับราคาพืชผลทางการเกษตรที่ยังอยู่ในระดับต่ำ โดยเฉพาะราคายางพารา มันสำปะหลัง และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ทั้งนี้ ความเชื่อมั่นผู้บริโภคเฉลี่ยตั้งแต่ต้นปี อยู่ที่ระดับ 64.0 ยังคงสูงกว่าค่าเฉลี่ยของปี 59 ที่อยู่ที่ระดับ 62.2

การจ้างงานเดือน ก.ค. 60 อยู่ที่ 38.0 ล้านคน ลดลง 4.2 แสนคน หรือคิดเป็นการหดตัวที่ร้อยละ -1.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน กลับมาหดตัวอีกครั้ง จากการจ้างงานภาคอุตสาหกรรมที่มีจำนวนการจ้างงานลดลงจำนวน 5.4 แสนคน หรือคิดเป็นการหดตัวที่ร้อยละ -6.2 ขณะที่การจ้างงานภาคเกษตรกรรมมีจำนวนการจ้างงานเพิ่มขึ้น 7.1 หมื่นคน หรือคิดเป็นการขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 0.6 รวมถึงการจ้างงานภาคบริการที่มีจำนวนการจ้างงานเพิ่มขึ้นเช่นกันจำนวน 6.8 หมื่นคน หรือคิดเป็นการขยายตัวที่ร้อยละ 0.3 สำหรับอัตราการว่างงานในเดือน ก.ค. 60 อยู่ที่ร้อยละ 1.2 ของกำลังแรงงานทั้งหมด หรือคิดเป็นจำนวนผู้ว่างงาน 4.8 แสนคน

Global Economic Indicators: This Week

US: mixed signal

การจ้างงานนอกภาคเกษตร เดือน ก.ค. 60 เพิ่มขึ้น 2.09 แสนตำแหน่งจากเดือนก่อนหน้า ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่เพิ่มขึ้น 2.31 แสนตำแหน่งจากเดือนก่อนหน้า ด้านอัตราการมีส่วนร่วมของกำลังแรงงาน เดือน ก.ค. 60 อยู่ที่ร้อยละ 62.9 ของประชากรวัยแรงงาน ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเดือนก่อน ขณะที่อัตราการว่างงานลดลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ร้อยละ 4.3 ของกำลังแรงงานรวม ใกล้เคียงกับเดือนก่อนเนื่องจากการว่างงานเพิ่มขึ้นในประเภทงานนอกเวลา (Part time) ด้านการส่งออกเดือน มิ.ย. 60 ขยายตัวร้อยละ 6.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 7.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน การนำเข้าขยายตัวร้อยละ 4.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 9.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน และขาดดุลการค้าที่ 6.6 หมื่นล้านดอลาร์สหรัฐ ลดลงจากการขาดดุลในเดือนก่อนหน้า

China: mixed signal

การส่งออกเดือน ก.ค. 60 ขยายตัวร้อยละ 6.0 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอลงจากร้อยละ 9.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อนในเดือนก่อนหน้า และต่ำสุดในรอบ 4 เดือน ในขณะที่การนำเข้า เดือน ก.ค. 60 ขยายตัวร้อยละ 10.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ต่ำสุดในรอบ 7 เดือน ส่งผลให้เกินดุลการค้า 46 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และอัตราเงินเฟ้อเดือน ก.ค. 60 อยู่ที่ร้อยละ 1.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากเดือนก่อนหน้า

UK: worsening economic trend

การส่งออก เดือน มิ.ย. 60 ขยายตัวร้อยละ 14.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 25.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน การนำเข้า เดือน มิ.ย. 60 ขยายตัวร้อยละ 4.0 จากช่วงเดียกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า และขาดดุลการค้าที่ 1.3 หมื่นล้านปอนด์ ด้านผลผลิตอุตสาหกรรม เดือน มิ.ย. 60 ขยายตัวร้อยละ 0.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 1.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน

Taiwan: mixed signal

การส่งออก เดือน ก.ค.60 ขยายตัวร้อยละ 12.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 13.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน การนำเข้า เดือน ก.ค. 60 ขยายตัวร้อยละ 6.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 3.7 จากช่วงเดียกวันปีก่อนส่งผลให้เกินดุลการค้าที่ 5.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่อัตราเงินเฟ้อเดือน ก.ค. 60 อยู่ที่ร้อยละ 0.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากเดือนก่อนหน้า

Singapore: improving economic trend

GDP ไตรมาสที่ 2 ปี 60 ขยายตัวร้อยละ 2.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือขยายตัวร้อยละ 2.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า และยอดค้าปลีกเดือน มิ.ย. 60 ขยายตัวร้อยละ 2.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน

Indonesia: improving economic trend

GDP ไตรมาสที่ 2 ปี 60 ขยายตัวร้อยละ 5.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือขยายตัวร้อยละ 4.0 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า สอดคล้องกับยอดค้าปลีก เดือน มิ.ย. 60 ขยายตัวร้อยละ 6.3 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เร่งตัวขึ้นจากเดือนก่อนหน้า และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน ก.ค.60 อยู่ที่ 123.4 จุด ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน

Philippines: mixed signal

การส่งออก เดือน มิ.ย. 60 ขยายตัวร้อยละ 0.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า การนำเข้า เดือน มิ.ย. 60 หดตัวร้อยละ -2.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หลังจากเดือนก่อนหน้าขยายตัว ส่งผลให้ขาดดุลการค้า 2.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่ผลผลิตอุตสาหกรรม เดือน มิ.ย. 60 ขยายตัวร้อยละ 5.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน และเมื่อวันที่ 10 ส.ค. 60 ธนาคารกลางฟิลิปปินส์ ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 3.0 ต่อปี

Malaysia: mixed signal

ผลผลิตอุตสาหกรรม เดือน มิ.ย. 60 ขยายตัวร้อยละ 4.0 จากช่วงเดียวกัน ปีก่อน ลดลงจากเดือนก่อนหน้า ยอดค้าปลีก เดือน มิ.ย. 60 ขยายตัวร้อยละ 13.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งตัวขึ้นจากเดือนก่อนหน้า

South Korea: improving economic trend

อัตราการว่างงาน เดือน ก.ค. 60 อยู่ที่ระดับร้อยละ 3.50 ของแรงงานรวม ลดลงจากร้อยละ 3.80 ในเดือนก่อนหน้า

Australia: worsening economic trend

ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน ส.ค. 60 อยู่ที่ระดับ 95.5 จุด ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 96.6 จุด

Weekly Financial Indicators

ดัชนี SET ปรับตัวสูงขึ้นในช่วงต้นสัปดาห์และลดลงในช่วงปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งเคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกัยตลาดหุ้นหลัก เช่น FTSE100 (สหราชอาณาจักร) STOXX50 (ยุโรป) และ SHSZ300 (เซี่ยงไฮ้เสินเจิ้น) เป็นต้น ขณะที่ Dow Jones ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องในสัปดาห์นี้ ด้วยประเด็นความตึงเครียดระหว่างสหรัฐและเกาหลีเหนือ โดย ณ วันที่ 10 ส.ค. 60 ดัชนีฯ ปิดที่ระดับ 1,571.64 จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยที่ 34,309.05 ล้านบาทต่อวัน จากแรงขายของนักลงทุนบัญชีบริษัทหลักทรัพย์และนักลงทุนต่างประเทศ ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 7 - 10 ส.ค. 60 นักลงทุนต่างชาติขายหลักทรัพย์สุทธิ - 71.16 ล้านบาท

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะสั้นและระยะกลางปรับตัวลดลง 1-5 bps โดยในสัปดาห์นี้มีการประมูลตั๋วเงินคลังอายุ 91 วัน ซึ่งมีนักลงทุนสนใจถึง 3.65 เท่าของวงเงินประมูล ทั้งนีระหว่างวันที่ 7 - 10 ส.ค. 60 มีกระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติไหลเข้าตลาดพันธบัตรสุทธิ 10,962.96 ล้านบาท

ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาเงินบาทแข็งค่าขึ้น โดย ณ วันที่ 10 ส.ค. 60 เงินบาทปิดที่ 33.25 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.12 จากสัปดาห์ก่อน สอดคล้องกับเยนและหยวนที่แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่เงินสกุลหลักอื่น ๆ โดยมากอ่อนค่าลง เช่น ยูโร ริงกิต วอน และดอลลาร์สิงคโปร์ ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) แข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.17

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office

Tel 02-273-9020 Ext 3253 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ