ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร: ยางพารา

ข่าวเศรษฐกิจ Monday April 11, 2016 15:29 —สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

1. สรุปภาวการณ์ผลิต การตลาดและราคาภายในประเทศ

ปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดน้อย เนื่องจากปิดกรีดในช่วงฤดูยางผลัดใบ ผู้ประกอบการในประเทศ ยังคงซื้อยางเพื่อส่งมอบให้ทันตามกำหนด รวมทั้งโครงการซื้อยางของภาครัฐประกอบกับค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลง อย่างไรก็ตาม ราคายางปรับตัวสูงขึ้นในกรอบจำกัด เนื่องจากยังคงมีปัจจัยลบจากราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มปรับตัวลดลง รวมทั้งเงินเยนที่แข็งค่าขึ้น

โครงการสร้างความเข้มแข็งให้แก่เกษตรกรชาวสวนยาง เพื่อช่วยค่าครองชีพเกษตรกรชาวสวนยางที่มีเอกสารสิทธิ์ประกอบด้วย เจ้าของสวนยางและหรือผู้เช่า และคนกรีดยาง ไร่ละ 1,500 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 15 ไร่ เจ้าของส่วนยาง/ผู้เช่าสวนยาง 900 บาทต่อไร่ คนกรีดยาง 600 บาทต่อไร่ โดย ธ.ก.ส. ได้โอนเงินให้เจ้าของสวน 643,100 ครัวเรือน (ร้อยละ 75.66) คิดเป็นพื้นที่ 6,414,000 ไร่ เป็นเงิน 5,772.60 ล้านบาท และคนกรีดยาง 608,906 ราย คิดเป็นพื้นที่ 6,094,399 ไร่ เป็นเงิน 3,656.64 ล้านบาท (ณ 5 เม.ย. 2559)

ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีเอ็มบี ประเมินแนวโน้มราคายางพาราในช่วงปี 2559 – 2560 จะทรงตัว จากปัจจัยหลัก ได้แก่ 1) ปริมาณความต้องการใช้ในอุตสาหกรรมยางล้อที่อาจเติบโตตามอุตสาหกรรมยานยนต์ประมาณ 3 % ต่อปี 2) ปริมาณการผลิตยางพาราจะเพิ่มขึ้น 4.0% ต่อปี จากขยายพื้นที่ปลูกของอินโดนีเซีย เวียดนาม จีน และอินเดีย 3) ปริมาณสต็อกยางพาราที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นตั้งแต่ปี 2553 ของอินโดนีเซีย เวียดนาม และจีน 4) ราคายางสังเคราะห์ที่เป็นสินค้าทดแทนยางพารา จะทรงตัวในระดับต่ำตามราคาน้ำมันดิบโลก ทำให้ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ยางปรับสัดส่วนการใช้ยางสังเคราะห์มากขึ้น ส่งผลกระทบทางลบแก่ชาวสวนยางพารา เนื่องจาก มีต้นทุนสูงกว่าราคาที่จะขายได้ ขณะที่ผู้ค้า/ผู้ส่งออก ต้องบริหารสต็อกยางพาราอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อช่วยบรรเทาผลกระทบ ด้านผู้ผลิตสินค้าที่ใช้ยางพาราเป็นวัตถุดิบจะได้รับผลประโยชน์จากต้นทุนวัตถุดิบที่ลดลง ทั้งนี้ การผลักดันนิคมอุตสาหกรรมกรรมยางพารา (Rubber City) ในเขตพื้นที่อุตสาหกรรมภาคใต้ จ.สงขลา ของภาครัฐจะช่วยให้ราคายางพารามีทิศทางดีขึ้น และประเทศมีรายได้จากสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มจากยางพารา

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

1. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 47.91 บาท เพิ่มขึ้นจาก 42.20 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 5.71 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.53

2. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 2 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 47.41 บาท เพิ่มขึ้นจาก 41.70 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 5.71 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.69

3. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 46.91 บาท เพิ่มขึ้นจาก 41.20 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 5.71 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.86

4. ยางก้อนคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 22.31 บาท เพิ่มขึ้นจาก 20.05 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 2.26 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.27

5. เศษยางคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.92 บาท เพิ่มขึ้นจาก 17.55 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 1.37 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.81

6. น้ำยางสดคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 44.69 บาท เพิ่มขึ้นจาก 40.38 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 4.31 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.67

ในสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 4, ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 5 และยางแผ่นดิบคละ

ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. ซื้อขายล่วงหน้าส่งมอบเดือนพฤษภาคม 2559

ณ ท่าเรือกรุงเทพ

1. ยางแผ่นรมควันชั้น 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 56.74 บาท เพิ่มขึ้นจาก 54.65 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 2.09 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.82

2. ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 55.59 บาท เพิ่มขึ้นจาก 53.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 2.09 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.91

3. ยางแท่ง (STR20) ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 48.11 บาท เพิ่มขึ้นจาก 46.41 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 1.70 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.66

4. น้ำยางข้น ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 39.19 บาท เพิ่มขึ้นจาก 37.35 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 1.84 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.93

ณ ท่าเรือสงขลา

1. ยางแผ่นรมควันชั้น 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 56.49 บาท เพิ่มขึ้นจาก 54.40 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 2.09 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.84

2. ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 55.34 บาท เพิ่มขึ้นจาก 53.25 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 2.09 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.92

3. ยางแท่ง (STR20) ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 47.86 บาท เพิ่มขึ้นจาก 46.16 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 1.70 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.68

4. น้ำยางข้น ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 38.94 บาท เพิ่มขึ้นจาก 37.10 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 1.84 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.96

2. สรุปภาวการณ์ผลิตการตลาดและราคาในตลาดต่างประเทศ

ราคาตลาดล่วงหน้าโตเกียวค่อนข้างผันผวน เนื่องจาก เงินเยนแข็งค่ามากที่สุดในรอบ 17 เดือน สำหรับปัจจัยบวกสำคัญได้แก่ อุปทานยางที่ออกสู่ตลาดน้อย และผู้ประกอบการมีความต้องการซื้อเพื่อเก็บสต็อกและส่งมอบอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับนักลงทุนขานรับข้อมูลภาคบริการของจีนที่มีแนวโน้มดีขึ้น รวมทั้งธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ยังไม่มีแนวโน้มจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเร็ว ๆ นี้ อย่างไรก็ตาม นักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัว โดยข้อมูลขององค์การการค้าโลก (WTO) คาดว่า การค้าโลกจะขยายตัวที่ระดับ 2.8% ต่ำกว่าที่คาดการณ์ก่อนหน้านี้ และราคาน้ำมันที่ปิดตลาดปรับตัวลดลง

ยางแผ่นรมควันชั้น 3

ราคาซื้อขายล่วงหน้าตลาดสิงคโปร์ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 159.30 เซนต์สหรัฐฯ (52.78 บาท) เพิ่มขึ้นจาก 150.58 เซนต์สหรัฐฯ (52.78 บาท) ของสัปดาห์ที่ผ่านมากิโลกรัมละ 8.72 เซนต์สหรัฐฯ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.79

ราคาซื้อขายล่วงหน้าตลาดโตเกียว เฉลี่ยกิโลกรัมละ 174.00 เยน (52.50 บาท) เพิ่มขึ้นจาก 170.22 เยน (52.50 บาท) ของสัปดาห์ที่ผ่านมากิโลกรัมละ 3.78 เยน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.22

--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 4 - 10 เม.ย. 2559--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ