ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร: ยางพารา

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday December 20, 2016 13:34 —สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

1. สรุปภาวการณ์ผลิต การตลาดและราคาภายในประเทศ

ราคายางพารามีการปรับตัวสูง โดยมีปัจจัยบวกจากปริมาณผลผลิตยางในตลาดที่มีน้อยเพราะมีฝนตกในพื้นที่ปลูกยาง และภาวะน้ำท่วมในพื้นที่ปลูกยางภาคใต้ของไทย ประกอบกับผู้แปรรูปยางดิบมีความต้องการยางเพื่อเป็นวัตถุดิบเข้าโรงงานอย่างต่อเนื่อง ทางด้านการคัดเลือกประธานคณะกรรมการเครือข่ายระดับประเทศ นายธีธัช สุขสะอาด ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) เปิดเผยว่า คณะกรรมการเครือข่ายสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางระดับประเทศ ได้มีการจัดประชุมร่วมกัน ภายใต้จากผู้แทน เครือข่ายสถาบันเกษตรกรในระดับต่างๆ ได้ทำการคัดเลือกผู้แทนมาดำรงตำแหน่งคณะกรรมการในแต่ละระดับตามกระบวนการและระเบียบขั้นตอนของกฎหมาย ทั้งในระดับสาขา จังหวัด เขต จนถึงประเทศ ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบในการดำเนินงานตั้งแต่ระดับนโยบายไปสู่การปฏิบัติในพื้นที่ ในขณะเดียวกัน กยท. จะทำหน้าที่เป็นองค์กรกลางในการเชื่อมโยงนโยบายบูรณาการร่วมกับคณะกรรมการเครือข่ายในการติดตามข้อมูลจากพื้นที่ทั่วประเทศ และร่วมกันสร้างวิธีปฏิบัติเพื่อให้เกษตรกรชาวสวนยางมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และมีรากฐานที่มั่นคงต่อไปในอนาคต ทั้งนี้คณะกรรมการเครือข่ายสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางยางระดับประเทศที่ผ่านการคัดเลือกจากผู้แทนเครือข่ายทั้ง 7 เขต 21 คน ลงคะแนนเสียงพร้อมลงมติให้ นายธีระชัย แสนแก้ว ประธานคณะกรรมการเครือข่ายสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง กยท. ระดับเขต ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน นั่งดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการเครือข่ายระดับประเทศ พร้อมคัดเลือกคณะกรรมการเครือข่าย ตำแหน่งต่างๆ เพื่อช่วยขับเคลื่อน และร่วมกันกำหนดนโยบายเดินหน้าภารกิจตามระเบียบการยางแห่งประเทศไทย ว่าด้วยเครือข่ายสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง พ.ศ. 2559

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

1. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 64.64 บาท เพิ่มขึ้นจาก 61.11 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 3.53 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.78

2. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 2 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 64.14 บาท เพิ่มขึ้นจาก 60.61 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 3.53 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.82

3. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 63.64 บาท เพิ่มขึ้นจาก 60.11 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 3.53 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.87

4. ยางก้อนคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.90 บาท เพิ่มขึ้นจาก 29.70 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 1.20 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.04

5. เศษยางคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 27.99 บาท เพิ่มขึ้นจาก 26.54 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 1.45 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.46

6. น้ำยางสดคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 56.35 บาทเพิ่มขึ้นจาก 53.58 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 2.77 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.17

ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. ซื้อขายล่วงหน้าส่งมอบเดือนมกราคม 2559

ณ ท่าเรือกรุงเทพ

1. ยางแผ่นรมควันชั้น 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 83.05 บาท เพิ่มขึ้นจาก 76.18 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 6.88 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.03

2. ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 81.90 บาท เพิ่มขึ้นจาก 75.03 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 6.88 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.16

3. ยางแท่ง (STR20) ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 71.63 บาท เพิ่มขึ้นจาก 65.09 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 6.54 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.04

4. น้ำยางข้น ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 47.60 บาท เพิ่มขึ้นจาก 44.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ3.60 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.18

ณ ท่าเรือสงขลา

1. ยางแผ่นรมควันชั้น 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 82.80 บาท เพิ่มขึ้นจาก 75.93 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 6.88 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.05

2. ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 81.65 บาท เพิ่มขึ้นจาก 74.78 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 6.88 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.19

3. ยางแท่ง (STR20) ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 71.38 บาท เพิ่มขึ้นจาก 64.84 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 6.54 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.08

4. น้ำยางข้น ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 47.35 บาท เพิ่มขึ้นจาก 43.75 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ3.60 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.23

2. สรุปภาวการณ์ผลิตการตลาดและราคาในตลาดต่างประเทศ

ราคายางในตลาดซื้อขายล่วงหน้าตลาดโตเกียวและตลาดสิงคโปร์ปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากปริมาณผลผลิตยางในประเทศผู้ผลิตมีปริมาณน้อยเพราะมีฝนตก โดยเฉพาะประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศผู้ผลิตยางรายใหญ่มีผนตกและน้ำท่วมในพื้นที่ภาคใต้ ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการเก็บน้ำยางของเกษตรกร ในขณะที่ปัจจัยลบ ได้แก่ การแข็งค่าขึ้นของอัตราแลกเปลี่ยนเงินเยน

ทางด้านสถานการณ์ด้านราคาของประเทศอินเดีย ที่ผ่านมาอุตสาหกรรมในประเทศอินเดียมีความจำเป็นที่ต้องนำเข้ายางจากประเทศต่าง ๆ ซึ่งปัจจุบันราคายางนำเข้ามีราคาถูกกว่ายางที่ผลิตในประเทศ ซึ่งเป็นผลจากผลผลิตยางในประเทศเพิ่มขึ้น ทำให้ราคาในประเทศถูกลง โดยราคายางในตลาดต่างประเทศในช่วงสัปดาห์สุดท้ายของเดือนพฤศจิกายนสูงกว่าราคายางในอินเดีย 10 รูปีต่อกิโลกรัม บวกกับค่าภาษีนำเข้า ทำให้ยางนำเข้ามีราคาอยู่ที่ 170 รูปีต่อกิโลกรัม ในขณะยางที่ผลิตในอินเดียมีราคา 130 รูปีต่อกิโลกรัม อย่างไรก็ตาม การขาดแคลนยางในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศในช่วงฤดูมรสุมได้สร้างความกังวลเนื่องจากผู้ผลิตในอุตสาหกรรมคาดว่าจะลดการผลิต ขณะที่ข้อมูลของคณะกรรมการยางอินเดียรายงานว่าในเดือนตุลาคมที่ผ่านมา การผลิตยางธรรมชาติอยู่ที่ 52,000 ตัน การใช้ยางธรรมชาติอยู่ที่ 82,650 ตัน และมีปริมาณการนำเข้า 44,520 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 3 และในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนตุลาคม ปีงบประมาณ 2559-2560 ปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าเกือบร้อยละ 11

ราคายางแผ่นรมควันชั้น 3

ราคาซื้อขายล่วงหน้าตลาดสิงคโปร์ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 233.42 เซนต์สหรัฐฯ (82.65 บาท) เพิ่มขึ้นจาก 213.84 เซนต์สหรัฐฯ (75.67 บาท) ของสัปดาห์ที่ผ่านมากิโลกรัมละ 19.58 เซนต์สหรัฐฯ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.16

ราคาซื้อขายล่วงหน้าตลาดโตเกียว เฉลี่ยกิโลกรัมละ 268.80 เยน (81.46 บาท) เพิ่มขึ้นจาก 233.18 เยน (71.98 บาท) ของสัปดาห์ที่ผ่านมากิโลกรัมละ 35.62 เยน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.28

--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 12 - 18 ธ.ค. 2559--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ