ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร: ประมง

ข่าวทั่วไป Friday July 24, 2009 15:18 —สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

1. สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ

การผลิต

เรือประมงหลังหมดเวลาผ่อนผันจับคนต่างด้าว

ทัพเรือภาค 3 ชี้แจงผู้ประกอบการประมงฝั่งอันดามันหลังผ่อนผันขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าว ดำเนินการจับกุมเข้ม ขณะที่ผู้ประกอบการร้องขอหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แก้ปัญหาแรงงานหลบหนี จี้ให้โควตาแรงงานต่างด้าวเรือแต่ละลำแบบจำกัดจำนวน เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา พลเรือโท ณรงค์เทศวิศาล ผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 3 ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานการปฏิบัติในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (ศรชล.) ประชุมผู้บริหารของศูนย์ประสานงานการปฏิบัติในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ร่วมกับนายกสมาคมประมงในฝั่งทะเลอันดามันทั้ง 6 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดภูเก็ต พังงา กระบี่ ตรัง ระนอง และสตูล เพื่อหาข้อสรุปและแนวทางในการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวทางทะเล ซึ่งขณะนี้รัฐบาลได้ประกาศให้นายจ้างนำแรงงานต่างด้าวมาขึ้นทะเบียนใหม่ และอยู่ในช่วงของการผ่อนผันการจับกุม หากครบกำหนดระยะเวลาแล้ว เจ้าหน้าที่จะดำเนินการปราบปรามและจับกุมแรงงานต่างด้าวที่หลบหนีเข้าเมืองอย่างเข้มงวด

การปราบปรามจับกุมแรงงานต่างด้าว เป็นภารกิจหนึ่งของกำลังเข้าตรวจเยี่ยมเรือประมง จำนวน 104 ลำ มีแรงงานต่างด้าวจำนวน 1,828 คน ในจำนวนนั้นเป็นแรงงานที่ทหารเรือให้การดูแลด้านความมั่นคง ซึ่งจะจัดเรือออกลาดตระเวนตามปกติ และจะเข้าตรวจเยี่ยมเรือประมง เพื่อสกัดกั้นแรงงานผิดกฎหมาย ซึ่งจากการดำเนินการที่ผ่านมาก่อนที่จะมีการผ่อนผันประมาณ 10 วัน ทัพเรือภาค 3 นำจดทะเบียนเพียง 300 กว่าคนเท่านั้น ซึ่งถือว่าเป็นเพียงส่วนน้อย และเชื่อว่าในปัจจุบันนี้มีแรงงานต่างด้าวในทะเลที่ไม่ถูกต้องอีกจำนวนมาก สำหรับการเฝ้าระวังการลักลอบนำเข้าแรงงานต่างด้าวในช่วงที่มีการผ่อนผันนั้น ในส่วนของทหารเรือก็เฝ้าระวังอยู่ เพื่อป้องกันการลักลอบนำแรงงานต่างด้าวเข้ามาในพื้นที่เพิ่ม ขณะที่ปัญหาของสมาคมประมงทั้ง 6 จังหวัด ส่วนใหญ่ก็จะเป็นปัญหาคล้ายๆ กัน คือ กรณีที่นายจ้างนำแรงงานต่างด้าวมาขึ้นทะเบียน และทำงานได้ระยะหนึ่งก็จะหลบหนีไปทำงานที่อื่น ทำให้ผู้ประกอบการเรือประมงต้องไปหาแรงงานต่างด้าวจากที่อื่นมาทดแทน ซึ่งหลังจากการประชุมจะนำปัญหาทั้งหมดที่ได้มีการพูดคุยกันมาประเมินและสรุป เพื่อนำเสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาแก้ไขปัญหาในส่วนของผู้ประกอบการต่อไป

ด้านนายกสมาคมชาวประมงจังหวัดภูเก็ต ได้เสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่ดีที่สุดควรจะเป็นเรื่องของการให้โควตากับเรือประมง โดยกำหนดให้เรือแต่ละลำสามารถใช้แรงงานต่างด้าวได้จำนวนเท่าไร ถ้าแรงงานต่างด้าวหลบหนีก็ให้นำแรงงงานต่างด้าวมาจดทะเบียนใหม่ให้ได้ตามจำนวนโควตาที่ได้ ถ้าหากแรงงานมีมากกว่าโควตาก็ให้มีการดำเนินคดีได้ทันที

ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (20 - 26 มิ.ย. 2552) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 954.88 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 534.90 ตัน สัตว์น้ำจืด 419.98 ตัน ประกอบด้วย สัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่

          1.1  ปลาดุก            ส่งเข้าประมูลจำหน่าย                2.44    ตัน
          1.2  ปลาช่อน           ส่งเข้าประมูลจำหน่าย                4.16    ตัน
          1.3  กุ้งทะเล           ส่งเข้าประมูลจำหน่าย              126.76    ตัน
          1.4  ปลาทู             ส่งเข้าประมูลจำหน่าย                8.74    ตัน
          1.5  ปลาหมึก           ส่งเข้าประมูลจำหน่าย               63.83    ตัน

การตลาด

วมระหว่างประเทศปลงรูปแบบการทำประมงนอกน่านน้ำที่เคยมีสัดส่วนสูงสุด ซึ่งเป็นผลมาจากข้อกำหนดซับซ้อนมากขึ้น ส่วน

ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ

2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 39.33 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 40.10 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.77 บาท

สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ

2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 64.17 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 64.07 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.10 บาท

สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.71 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 121.43 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.72 บาท

2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา

สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา

2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 105.21 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 106.40 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.19 บาท

สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 105.00 บาทสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 102.50 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.50 บาท

2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 55.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน

2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา

สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 131.43 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 123.57 บาท ของสัปดาห์ก่อน 7.86 บาท

2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.82 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 7.81 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.01 บาท

สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60%(ระหว่างวันที่ 11 - 17 ก.ค. 2552) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.64 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 33.53 ของสัปดาห์ก่อน 0.11 บาท

--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 13 - 19 กรกฎาคม 2552--

-พห-

แท็ก อันดามัน  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ