ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร: ข้าว

ข่าวทั่วไป Tuesday October 5, 2010 14:28 —สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ

1.1 การตลาด

มติ ครม. เมื่อวันที่ 14 ก.ย. เห็นชอบการดำเนินงานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2553/54 รอบที่ 1 ดังนี้

1. โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2553/54 (รอบ 1)

  • การขึ้นทะเบียนเกษตรกร 1 มิ.ย. — 30 พ.ย. 53 ภาคใต้ (ไม่รวม จ.ชุมพร) 16 ก.ค. -31 มี.ค. 54
  • การประชาคม 16 มิ.ย. — 15 ธ.ค.53 ภาคใต้ (ไม่รวม จ.ชุมพร) 1 ส.ค. 53 — 15 เม.ย. 54
  • ออกใบรับรอง 16 มิ.ย. — 31 ธ.ค. 53 ภาคใต้ (ไม่รวม จ.ชุมพร) 1 ส.ค. 53 — 30 เม.ย. 54
  • ทำสัญญาประกันรายได้ 1 ก.ค. 53 — 31 ม.ค. 54 ภาคใต้ (ไม่รวม จ.ชุมพร) 16 ส.ค. 53 — 31 พ.ค. 54
  • ระยะเวลาใช้สิทธิ 1 ส.ค. 53 - 15 มี.ค. 54 ภาคใต้ (ไม่รวม จ.ชุมพร) 16 ก.ย. 53 — 15 ก.ค. 54
  • ประกาศเกณฑ์กลางอ้างอิง 1 ส.ค. 53 — 15 มี.ค. 54 ภาคใต้ (ไม่รวม จ.ชุมพร) 16 ก.ย. 53 — 15 ก.ค. 54
  • ราคาและปริมาณประกันรายได้เกษตรกร กำหนดปริมาณและราคาประกันรายได้เกษตรกรต่อครัวเรือน ณ ความชื้นไม่เกิน 15% ดังนี้
                    -     ข้าวเปลือกหอมมะลิ      ตันละ 15,300 บาท          ไม่เกิน  14 ตัน / ครัวเรือน
                    -     ข้าวเปลือกหอมจังหวัด    ตันละ 14,300 บาท          ไม่เกิน  16 ตัน / ครัวเรือน
                    -     ข้าวเปลือกเจ้าตันละ     ตันละ 10,000 บาท          ไม่เกิน  25 ตัน / ครัวเรือน
                    -     ข้าวเปลือกปทุมธานี1     ตันละ 11,000 บาท          ไม่เกิน  25 ตัน / ครัวเรือน
                    -     ข้าวเปลือกเหนียว       ตันละ  9,500 บาท          ไม่เกิน  16 ตัน / ครัวเรือน

2. โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2552/53 (รอบ2)

  • คงเหลือเฉพาะการใช้สิทธิของเกษตรกรภาคใต้ ไม่เกินวันที่ 15 ธ.ค. 53 * โดยเกษตรกรสามารถเลือกวันใช้สิทธิได้นับตั้งแต่วันเก็บเกี่ยว และหากเกษตรกรต้องการเปลี่ยนแปลงวันใช้สิทธิ จะต้องแจ้ง ส.ก.ส. ล่วงหน้าก่อนวันขอใช้สิทธิใหม่อย่างน้อย 3 วัน ทั้งนี้วันขอใช้สิทธิใหม่จะต้องไม่ย้อนหลังจากวันที่แจ้ง

หมายเหตุ : * มติ กขช. ครั้งที่ 9/2553 (10 มิ.ย. 53) เห็นชอบให้ขยายระยะเวลาการใช้สิทธิของเกษตรกร โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2552/53 (รอบ2)

  • ราคาและปริมาณประกันรายได้เกษตรกร กำหนดปริมาณและราคาประกันรายได้เกษตรกรต่อครัวเรือน ณ ความชื้นไม่เกิน 15% ดังนี้
                    - ข้าวเปลือกปทุมธานี 1      ตันละ 11,000 บาท           ไม่เกิน  25 ตัน / ครัวเรือน
                    - ข้าวเปลือกเจ้า           ตันละ 10,000 บาท           ไม่เกิน  25 ตัน / ครัวเรือน
                    - ข้าวเปลือกเหนียว         ตันละ  9,500 บาท           ไม่เกิน  16 ตัน / ครัวเรือน

ภาวะการณ์ซื้อขายข้าวในสัปดาห์นี้ ราคามีแนวโน้มสูงขึ้นทุกตลาด เนื่องจากผู้ส่งออกได้รับคำสั่งซื้อจากลูกค้าต่างประเทศเพิ่มขึ้นมากจึงได้ออกมารับซื้อข้าวสารเพื่อส่งออกให้ลูกค้าต่างประเทศมากขึ้น ประกอบกับข้าวนาปรังปี 2553 ได้สิ้นสุดการเก็บเกี่ยวแล้ว ส่วนข้าวนาปีปี 2553/54 เริ่มออกสู่ตลาดแต่ยังมีปริมาณน้อย

การส่งออก ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม — 24 กันยายน 2553 ประเทศไทยส่งออกข้าวทั้งหมด จำนวน 5,985 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจาก 6,438 ล้านตันข้าวสาร ของการส่งออกข้าวในช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 7.02 (ที่มา: กรมการค้าภายใน)

1.2 ราคา

ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ

ราคาข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลินาปี ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 14,060 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 13,955 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.76

ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปี 5% ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 8,606 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 8,513 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.10

ราคาข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาวนาปี ที่เกษตรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 15,884 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 15,588 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.90

ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปีความชื้น 14-15% ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 8,606 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 8,513 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.10

ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ

ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 13,410 บาท ราคาลดลงจากตันละ 13,417 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.05

ราคาส่งออก เอฟ.โอ. บี

ราคาข้าวหอมมะลิไทย ชั้น 1 (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 1,126 ดอลลาร์สหรัฐ ฯ (34,153 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 1,122 ดอลลาร์สหรัฐ (34,212 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.36 แต่ลดลงในรูปเงินบาทตันละ 59 บาท

ราคาข้าวปทุมธานี ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 852 ดอลลาร์สหรัฐฯ (25,842 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 850 ดอลลาร์สหรัฐ (25,919 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.24 แต่ลดลงในรูปเงินบาท ตันละ 77 บาท

ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 495 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,014 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 493 ดอลลาร์สหรัฐ (15,033 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.41 แต่ลดลงในรูปเงินบาท ตันละ 19 บาท

ราคาข้าวสารเจ้า 25% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 465 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,104 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 463 ดอลลาร์สหรัฐ (14,118 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.43 แต่ลดลงในรูปเงินบาทตันละ 14 บาท

ราคาข้าวนึ่ง 5% ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 562 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,046 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 553 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,862 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.63 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 184 บาท

หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 30.3312 บาท

2. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ

2.1 ฟิลิปปินส์มีแนวโน้มนำเข้าข้าวต่ำกว่า 1.5 ล้านตัน

ฟิลิปปินส์มีแนวโน้มนำเข้าข้าวในปี 2554 ประมาณ 1.2-1.5 ล้านตัน ต่ำกว่าที่ได้ตั้งเป้าไว้เดิมประมาณ 1.5 ล้านตัน เนื่องจากมีการพัฒนาการผลิตในประเทศที่เพิ่มขึ้น และการส่งมอบข้าวที่สั่งซื้อไว้ในปีปัจจุบันยังคงล่าช้าอยู่ประมาณ 51,000 ตัน (จากปริมาณการสั่งซื้อทั้งหมด 2.45 ล้านตัน ในปี 2553) นอกจากนี้ ยังมีข้าวเหลือเก็บอยู่ในสต็อกสำหรับประชากรบริโภคในประเทศได้อีก 85วัน ประกอบกับรัฐบาลก่อนหน้าได้สั่งซื้อข้าวจำนวนมากในปลายปีที่ผ่านมา เนื่องจากประเทศได้รับผลกระทบจากพายุไต้ฝุ่นและสภาพอากาศแห้งแล้งที่ทำให้ผลผลิตข้าวลดลง อย่างไรก็ตาม ปัญหาความแห้งแล้งยังคงส่งผลกระทบต่อเนื่องมายังการเก็บเกี่ยวในไตรมาสที่ 3 แต่น่าจะมีแนวโน้มที่ดีขึ้นใน 3 เดือนสุดท้ายของปีนี้

2.2 บังคลาเทศนำเข้าข้าวและข้าวสาลี 500,000 ตัน จากอินเดีย

บังคลาเทศกำลังจะนำเข้าข้าว 300,000 ตัน ที่ราคา 436 เหรียญสหรัฐฯ/ตัน (13,224.40 บาท) (ราคา CIF) และข้าวสาลี 200,000 ตัน ที่ราคา 336 เหรียญสหรัฐฯ/ตัน (10,191.28 บาท) (ราคา CIF) จากอินเดียภายในเดือน ต.ค. 53 นี้

--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 27 ก.ย. — 3 ต.ค. 2553--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ