รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจอุตสาหกรรมประจำเดือนกันยายน 2556

ข่าวเศรษฐกิจ Monday October 14, 2013 15:42 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

ดัชนีอุตสาหกรรมของเดือนสิงหาคม 2556
  • ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเดือนสิงหาคม 2556 ลดลงจากเดือนกรกฎาคม 2556 ร้อยละ 0.5 และลดลงร้อยละ 3.1 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน การผลิตลดลงในหลายอุตสาหกรรมที่สำคัญ คือ ยานยนต์ อาหารทะเลกระป๋องและแช่แข็ง เครื่องประดับเพชรพลอย เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านเรือน ผลิตภัณฑ์ยาสูบ
  • อัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ยในเดือนสิงหาคม 2556 อยู่ที่ระดับร้อยละ 63.5 ลดลงจากร้อยละ 64.5 ในเดือนกรกฎาคม 2556
ประเด็นเศรษฐกิจอุตสาหกรรมสำคัญในเดือนกันยายน 2556 อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า
  • สถานการณ์การผลิตเหล็กในเดือนกันยายน 2556 เทียบกับเดือนสิงหาคม 2556 คาดว่าการผลิตทั้งเหล็กทรงแบนจะขยายตัวขึ้นเล็กน้อย โดยในส่วนของเหล็กแผ่นรีดร้อนและเหล็กแผ่นรีดเย็นการผลิตอาจจะเพิ่มขึ้นเนื่องจากผลทางบวกจากการใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดและมาตรการ Safeguard สำหรับเหล็กเส้นที่ใช้ในธุรกิจก่อสร้างการผลิตอาจจะชะลอตัวลงเนื่องจากเข้าสู่ฤดูฝน
อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
  • ภาพรวมอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เดือนกันยายน 2556 จากแบบจำลองดัชนีชี้นำที่จัดทำโดยสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ประมาณการแนวโน้มการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ลดลงร้อยละ 0.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยอุตสาหกรรมไฟฟ้าจะปรับตัวลดลงร้อยละ 3.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการส่งออกอิเล็กทรอนิกส์ไปตลาดหลักบางตลาดเริ่มมีการปรับตัวดีขึ้น

สถานการณ์เศรษฐกิจอุตสาหกรรม

  • ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม

ก.ค. 56 = 174.3

ส.ค. 56 = 173.3

โดยอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีลดลง ได้แก่

  • ยานยนต์
  • เครื่องปรับอากาศ
  • ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์
  • อัตราการใช้กำลังการผลิต

ก.ค. 56 = 64.5

ส.ค. 56 = 63.5

โดยอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลง ได้แก่

  • เคมีภัณฑ์ขั้นมูลฐาน
  • ยานยนต์
  • ผลิตภัณฑ์คอนกรีตต่างๆ

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ในเดือนสิงหาคม 2556 มีค่า 173.3 ลดลงจากเดือนกรกฎาคม 2556(174.3) ร้อยละ 0.5 และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน คือเดือนสิงหาคม 2555 (178.9) ร้อยละ 3.1

  • อุตสาหกรรมที่ส่งผลสำคัญให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมลดลงเมื่อเทียบกับเดือนกรกฎาคม 2556 ได้แก่ ยานยนต์ เครื่องปรับอากาศ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เบียร์ น้ำตาล เป็นต้น
  • อุตสาหกรรมที่ส่งผลสำคัญให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ ยานยนต์ อาหารทะเลกระป๋องและแช่แข็ง เครื่องประดับเพชรพลอย เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านเรือน ผลิตภัณฑ์ยาสูบ เป็นต้น

อัตราการใช้กำลังการผลิต ในเดือนสิงหาคม 2556 อยู่ที่ระดับร้อยละ 63.5 ลดลงจากเดือนกรกฎาคม 2556 (ร้อยละ 64.5) และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน คือเดือนสิงหาคม 2555 (ร้อยละ 66.5)

  • อุตสาหกรรมที่ส่งผลสำคัญให้อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลงจากเดือนกรกฎาคม 2556 ได้แก่ เคมีภัณฑ์ขั้นมูลฐาน ยานยนต์ ผลิตภัณฑ์คอนกรีตต่างๆ เครื่องปรับอากาศ ผลิตภัณฑ์ ยาสูบ เป็นต้น
  • อุตสาหกรรมที่ส่งผลสำคัญให้อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ ยานยนต์ อาหารทะเลกระป๋องและแช่แข็ง อาหารสัตว์สำเร็จรูป เคมีภัณฑ์ขั้นมูลฐานผลิตภัณฑ์ยาสูบ เป็นต้น
สถานภาพการประกอบกิจการอุตสาหกรรมเดือนสิงหาคม 2556

ภาวะการประกอบกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนสิงหาคม 2556 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนกรกฎาคม 2556 มีโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการจำนวน 425 ราย เพิ่มขึ้นในจำนวนที่น้อยกว่าเดือนกรกฎาคม 2556 ซึ่งมีโรงงานเริ่มประกอบกิจการจำนวน 452 ราย หรือคิดเป็นจำนวนน้อยกว่าร้อยละ 5.97 แต่มียอดเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 32,980 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนกรกฎาคม 2556 ซึ่งมีการลงทุน 23,497.54 ล้านบาท ร้อยละ 40.36 และมีการจ้างงานจำนวน 14,194 คน เพิ่มขึ้นจากเดือนกรกฎาคม 2556 ที่มีจำนวนการจ้างงาน 8,579 คน ร้อยละ 65.45

ภาวะการประกอบกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนสิงหาคม 2556 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการเพิ่มขึ้นในจำนวนที่มากกว่าเดือนสิงหาคม 2555 ซึ่งมีโรงงานเริ่มประกอบกิจการจำนวน 402 ราย หรือคิดเป็นจำนวนมากกว่าร้อยละ 5.72 มียอดเงินลงทุนรวมเพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคม 2555 ซึ่งมีการลงทุน 14,777.95 ล้านบาท ร้อยละ 123.18 และมีการจ้างงานรวมเพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคม 2555 ที่มีจำนวนการจ้างงาน 9,685 คน ร้อยละ 46.56

  • อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเริ่มประกอบกิจการมากที่สุดในเดือนสิงหาคม 2556 คือ อุตสาหกรรมผลิตคอนกรีตผสมเสร็จและผลิตภัณฑ์จากคอนกรีต และอุตสาหกรรมซ่อมรถ พ่นสีรถยนต์ ทั้งสองอุตสาหกรรม จำนวน 29 โรงงานเท่ากัน รองลงมาคือ อุตสาหกรรม ขุดตักดิน สำหรับใช้ในการก่อสร้าง จำนวน 26 โรงงาน
  • อุตสาหกรรมที่เริ่มประกอบกิจการโดยมีการลงทุนสูงสุดในเดือนสิงหาคม 2556 คือ อุตสาหกรรมผลิตอุปกรณ์และชิ้นส่วนของรถยนต์ทุกชนิด จำนวนเงินทุน 5,214.78 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรม ผลิตกระแสไฟฟ้า ส่งและจำ หน่ายพลังงานไฟฟ้า จำนวนเงินทุน 4,795.95 ล้านบาท
  • อุตสาหกรรมที่เริ่มประกอบกิจการและมีการจ้างงานสูงสุดในเดือนสิงหาคม 2556 คือ อุตสาหกรรม ผลิตอุปกรณ์และชิ้นส่วนของรถยนต์ทุกชนิด จำนวนคนงาน 1,805 คน รองลงมาคือ อุตสาหกรรม ทำ ยางแผ่นรมควัน ผลิตยางแท่ง และยางคอมปาวด์ จำนวนคนงาน 1,074 คน

ภาวะการเลิกกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนสิงหาคม 2556 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนกรกฎาคม 2556 มีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 93 ราย มากกว่าเดือนกรกฎาคม 2556 ซึ่งมีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 82 ราย คิดเป็นร้อยละ 13.41 มีการเลิกจ้างงาน จำนวน 3,530 คน มากกว่าเดือนกรกฎาคม 2556 ซึ่งมีการเลิกจ้างงานจำนวน 3,318 คน แต่มีเงินทุนของการเลิกกิจการรวม 1,662.66 ล้านบาท น้อยกว่าเดือนกรกฎาคม 2556 ที่การเลิกกิจการคิดเป็นเงินทุน 1,730.12 ล้านบาท

ภาวะการเลิกกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนสิงหาคม 2556 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการมากกว่าเดือนสิงหาคม 2555 ซึ่งมีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 75 ราย คิดเป็นจำนวนมากกว่าร้อยละ 24.0 มีเงินทุนของการเลิกกิจการมากกว่าเดือนสิงหาคม 2555 ที่การเลิกกิจการคิดเป็นเงินทุน 438.21 ล้านบาท และมีการเลิกจ้างมากกว่าเดือนสิงหาคม 2555 ที่การเลิกจ้างงานมีจำนวน 1,225 คน

  • อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเลิกกิจการมากที่สุดในเดือนสิงหาคม 2556 คือ อุตสาหกรรมขุดตักดิน สำหรับใช้ในการก่อสร้าง จำนวน 11 โรงงาน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมทำเครื่องเรือนจากไม้ ยาง อโลหะอื่น ซึ่งมิได้ทำจากพลาสติกอัดเข้ารูป จำนวน 10 โรงงาน
  • อุตสาหกรรมที่เลิกประกอบกิจการโดยที่มีเงินลงทุนสูงสุดในเดือนสิงหาคม 2556 คือ อุตสาหกรรมทำเครื่องประดับโดยใช้เพชร พลอย ไข่มุก ทองคำ ทองขาว เงิน นาก หรืออัญมณีเงินทุน 312.67 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรมถลุง ผสม ทำให้บริสุทธิ์ หลอม รีด ผลิตโลหะในขั้นต้น มิใช่เหล็กเหล็กกล้า จำนวน 284.32 ล้านบาท
  • อุตสาหกรรมที่เลิกประกอบกิจการและจำนวนคนงานสูงสุดในเดือนสิงหาคม 2556 คือ อุตสาหกรรมทำเครื่องประดับโดยใช้เพชร พลอย ไข่มุก ทองคำ ทองขาว เงิน นาก หรืออัญมณี จำนวนคนงาน 829 คน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมตัด เจียระไน ขัดเพชร พลอย หรืออัญมณี จำนวนคนงาน 485 คน

ภาวะการลงทุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) ในเดือนมกราคม — สิงหาคม 2556 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน มีจำนวนโครงการที่ขอรับการส่งเสริมการลงทุนจาก สกท. ทั้งสิ้น 1,310 โครงการ น้อยกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีจำนวน 1,358 โครงการ ร้อยละ 3.53 แต่มีเงินลงทุน 702,000 ล้านบาท มากกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่มีเงินลงทุน 611,900 ล้านบาท คิด เป็นร้อยละ 14.72

  • การกระจายหุ้นของโครงการที่ได้รับการอนุมัติให้การส่งเสริมในเดือนมกราคม — สิงหาคม2556
          การร่วมทุน                     จำนวน(โครงการ)          มูลค่าเงินลงทุน(ล้านบาท)
          1.โครงการคนไทย 100%               479                     234,900
          2.โครงการต่างชาติ 100%              485                     136,100
          3.โครงการร่วมทุนไทยและต่างชาติ        346                     330,900
  • ประเภทกิจการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนมากที่สุดในเดือนมกราคม — สิงหาคม 2556 คือ หมวดบริการและสาธารณูปโภค มีมูลค่าเงินลงทุนรวม 328,000 ล้านบาท รองลงมา คือ หมวดผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องจักรและอุปกรณ์ขนส่ง มีมูลค่าเงินลงทุนรวม 172,900 ล้านบาท
1.อุตสาหกรรมอาหาร

ภาวะการผลิตและการส่งออกของอุตสาหกรรมอาหาร คาดว่า จะปรับชะลอตัวลงจากเดือนก่อน เป็นผลจากคำสั่งซื้อที่มีแนวโน้มชะลอตัวลงตามภาวะเศรษฐกิจของประเทศผู้นำเข้า ส่วนการจำหน่ายในประเทศ คาดว่าจะปรับตัวลดลง จากการที่ราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น ทำให้ประชาชนลดการจับจ่ายใช้สอย

1. การผลิต

ภาวะการผลิตกลุ่มสินค้าอาหารสำคัญ (ไม่รวมน้ำตาล) เดือนสิงหาคม 2556 ปรับตัวลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 14.2 แต่ปรับตัว เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 1.5 ตามลำดับ แบ่งเป็น

กลุ่มสินค้าสำคัญที่อิงตลาดส่งออก เช่น ปลาทูน่ากระป๋อง มีปริมาณการผลิตชะลอตัวลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 15.3 เนื่องจากชะลอตัวตามคำสั่งซื้อจากต่างประเทศ และหากพิจารณาสินค้าสำคัญโดยเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน เช่น กุ้ง มีปริมาณการผลิตลดลง ร้อยละ 49.1 เป็นผลจากการเกิดโรคระบาดในแหล่งเพาะเลี้ยงกุ้ง ส่งผลให้ต้องพักบ่อเพื่อกักกันโรค ซึ่งทำให้มีวัตถุดิบป้อนสู่โรงงานลดลง

กลุ่มสินค้าที่อิงตลาดภายในประเทศ แบ่งเป็นสินค้าที่ใช้วัตถุดิบในประเทศ เช่น น้ำมันปาล์ม มีการผลิตเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนและเดือนก่อนร้อยละ 12.3 และ 1.3 ตามลำดับ เนื่องจากมีสต็อกอยู่ในปริมาณสูง ส่วนสินค้าที่ใช้วัตถุดิบนำเข้า คือ น้ำมันถั่วเหลือง มีปริมาณการผลิตลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนร้อยละ 74.8 เป็นผลจากการซ่อมบำรุงเครื่องจักร ส่วนอาหารไก่ การผลิตชะลอตัวลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 29.2 เนื่องจากความต้องการใช้อาหารไก่ลดลงจากการที่บริษัท สหฟาร์ม ได้หยุดโรงงานแปรรูปไก่ และชะลอการเลี้ยงไก่ เนื่องจากประสบปัญหาขาดสภาพคล่อง

2. การตลาด

1) ตลาดในประเทศ เดือนสิงหาคม 2556 ปริมาณการส่งสินค้าอาหารและเกษตรในประเทศ ลดลงเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 19.6 แต่ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 1.8

2) ตลาดต่างประเทศ ภาพรวมมูลค่าการส่งออกอุตสาหกรรมอาหาร(ไม่รวมน้ำตาล) เดือนสิงหาคม 2556 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 13.4 เนื่องจากคำสั่งซื้อที่ปรับตัวดีขึ้นในหลายสินค้า แต่ปรับลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 12.7 จากเศรษฐกิจโลกยังชะลอตัว

3. แนวโน้ม

การผลิตและส่งออก คาดว่า จะปรับชะลอตัวลงจากเดือนก่อน เนื่องจากข่าวการปรับลดการกระตุ้นเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ส่งผลทางจิตวิทยาไปยังเศรษฐกิจโลก ประกอบกับเศรษฐกิจสหภาพยุโรปยังคงซบเซา ทำให้แนวโน้มของคำสั่งซื้อปรับชะลอตัวลง แม้ว่าค่าเงินบาทปรับตัวอ่อนค่าลงสำหรับการจำหน่ายสินค้าในประเทศ คาดว่า จะปรับตัวลดลง จากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น ทำให้ประชาชนลดการจับจ่ายใช้สอย

2. อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม

การผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์กลุ่มสิ่งทอ คาดว่าจะขยายตัวตามความต้องการใช้ภายในประเทศ โดยเฉพาะในกลุ่มเส้นใยสังเคราะห์ และผ้าผืน สำหรับผลิตภัณฑ์กลุ่มเครื่องนุ่งห่ม คาดว่าจะขยายตัวได้ไม่มากนัก

1. การผลิต

  • ผลิตภัณฑ์กลุ่มสิ่งทอเดือนสิงหาคม 2556 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อน การผลิตปรับตัวลดลงในผลิตภัณฑ์หลัก ได้แก่ เส้นใยสิ่งทอฯ
ผ้าผืน และสิ่งทอ อื่น ๆ ร้อยละ 0.3 0.6 และ 5.8 ตามลำดับ เนื่องจากคำสั่งซื้อลดลงค่อนข้างมากจากเวียดนาม อินเดีย และจีน และเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตลดลงในผลิตภัณฑ์ผ้าผืน ผ้าขนหนูและเครื่องนอน และผ้าลูกไม้ ร้อยละ 4.4 8.8 และ 0.6 ตามลำดับ
  • ผลิตภัณฑ์กลุ่มเครื่องนุ่งห่ม เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนและเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปจากผ้าถักลดลงตาม
ฤดูกาล ร้อยละ 8.2 และ 5.0 ตามลำดับ ในขณะที่การผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปจากผ้าทอเพิ่มขึ้น รอ้ ยละ 5.6 และ 4.8 ตามลำดับ ส่วนใหญ่เป็นการผลิตตามคำสั่งซื้อเพื่อส่งมอบในไตรมาสหน้า

2. การจำหน่าย

  • ปริมาณการจำหน่ายของผลิตภัณฑ์กลุ่มสิ่งทอและกลุ่มเครื่องนุ่งห่มในประเทศส่วนใหญ่ลดลง เมื่อเทียบกับเดือนก่อน และเทียบเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยผลิตภัณฑ์เสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ผลิตจากผ้าถักลดลง ร้อยละ 4.4 และ 14.7 และจากผ้าทอลดลง ร้อยละ 8.4 และ 15.2 ตามลำดับ
  • มูลค่าการส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มโดยรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.1 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นจากกลุ่มสิ่งทอ โดยมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้น ร้อยละ 4.3 และ 10.5 ตามลำดับ เนื่องจากมีการนำเข้าเพิ่มขึ้นจากอินโดนีเซีย ตุรกี และบังคลาเทศ ในส่วนกลุ่มเครื่องนุ่งห่มมีมูลค่าส่งออกลดลง ร้อยละ 1.8 และ 0.1 ตามลำดับ ในสินค้าเสื้อผ้าสำเร็จรูป และถุงมือผ้า ซึ่งลดลงจากการส่งออกไปประเทศคู่ค้าหลัก ได้แก่ สหรัฐอเมริกาสหภาพยุโรป และอาเซียน

3. แนวโน้ม

  • การผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์กลุ่มสิ่งทอ คาดว่า จะขยายตัวตามความต้องการใช้ภายในประเทศ ในกลุ่มอุตสาหกรรมต่อเนื่องโดยเฉพาะในกลุ่มเส้นใยสังเคราะห์ และผ้าผืน สำหรับผลิตภัณฑ์กลุ่มเครื่องนุ่งห่ม คาดว่า จะขยายตัวได้พอสมควร ตามคำสั่งซื้อล่วงหน้าจากประเทศคู่ค้าหลัก ประกอบกับผู้ประกอบการไทยบางส่วนได้ขยายฐานการผลิตไปประเทศเพื่อนบ้าน ส่งผลให้การผลิตของไทยอาจขยายตัวได้ไม่มากเท่าที่ควร
3. อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า

แนวโน้มประเทศจีนอาจโดนหลายประเทศ เช่นสหรัฐอเมริกา ยุโรป ออสเตรเลีย แคนาดา ฟ้องมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด เนื่องจาก ปริมาณการผลิตเหล็กดิบในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 7.4 และอาจทำสถิติสูงสุดทั้งปีที่ 790 ล้านตัน ขณะที่ปริมาณความต้องการใช้เหล็กในช่วงครึ่งแรกของปีนี้อยู่ที่ 364.8 ล้านตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 6.8 ดังนั้น ส่วนต่างระหว่างการผลิตและความต้องการใช้ในประเทศจะต้องถูกส่งออกในปริมาณมาก ซึ่งกรมศุลกากรของจีนรายงานว่าในช่วงครึ่งแรกของปีนี้มีการส่งออกผลิตภัณฑ์เหล็กแล้วทั้งสิ้น 29.5 ล้านตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 14 จากปีก่อน

1.การผลิต

สถานการณ์การผลิตของอุตสาหกรรมเหล็กในเดือนสิงหาคม 2556 ขยายตัวขึ้น โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือนนี้มีค่า 135.36 มีอัตราการเปลี่ยนแปลงที่เพิ่มขึ้น ร้อยละ 8.91 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน เมื่อพิจารณาในกลุ่มเหล็กทรงแบน พบว่าการผลิตเพิ่มขึ้น ร้อยละ 23.72 โดยผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตเพิ่มขึ้นมากที่สุด ได้แก่ เหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 53.73 รองลงมา คือ เหล็กแผ่นเคลือบโครเมียม เพิ่มขึ้น ร้อยละ 10.44 และเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี เพิ่มขึ้น ร้อยละ 6.94 เนื่องจากกระทรวงพาณิชย์ประกาศใช้มาตรการ AD และ Safeguard ในสินค้าเหล็กแผ่นรีดร้อน จึงทำให้การนำเข้าลดลง ส่งผลให้คำสั่งซื้อในสินค้าดังกล่าวเพิ่มมากขึ้น สำหรับเหล็กทรงยาว ลดลง ร้อยละ 11.83 โดยเหล็กลวด ลดลง ร้อยละ 21.86 เหล็กเส้นข้ออ้อย ลดลง ร้อยละ 15.59 เนื่องจากเข้าสู่ฤดูฝนทำให้การก่อสร้างลดลง ขณะเดียวกันเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตเพิ่มขึ้น ร้อยละ 18.32 โดยเหล็กทรงแบนมีการผลิตเพิ่มขึ้น ร้อยละ 31.28 แต่เหล็กทรงยาวมีการผลิตที่เพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.84

2.ราคาเหล็ก

จากข้อมูลดัชนีราคาเหล็กต่างประเทศของสถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย พบว่า การเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาเหล็ก (FOB) โดยเฉลี่ยที่สำคัญในตลาด CIS ณ ท่าทะเลดำ (Black Sea)ในช่วงเดือนสิงหาคม 2556 เทียบกับเดือนก่อนพบว่า ผลิตภัณฑ์เหล็กที่ มีการเปลี่ยนแปลงที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ เหล็กแผ่นรีดร้อน เพิ่มขึ้นจาก 108.71 เป็น 121.02 เพิ่มขึ้น ร้อยละ 11.32 เหล็กแท่งแบน เพิ่มขึ้นจาก 100.69 เป็น 110.93 เพิ่มขึ้น ร้อยละ 10.17 เหล็กแผ่นรีดเย็น เพิ่มขึ้นจาก 110.84 เป็น 112.14 เพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.17 เหล็กแท่งเล็ก Billet เพิ่มขึ้นจาก 119.29 เป็น 120.47 เพิ่มขึ้น ร้อยละ 0.99 แต่เหล็กเส้นมีดัชนีราคาที่ทรงตัว คือ ร้อยละ 119.78 เนื่องจากผู้ขายรายใหญ่ของโลก คือ จีนพยายามที่จะปรับราคาส่งออกให้เพิ่มสูงขึ้น ทั้งที่สภาพตลาดยังอยู่ในช่วงซบเซา แต่ฝั่งผู้ผลิตยังเชื่อว่าราคาในประเทศที่เพิ่มสูงขึ้นจะช่วยผลักดันให้ราคาส่งออกสามารถสูงขึ้นได้

3. แนวโน้ม

สถานการณ์การผลิตเหล็กในเดือนกันยายน 2556 เทียบกับเดือนก่อนคาดว่าการผลิตทั้งเหล็กทรงแบนจะขยายตัวขึ้นเล็กน้อย โดยใน ส่วนของเหล็กแผ่นรีดร้อนและเหล็กแผ่นรีดเย็นการผลิตอาจจะเพิ่มขึ้นเนื่องจากผลทางบวกจากการใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดและมาตรการ Safeguard สำหรับเหล็กเส้นที่ใช้ในธุรกิจก่อสร้างการผลิตอาจจะชะลอตัวลงเนื่องจากเข้าสู่ฤดูฝน

4. อุตสาหกรรมยานยนต์

รถยนต์

อุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนสิงหาคม 2556 ชะลอตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2555 ส่วนหนึ่งเป็นผลจากตลาดใน ประเทศ เนื่องจากผู้ประกอบการได้ทยอยส่งมอบรถยนต์ตามนโยบายรถยนต์คันแรกเสร็จเรียบร้อยแล้ว อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการได้มีการ ปรับแผนโดยการเพิ่มสัดส่วนส่งออกมากขึ้น โดยมีข้อมูลสภาวะอุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนสิงหาคม ดังนี้

1. การผลิตรถยนต์

จำนวน 193,074 คัน ลดลงจากเดือนสิงหาคม 2555 ซึ่งมีการผลิต 214,386 คัน ร้อยละ 9.94 โดยเป็นการปรับลดลงของการผลิตรถยนต์นั่งและรถยนต์กระบะ 1 ตัน และมีปริมาณการผลิตรถยนต์ลดลงจากเดือนกรกฎาคม 2556 ร้อยละ 4.17 โดยเป็นการปรับลดลงของการผลิต รถยนต์นั่ง รถยนต์กระบะ 1 ตัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์

2. การจำหน่ายรถยนต์

จำนวน 100,289 คัน ลดลงจากเดือนสิงหาคม 2555 ซึ่งมีการจำหน่าย 128,306 คัน ร้อยละ 21.84 โดยเป็นการปรับลดลงของการ จำหน่ายรถยนต์นั่ง รถยนต์กระบะ 1 ตัน และรถยนต์ PPV รวมกับ SUV แต่มีปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เพิ่มขึ้นจากเดือนกรกฎาคม 2556 ร้อยละ 2.07 โดยเป็นการปรับเพิ่มขึ้นของการจำหน่ายรถยนต์นั่ง

3. การส่งออกรถยนต์

จำนวน 103,065 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคม 2555 ซึ่งมีการส่งออก 87,370 คัน ร้อยละ 17.96 ซึ่งเพิ่มขึ้นในประเทศแถบโอเชียเนียและแอฟริกา และมีปริมาณการส่งออกรถยนต์เพิ่มขึ้นจากเดือนกรกฎาคม 2556 ร้อยละ 24.61 ซึ่งเพิ่มขึ้นในประเทศแถบเอเชียตะวันออกกลางและแอฟริกา

4. แนวโน้ม

ภาวะอุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนกันยายน 2556 คาดว่าจะทรงตัวเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนสิงหาคม 2556 สำหรับการผลิตรถยนต์ในเดือนกันยายน 2556 ประมาณการว่าจะมีการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 50 และส่งออกร้อยละ 50

รถจักรยานยนต์

อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในเดือนสิงหาคม 2556 ชะลอตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2555 โดยมีข้อมูลสภาวะอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์เดือนสิงหาคม ดังนี้

1. การผลิตรถจักรยานยนต์

จำนวน 184,411 คัน ลดลงจากเดือนสิงหาคม 2555 ซึ่งมีการผลิต 222,078 คัน ร้อยละ 16.96 โดยเป็นการปรับลดลงของการผลิต รถจักรยานยนต์แบบครอบครัว และมีปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์ลดลงจากเดือนกรกฎาคม 2556 ร้อยละ 6.02 โดยเป็นการปรับลดลงของการผลิตรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว

2. การจำหน่ายรถจักรยานยนต์

จำนวน 163,556 คัน ลดลงจากเดือนสิงหาคม 2555 ซึ่งมีการจำหน่าย 179,717 คัน ร้อยละ 8.99 โดยเป็นการปรับลดลงของรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว และแบบสกูตเตอร์ และมีปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ลดลงจากเดือนกรกฎาคม 2556 ร้อยละ 7.52 โดยเป็นการปรับลดลงของรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว แบบสกูตเตอร์และแบบสปอร์ต

3. การส่งออกรถจักรยานยนต์สำเร็จรูป (CBU)

จำนวน 30,353 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคม 2555 ซึ่งมีการส่งออก 18,578 คัน ร้อยละ 63.38 ซึ่งเพิ่มขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกาญี่ปุ่น และอินโดนีเซีย แต่มีปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์ลดลงจากเดือนกรกฎาคม 2556 ร้อยละ 11.73 ซึ่งลดลงในประเทศสหรัฐอเมริกามาเลเซีย และสหราชอาณาจักร

4. แนวโน้ม

ภาวะอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในเดือนกันยายน 2556 คาดว่าจะทรงตัวเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนสิงหาคม 2556 สำหรับการผลิตรถจักรยานยนต์ในเดือนสิงหาคม 2556 ประมาณการว่าจะมีการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 86 และส่งออกร้อยละ 14

5.อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์

“อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ยังคงขยายตัวได้ดี เนื่องจากภาครัฐมีมาตรการลงทุนในโครงการสาธารณูปโภคพื้นฐานอย่างต่อเนื่อง และภาคเอกชนมีการขยายการลงทุนในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ โดยเฉพาะโครงการก่อสร้างคอนโดมิเนียมตามแนวรถไฟฟ้า การส่งออกปรับตัวลดลง ทั้งนี้ ความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ในประเทศที่มีแนวโน้มสูงขึ้น จะยังส่งผลให้บริษัทผู้ผลิตปูนซีเมนต์ ชะลอการส่งออกลง เพื่อสำรองไว้ใช้ในประเทศต่อไป”

การผลิตและการจำหน่ายในประเทศ

ในเดือนสิงหาคม 2556 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ปริมาณการผลิตปูนซีเมนต์ ลดลงร้อยละ 1.65 ในขณะที่ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.20 และเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ปริมาณการผลิตและจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.74 และ 8.03 ตามลำดับ

เมื่อพิจารณาในภาพรวม อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ยังขยายตัวได้ดีโดยปริมาณการผลิตปรับตัวลดลงเพียงเล็กน้อย ในขณะที่ปริมาณการจำหน่ายในประเทศปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเช่นกัน อย่างไรก็ตาม ราคาปูนซีเมนต์ที่ปรับสูงขึ้นในช่วงที่ผ่านมา และราคาวัสดุก่อสร้างที่ปรับตัวสูงขึ้น เริ่มส่งผลกระทบต่อภาคเอกชน โดยเฉพาะในโครงการก่อสร้างคอนโดมิเนียม ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบการบางรายปรับขึ้นราคาขายโครงการที่พัฒนาขึ้นใหม่ในอนาคตอันใกล้ต่อไป

การส่งออก

มูลค่าการส่งออกปูนซีเมนต์เดือนสิงหาคม 2556 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ลดลงร้อยละ 7.68 และเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ลดลงร้อยละ 25.87

เมื่อพิจารณาในภาพรวม การส่งออกปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนไม่มากนัก ทั้งนี้ เนื่องจากประเทศคู่ค้าที่สำคัญของไทย อาทิ เมียนมาร์ กัมพูชา ลาว โตโกและบังคลาเทศ ยังคงมีความต้องการใช้ปูนซีเมนต์เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในประเทศอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะเมียนมาร์และกัมพูชา ที่เศรษฐกิจกำลังเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม ความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ในประเทศที่มีแนวโน้มสูงขึ้น จะส่งผลให้บริษัทผู้ผลิตปูนซีเมนต์รายใหญ่ของไทยสำรองปูนซีเมนต์ไว้ใช้ในประเทศต่อไป

แนวโน้ม

การผลิตและการจำหน่ายในประเทศของอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์มีแนวโน้มปรับตัวลดลงเล็กน้อยต่อเนื่องจากเดือนก่อน อย่างไรก็ตาม มาตรการลงทุนในโครงการสาธารณูปโภคพื้นฐานของภาครัฐ และการขยายธุรกิจอสังหาริมทรัพย์อย่างรวดเร็วและต่อเนื่องของภาคเอกชน โดยเฉพาะธุรกิจก่อสร้างตามหัวเมืองใหญ่ในต่างจังหวัด ยังคงเป็นปัจจัยสำคัญในการผลักดันให้อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ขยายตัวดีขึ้นต่อไป

สำหรับแนวโน้มการส่งออก คาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย อย่างไรก็ตาม ความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ในประเทศที่มีแนวโน้มสูงขึ้น อาจส่งผลทำให้บริษัทผู้ผลิตยังคงสำรองปูนซีเมนต์ไว้ใช้ในประเทศมากขึ้นต่อไป

6. อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

ภาพรวมภาวะการผลิตอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของเดือนสิงหาคม มีการปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นการลดลงของอุตสาหกรรมไฟฟ้า ส่วนอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ อยู่ในภาวะทรงตัว เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจยังไม่แน่นอน แต่ขณะนี้เริ่มได้รับคำสั่งซื้อเข้าในผลิตภัณฑ์ที่นำไปใช้งานในศูนย์ข้อมูลขนาดใหญ่

ตารางที่1 สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์หลักที่มีมูลค่าการส่งออกมากเป็นอันดับต้นๆ ในเดือน ส.ค. 2556
          เครื่องใช้ไฟฟ้า/อิเล็กทรอนิกส์                    มูลค่า (ล้านเหรียญฯ)          %MoM           %YoY
          อุปกรณ์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์                1,477.7                 -1.2           -9.0
          วงจรรวมและไมโครแอส แซมบลี                      640.6                  2.1           10.3
          เครื่องปรับอากาศ                                 272.4                -13.3            8.7
          กล้องถ่ายโทรทัศน์ กล้องถ่ายบันทึกวีดีโอภาพนิ่ง วีดีโออื่นๆ    159.9                 -5.1          -13.0
          รวมเครื่องใช้ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์                4,483.4                 -0.5           -2.3
          ที่มา สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

1.การผลิต

ภาพรวมภาวะการผลิตอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของเดือนสิงหาคม 2556 มีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ระดับ 275.3 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7เมื่อเทียบกับเดือนก่อน แต่เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 0.1 โดยอุตสาหกรรมไฟฟ้ามีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ระดับ 131.88 ลดลงร้อยละ 9.8 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน และปรับตัวลดลงร้อยละ 4.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากผู้บริโภคในประเทศมีการระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้นและตลาดส่งออกชะลอตัวลง สำหรับอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์มีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ระดับ 356.69 เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.4 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากเป็นการปรับตัวเพิ่มขึ้นของ HDD ที่ได้รับคำสั่งซื้อเข้ามากในส่วนของผลิตภัณฑ์ที่นำไปใช้งานระบบ Cloud และศูนย์ข้อมูลขนาดใหญ่ทีจะมารองรับการจัดเก็บข้อมูลที่มีจำ นวนมากขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

2. การส่งออก

มูลค่าการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เดือนสิงหาคม 2556 มีมูลค่า 4,483.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 0.5 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน แต่เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 2.3 โดยสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้ามีมูลค่าการส่งออก 1,845.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 1.3 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 4.9 ซึ่งตลาดหลักที่มีการปรับตัวลดลง คือ สหรัฐอเมริกาและจีนปรับตัวลดลงถึงร้อยละ 16.2 และ 7.6 ส่วนอาเซียน สหภาพยุโรป ญี่ปุ่นมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.4 6.9 5.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนตามลำดับ โดยเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีมูลค่าส่งออกสูงสุด ได้แก่ เครื่องปรับอากาศมีมูลค่าส่งออก 272.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 13.3 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน รองลงมาคือ กล้องถ่ายโทรทัศน์ กล้องถ่ายบันทึกวีดีโอภาพนิ่ง วีดีโออื่นๆ มีมูลค่าส่งออก 159.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 5.1 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน และปรับตัวลดลงร้อยละ 13.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ มีมูลค่าการส่งออก 2,637.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 0.01 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนมีการปรับตัวลดลงร้อยละ 0.3 เนื่องมาจากการส่งออกไปจีนลดลงมากถึงร้อยละ 33.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ ขณะที่ตลาดหลักอื่น ๆ มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะสหภาพยุโรปและอาเซียนเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.4 และ 13.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ

3. แนวโน้ม

ภาพรวมอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เดือนกันยายน2556 จากแบบจำลองดัชนีชี้นำที่จัดทำโดยสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ประมาณการแนวโน้มการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ลดลง ร้อยละ 0.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยอุตสาหกรรมไฟฟ้าจะปรับตัวลดลงร้อยละ 3.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการส่งออกอิเล็กทรอนิกส์ไปตลาดหลักบางตลาดเริ่มมีการปรับตัวดีขึ้น

--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ