ผู้หญิงในเอเชียแปซิฟิกก้าวสู่ความก้าวหน้า ทางสังคมและเศรษฐกิจ อย่างสวยงาม

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday March 13, 2012 09:20 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--13 มี.ค.--124 คอมมิวนิเคชั่นส คอนซัลติ้ง ผลสำรวจล่าสุดจากมาสเตอร์การ์ด เผยการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของความเสมอภาคทางเพศใน 12 จาก 14 ประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ท่านสามารถทวีตข่าวนี้ได้โดยการโพสต์ลิ้งค์ http://bit.ly/zqljSs ลงบนทวิตเตอร์พร้อมใส่แท็ก #MasterCardและ #Women มาสเตอร์การ์ด (http://newsroom.mastercard.com/) แถลงผลสำรวจล่าสุดมาสเตอร์การ์ด เวิลด์วายด์ อินเด็กซ์ เกี่ยวกับความก้าวหน้าของสตรี (MasterCard Worldwide Index of Women’s Advancement) ที่เน้นวัดดัชนีเกี่ยวกับระดับสถานภาพทางสังคมและเศรษฐกิจของผู้หญิงที่เทียบกับผู้ชายนั้น เผยให้เห็นว่าในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา สังคมให้การยอมรับอำนาจและสิทธิสตรีเพิ่มมากขึ้น เป็นสัญญาณบ่งชี้ความก้าวหน้าที่สำคัญของผู้หญิงในสังคม โผมาสเตอร์การ์ด เวิลด์วายด์ อินเด็กซ์ เกี่ยวกับความก้าวหน้าของสตรีนี้ เป็นส่วนหนึ่งในความพยายามอย่างต่อเนื่องของมาสเตอร์การ์ดเพื่อวัดระดับสถานภาพทางสังคมและเศรษฐกิจของสตรีทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ตะวันออกกลาง และแอฟริกา โดยผลสำรวจชิ้นนี้ประกอบด้วย 5 ตัวชี้วัด ได้แก่ การเป็นเจ้าของธุรกิจ (Business Ownership) ความเป็นผู้นำในด้านธุรกิจและภาครัฐ (Business & Government Leadership) การมีส่วนร่วมในตลาดแรงงาน (Workforce Participation) โอกาสทางการจ้างงานทั่วไป (Regular Employment Opportunities) และการศึกษาในระดับชั้นอุดมศึกษา (Tertiary Education) โดยสำหรับการวิจัยชิ้นนี้ แต่ละตัวบ่งชี้จะวัดอัตราส่วนของผู้หญิงต่อผู้ชายจำนวน 100 คน ในแต่ละ 14 ประเทศของเอเชียแปซิฟิก เกณฑ์หลักจะใช้คะแนนเต็ม 100 คะแนนเพื่อบ่งชี้ว่าผู้หญิงในแต่ละประเทศมีความใกล้หรือไกลเพียงใดจากการบรรลุความเท่าเทียมทางสังคมและเศรษฐกิจเมื่อเทียบกับผู้ชายในประเทศเดียวกัน โดยคะแนนที่ต่ำกว่า 100 คะแนนชี้ให้เห็นถึงความไม่เท่าเทียมกันทางเพศ ซึ่งแสดงถึงความเหนือกว่าของเพศชาย ในขณะคะแนนที่มากกว่า 100 คะแนน จะหมายถึงความไม่เท่าเทียมกันทางเพศซึ่งเอนไปทางด้านความเหนือกว่าของเพศหญิง ส่วน 100 คะแนนพอดีนั้น จะบ่งชี้ความเท่าเทียมกันของทั้งสองเพศ โดยผลสำรวจนี้และรายงานอื่นๆ ที่ประกอบอยู่ด้วยนั้น มิได้แสดงถึงผลประกอบการทางการเงินใดๆ ของมาสเตอร์การ์ดทั้งสิ้น สำหรับประเทศที่นำหน้าโดยรวมจากทั้ง 14 ประเทศในเอเชียแปซิฟิกได้แก่ประเทศออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ซึ่งมีผลคะแนน 83.3 และ 83.1 ตามลำดับ ตามมาติดๆ เป็นฟิลิปปินส์ (ผลคะแนน 77.8) สิงคโปร์ (77.4) และเวียดนาม (75.0) ในขณะที่อันดับรั้งท้ายตกเป็นของประเทศอินเดีย (48.4) เกาหลี (63.5) และญี่ปุ่น (64.8) ส่วนประเทศไทยตามมาเป็นอันดับที่ 6 ถัดจากเวียดนาม ด้วยคะแนนสูสี 74.6 โดยผู้หญิงไทยจะเหนือกว่าผู้ชายในด้านการศึกษาในระดับชั้นอุดมศึกษา (133.2) มีโอกาสทางการจ้างงานที่ใกล้เคียงกัน อยู่ที่ 95.2 และมีส่วนร่วมในตลาดแรงงานไม่ทิ้งห่างกันมากนักที่ 79.9 ในขณะที่ยังไม่สามารถสร้างความเท่าเทียมกับเพศชายได้ในเรื่องการเป็นเจ้าของธุรกิจ (38.5) และการเป็นผู้นำในด้านธุรกิจและภาครัฐ (36.0) 12 ใน 14 ประเทศได้เห็นการเพิ่มขึ้นของคะแนนจากผลสำรวจในช่วงระหว่าง 3 ปีที่ผ่านมาเป็นอย่างน้อย ในขณะที่อันดับปัจจุบันของประเทศอินเดียนั้น ต่ำที่สุดในทุกประเทศเอเชียแปซิฟิก ซึ่งมีคะแนนรวมเพียง 48.4 เท่านั้น แต่ทว่าก็มีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ ตั้งแต่ปี 2553 ในทางกลับกัน ประเทศจีนซึ่ง ณ ขณะนี้มีคะแนนถึง 73.7 กลับเผชิญกับการลดลงเล็กน้อยแต่ต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2550 หากลงลึกในแต่ละดัชนีจะพบว่าด้านของระดับการศึกษานั้น ผู้หญิงไทยยังมีความเหนือกว่าอย่างต่อเนื่องจาก คะแนน 131.4 ในปี 2553, 132.4 ในปี 2554 และ 133.2 ในปีนี้ โดยเป็นอันดับสี่ในภูมิภาครองจากนิวซีแลนด์ (137.7) มาเลเซีย (135.9) ออสเตรเลีย (134.5) ในขณะที่ประเทศที่เพศหญิงมีอัตราเข้าศึกษาในระดับชั้นอุดมศึกษาน้อยกว่าเพศชายได้แก่ ญี่ปุ่น (89.6) เกาหลี (73.1) และอินเดีย (69.5) อัตราการมีส่วนร่วมในตลาดแรงงานสำหรับผู้หญิงในประเทศเอเชียแปซิฟิกส่วนใหญ่ถือว่าอยู่ในระดับที่ดี โดย 8 ประเทศ มีจำนวนผู้หญิงในตลาดแรงงานโดยเฉลี่ย 70 คนต่อผู้ชาย 100 คน โดยในส่วนของประเทศไทย แม้เพศหญิงจะยังไม่เท่าเทียมกับชาย แต่ถือว่าอยู่ในระดับใกล้เคียงเป็นที่น่าพึงพอใจ ด้วยคะแนนการจ้างงานทั่วไปที่ 95.2 และการมีส่วนร่วมในตลาดแรงงานที่ 79.9 คะแนน โดยมีประเทศอินเดียรั้งท้ายในหมวดนี้โดยมีอัตราผู้หญิงเพียง 35 คนต่อผู้ชาย 100 คนในตลาดแรงงาน ตามท้ายมาติดๆ คือประเทศมาเลเซีย (57.1) อินโดนีเซีย (61.0) และฟิลิปปินส์ (62.8) ในแง่การเป็นเจ้าของธุรกิจในเอเชียแปซิฟิก ผู้หญิงยังคงต้องการอำนาจทางสังคมและเศรษฐกิจเพิ่มมากขึ้น ผลสำรวจจากงานวิจัยชิ้นนี้แสดงให้เห็นว่า 13 จาก 14 ประเทศที่รวมอยู่ในผลสำรวจมีอัตราเจ้าของธุรกิจที่เป็นผู้หญิง 50 คนต่อเจ้าของธุรกิจผู้ชาย 100 คน ส่วนของไทยนั้น มีอัตราเจ้าของธุรกิจที่เป็นผู้หญิงเพียง 38.5 คนต่อ เจ้าของธุรกิจผู้ชาย 100 คนเท่านั้น สำหรับในด้านการเป็นผู้นำทางธุรกิจในหน่วยงานภาครัฐ มีช่องว่างเหลืออยู่มากมายสำหรับการเติบโต หากดูตามคะแนนของผลสำรวจล่าสุดจะเห็นว่า มีเพียง 6 ประเทศที่มีผู้หญิงอย่างน้อย 50 คนเป็นแกนนำด้านธุรกิจและภาครัฐเมื่อเทียบกับผู้นำที่เป็นผู้ชาย 100 คน จากประเทศเอเชียแปซิฟิกทั้งหมด 14 ประเทศ ฟิลิปปินส์ (192.3) เป็นเพียงประเทศเดียวทีมีความเสมอภาคทางเพศในด้านการเป็นผู้นำภาคธุรกิจและภาครัฐ ส่วนประเทศนิวซีแลนด์ (77.1) ออสเตรเลีย (73.1) อินเดีย (65.8) และสิงคโปร์ (65.5) ถือว่ามีสัดส่วนผู้หญิงต่อผู้ชายในตำแหน่งผู้นำทางธุรกิจและภาครัฐสูงพอสมควร ประเทศที่ได้คะแนนน้อยมากในหมวดหมู่นี้ได้แก่ประเทศญี่ปุ่น (15.0) เกาหลี (17.3) และจีน (24.0) ส่วนของไทยถือว่าอยู่ในระดับกลาง ๆ คือประมาณ 36 ใกล้เคียงกับไต้หวัน (34.3) และเวียดนาม (32.7) การวิจัยของมาสเตอร์การ์ดเกี่ยวกับความก้าวหน้าของสตรีได้ชี้ให้เห็นว่า ถึงแม้จะมีกลุ่มผู้หญิงที่เข้าถึงโอกาสทางการงานและการศึกษาระดับอุดมศึกษา แต่ก็ยังเหลือพื้นที่สำหรับการพัฒนาอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการเข้ารับตำแหน่งสำคัญๆ ในภาครัฐและภาคธุรกิจโดยผู้นำที่เป็นผู้หญิง จอร์เจ็ท แทน ประธานฝ่ายสื่อสาร ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ตะวันออกกลาง และแอฟริกา มาสเตอร์การ์ด เวิลด์วายด์ กล่าวว่า “ผลการสำรวจล่าสุดชิ้นนี้ได้บ่งชี้ว่าผู้หญิงนั้นมีบทบาทเพิ่มมากขึ้นในประเทศส่วนใหญ่ โดยมีก้าวสำคัญที่เกิดขึ้นอย่างการมีส่วนร่วมในตลาดแรงงานและโอกาสทางการจ้างงานทั่วไป ซึ่งถือเป็นข่าวที่ดีมากและเป็นแรงบันดาลใจสำหรับคนที่ยืนหยัดเพื่ออำนาจสิทธิสตรี รวมทั้งผู้ประกอบการต่างๆ ที่เป็นผู้หญิง สิ่งนี้แสดงให้เห็นว่า แม้ในช่วงเวลาที่ท้าทาย สังคมส่วนใหญ่ก็ยังคงให้ความสำคัญกับประเด็นนี้อย่างจริงจัง” “ความก้าวหน้าทางด้านสังคมและเศรษฐกิจของผู้หญิงมีจุดเริ่มต้นจากระดับพื้นฐาน เริ่มตั้งแต่การสร้างความมั่นใจในตัวผู้หญิงเองผ่านทางการศึกษา ตลอดไปจนถึงการพัฒนาทักษะและโอกาสทางการจ้างงานทั่วไปให้แก่พวกเขา ซึ่งตรงกับความมุ่งมั่นของทางมาสเตอร์การ์ด ซึ่งเมื่อเร็วๆ นี้ได้เปิดตัวโครงการ Project Inspire โครงการยาว 1 ปี ผ่านสื่อดิจิตอลและโซเชียลมีเดีย ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างความก้าวหน้าให้กับผู้ประกอบการที่เป็นผู้หญิง โดยจุดประสงค์หลักก็คือการสร้างความมีส่วนร่วมในหมู่ผู้ประกอบการที่อายุยังน้อย ผ่านการแข่งขันซึ่งนำเอาความคิดและผลงานสร้างสรรค์ที่ดีที่สุด นำมาใช้เพื่อพัฒนาสถานะของสตรี โดยความคิดริเริ่มดังกล่าวช่วยสร้างความตระหนักเกี่ยวกับความสำคัญของบทบาทผู้หญิงในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ตะวันออกกลาง และ แอฟริกา เพื่อนำไปสู่การพัฒนาทางด้านจุดยืนทางสังคมและเศรษฐกิจของผู้หญิงโดยรวม” จอร์เจ็ทกล่าวสรุป สำหรับสื่อมวลชน กรุณาติดต่อ 124 คอมมิวนิเคชั่นส คอนซัลติ้ง โทร 0 2 718 1886 กฤติยา นนทะนาคร krittiya@124comm.com ต่อ 226 นิรชา รื่นเริง nirachcha@124comm.com ต่อ 150 ผลสำรวจMasterCard Worldwide Index of Women’s Advancement ประเทศ คะแนนโดยรวม(2555) 5 ตัวชี้วัด การศึกษาระดับชั้นอุดมศึกษา การเป็นเจ้าของธุรกิจ ความเป็นผู้นำด้านธุรกิจและภาครัฐ การมีส่วนร่วมในตลาดแรงงาน โอกาสทางการ จ้างงานทั่วไป ออสเตรเลีย 83.3 134.5 56.6 73.1 81.6 105.5 นิวซีแลนด์ 83.1 137.7 46.8 77.1 83.2 111.1 ฟิลิปปินส์ 77.8 125.8 47.1 192.3 62.8 98.1 สิงคโปร์ 77.4 98.1 46.0 65.5 74.0 113.6 เวียดนาม 75.0 107.2 37.5 32.7 90.1 71.6 ประเทศไทย 74.6 133.2 38.5 36.0 79.9 95.2 จีน 73.7 118.4 42.6 24.0 84.3 82.8 ฮ่องกง 73.7 104.2 29.0 48.4 75.1 110.1 ไต้หวัน 73.5 107.0 30.4 34.3 78.8 109.0 มาเลเซีย 68.3 135.9 32.5 58.7 57.1 111.2 อินโดนีเซีย 67.9 103.3 35.9 45.9 61.0 94.4 ญี่ปุ่น 64.8 89.6 29.4 15.0 69.0 105.3 เกาหลี 63.5 73.1 42.2 17.3 68.9 102.8 อินเดีย 48.4 69.5 32.5 65.8 35.9 52.9 คะแนนข้างต้นแสดงถึงสัดส่วนของผู้หญิงต่อผู้ชาย 100 คนสำหรับแต่ละหมวดหมู่ คะแนนที่สูงกว่า 100 คะแนน จะถูกตัดออกให้เหลือ 100 เพื่อให้ได้คะแนนดัชนีชี้วัดโดยรวมที่ 100 คะแนน เพื่อความแน่ใจว่าแต่ละองค์ประกอบจะไม่ทำให้คะแนนโดยรวมทั้งหมดของผลสำรวจชิ้นนี้ลาดเอียงไปทางใดทางหนึ่ง สำหรับรายงานของผลสำรวจฉบับสมบูรณ์ สามารถดูได้ที่: www.masterintelligence.com

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ