ควร หรือ ไม่ กับการให้พนักงานนำอุปกรณ์ส่วนตัวมาใช้ในงาน

ข่าวเทคโนโลยี Wednesday October 17, 2012 18:22 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--17 ต.ค.--เอพีพีอาร์มีเดีย ควร หรือ ไม่ กับการให้พนักงานนำอุปกรณ์ส่วนตัวมาใช้ในงาน โดย มร สจวร์ท ไดร์ฟเวอร์ ผู้อำนวยการฝ่ายบริการไอทีของซิทริกซ์ ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค หมดยุคแล้วกับการที่องค์กรจะเข้ามาควบคุมว่าพนักงานควรใช้อุปกรณ์อะไร เพราะด้วยธรรมชาติของโลกดิจิตอลในปัจจุบัน ต่างเรียกร้องให้องค์กรยอมให้พนักงานนำอุปกรณ์พกพาส่วนตัว เช่น สมาร์ทโฟน แท็บเล็ตและแล็ปท็อป มาใช้ในที่ทำงาน คนทำงานที่เกิดและเติบโตมาในยุคอินเทอร์เน็ต มองว่าการใช้อุปกรณ์ใดก็ตาม เพื่อเข้าถึงข้อมูลหรือแอพพลิเคชั่นใดๆ ก็ได้ เป็นความชอบธรรม ไม่ใช่สิทธิพิเศษ การนำไอทีในระดับผู้บริโภค (Consumerization of IT) มาใช้ กลายเป็นแนวโน้มที่ไม่สามารถหยุดยั้งได้ รวมถึงเป็นสิ่งสะท้อนความสำคัญของพนักงานในการมองหาที่ทำงานที่มีนโยบายในการนำอุปกรณ์ส่วนตัวมาใช้งาน องค์กรต่างๆ อาจต้องยอมรับและนำข้อเท็จจริงนี้มาปรับใช้เพื่อดึงดูดคนมีความสามารถให้มาร่วมงานด้วย ซึ่งเป็นกลไกในการนำนวัตกรรมมาสู่องค์กร นอกเหนือจากปัจจัยเรื่องธรรมชาติของโลกดิจิตอลแล้ว การศึกษาของไอดีซี ยังเปิดเผยว่า สองกลุ่มหลักที่เป็นผู้ผลักดันให้มีการสนับสนุนการใช้อุปกรณ์พกพาที่ไม่ได้ใช้กันเป็นมาตราฐาน คือ กลุ่มรองประธาน/ผู้อำนวยการ และกลุ่มผู้บริหารระดับสูง (C-Suite) โดยรายงานของซิทริกซ์ เรื่องสถานที่ทำงานแห่งอนาคต ซึ่งจัดทำโดย Vanson Bourne สำนักวิจัยอิสระ แสดงให้เห็นว่าในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ฝ่ายไอทีรวมถึงผู้บริหารระดับ C ได้พยายามผลักดันเพื่อริเริ่มให้มีการนำอุปกรณ์ส่วนตัวมาใช้งาน (BYOD) องค์กร 45 เปอร์เซ็นต์ ในประเทศไทย จะมีการนำการทำงานรูปแบบโมบายมาประยุกต์ใช้ในปี 2557 เพื่อจัดการกับการเติบโตของจำนวนอุปกรณ์พกพาซึ่งผู้คนนำมาใช้ในการเข้าถึงเครือข่ายองค์กรกันมากขึ้น ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการสนับสนุนให้มีการใช้อุปกรณ์ที่ไม่ได้ใช้กันเป็นมาตรฐาน มาใช้ในที่ทำงานกำลังกลายเป็นกระแสหลัก นอกจากนี้ 65 เปอร์เซ็นต์ขององค์กร ที่ได้นำความริเริ่มด้าน BYOD มาปรับใช้แล้ว หรือกำลังวางแผนว่าจะนำมาใช้ ชี้ให้เห็นถึงความต้องการด้านโมบิลิตี้เพื่อการทำงานที่เพิ่มสูงขึ้น และกำลังเป็นปัจจัยหลักในการผลักดันองค์กรต่างๆ ให้มีการกำหนดใช้นโยบาย BYOD อย่างเป็นทางการ องค์กรต่างๆ อาจจะเปิดโอกาสให้พนักงานส่งคำร้องขอ แต่อย่างไรก็ดี อุปกรณ์ใหม่ทุกตัว ซึ่งได้รับอนุญาตให้เข้าใช้งานเครือข่ายองค์กร หมายถึงการสร้างความเสี่ยงด้านความปลอดภัยและความท้าทายในการจัดการ องค์กรธุรกิจต่างต้องการความสามารถในการให้บุคลากรเข้าถึงทรัพยากรทางธุรกิจได้ทุกที่ทุกเวลา ในขณะที่ยังคงปกป้องข้อมูลสารสนเทศที่สำคัญขององค์กรให้มีความปลอดภัยสูงสุดได้ ความแพร่หลายในการนำสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตมาใช้งานในองค์กร ผนวกกับความต้องการในการเข้าถึงเครือข่ายสารสนเทศและแอพพลิเคชั่นในองค์กรได้แบบเรียลไทม์ผ่านอุปกรณ์เหล่านี้ ทำให้ความสามารถในการตอบสนองความต้องการดังกล่าวกลายเป็นสิ่งสำคัญอันดับต้นที่ซีไอโอในปัจจุบันต้องคำนึงถึง วิธีที่จะเอาชนะความท้าทายเหล่านี้ ต้องมีองค์ประกอบที่มีประสิทธิภาพ 3 ประการ ประกอบด้วย นโยบาย เทคโนโลยี และระบบ ซึ่งช่วยองค์กรได้รับประโยชน์จากแนวโน้มที่สำคัญนี้ได้ ทั้งนี้เหตุผลหลักที่องค์กรควรต้องพิจารณานำนโยบาย BYOD มาใช้มีดังนี้ 1. ลดค่าใช้จ่าย การให้คนจ่ายค่าใช้จ่ายอุปกรณ์ที่แตกต่างกันเพื่อนำใช้ในงาน ไม่ว่าจะจ่ายส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดก็ตาม นับเป็นการช่วยให้ฝ่ายไอทีไม่ต้องยุ่งยากในเรื่องของการจัดซื้อและบำรุงรักษาฮาร์ดแวร์ที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ นอกจากนี้ เมื่อนำเทคโนโลยี อย่างเช่น เดสก์ท็อปเวอร์ชวลไลเซชั่น และการจัดการโมบายสำหรับเอ็นเทอร์ไพร์ซ (enterprise mobility management - EMM) มาปรับใช้สำหรับโครงการ BYOD ก็จะช่วยให้เข้าถึงแอพพลิเคชั่นและข้อมูลที่จำเป็นได้ โซลูชั่นเหล่านี้ นับเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพให้กับโปรแกรม BYOD โดยเป็นนโยบายที่มาทดแทนการเปลี่ยนเครื่องแล็ปท็อป ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายด้านไอทีลดลงมาก ส่วนพนักงานที่เข้าร่วมในโครงการ BYOD ก็จะได้รับการสนับสนุนเรื่องค่าใช้จ่ายอุปกรณ์ต่างๆ เหล่านี้ด้วย 2. เพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน ในโลกธุรกิจที่ก้าวไปอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน องค์กรต่างๆ จำเป็นต้องทำให้งานเสร็จไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน เวลาใด หรือใช้อุปกรณ์อะไรอยู่ก็ตาม การนำอุปกรณ์ส่วนตัวมาใช้งาน ทำให้การทำงานจากนอกออฟฟิศง่ายขึ้น ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ทั้งการทำงานร่วมกันและการทำงานในรูปแบบโมบาย และยังเพิ่มศักยภาพให้กับคนทำงานด้านความพร้อมในแง่อุปกรณ์ที่มาช่วยเติมเต็มส่วนงานที่ต้องรับผิดชอบ 3. คลายความกังวลเรื่องระบบรักษาความปลอดภัย ความกังวลเรื่องการทำงานให้สอดคล้องตามกฏระเบียบขององค์กร, การปกป้องข้อมูล และเรื่องความเป็นส่วนตัว นับเป็นปัจจัยอันดับต้นๆ ที่ถูกนำมาพิจารณาเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจใช้นโยบาย BYOD เดสก์ทอปเวอร์ชวลไลเซชั่น ช่วยให้อุปกรณ์มีความปลอดภัย ผ่านระบบรักษาความปลอดภัย บนเครือข่ายส่วนตัวแบบเสมือนขององค์กร (SSL VPN) นอกจากนี้ ยังมีโซลูชันการบริหารจัดการะบบโมบายสำหรับเอ็นเทอร์ไพร์ซ (enterprise mobility management) ที่มาพร้อมระบบซิงค์ไฟล์และแบ่งปันบริการต่างๆ ด้วยความปลอดภัย มาช่วยเสริม โดยช่วยให้ระบบไอทีมีความเป็นอิสระมากที่สุด เพื่อรักษาระบบรักษาความปลอดภัยและการควบคุมได้อย่างแน่นหนา BYOD ไม่จำเป็นว่าจะต้องเลือกทำอย่างเต็มรูปแบบหรือไม่ทำอะไรเลย องค์กรต้องอาศัยทั้งความยืดหยุ่นและสิทธิขั้นพื้นฐานในการควบคุมบริการเฉพาะที่ให้ใช้ร่วมกับอุปกรณ์ของพนักงานได้ นอกจากนี้ ต้องสามารถแยกบริการเฉพาะสำหรับกลุ่มทำงานต่างๆ สำหรับประเภทของผู้ใช้ อุปกรณ์และเครือข่ายที่ใช้ ซึ่งบ่อยครั้ง คนทำงานที่เข้าร่วมโปรแกรม BYOD มักจะนำโซลูชันในระดับของผู้บริโภคเข้ามาใช้ในองค์กร ด้วยความคาดหวังว่าจะสามารถใช้ร่วมกับแอพพลิเคชันและการบริการต่างๆ ขององค์กรได้ เหล่านี้รวมถึงแอพพลิเคชันขององค์กรเวอร์ชั่นที่มีขนาดไม่ใหญ่, แอพพลิเคชันขนาดเล็ก,โมบายแอพฯ และซอฟต์แวร์เชิงการบริการ (SaaS) ที่มุ่งเน้นเฉพาะสำหรับผู้บริโภค ระบบรวมด้านการจัดการงานส่วนหน้า (Unified Storefront) ที่ช่วยให้อุปกรณ์ใดก็ตามเรียกใช้งานแอพพลิเคชันต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโมบาย เว็บ หรือวินโดวส์ รวมถึงข้อมูลได้อย่างปลอดภัย สามารถช่วยให้ฝ่ายไอทีทำให้แอพพลิเคชันองค์กรใช้งานผ่านระบบโมบายได้อย่างปลอดภัย ในขณะเดียวกันฝ่ายไอทีเองก็มีอำนาจควบคุมการใช้งานได้อย่างเต็มที่ ช่วยให้ผู้ใช้เข้าถึงแอพพลิเคชันธุรกิจและข้อมูลได้ในทันทีไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็ตาม ทำให้องค์กรที่ใช้นโยบาย BYOD อย่างเป็นทางการได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ยอดเยี่ยม ข่าวความเคลื่อนไหวของซิทริกซ์ในเดือนกันยายนที่ผ่านมา มีหัวข้อที่น่าสนใจดังต่อไปนี้ - สูตรสำเร็จของสถานที่ทำงานแห่งอนาคต = 1 คน x 6 อุปกรณ์ @ พื้นที่ 2 ใน 3 ของโต๊ะทำงาน การศึกษาครั้งล่าสุดของซิทริกซ์ ผู้นำเทคโนโลยีระบบคลาวด์และโมบาย พบว่า ในปี 2563 องค์กรถูก กำหนดให้ลดพื้นที่ทำงานลงเกือบห้าส่วน (17 เปอร์เซ็นต์) ทั้งนี้ สถานที่ทำงานแห่งอนาคตจะ จัดเตรียมพื้นที่สำหรับโต๊ะทำงานเพียง 7 ตัวไว้รองรับพนักงานทุก 10 คน โดยแต่ละคนสามารถเข้าถึง ระบบเครือข่ายไอทีขององค์กรจากอุปกรณ์ระบบคอมพิวเตอร์ที่แตกต่างกันไป 6 ตัว โดยตัวเลขสำหรับ ปี 2563 ซึ่งเป็นตัวเลข 6 โต๊ะทำงานต่อพนักงาน 10 คนเป็นตัวเลขที่อยู่ในเกณฑ์ต่ำ และครอบคลุม เพียงแค่ประเทศสิงคโปร์ เนเธอร์แลนด์ สหรัฐอเมริกา และอังกฤษ ซึ่งบางประเทศที่มีสัดส่วนของพื้นที่ ทำงานมากที่สุดในปี 2563 จะเป็นประเทศญี่ปุ่น (8.77) เกาหลีเหนือ (7.95) และเยอรมัน (7.90) - ซิทริกซ์ ควบกิจการ บีทิล ซิทริกซ์ประกาศความสำเร็จในการเข้าซื้อกิจการบริษัทบีทิล (Beetil) ผู้ให้บริการเทคโนโลยีด้านการให้ความช่วยเหลือ (Service Desk) บนคลาวด์ โดยบีทิล ช่วยให้มืออาชีพที่ให้การสนับสนุนด้านเทคนิคสามารถนำเสนอความช่วยเหลือให้แก่ลูกค้า และปรับปรุงค่าใช้จ่ายรวมด้านเทคโนโลยีได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการส่งมอบระบบติดตามเหตุการณ์ที่ทรงประสิทธิภาพและใช้งานง่าย บริการระบบช่วยเหลือด้วยตนเองสำหรับผู้ใช้ การตั้งค่า การบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลง และหน้าที่ด้านการบริหารจัดการระบบต่างๆ - ซิทริกซ์หนุนนวัตกรรมต่อเนื่อง ลงทุนกับ CumuLogic บริษัทที่ริเริ่มด้านคลาวด์ Citrix Startup Accelerator เป็นความริเริ่มด้านการลงทุนของซิทริกซ์ ตั้งแต่แรกเริ่มธุรกิจ และในวันนี้ได้มีการประกาศลงทุนในธุรกิจ CumuLogic ผู้ให้บริการนวัตกรรมด้านซอฟต์แวร์ แพลตฟอร์มแอพพลิเคชันคลาวด์แบบใหม่ ที่ช่วยให้องค์กรธุรกิจ และผู้ให้บริการคลาวด์ รวมถึงผู้ให้บริการซอฟต์แวร์อิสระ สามารถพัฒนาและปรับใช้แอพพลิเคชันจาวาบนสภาพแวดล้อมคลาวด์ทั้งในแบบไพรเวท พับบลิค และแบบไฮบริดคลาวด์ได้ -ซิทริกซ์ ได้รับการจัดอันดับในทำเนียบ InformationWeek 500 ในแต่ละปี InformationWeek จะมีการจัดอันดับผู้นำเทคโนโลยีเพื่อธุรกิจชั้นแนวหน้า ในงานประจำปีคือ InformationWeek 500 ที่จะจัดอันดับผู้สร้างนวัตกรรมและผู้สร้างกฎเกณฑ์ใหม่ และในปีนี้ซึ่งนับเป็นครั้งแรก ที่ซิทริกซ์ได้รับการยอมรับจาก InformationWeek ให้ขึ้นทำเนียบดังกล่าว โดยอยู่ในอันดับที่ 212 โดยรายชื่อผู้ที่อยู่ในทำเนียบทั้งหมดจะได้รับการตีพิมพ์ในรายงานที่แนบไปกับหนังสือ InformationWeek รวมถึงบนเว็บ informationWeek.com ในกรณีที่ท่านต้องการสำเนารายงานเกี่ยวกับสถานที่ทำงานแห่งอนาคตของซิทริกซ์ รวมถึงต้องการพูดคุยในเชิงลึกเกี่ยวกับการทำงานในรูปแบบโมบายกับผู้บริหารของซิทริกซ์ สามารถติดต่อได้ที่ บุษกร ศรีสงเคราะห์ บริษัท เอพีพีอาร์มีเดีย ที่เบอร์โทร 02-655-6633 หรือส่งอีเมลมาที่ busakorn@apprmedia.com

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ