กรมสุขภาพจิต แนะ คอบอล Check ความเสี่ยง หลีกเลี่ยง ติดพนัน

ข่าวทั่วไป Monday June 16, 2014 17:51 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--16 มิ.ย.--กรมสุขภาพจิต นพ.เจษฎา โชคดำรงสุข อธิบดีกรมสุขภาพจิต ให้สัมภาษณ์ว่า ช่วงเทศกาลการแข่งขันฟุตบอลครั้งสำคัญๆ ไม่ว่าจะเป็นฟุตบอลโลก หรือฟุตบอลยูโร ถือเป็นฤดูกาลแข่งขันที่แฟนๆ ทั้งในประเทศไทยและทั่วโลกต่างให้ความสำคัญ และเฝ้าเชียร์กันอย่างมาก โดยปัญหาที่มักพบตามมา หนีไม่พ้น ปัญหาการพนัน ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิตอย่างชัดเจน ที่สำคัญ เสี่ยงต่อการเป็นโรค “ติดพนัน (Pathological Gambling)” โดยจะรู้สึกตึงเครียดหรือปลุกเร้าเป็นอย่างมากก่อนการกระทํา และจะรู้สึกยินดีอิ่มเอมใจ หรือรู้สึกปลดปล่อยระหว่างที่กําลังกระทํา ซึ่งผู้ป่วยกลุ่มนี้จะไม่สามารถต่อต้านแรงกระตุ้น แรงผลักดันหรือสิ่งยั่วยวนที่จะให้กระทําการบางอย่างที่เป็นอันตรายต่อตนเองหรือผู้อื่นได้ ทั้งนี้ ความชุกของภาวะติดพนันในประชากรทั่วไปที่เป็นผู้ใหญ่ในประเทศสหรัฐอเมริกาอยู่ที่ประมาณ ร้อยละ 3 ส่วนในประเทศไทย พบ ร้อยละ 8 ของประชากร อธิบดีกรมสุขภาพจิต ได้แนะ คอบอล ครอบครัว และคนใกล้ชิด ประเมินความเสี่ยง การติดพนัน เพื่อหาทางป้องกันและบำบัดรักษาได้อย่างทันท่วงที ด้วยการตอบคำถาม 9 ข้อ จากแบบประเมิน ต่อไปนี้ คำถาม ไม่เคย บางครั้ง บ่อยครั้ง ประจำ 1. คุณเคยเล่นพนันโดยใช้เงินจํานวนมาก 2. คุณต้องเพิ่มเงินพนันเพื่อเพิ่มความตื่นเต้น เร้าใจ 3. คุณต้องหวนกลับไปแก้มือเสมอเพราะหวังว่าจะได้ทุนคืน 4. คุณเคยหยิบยืมเงินคนอื่น หรือจํานํา/ จํานองของมีค่าของตนเพื่อให้ได้เงินไปเล่นพนัน 5. คุณสงสัยว่าตัวคุณอาจติดพนัน 6. คุณมีปัญหาสุขภาพ เครียดง่าย อารมณ์ หงุดหงิดบ่อยครั้ง 7. มีคนกล่าวหาคุณว่าเป็นคนติดการพนัน 8. คุณมีปัญหาการเงินและทรัพย์สินจากการพนัน 9. คุณรู้สึกผิดกับการเล่นพนันและสิ่งที่ตามมา ภายหลังการพนัน รวม (ข้อที่บ่อยครั้ง และประจํา) ** พัฒนาจาก The Problem Gambling Severity Index ( PGSI ) การแปลผล - หากมีพฤติกรรมบ่อยครั้งตั้งแต่ 8 ข้อขึ้นไป เป็นผู้มีความเสี่ยงสูง ต้องส่งพบจิตแพทย์ เพื่อบําบัดโรคติดพนัน ด้วยการใช้ยาและจิตบําบัด ระยะเวลา 6 เดือน ถึง 1 ปี - หากมีพฤติกรรมบ่อยครั้ง/ประจํา 3-7 ข้อ เป็นผู้มีความเสี่ยงปานกลาง ให้คําแนะนําทางโทรศัพท์ด้วยการเสริมสร้างแรงจูงใจ และติดตามผลการบําบัดทางโทรศัพท์ ระยะเวลา 1-3 เดือน - หากมีพฤติกรรมบ่อยครั้ง/ประจํา น้อยกว่า 2 ข้อ เป็นผู้มีความเสี่ยงน้อย แต่มีโอกาสกลายเป็นผู้มีความเสี่ยงต่อโรคติดพนัน หากมีการกลับเป็นซ้ำบ่อยๆ ทั้งนี้ สามารถ ดาวน์โหลดแบบสอบถามได้ที่ www.dmh.go.th ตลอดจน ขอรับคำปรึกษาได้ที่ สายด่วนสุขภาพจิต 1323 : ปรึกษาปัญหาพนัน ฟรี ตลอด 24 ชั่วโมง หรือที่ dmh1323@dmh.mail.go.th อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าว

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ