อีริคสัน 5G สร้างสถิติที่ความเร็ว 5 Gbps

ข่าวเทคโนโลยี Monday July 14, 2014 10:55 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--14 ก.ค.--อีริคสัน - อีริคสัน สาธิตระบบเครือข่าย 5G โดยส่งข้อมูล (over-the-air) สร้างสถิติด้วยความเร็ว 5 Gbps บนคลื่นความถี่ย่าน 15 GHz - ผู้บริหารระดับสูงของโอเปอร์เรเตอร์ชั้นนำระดับโลก เช่น NTT DOCOMO และ SK Telecom ต่างเข้าร่วมชมการสาธิตระบบเครือข่าย 5G ซึ่งใช้นวัตกรรมใหม่ของอีริคสันในการบีบอัดและส่งข้อมูลผ่านคลื่นวิทยุ ร่วมกับ เทคโนโลยีล่าสุดของระบบ MIMO อีกด้วย - ประสิทธิภาพและความเร็วของเครือข่าย 5G นั้นจะช่วยผลักดันในการคิดค้นและพัฒนาแอพพลิเคชั่นการสื่อสารระหว่างอุปกรณ์ (machine-to-machine: M2M) ใหม่ๆ ซึ่งจะสร้างประโยชน์ให้กับผู้บริโภคและองค์กรต่างๆอีกมากมาย ถึงแม้ว่าภาคอุตสหกรรมต่างจะคาดการณ์ว่า เครือข่ายระบบ 5G จะเริ่มมีการเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์ภายในปี 2020 แต่ทางอีริคสันนั้นก็ได้ประสพความสำเร็จในการสาธิตระบบเครือข่าย 5G โดยส่งข้อมูล (over-the-air) สร้างสถิติที่ความเร็ว 5 Gbps เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยประสิทธิภาพและความเร็วของเครือข่าย 5G ที่เพิ่มขึ้นนั้นจะเป็นปัจจัยสำคํญอย่างยิ่งที่จะช่วยให้ผู้ให้บริการเครื่อข่ายต่างๆทั่วโลกนั้นสามารถรองรับรือกับความต้องการในการใช้งานโมบายดาต้าที่เพิ่มขึ้น อย่างมากและร่วมไปถึงแอพพลิเคชั่นการสื่อสารระหว่างอุปกรณ์ หรือ M2M application ในอนาคตอีกด้วย ทั้งที ผู้บริหารระดับสูงของโอเปอร์เรเตอร์ชั้นนำระดับโลก เช่น NTT DOCOMO และ SK Telecom ต่างเข้าร่วมชมการสาธิตระบบเครือข่าย 5G ที่สำนักงานใหญ่ของอีริคสัน ณเมืองชิสต้า ประเทศสวีเดน จากรายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุดคาดการณ์ว่า ภายในในปี 2019 นั้นกว่า 85 เปอร์เซ็นต์ของผู้ใช้งานโมบายโฟนในทวีปอเมริกาเหนือจะมีการเข้าถึงระบบ 4G LTE โดยอัตราการเข้าถึงในระดับที่สูงเช่นนี้ย่อมสะท้อนชี้ให้เห็นว่าทางอเมริกาเหนืออาจจะเป็นภูมิภาคแรกๆที่จะมีการนำเทคโนโลยี 5G มาใช้งาน และในขณะเดียวกัน ประเทศญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ ก็น่าจะเป็น 2 ประเทศแรกในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่ได้รับประโยชน์จากระบบ 5G เช่นกัน โดยทั้งผู้ให้บริการเครื่อข่าย NTT DOCOMO และ SK Telecom ต่างได้เริ่มดำเนินการทดสอบเครือข่าย 5G อีกด้วย ทั้งนี้รายงาน Ericsson Mobility Report เผยว่าในประเทศญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ มีผู้ใช้งาน 4G LTE อยู่มากกว่า 30 เปอร์เซ็นต์ และ 50 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ โดยประเทศเกาหลีนั้นเป็นประเทศที่มีอัตราผู้ใช้งาน 4G LTE ต่อประชากรสูงที่สุดในโลกอีกด้วย นาย ไซโซ โอโนอี รองประธานบริษัทระดับสูงและหัวหน้าฝ่ายปฏิบัติการและเทคโนโลยีของบริษัท NTT DOCOMO กล่าวว่า “ประสิทธิภาพและความเร็วที่เพิ่มขึ้นอย่างมากของเครือข่าย 5G นั้นจะเข้ามาผลักดันให้มีการคิดค้นพัฒนาแอพพลิเคชั่นและนวัตกรรมในรูปแบบใหม่ๆในอนาคต ที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อทั้งผู้บริโภคและภาคอุตสาหกรรมต่างๆอย่างมากมาย พวกเรามีความยินดีเป็นอย่างยิ่งต่อความสำเร็จของอีริคสันในครั้งนี้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อโครงการทดสอบและพัฒนาระบบ 5G ร่วมกันกับอีริคสันในอนาคตต่อไป” นอกจากนี้ ใน รายงาน Ericsson Mobility Report ยังได้ชี้ให้เห็นถึงปัจจัยต่างๆที่ภาคอุตสหกรรมต่างจำต้องวางแผนนวัตกรรมเครือข่ายโมบายสำหรับอนาคต หรือ 5G อีกด้วย โดยรายงานนี้ได้เผยว่าการอัตราการเติบโตของการใช้งานโมบายดาต้าบนเครือข่ายโมบายหรือโทรศัพท์มือถืออย่างเดียวทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นกว่า 10 เท่า ในช่วงระหว่างปี 2013 - 2019 และที่สำคัญ ในปี 2019 การใช้อุปกรณ์ machine-to-machine (M2M) บนเครือข่ายโมบาย จะเพิ่มขึ้นกว่า 3 - 4 เท่าตัว นาย อเล็กส์ จินซุนต์ โชย รองประธานบริษัทระดับสูงและหัวหน้าฝ่ายวิจัยและพัฒนาของบริษัท SK Telecom กล่าวว่า “ SK Telecom ต้องการจะเป็นผู้นำในการให้บริการเครื่อข่ายระบบ 5G ดังนั้นเราจึงมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะเห็นถึงความก้าวหน้าที่ทางอีริคสันนั้นสามารถที่จะสาธิตประสิทธิภาพและความเร็วของเครือข่าย 5G และที่สำคัญ การลงทุนของระบบเครื่อข่าย 5G นั้นจะอยู่บนพื้นฐานของระบบ 4G LTE ที่มีอยู่แล้ว โดยจะช่วยให้เราสามารถเพิ่มประสิทธิภาพและประสพการณ์ใหม่ๆแก่ลูกค้าของเราให้ดียิ่งขึ้น และช่วยพัฒนาขยายบริการด้านใหม่ๆให้ลูกค้าต่างๆได้อีกด้วย” นาย สาธายา อธรียาณ ผู้จัดการฝ่ายวิจัย Wireless Network Infrastructure ของบริษัท IDC กล่าวว่า “ถึงแม้ว่ามาตราฐานของเครือข่าย 5G ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ดี แต่ว่าระบบ 5G นั้นได้มีการพัฒนามาจากวิสัยทัศน์ในด้านของเทคโนโลยีที่จะช่วยต่อยอดการวางแผนธุรกิจและโครงข่ายโมบายของผู้ให้บริการต่างๆในอนาคต โดยผู้ผลิตและพัฒนาระบบเครื่อข่ายชั้นนำต่างๆอย่าง อีริคสัน นั้นจำต้องมีการสาธิตศักยภาพต่างๆของเครือข่าย 5G เพื่อเติมเต็มภาพวิสัยทัศน์ของอุตสหกรรมให้ชัดเจนยิ่งขึ้น นาย โยฮานน์ วีเบคต์ หัวหน้าฝ่าย Business Unit Network กล่าวว่า “ระบบ 5G จะมีอิทธิพลอย่างมากต่อการพัฒนาอุปกรณ์ต่างๆของเครือข่ายโมบาย ทั้งในระบบ access และ core network และที่สำคัญการได้ร่วมทำงานอย่างใกล้ชิดกับผู้ให้บริการในระดับชั้นนำ อย่าง NTT DOCOMO และ SK Telecom นั้นช่วยสร้างความมั่นใจในโครงการพัฒนาที่ช่วยให้เกิดนวัตกรรมเชิงรุก ทั้งนี้การพัฒนาเทคโนโลยีการส่งและรับข้อมูลผ่านคลื่นความถี่ในครั้งนี้เป็นก้าวที่มีความสำคัญต่อความสำเร็จของเครือข่าย 5G ในอนาคต” นาย บัญญัติ เกิดนิยม ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารและองค์กรสัมพันธ์ อีริคสัน ประเทศไทย กล่าวเสริมว่า การสาธิตครั้งนี้เป็นการนำนวัตกรรมการอินเทอร์เฟสของคลื่นวิทยุ มาใช้ร่วมเทคโนโลยี Advanced Multiple-Input Multiple Output (MIMO) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการส่งข้อมูล โดยการพัฒนาเครือข่าย 5G ของอีริคสัน ประกอบด้วย ระบบเสาอากาศอัจฉริยะ (smart antenna ) ที่สามารถส่งสัญญาณในช่วงสัญญาณแบรนด์วิธที่กว้างมากขึ้น บนคลื่นความถี่สูงขึ้น ตลอดจนการรับส่งข้อมูลที่รวดเร็วขึ้น ทั้งนี้อุปกรณ์สถานีฐาน 5G ที่ใช้ในการสาธิตครั้งนี้ ประกอบด้วย ระบบ baseband unit (อุปกรณ์สถานนีหลัก) และ radio unit (อุปกรณ์การส่งสัญาณ) ที่ถูกออกแบบมาเพื่อเครือข่าย 5G โดยเฉพาะ หัวใจสำคํญในนวัตกรรม 5G ของ Ericsson คือ อุปกรณ์สถานนีฐานขนาดเล็ก (small cell) ที่เชื่อมต่อเข้ากับ ระบบเน็ตเวิร์คแบบองค์รวม (heterogeneous network), การใช้ความถี่สูงในย่านใหม่ที่ 15 Gbps, ระบบการรับส่งข้อมูล (backhaul transmission) ที่รวดเร็ว ด้วยความเร็วที่สูงขึ้น ความหน่วงในการรับส่งข้อมูล (Latency)ที่ต่ำลง ตลอดจนประสิทธิภาพที่ดีขึ้นเมื่อใช้งานในพื้นที่มีการใช้งานหนาแน่น นั้นถือว่าเป็นคุณสมบัติหลักของระบบ 5G ที่จะพัฒนาขึ้นมาเพื่อยกระดับประสบการณ์ของผู้ใช้งาน รวมถึงส่งเสริมการสื่อสารระหว่างอุปกรณ์และแอพพลิเคชั่น M2M ซึ่งจะส่งผลกระทบและประโยชน์กับผู้บริโภค ไม่ว่าจะเป็น การควบคุมความปลอดภัยทางจราจร ระบบอินเทอร์เนต รวมถึงสร้างประโยชน์ให้กับอุตสาหกรรม เช่น ระบบเซนเซอร์ อย่างไรก็ตาม ถึงแม้เครือข่ายนี้ยังอยู่ในช่วงของการพัฒนาและกำหนดวิสัยทัศน์ แต่การสาธิตในครั้งนี้เปรียบเสมือนเป็นการสะท้อนถึงความเป็นผู้นำทางด้านเทคโนโลยีของอีริคสันที่ชัดเจน นาย บัญญัติ กล่าวเสริมว่าเนื่องด้วยปริมาณทราฟฟิคบนเครือข่ายโมบายทั่วโลกคาดว่าจะเพิ่มขึ้นกว่า 10 เท่าตัวในปี 2019 นั้นเองทำให้การพัฒนาระบบ 5G กลายเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการใช้งานในอนาคตโดยเฉพาะในพื้นที่ๆมีการใช้งานหน่าแน่น เช่น ในตัวเมือง โดยเมื่อมองย้อนกลับไปที่วิสัยทัศน์ของเทคโนโลยีในแต่ละยุคเราก็จะเห็นว่า ระบบ 2G ถูกพัฒนาเพื่อการให้บริการเสียง (voice service) ส่วน 3G นั้นเพื่อบริการ อินเทอร์เน็ตบนมือถือ (mobile internet) และ 4G LTE เพื่อบริการโมบายบรอดแบนด์ (mobile broadband) ดังนั้นเราอาจกล่าวได้ว่า ระบบ 5G นั้นถูกพัฒนาเพื่อรองรับการใช้งานใน Networked Society หรือ สังคมเครือข่าย ที่อุปกรณ์ทุกสิ่งทุกอย่างรอบๆตัวเราจะถูกเชื่อมต่อเข้าหากันเพื่อให้เราสามารถใช้ชีวิตและทำธุรกรรมต่างๆได้สะดวกและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น รับชมวีดีโอการสาธิตระบบ 5G ของอีริคสัน ได้ที่ http://www.youtube.com/watch?v=PIIbczF1Bvc

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ