รายงาน BuzzCity: ตลาดโฆษณาบนมือถือของประเทศไทยใหญ่เป็นอันดับ 9 ของโลก

ข่าวเทคโนโลยี Tuesday July 22, 2014 14:59 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--22 ก.ค.--Grayling การซื้อของออนไลน์เพิ่มขึ้น ในขณะที่ผู้บริโภคเองก็มีความคาดหวังมากขึ้นจากการซื้อของในร้านค้าปลีก จากรายงานไตรมาสล่าสุดของBuzzCity พบว่าตลาดโฆษณาบนมือถือของประเทศไทยใหญ่เป็นอันดับ 9 ของโลก การจัดอันดับนี้วัดจากโฆษณาผ่านแบนเนอร์ที่เข้าถึงคนไทยกว่า 12.4 ล้านคนในไตรมาสที่สองของปี 2557 ซึ่งเพิ่มขึ้นถึง 30% (ปีต่อปี) จากตลาดโฆษณาบนมือถือ และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสแรก (ปีต่อปี) กว่า 42% คุณวราริน ภูนุชอภัย ผู้จัดการ BuzzCity ประจำประเทศไทย กล่าวว่า “ข้อมูลนี้เป็นเครื่องยืนยันว่าประเทศไทยถือเป็นประเทศที่มีการเติบโตด้านดิจิตอลอย่างรวดเร็วที่สุด และจากการใช้สมาร์ทโฟนที่เพิ่มขึ้นจาก 60% เราคาดหวังว่าผู้โฆษณาจะเพิ่มการเข้าถึงดิจิตอลให้มากขึ้นทั้งจากแบนเนอร์ แอพพลิเคชั่น เว็บไซต์บนมือถือ ตลอดจนช่องทางอื่นๆ เพื่อสื่อสารกับผู้บริโภคได้ดียิ่งขึ้น” การโฆษณาบนมือถือนี้เติบโตขึ้นมากจากแนวโน้มการซื้อของออนไลน์ที่เปลี่ยนไปทั้งจากในประเทศไทยและทั่วโลก โทรศัพท์มือถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งเสริมการซื้อของออนไลน์ จากรายงานเชิงลึกของ BuzzCity ที่ได้รับการสนับสนุนจาก Mobile Marketing Association (MMA) เปิดเผยว่ามีจำนวนผู้ซื้อของออนไลน์มากอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน อีกทั้งผู้ที่ซื้อของออนไลน์ส่วนใหญ่จะซื้อผ่านทางมือถือ โดยเกือบครึ่งของผู้ใช้โทรศัพท์มือถือ (48%) ซื้อของออนไลน์เป็นประจำ และเกือบ 1 ใน 5 มีการดูสินค้าทางออนไลน์ก่อนจะไปซื้อที่ร้านค้า และมากกว่า 70% ที่ซื้อของออนไลน์ โทรศัพท์มือถือเป็นช่องทางที่มีอิทธิพลต่อการขับเคลื่อนพฤติกรรมการซื้อของของผู้บริโภคไม่น้อยกว่าเครื่องพีซี ในหลายประเทศ โทรศัพท์มือถือถือเป็นช่องทางที่มีอิทธิพลสูงสุดในการซื้อของ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค เพราะประชากรส่วนใหญ่ถือว่าโทรศัพท์มือถือนั้นเป็นปัจจัยที่สำคัญอันดับต้นๆ กว่า 32% ซื้อของผ่านทางโทรศัพท์มือถือ ในขณะที่ 21% ซื้อของผ่านเครื่องพีซี ซึ่งเป็นที่คาดหวังว่าการซื้อของออนไลน์จะเติบโตอีกกว่า 30% ของผลการสำรวจ Rohit Dadwal กรรมการผู้จัดการ MMA ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคกล่าวว่า “โทรศัพท์มือถือเป็นช่องทางสำคัญในการซื้อของ และนี่ถือเป็นความท้าทายของนักการตลาดที่จะต้องสร้างประสบการณ์การซื้อของในทุกช่องทาง ให้สื่อสารข้อความและเอกลักษณ์ของตราสินค้าไปในทางเดียวกัน” การเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดของการซื้อของออนไลน์แสดงให้เห็นว่าร้านค้าปลีกต้องปรับตัว จากผลสำรวจแสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคจำนวนมากเดินออกจากร้านค้าโดยไม่ได้ซื้อของด้วยเหตุผลที่แตกต่างกันออกไป โดย 22% มองว่าการซื้อของออนไลน์ให้ข้อเสนอที่ดีกว่า เปรียบเทียบกับ 13% เมื่อปีที่แล้ว ในขณะที่ 27% มองว่าไม่สามารถหาสินค้าที่ต้องการได้จากร้านค้าปลีก เปรียบเทียบกับ 14% ในปี 2556 ในภาพรวมจึงอาจสรุปได้ว่าผู้บริโภคมีความผูกพันกับผู้ขายในร้านค้าน้อยลง และนี่ถือเป็นสัญญาณเตือนที่สำคัญสำหรับผู้ค้าปลีก Dr KF Lai ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ก่อตั้ง BuzzCity กล่าวว่า “ถึงแม้ว่าโทรศัพท์มือถือจะเป็นสิ่งสำคัญที่สุดสำหรับผู้บริโภค แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าโทรศัพท์มือถือเป็นช่องทางเดียวสำหรับผู้ค้าปลีก ซึ่งการที่ผู้บริโภคเปลี่ยนช่องทางในการซื้อสินค้านั้น ก็ทำให้การเข้าถึงผู้บริโภคทำได้ยากขึ้น เพราะจากผลการสำรวจเน้นว่าโทรศัพท์มือถือมีโอกาสที่จะทำลายคุณค่าของตราสินค้า นักการตลาดจึงมีความจำเป็นที่จะสร้างการสื่อสารของตราสินค้าให้ไปในทางเดียวกัน” คนไทยนิยมซื้อของออนไลน์และดูสินค้าออนไลน์ 59% ของผู้บริโภคชาวไทยซื้อของออนไลน์ และใช้โทรศัพท์มือถือเป็นช่องทางการซื้อสินค้าและบริการ ยิ่งไปกว่านั้น ผู้ซื้อชาวไทยยังใช้โทรศัพท์มือถือเป็นช่องทางในการหาข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจซื้อ โดย 24% ใช้โทรศัพท์มือถือในร้านค้าเพื่อขอคำแนะนำจากเพื่อนหรือครอบครัว และ29% ใช้เพื่ออ่านรีวิวสินค้า สินค้าประเภทเสื้อผ้าและเครื่องประดับ (38%) ได้รับความนิยมมากที่สุดในการซื้อของออนไลน์ ตามมาด้วยสินค้าในครัวเรือน (25%) สินค้ากลุ่มอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ (18%) และสินค้าประเภทหนังสือและเครื่องดนตรี (15%) สำหรับโทรศัพท์มือถือที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในประเทศไทยนั้น โนเกียเป็นอันดับหนึ่ง (37%) ซัมซุงเป็นอันดับสอง (36%) และแอปเปิ้ลเป็นอันดับสาม (4%) โดยในเดือนมิถุนายน 2556 พบว่า 60% ของผู้ใช้โทรศัพท์มือถือ ใช้สมาร์ทโฟนในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต การสำรวจนี้จัดทำขึ้นในเดือนเมษายนและพฤษภาคม 2557 จากกลุ่มตัวอย่าง 3,590 คน จาก 26 ประเทศ ซึ่งรวมถึง 11 ประเทศในทวีปเอเชีย ประมวลผลและเผยแพร่ใน The BuzzCity Report Volume 4 Issue 3

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ