สำนักงาน กสทช. เชิญบริษัทไอพีเอ็ม หารือแก้ปัญหาผู้บริโภคไม่สามารถดูทีวีดิจิตอลผ่านจานไอพีเอ็มได้

ข่าวเทคโนโลยี Monday July 28, 2014 09:53 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--28 ก.ค.--กสทช. สำนักงาน กสทช.ได้เชิญผู้บริหารของบริษัทไอพีเอ็ม แพลทฟอร์ม จำกัดมาชี้แจงปัญหาและหาทางออกกรณีผู้บริโภคร้องเรียนมายังสำนักงาน กสทช. ในช่วงปลายเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาว่า ไม่สามารถรับชมโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล และไม่สามารถรับชมการถ่ายทอดสดฟุตบอลโลกได้ วันที่(27 ก.ค. 57) นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ กสทช. ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ กล่าวว่า ได้รับคำชี้แจงจากบริษัทไอพีเอ็ม ว่า มีผู้บริโภคจำนวนหนึ่งรับสัญญาณผ่านดาวเทียม NSS6 ซึ่งก่อนหน้านี้ผู้บริโภคไม่สามารถรับชมโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอลทั้ง 24 ช่องผ่าน Must carry แต่ในภายหลังบริษัทฯ ได้เจรจากับบริษัทไทยคม จำกัด (มหาชน) จึงส่งการถอดรหัสให้จานไอพีเอ็มสำหรับลูกค้าที่รับชมผ่านดาวเทียมไทยคม ดังนั้นขณะนี้จึงยังคงมีปัญหาสำหรับจานไอพีเอ็มที่มีหัวรับได้เฉพาะดาวเทียม NSS6 จากลักเซมเบิร์ก ที่ยังไม่สามารถรับชมโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอลได้ เนื่องจากฟรีทีวีดิจิตอบทั้ง 24 ช่องไม่ได้จ่ายเงินค่าโครงข่ายให้กับบริษัทไอพีเอ็มฯ ซึ่งต่างกับบริษัทไทยคมฯ ที่ กำหนดให้ นายมานพ โตการค้า ผู้บริหารบริษัทไอพีเอ็ม แพลทฟอร์ม จำกัด ชี้แจงว่าขณะนี้มีผู้ชมราว 7 แสนกล่องที่รับผ่านหัวจานไทยคมได้แล้ว แต่ยังคงมีอีก 3 ล้านกว่ากล่องที่เป็นจานรับหัวเดียวจากNSS6 ทำให้รับชมทีวีดิจิตอลไม่ได้ จึงเสนอให้ผู้บริโภคที่อยู่ในกลุ่มหลัง คงต้องจ่ายเงินเพื่อติดหัวจานไทยคมหรือซื้อกล่องใหม่ หรือขอให้ กสทช. เจรจาการ Must carry ผ่านโครงข่ายของบริษัทไอพีเอ็มฯ บนดาวเทียม NSS6 โดยรวมทั้ง 24 ช่องพร้อมกัน เพื่อค่าใช้จ่ายโครงข่ายจะได้ถูกลง ในส่วนของการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า อนุคุ้มครองผู้บริโภคฯขอให้บริษัทไอพีเอ็มจัดการแก้ปัญหาเรื่องร้องเรียนกับผู้บริโภคทั้ง 24 ราย รวมผู้บริโภคที่ต้องการคืนกล่องด้วย นอกจากนั้นอนุค้มครองผู้บริโภคฯ ขอให้บริษัทไอพีเอ็มฯ ชี้แจงปัญหา ผลกระทบ และข้อเท็จจริงมาเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อที่อนุกรรมการฯจะได้มีแนวทางพิจารณาเสนอ กสท.ต่อไป เพราะแม้ดาวเทียม NSS6 จะไม่ได้เป็นดาวเทียมทางการที่ได้รับใบอนุญาตหรือสัมปทานในประเทศไทย แต่ในข้อเท็จจริงแล้วมีผู้บริโภคที่มีกล่องที่รับจากดาวเทียมดวงนี้มากถึง 3 ล้านกล่อง และนานกว่า 10 ปีแล้ว...

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ