เส้นทางสู่ความสำเร็จ ของศาลากลาง เมืองนากาฮาม่า ด้วยระบบเครือข่ายอัจฉริยะของอัลไลด์ เทเลซิส

ข่าวเทคโนโลยี Friday August 8, 2014 12:29 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--8 ส.ค.--มายด์ พีอาร์ ศาลากลาง เมืองนากาฮาม่าในประเทศญี่ปุ่นได้สร้างระบบสร้างเครือข่ายใหม่ที่มีเสถียรภาพและสามารถจัดการได้โดยอัตโนมัติโดยใช้ระบบเครือข่ายอัจฉริยะ ที่สามารถลดค่าใช้จ่ายการลงทุนและการดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ศาลากลาง เมืองนากาฮาม่าตั้งอยู่ในจังหวัดชิงะ ประเทศญี่ปุ่น โดยในปี พ.ศ. 2549 เมืองนากาฮาม่า ตำบลอาซาอิ และตำบลบิวะได้ผนวกรวมกันเป็นเมืองเดียว จากนั้นในปี พ.ศ.2553 เมืองแห่งนี้ก็ได้ผนวกรวมเข้ากับเทศบาลอีก 6 แห่ง และได้ก่อตั้งขึ้นเป็นเมืองนากาฮามาในปัจจุบัน การผนวกรวมดังกล่าวเป็นผลมาจากความจำเป็นบางประการ โดยฝ่ายปกครองต้องการให้เกิดผลสัมฤทธิ์ดังนี้: การบริหารราชการที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น การใช้ทรัพยากรเฉพาะทางที่ดียิ่งขึ้น ความสมดุลด้านการพัฒนาครอบคลุมทั้งเมือง แผนการป้องกันภัยพิบัติที่มีประสิทธิภาพ ปัจจุบันเมืองนากาฮาม่าได้ติดตั้งเครือข่ายเฉพาะบริเวณ (LAN) ใหม่ในศาลากลางที่สร้างขึ้นใหม่ และเพื่อลดค่าใช้จ่ายด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ทำให้การดำเนินงานและการจัดการเครือข่ายไม่ยุ่งยาก รวมทั้งสร้างโครงข่ายพื้นฐานไอซีทีที่มีเสถียรภาพยาวนาน ศาลากลางแห่งนี้จึงต้องการผสานรวมระบบสารสนเทศและระบบโทรศัพท์ผ่านเครือข่ายไอพี (VoIP) ของตนเข้าไว้ในเครือข่ายเดียว ความต้องการด้านระบบเครือข่าย เมืองนากาฮาม่าต้องการลดค่าใช้จ่ายด้านไอซีทีและปรับเปลี่ยนการดำเนินงานและการจัดการเครือข่ายให้ง่ายขึ้น และหนึ่งในแผนงานด้านการอัพเกรดเครือข่ายใหม่จึงได้วางแผนรวมระบบสารสนเทศและระบบโทรศัพท์ผ่านเครือข่ายดิจิตอล (VoIP) เข้าไว้ในเครือข่ายเดียว โดยเฉพาะอุปกรณ์ส่วนบุคคลที่ถูกนำมาใช้เพื่อเข้าถึงสารสนเทศออนไลน์ เช่น สมาร์ทโฟน และคอมพิวเตอร์แท็บเล็ต มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว อุปกรณ์ดังกล่าว บริการสารสนเทศ และการผสานรวมระบบจัดเก็บข้อมูลและระบบโสตทัศนูปกรณ์เข้าไว้ด้วยกัน ถือเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องถูกรวมไว้ในเครือข่ายธุรกิจใหม่ที่มีความพร้อมใช้งานสูงและรองรับอนาคต ลดค่าใช้จ่ายประมาณ 30% จากการรวมสามระบบไว้ในเครือข่ายเดียว การที่เมืองนากาฮาม่าขยายขอบข่ายของระบบไอซีที ส่งผลให้เจ้าหน้าที่ต่างประสบกับปัญหานานานัปการ ทั้งนี้ คณะบริหารจัดการเมืองนากาฮาม่าเลือกที่จะใช้งานเครือข่ายหลัก (แบ็คโบน) เครือข่ายสารสนเทศ และเครือข่าย VolP แยกกันต่างหากด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัย แม้ว่าแนวทางดังกล่าวจะมีประสิทธิภาพในด้านการรักษาความปลอดภัย แต่ก็มาพร้อมกับค่าใช้จ่ายที่สูงเนื่องจากจำเป็นต้องใช้ชุดอุปกรณ์เครือข่ายที่แตกต่างกันสำหรับแต่ละเครือข่ายที่มีทั้งหมด 3 เครือข่าย เครือข่ายเดิมมีสวิตช์หลักอยู่ด้วยกัน 6 ตัว แต่ละเครือข่ายจะมีสวิตช์หลักที่ใช้งานหนึ่งตัวและสแตนด์บายไว้อีกหนึ่งตัว นอกจากนี้ยังมีสวิตช์เชื่อมต่ออีกสามตัวซึ่งติดตั้งไว้ที่แต่ละชั้นของอาคาร 6 ชั้น (หนึ่งตัวต่อหนึ่งเครือข่าย) “การติดตั้งสวิตช์แยกส่วนกันสำหรับทั้งสามระบบไม่เพียงแต่ก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายที่สูงทั้งในด้านการจัดซื้อและการดำเนินการเท่านั้น แต่ยังเพิ่มความเสี่ยงของปัญหาอันเนื่องมาจากอุปกรณ์ใช้งานที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก” นายฟูมิฮิโกะ ทสึดะผู้ช่วยหัวหน้าฝ่ายนโยบายสารสนเทศ กองวางผังเมืองนากาฮาม่า กล่าว คณะบริหารจัดการเมืองจึงตัดสินใจนำรูปแบบใหม่เข้ามาใช้เพื่อผสานรวมทั้งสามระบบให้เป็นเครือข่ายเดียว โดยพวกเขาวางแนวทางด้านการรักษาความปลอดภัยด้วยการแบ่งเครือข่ายดังกล่าวออกเป็น VLAN การตัดสินใจในครั้งนี้ก็เพื่อลดค่าใช้จ่ายด้านการลงทุน (Capex) และค่าใช้จ่ายด้านการดำเนินงาน (Opex): “การลดจำนวนอุปกรณ์ด้วยการหันมาใช้ระบบเครือข่ายและระบบเซิร์ฟเวอร์เสมือนทำให้ค่าใช้จ่ายลดลงได้ประมาณ 30% เลยทีเดียว” นายทสึดะ กล่าว “การนำเอาระบบไอซีทีเข้ามาใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพไม่เพียงแต่ช่วยเพิ่มความมีประสิทธิภาพด้านการบริหารจัดการและคุณภาพของบริการเท่านั้น แต่ยังช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับพลเมืองและชุมชมต่างๆ ด้วย เราได้ผลักดันแผนงานที่จะช่วยระบุมาตรการด้านการบริหารจัดการอันเกี่ยวข้องกับระบบไอซีทีที่เราต้องดำเนินการในช่วงสามปีนี้ ซึ่งเริ่มต้นแล้วตั้งแต่ปี พ.ศ.2556” นายทสึดะ กล่าว ลดช่วงเวลาเครือข่ายหยุดทำงานและเพิ่มความมีเสถียรภาพ ก่อนที่จะมีแนวคิดออกแบบระบบใหม่ การจัดการปัญหาที่เกี่ยวข้องกับอุปกรณ์เครือข่ายเป็นสิ่งที่พบกันบ่อยมาก ฝ่ายไอซีทีจะเข้ามาช่วยจัดการปัญหาที่ไม่ร้ายแรงต่างๆ ให้ แต่หากเกิดปัญหาที่ยุ่งยากมากขึ้น พวกเขาก็จะติดต่อเจ้าหน้าที่ฝ่ายบำรุงรักษา ซึ่งได้ส่งผลให้เกิดช่วงเวลาที่ระบบเครือข่ายต้องหยุดทำงานอันเนื่องมาจากการรอเจ้าหน้าที่ให้เข้ามาแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นๆ ศาลากลางเมืองนากาฮาม่าเลือกใช้บริการจากอัลไลด์ เทเลซิส ศาลากลางเมืองนากาฮาม่าตัดสินใจเลือกบริษัท อัลไลด์ เทเลซิส ให้ช่วยดำเนินการจัดหาโซลูชั่นเครือข่ายใหม่ให้ โดยเครือข่ายแบบผสานรวมดังกล่าว ใช้เทคโนโลยี อัลไลด์ เทเลซิส แมเนจเม้นท์ เฟรมเวิร์ค หรือ เอเอ็มเอฟ (Allied Telesis Management Framework (AMF)) สำหรับสวิตช์หลักที่นำมาใช้คือ สวิตช์ SwitchBlade x8100 Series Next Generation Intelligent Layer 3+ Chassis ส่วนสวิตช์เชื่อมต่ออัจฉิรยะ (Edge Switch) คือ สวิตช์ x510 Series Stackable Gigabit Layer 3 การนำ AMF เข้ามาใช้งานสามารถลดภาระด้านการดำเนินงานและการจัดการเครือข่ายของเมืองผ่านการกำหนดค่าสวิตช์แบบอัตโนมัติและการรวมการจัดการเครือข่ายเข้าด้วยกันเป็นหนึ่งเดียว คุณประโยชน์สำคัญของโซลูชั่น AMF การจัดการเครือข่ายแบบอัตโนมัติ AMF สามารถตอบสนองความต้องการด้านการจัดการที่เพิ่มขึ้นสำหรับเครือข่ายแบบผสานรวมใหม่ของศาลากลางแห่งนี้ และยังช่วยให้งานบริหารจัดการประจำวันที่มีอยู่เป็นจำนวนมากกลายเป็นระบบอัตโนมัติด้วย ทั้งนี้ AMF มาพร้อมกับคุณสมบัติชั้นเยี่ยม เช่น การจัดการแบบรวมศูนย์ การสำรองข้อมูลอัตโนมัติ การอัปเกรดอัตโนมัติ การจัดเตรียมทรัพยากรอัตโนมัติ และการกู้คืนระบบอัตโนมัติ SwitchBlade x8100 เป็นอุปกรณ์หลักของ AMF โดยจะทำหน้าที่จัดเก็บเฟิร์มแวร์และสำเนาสำรองของการกำหนดค่าสวิตช์เชื่อมต่อ x510 Series ไว้ทั้งหมด รวมทั้งจัดเตรียมไฟล์ที่เหมาะสมให้กับสมาชิกของเครือข่ายใหม่หรือเครือข่ายที่เปลี่ยนใหม่ด้วย การจัดการแบบรวมศูนย์ช่วยให้การปฏิบัติงานและการบำรุงรักษาสามารถดำเนินการด้วยคำสั่งเดียวบนอุปกรณ์หลักของ AMF แทนที่จะต้องไปดำเนินการกับอุปกรณ์เครือข่ายทีละตัวที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก ลดระยะเวลาหยุดทำงานของเครือข่าย ศาลากลางแห่งนี้มีสวิตช์สำรองที่สนับสนุน AMF พร้อมใช้ตลอดเวลาในกรณีที่เกิดปัญหาใดๆ ขึ้น “ก่อนหน้านี้อาจต้องใช้เวลานานสองถึงสามชั่วโมงกว่าที่จะคืนค่าระบบได้หลังจากทำการเปลี่ยนสวิตช์ แต่ด้วย AMF การคืนค่าระบบสามารถดำเนินการให้เสร็จได้อย่างง่ายดาย สิ่งที่ต้องทำมีเพียงแค่เชื่อมต่ออุปกรณ์สแตนด์บายกับระบบ LAN จากนั้นซอฟต์แวร์และการกำหนดค่าจะถูกจัดส่งจากอุปกรณ์หลักของ AMF โดยอัตโนมัติ” นายยาซูฮิโก คาวามูระ ฝ่ายนโยบายสารสนเทศ กล่าว แผนงานอนาคต การจัดการเครือขายสำนักงานย่อยแบบรวมศูนย์จากอาคารศาลากลางหลัก เมืองนากาฮาม่ามีสำนักงานย่อย 8 แห่งครอบคลุมพื้นที่ดินขนาดใหญ่นอกเหนือจากสำนักงานหลักของศาลากลาง เนื่องจากไม่สามารถจัดเตรียมเจ้าหน้าที่ไอซีทีเฉพาะสำหรับแต่ละสำนักงานย่อยได้ ดังนั้น เจ้าหน้าที่ของฝ่ายนโยบายสารสนเทศที่สำนักงานของศาลากลางจึงต้องดำเนินการและจัดการเครือข่ายของสำนักงานย่อยดังกล่าวเอง เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นกับอุปกรณ์เครือข่ายที่สำนักงานย่อย เจ้าหน้าที่จากสำนักงานใหญ่จะต้องใช้เวลาเดินทางร่วมชั่วโมงเพื่อเข้าไปทำการเปลี่ยนหรือซ่อมอุปกรณ์นั้นๆ แม้ว่าสำนักงานใหญ่และสำนักงานย่อยจะเชื่อมต่อกันผ่านเราเตอร์ AR ของบริษัท อัลไลด์ เทเลซิส แล้วในขณะนี้ แต่นายคาวามูระ เชื่อว่า “ในอนาคต หากเรานำสวิตช์ที่ให้การสนับสนุน AMF ไปติดตั้งไว้ที่สำนักงานย่อย ก็จะทำให้สำนักงานหลักสามารถบริหารจัดการสำนักงานย่อยได้จากระยะไกล แนวทางนี้ช่วยให้การกู้คืนระบบอัตโนมัติของ AMF สำหรับการเปลี่ยนชุดอุปกรณ์เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว และเรายังสามารถยกระดับคุณภาพการใช้งานเครือข่ายของผู้ใช้ได้อีกด้วย” ดังนั้นจึงไม่แปลกที่จะมีเทศบาลจำนวนมากแสดงความสนใจในแนวทางที่เมืองนากาฮาม่ากำลังดำเนินอยู่ นั่นคือการทำให้การดำเนินงานและการจัดการเครือข่ายของตนมีประสิทธิภาพและเกิดความเหมาะสมสูงสุด ทั้งนี้ โซลูชั่น AMF ของบริษัท อัลไลด์ เทเลซิส มาพร้อมกับประสิทธิภาพ ความสามารถด้านการปรับขยายได้ อีกทั้งยังนำเสนอคุณประโยชน์ที่ดีเยี่ยมในด้านการจัดการเครือข่ายอัตโนมัติให้กับองค์กรธุรกิจได้อย่างครอบคลุมทุกขนาด

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ