เลือกซื้อแท็บเล็ตอย่างไรให้ได้ประสิทธิภาพที่เหมาะสม

ข่าวเทคโนโลยี Thursday August 14, 2014 11:14 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--14 ส.ค.--คาร์ลบายร์ แอนด์ แอสโซซิเอทส์ หนึ่งในส่วนประกอบที่สำคัญมากในการเลือกแท็บเล็ตคงจะหนีไม่พ้นประสิทธิภาพ เพราะไม่ว่าคุณจะใช้งานเพื่อท่องอินเตอร์เน็ต ดูคลิปวิดีโอ เล่นเกมส์ หรือใช้ติดต่อกับเพื่อนบนโลกออนไลน์ ประสิทธิภาพเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้การใช้งานราบรื่นไม่สะดุด หลายคนมักคิดว่าตัวเลขสูงๆ จะนำมาซึ่งประสิทธิภาพที่สูงกว่าอยู่เสมอ แต่บางครั้งตัวเลขเพียงอย่างเดียวนั้น อาจจะไม่ได้สะท้อนประสิทธิภาพที่แท้จริงก็ได้ ตัวอย่างเช่นเรื่องของ คอร์ (core) บนชิปประมวลผล บางครั้งชิปที่มีจำนวนคอร์น้อยกว่าอาจจะใช้พลังงานได้ประหยัดกว่าและมีประสิทธิเหนือกว่าชิปที่มีคอร์มากกว่าก็ได้ เพราะว่า “จำนวน” คอร์ ไม่ได้สำคัญเท่า “คุณภาพ” ของแต่ละคอร์ สิ่งสำคัญอีกอย่างคือเมื่อมีคอร์มากขึ้น ชิปประมวลผลจะต้องหาวิธีให้คอร์แต่ละคอร์สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น ความเชื่อที่ว่าชิปที่มีจำนวนคอร์มากกว่า มักจะมีประสิทธิภาพสูงกว่านั้นไม่จริงเสมอไป เพราะว่าคอร์แต่ละคอร์ไม่ได้มีความสามารถเท่ากัน เปรียบเทียบกันแค่จำนวนคอร์ในแท็บเล็ต อาจจะไม่ได้บอกถึงประสิทธิภาพทั้งหมด คอร์ มีหน้าที่ประมวลคำสั่งที่ได้รับมาจากผู้ใช้งานเปรียบเหมือนกับเครื่องคิดเลข แต่ว่าต่อให้มีเครื่องคิดเลขหลายเครื่องเพื่อการคำนวนเลขง่ายๆ ย่อมไม่มีประโยชน์ ดังนั้น ปัจจัยสำคัญไม่ได้อยู่ที่จำนวนคอร์เพียงอย่างเดียว แต่อยู่ที่ว่าชิปนั้นๆ ได้ถูกออกแบบมาให้ทุกคอร์ทำหน้าที่เสริมกันได้อย่างดีหรือไม่ นอกจากนั้นคอร์นั้นจะมอบประสิทธิภาพสูงสุด ก็ต่อเมื่อนำไปใช้งานร่วมกับซอฟต์แวร์ที่ออกแบบมาเพื่อสามารถกระจายคำสั่งให้ตัวคอร์ทั้งหมดทำงานร่วมกันได้อย่างดี ถ้าชอบเล่นเกมส์บนแท็บเล็ต จำเป็นต้องเน้นคอร์สูงๆหรือไม่ การเล่นเกมส์หรือการใช้งานที่เน้นกราฟฟิกเยอะบนเครื่องคอมพิวเตอร์พีซีอาจจะต้องการคอร์ที่มากขึ้น อย่างไรก็ตามเกมส์บนแท็บเล็ตที่เป็นที่นิยมในท้องตลาดปัจจุบัน ถูกออกแบบมาเพื่อให้ทำงานบนชิปประมวลผลแบบ 2 คอร์ และ 4 คอร์เท่านั้น ดังนั้นไม่มีความจำเป็นใดๆที่ผู้ใช้งานจะต้องไปเลือกชิปที่มีคอร์มากที่สุดมาเพื่อใช้งาน เช่น หลายคนหันไปซื้อชิปที่มีคอร์มากถึง 8 คอร์ แต่หากเกมส์หรือโปรแกรมที่จะใช้งานนั้น ไม่ได้ออกแบบมาให้ทำงานแบบ 8 คอร์ได้ มันก็จะใช้เพียงแค่ 2 หรือ 4 คอร์จากที่มีทั้งหมดเท่านั้น “การออกแบบชิปของอินเทล เราจะใส่คอร์เพิ่มขึ้นก็ต่อเมื่อเห็นว่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้งานจริงๆเท่านั้น นอกจากนั้น เรายังทุ่มเทเวลาในการพัฒนาเพื่อให้แน่ใจได้ว่าทั้งฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างไร้รอยต่อ เพื่อประสิทธิภาพที่สูงสุดและคุ้มค่านั่นเอง” คริสโตเฟอร์ เคลลี่ หัวหน้าอินเทล ดีไซน์ เซ็นเตอร์ ประเทศมาเลเชียกล่าว “สมมติว่าคุณจะเล่นเกม Candy Crush* หรือ Modern Combat 4* คุณไม่จำเป็นต้องใช้คอร์สูงๆเลย เพราะว่าเพียง 2 คอร์ก็สามารถทำให้การใช้งานรื่นไหลได้แล้ว[i] ต่อให้เครื่องของคุณมี 8 คอร์ ก็ไม่ได้หมายความว่าการประมวลผลของเกมส์นั้นจะเร็วขึ้น” คอร์ ไม่ได้ถูกสร้างมาเหมือนกันทุกอันเสียทีเดียว ชิปประมวลผลของอินเทลนั้น ถูกผลิตขึ้นมาบนพื้นฐานสถาปัตยกรรมแบบ 64 บิท ต่างจากชิปทั่วไปที่เป็นแบบ 32 บิท นั่นหมายความว่าชิปแบบ 64 บิท จะประมวลผลได้เร็วกว่า และถ้านับในเวลาที่เท่ากันก็สามารถประมวลผลข้อมูลได้จำนวนมากกว่า เปรียบได้เหมือนเวลาไปเข้าคิวซื้อตั๋วหนัง การมีช่องให้บริการ 64 ช่อง ก็จะสามารถให้บริการลูกค้าได้เร็วกว่าการที่มีเพียง 32 ช่องเท่านั้น อินเทลได้ทำการทดลอง อินเทล® อะตอม™ Z3480 โดยทดลองในโหมด 64 บิท กับ 32 บิท บนแอพพลิเคชั่นเดียวกัน[ii] พบว่าโหมด 64 บิทนั้นทำงานดีกว่า โดยการบีบอัดข้อมูลมีความเร็วกว่าถึงร้อยละ 33 และการเล่นเกมหมากรุก คอมพิวเตอร์สามารถประมวลเลือกตัวหมากออกมาแข่งได้เร็วกว่าถึงร้อยละ 34 พูดง่ายๆคือว่าการใช้ชิปที่มีเทคโนโลยี 64 บิท จะมอบประสิทธิภาพที่สูงกว่าให้กับเครื่องของคุณได้ เลือกสมรรถนะที่ใช้งานได้อย่างแท้จริง เพื่อความคุ้มค่า หากเราจะเปรียบเทียบนวัตกรรมของชิปในแท็บเล็ตกับเครื่องบิน ตัวคอร์ก็เหมือนการพัฒนาจากใบพัดเครื่องบินมาเป็นเครื่องยนต์เทอร์โบ เมื่อก่อนเราจำเป็นต้องมีใบพัดหลายใบเพื่อทำให้เครื่องบินมีสมรรถนะสูงขึ้น แต่ปัจจุบันเรามีเครื่องยนต์เทอร์โบแล้ว จึงเห็นว่าทั้งแอร์บัส A330* และโบอิ้ง 787* ใช้เครื่องยนต์เพียงแค่ 2 ตัว เพราะว่ามีความแรงมากขึ้นกว่าแต่ก่อน ถ้าหากไปติดตั้งเครื่องยนต์เพิ่มเป็น 8 เครื่องก็มีแต่จะเสียเชื้อเพลิงไปเปล่าๆ ซึ่งก็เหมือนกันกับแท็บเล็ตที่ใช้ชิปที่มีหลายคอร์ อินเทลได้มีการพัฒนาคอร์ ของโปรเซสเซอร์ให้กินไฟน้อยลงเมื่อทำงานที่เท่ากัน และยังได้มีการพัฒนาให้ชิปสามารถทำงานได้หลายงานพร้อมกัน ด้วยเทคโนโลยีอย่าง อินเทล ไฮเปอร์ เธรดดิ้ง เทคโนโลยี โปรเซสเซอร์ของอินเทลสามารถใช้คอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นและทำงานได้เหมือนชิปอื่นๆ ที่มีคอร์มากกว่า นั่นคือเหตุผลที่อินเทล ย้ำอยู่ตลอดเวลาในเรื่องของความสามารถในการจัดการกับคำสั่งที่ได้รับ เพื่อการประมวลผลอย่างมีประสิทธิภาพของทุกคอร์ที่มี เพื่อให้ทุกคอร์ได้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพอย่างแท้จริง แล้วยิ่งในปัจจุบันที่ อินเทลได้พัฒนาชิปแบบ 64 ออกมาด้วยแล้ว จำนวนคอร์จึงลดความสำคัญลงไป เพราะว่าตัวเลขนั้น ไม่สามารถสะท้อนถึงสมรรถนะได้อย่างแท้จริง ซึ่งปัจจุบันนี้ ก็สามารถหาซื้อแท็บเล็ตประสิทธิภาพสูงที่ใช้ชิปประมวลผล อินเทล® อะตอม™ ได้หลายรุ่นไม่ว่าจะเป็น Dell Venue 8 Pro*, Acer Iconia One 7*, Acer Iconia W4*, ASUS FonePad7* เป็นต้น แล้วควรจะเลือกอย่างไร คำถามที่อยู่ในใจของคุณตอนนี้คือ “แล้วจะรู้ได้อย่างไร เวลาไปเลือกซื้อแท็บเล็ตว่า เครื่องไหนจะมีประสิทธิภาพมากกว่ากัน” คำตอบของเราคือ เมื่อหันมาดูปัจจัยหลายๆอย่างแล้ว การที่จะบอกว่าชิปที่มีคอร์เยอะ จะมีประสิทธิภาพมากกว่านั้น อาจจะทำให้ผู้บริโภคเข้าใจผิดและอาจไม่ได้เลือกซื้อสิ่งที่เหมาะสมกับการใช้งานที่สุดเสมอไป เพราะว่าคอร์แต่ละคอร์ สร้างมาบนพื้นฐานที่ต่างกัน และการมีหลายคอร์ทำให้แท็บเล็ตกินไฟมากขึ้น วิธีง่ายๆคือตอบตัวเองให้ได้ว่าต้องการแท็บเล็ตเครื่องนั้นไปใช้ทำงานประเภทใด แล้วไปลองใช้งานจริงที่ร้านค้าดู รวมถึงศึกษาข้อมูลอื่นๆ นอกเหนือจากจำนวนคอร์ เช่นการใช้งานแบตเตอรี่ การเชื่อมต่อไวไฟและ3จี เพื่อประกอบการตัดสินใจไปด้วย อย่าให้จำนวนคอร์ มาทำให้คุณหลงเชื่อว่าจะทำงานได้ดีกว่า เพราะว่ามันไม่จริงเสมอไป เกี่ยวกับอินเทล อินเทล เป็นผู้นำในด้านนวัตกรรมการประมวลผล รวมทั้งการออกแบบ และสร้างสรรค์เทคโนโลยีที่เป็นพื้นฐานการพัฒนาอุปกรณ์ประมวลผลระดับโลก ในฐานะของบริษัทที่เป็นผู้นำในบรรษัทภิบาลและการพัฒนาอย่างยั่งยืน อินเทลจึงใช้แร่ธาตุจากแหล่งที่มาที่ปราศจากความขัดแย้ง(Conflict-free) เพื่อผลิตอุปกรณ์ประมวลผลที่มีวางจำหน่ายเป็นรายแรกข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับอินเทล สามารถเข้าชมได้ที่newsroom.intel.com, blogs.intel.com, ทวิตเตอร์ @Intelthailand, เฟสบุ๊ค IntelThailand และ conflictfree.intel.com Intel logo เป็นเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของอินเทลคอร์ปอเรชั่นหรือสำนักงานสาขาในสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่นๆ ขอสงวนสิทธิ์ *ชื่อและยี่ห้ออื่นอาจถูกอ้างอิงถึงโดยถือเป็นทรัพย์สินของชื่อยี่ห้อนั้นๆ

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ