ISSP เผยภาพรวมธุรกิจปี 57เติบโตฉลุย ชี้ b.cloud โตกว่า 100%

ข่าวเทคโนโลยี Monday September 22, 2014 11:52 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--22 ก.ย.--คอร์ แอนด์ พีค บริษัท อินเตอร์เนต โซลูชั่น แอนด์ เซอร์วิส โพรวายเดอร์ จำกัด หรือ ISSP เผยผลประกอบการธุรกิจเติบโตต่อเนื่อง โดยเฉพาะธุรกิจ cloud คาดว่าจะเติบโต 100% จากปีที่ผ่านมา เน้นทำการตลาดเชิงรุก ตั้งเป้าเพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาด พร้อมส่งบริการใหม่ตลอดทั้งปี ตอบสนองความต้องการลูกค้ากลุ่มธุรกิจภาคอุตสาหกรรมและค้าปลีก รวมทั้งธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก ช่วยเสริมประสิทธิภาพ การทำงานภายในองค์กรธุรกิจ ได้อย่างดีเยี่ยม นายบัณฑิต ว่องวัฒนะสิน กรรมการผู้จัดการ บริษัท อินเตอร์เนต โซลูชั่น แอนด์ เซอร์วิส โพรวายเดอร์ จำกัด หรือ ISSP กล่าวว่า ทาง ISSP มั่นใจว่าในปีนี้ ตัวเลขผลประกอบการที่ออกมาจะเติบโตตามเป้าหมายที่วางไว้ เนื่องจากที่ผ่านมา ISSP ได้เน้นมาทำการตลาดเชิงรุกมากยิ่งขึ้น เพื่อขยายเพิ่มจำนวนลูกค้าจากฐานลูกค้าเดิมที่มีอยู่ ด้วยการเพิ่มโซลูชั่น รวมทั้งช่องทางการขายใหม่ๆ และเนื่องจาก ISSP เป็นผู้ให้บริการ cloud เป็นรายแรกๆ จากการพูดคุยรับฟังความต้องการของกลุ่มลูกค้า ทำให้ ISSP มีเข้าใจในความต้องการของตลาดดียิ่งขึ้น และสามารถนำเสนอบริการที่ตอบโจทย์ ที่ลูกค้าต้องการได้มากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังทำให้เห็นว่าแนวโน้มความต้องการใช้เทคโนโลยีคลาวด์มีเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน โดยคาดว่าในอนาคตจะมีการเติบโตเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลล่าสุดจากไอดีซีที่วิเคราะห์ว่าคลาวด์คอมพิวติ้งจะมีการเติบโตขึ้นทั่วโลก โดยไอดีซีประเมินว่าจะมีมูลค่าตลาดรวมทั่วโลกมากกว่า 1 แสนล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2559 สำหรับในปีนี้ ISSP ตั้งเป้าผลประกอบการไว้ที่ 220 ล้านบาท จากเดิมในปี 2556 ที่มีผลประกอบการอยู่ที่ 190 ล้านบาท โดยเฉพาะธุรกิจ Cloud ขณะนี้คิดเป็นอัตราส่วนการเติบโตที่ 94 % และคาดว่าจะเป็น 100 % ในสิ้นปี 2557 ซึ่งจากผลประกอบการครึ่งปีแรกที่ผ่านมา ทำให้เชื่อว่าภายในสิ้นปีนี้จะเป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยสัดส่วนรายได้ของบริษัทในปัจจุบัน ตามประเภทของการให้บริการ จะแบ่งเป็น 3 กลุ่มหลัก คือ 1) Internet connectivity มีสัดส่วนประมาณ 30% 2) IDC (Internet Data Center) และ Cloud Computing Services มีสัดส่วน 50% โดยมีการเติบโตในสัดส่วนของ cloud มาทดแทนการ hosting เพิ่มมากขึ้นกว่า 30% และ 3) บริการอื่นๆที่เป็น value added services มีสัดส่วนอยู่ที่ 20% เพิ่มขึ้นจากเดิม ที่เป็นในรูปแบบการขายฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ปกติ ด้วยการเพิ่มโซลูชั่นอื่นๆเสริมเข้าไป บริการใหม่ในปีนี้ ของ ISSP คือ จะมีพันธมิตรมาช่วยเพิ่มบริการด้านโซลูชั่นมากขึ้น อาทิ การเซ็นสัญญาร่วมกับ EMC ในตอนนี้ ISSP เป็น Cloud Service Provider Partner เพียงรายเดียวของ EMC ในประเทศไทย โดย ISSP ได้เพิ่มรูปแบบการให้บริการ Backup as a Service โดยใช้โซลูชั่นของ EMC ทั้งหมด และนอกจากนี้ ภายในปลายปีนี้ จะเริ่มให้บริการ cloud ที่เป็น platform ที่ประหยัดขึ้น นอกเหนือจาก b.cloud ที่เป็น cloud แบบพรีเมียมที่เริ่มให้บริการไปแล้วกว่า 2 ปี คือจะมี EazyCloud ซึ่งเป็น platform ที่มีราคาประหยัดกว่า โดยจะขายผ่านหน้าเว็บไซต์ เป็นแบบ self-service ลูกค้าสามารถทดลองใช้ และสั่งซื้อผ่านเว็บไซต์ได้เลย โดยบริการเบื้องต้นของ EazyCloud จะเป็นบริการด้าน cloud server, email, website เป็นต้น ในด้านการปรับปรุงระบบเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการเพื่อรองรับการขยายตัว ISSP ได้มีการลงทุนไปไม่ต่ำกว่า 10 ล้านบาทในการปรับปรุงระบบ security และ network ต่างๆ รวมทั้งมีการเพิ่ม IDC อีกเป็น site ที่ 3 นอกจากนี้ ISSP ยังเป็นผู้ให้บริการรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองจาก SAP AG เยอรมันนี ที่ผ่านการทำ Certified Infrastructure Service Provider นอกจากนี้ ยังเพิ่มโซลูชั่น Software as a Service บน b.cloud นอกเหนือจาก SAP Business One Cloud ที่เริ่มให้บริการไปแล้ว เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า เช่น โซลูชั่นด้าน retail , e-commerce, ระบบ POS, ระบบ HR, Work flow management, document management เป็นต้น ส่วนในด้านบริการที่เป็นบริการเสริม ISSP จะช่วยให้ลูกค้าที่อยากเปลี่ยนเทคโนโลยีมาเป็น virtualization แต่ยังอยากทำแบบเริ่มต้น หรืออยากเป็น Hybrid Cloud ก่อน โดยการวางระบบ cloud ไว้ที่ site ของลูกค้าเอง หรือดูแลเอง โดย ISSP จะให้บริการ Private Cloud Setที่คิดค่าบริการแบบประหยัด สามารถเริ่มต้นทำ virtualization ภายในองค์กรได้ง่ายขึ้น และสามารถเลือกซื้อ hardware บวกกับ cloud โซลูชั่นเป็น set ไปวาง และสามารถจัดการดูแลระบบด้วยตัวเอง หรือเลือกใช้บริการเป็นแบบ managed service ก็ได้ โดยจะมีทีมวิศวกรของ ISSP เข้าไปดูแลให้ ทั้งนี้ ISSP ได้แบ่งลูกค้าเป็น 2 ส่วน ได้แก่ 1.ลูกค้าในภาคอุตสาหกรรมหรือองค์กรขนาดใหญ่ ที่มีความต้องการใช้บริการรูปแบบ Private Cloud หรือ Hybrid Cloud เนื่องจากลูกค้าต้องการความมั่นใจ ในเรื่องความปลอดภัยของข้อมูล ซึ่งองค์กรสามารถลงทุนสร้างระบบคลาวด์คอมพิวติ้งเองได้ด้วยโครงสร้างพื้นฐานเดิมที่มีอยู่ และเสริมความสามารถด้านเทคโนโลยีและการบริหารจัดการ เพื่อให้ระบบมีความสมบูรณ์แบบ มีความสามารถ และมีเสถียรภาพมากยิ่งขึ้น และ 2.ลูกค้าที่มีองค์กรขนาดเล็กและขนาดกลาง ที่มักจะเลือกใช้บริการในรูปแบบ Public Cloud ซึ่งเป็นการใช้บริการจากผู้ให้บริการหรือ Service Provider โดยไม่ต้องลงทุนเทคโนโลยีแต่ประการใด ทั้งในเรื่องของโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) ระบบปฏิบัติการหลัก (Platform) ซอฟต์แวร์และแอพพลิเคชัน (Software and Application) รวมถึงเซิร์ฟเวอร์ และสตอเรจ (Server and Storage) องค์กรเพียงแค่ระบุความต้องการใช้งานก็จะได้รับบริการจากผู้ให้บริการอย่างครบถ้วน โดยเสียค่าใช้จ่ายตามการใช้งานจริงเท่านั้น โดยในปีนี้ ISSP ตั้งเป้ารุกเข้าไปทำตลาดในกลุ่มธุรกิจองค์กร (B2B) นอกเหนือจากกลุ่ม Manufacturing ที่เป็นกลุ่มลูกค้าหลักอยู่แล้ว โดยจะมีโซลูชั่นที่เหมาะกับการใช้งานสำหรับธุรกิจ Retail, Trading, และธุรกิจขนาดกลางถึงขนาดย่อมมากขึ้น โดยกลุ่มนี้นับเป็นกลุ่มเป้าหมายหลักในการใช้บริการ cloud นอกเหนือจากการเพิ่มโซลูชั่นแล้ว ISSP ได้มองหาช่องทางในการขายเพิ่มขึ้น โดยจับมือกับ distributor partnerและ reseller partner เพื่อเพิ่มกำลังในการเข้าถึงตลาดให้มากขึ้น และภายในปลายปีนี้ ISSP จะเริ่มให้บริการ cloud แบบ self-service บนแพลตฟอร์ม e-commerce ซึ่งนอกจากจะเป็นเครื่องมือช่วยเหลือคู่ค้า (partner) ในการขายแล้ว ก็ยังทำให้ ISSP สามารถขยายบริการ cloud ไปยังกลุ่มลูกค้ารายบุคคล (B2C) ได้อีกด้วย “เทคโนโลยีคลาวด์ เริ่มเป็นที่แพร่หลายในการบริหารจัดการองค์กรในด้านเทคโนโลยี เนื่องจากสามารถลดต้นทุนการบริหารจัดการ ทำให้มีอัตราการการเติบโตของตลาดสูงขึ้นอย่างก้าวกระโดดมาตลอดโดยเฉพาะในต่างประเทศ สำหรับประเทศไทย เทคโนโลยีคลาวด์ก็มีแนวโน้มเริ่มเป็นที่แพร่หลายมากขึ้นเช่นกัน เนื่องจากทำให้องค์กรหรือธุรกิจในทุกภาคส่วนสามารถขยับขยาย หรือปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ต่างๆ ได้อย่างคล่องตัว ยืดหยุ่น รวดเร็วมากขึ้น หรือที่เรียกว่า Business Agility โดยไม่มีภาระผูกพันที่ยาวนาน เมื่อใช้คลาวด์เทคโนโลยีมาช่วยเสริมประสิทธิภาพการทำงานภายในองค์กรธุรกิจ นอกจากนี้ระบบคลาวด์ ยังมีศักยภาพในการรองรับและตอบสนองความต้องการของแต่ละองค์กร ทั้งในรูปแบบของคลาวด์ส่วนบุคคล (Private cloud) และรูปแบบคลาวด์สาธารณะ (Public cloud) และรูปแบบของเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป รวมถึงธุรกิจรูปแบบใหม่ๆ ถือเป็นโอกาสของบริการคลาวด์ เช่น การเข้ามาของ Digital TV ก็เป็นโอกาสสำคัญ เพราะมาพร้อมกับความต้องการใช้พื้นที่สำหรับจัดเก็บข้อมูล Content จำนวนมหาศาล” นายบัณฑิต กล่าวทิ้งท้าย

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ