“เสรีภาพของนักวิชาการและสื่อ”

ข่าวทั่วไป Monday September 29, 2014 08:58 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--29 ก.ย.--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “เสรีภาพของนักวิชาการและสื่อ” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 25 – 26 กันยายน 2557 กรณีศึกษาจากประชาชนที่จบการศึกษาในระดับปริญญาตรีขึ้นไป กระจายทั่วทุกภูมิภาค และอาชีพ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,248 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับเสรีภาพของนักวิชาการในการแสดงความคิดเห็นทางวิชาการและเสรีภาพของสื่อต่าง ๆ ในการนำเสนอเหตุการณ์ข่าวสารบ้านเมืองในสถานการณ์ปัจจุบัน อาศัยการสุ่มตัวอย่างจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” ด้วยความน่าจะเป็นด้วยวิธีแบบเป็นระบบ (Systematic Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ ร้อยละ 95.0 และมีค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน (Standard Error: S.E.) ไม่เกิน 1.4 จากผลการสำรวจ เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อเสรีภาพของนักวิชาการที่ควรจะเป็น ในสถานการณ์ปัจจุบัน พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 48.44 ระบุว่า ควรแสดงความคิดเห็นทางวิชาการอย่างมีคุณธรรม จรรยาบรรณ เช่น การไม่บิดเบือนข้อมูล รองลงมา ร้อยละ 39.62 ระบุว่า ควรแสดงความคิดเห็นทางวิชาการที่รับผิดชอบต่อสังคม เช่น ไม่สร้างความแตกแยก ความวุ่นวายในสังคม ร้อยละ 37.29 ระบุว่า ควรแสดงความคิดเห็นทางวิชาการสามารถทำได้อย่างอิสระเต็มที่ ร้อยละ 35.20 ระบุว่า ควรแสดงความคิดเห็นทางวิชาการที่ไม่ละเมิดต่อกฎหมาย ร้อยละ 30.39 ระบุว่า ควรแสดงความคิดเห็นทางวิชาการอย่างสร้างสรรค์ เพื่อเดินหน้าประเทศ ร้อยละ 21.57 ระบุว่า ควรแสดงความคิดเห็นทางวิชาการที่ไม่ล้ำเส้นใคร ร้อยละ 16.20 ระบุว่า ควรแสดงความคิดเห็นทางวิชาการที่ไม่ถูกควบคุมเนื้อหา ร้อยละ 2.57 อื่น ๆ เช่น หากเป็นเรื่องการเมือง ควรอยู่ในขอบเขตตามที่รัฐบาลได้ขอความร่วมมือไว้ และขอให้ดูสถานการณ์บ้านเมือง หากเป็นไปได้ ควรรอให้สถานการณ์บ้านเมืองเป็นปกติค่อยแสดงความเห็นอย่างเต็มที่ แต่หากเป็นเรื่องอื่น ๆ เช่น การศึกษา ก็สามารถแสดงความคิดเห็นได้อย่างเต็มที่ และ ร้อยละ 1.68 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ ท้ายที่สุด เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อเสรีภาพของสื่อที่ควรจะเป็น ในสถานการณ์ปัจจุบัน พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 61.14 ระบุว่า ควรนำเสนอข่าวอย่างมีคุณธรรม จรรยาบรรณ เช่น เที่ยงตรง ไม่ลำเอียง และรอบด้าน ร้อยละ 46.79 ระบุว่า ควรมีการคัดกรองข่าวก่อนนำเสนอ ร้อยละ 39.18 ระบุว่า ควรนำเสนอข่าวที่รับผิดชอบต่อสังคม เช่น ไม่สร้างความแตกแยก ความวุ่นวายในสังคม ไม่กล่าวร้ายใครโดยไม่มีหลักฐาน ร้อยละ 29.97 ระบุว่า ควรนำเสนอข่าวอย่างสร้างสรรค์ เพื่อเดินหน้าประเทศ ร้อยละ 26.84 ระบุว่า การนำเสนอข่าวสามารถทำได้อย่างอิสระเต็มที่ ร้อยละ 26.68 ระบุว่า ควรนำเสนอข่าวที่ไม่ละเมิดต่อกฎหมาย ร้อยละ 12.02 ระบุว่า ควรนำเสนอข่าวที่ไม่ขัดขวางต่อการทำงานของรัฐบาล ร้อยละ 0.96 ระบุว่า อื่น ๆ เช่น ควรดูสถานการณ์บ้านเมืองเป็นหลัก และอยู่ภายใต้ขอบเขตตามที่กฎหมายระบุไว้ และสื่อควรมีความรับผิดชอบหากมีการนำเสนอข่าวที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง และ ร้อยละ 1.12 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 20.11 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ร้อยละ 20.03 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคกลาง ร้อยละ 19.95 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 19.95 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ ร้อยละ 19.95 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ ตัวอย่าง ร้อยละ 52.72 เป็นเพศชาย และ ร้อยละ 47.12 เป็นเพศหญิง และ ร้อยละ 0.16 เป็นเพศทางเลือก ตัวอย่าง ร้อยละ 6.69 มีอายุต่ำกว่า 25 ปี ร้อยละ 50.52 มีอายุ 25 – 39 ปี ร้อยละ 35.13 มีอายุ 40 – 59 ปี และ ร้อยละ 7.66 มีอายุ 60 ปี ขึ้นไป ตัวอย่างร้อยละ 93.47 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 4.67 นับถือศาสนาอิสลาม และ ร้อยละ 1.85 นับถือศาสนาคริสต์ และอื่น ๆ ตัวอย่างร้อยละ 39.56 สถานภาพโสด ร้อยละ 58.82 สถานภาพสมรสแล้ว และร้อยละ 1.61 สถานภาพหม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ ตัวอย่าง ร้อยละ 83.57 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และ ร้อยละ 16.43 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ตัวอย่าง ร้อยละ 34.03 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 27.41 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 23.12 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 1.70 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 2.18 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป ร้อยละ 10.19 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน และ ร้อยละ 1.37 เป็นนักศึกษา ตัวอย่าง ร้อยละ 5.61 ระบุว่าไม่มีรายได้ ร้อยละ 3.04 มีรายได้ต่อเดือน ไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 30.45 มีรายได้ต่อเดือน 10,001 – 20,000 บาท ร้อยละ 21.23 มีรายได้ต่อเดือน 20,001 – 30,000 บาท ร้อยละ 12.42 มีรายได้ ต่อเดือน 30,001 – 40,000 บาท ร้อยละ 18.35 มีรายได้ต่อเดือน มากกว่า 40,001 บาท ขึ้นไป และ ร้อยละ 8.89 ไม่ระบุรายได้ 1.ท่านคิดว่า ในสถานการณ์ปัจจุบัน เสรีภาพของนักวิชาการ ควรเป็นอย่างไร (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) ความคิดเห็นของประชาชนต่อเสรีภาพของนักวิชาการที่ควรจะเป็นในสถานการณ์ปัจจุบัน ร้อยละ การแสดงความคิดเห็นทางวิชาการอย่างมีคุณธรรม จรรยาบรรณ เช่น การไม่บิดเบือนข้อมูล 48.44 การแสดงความคิดเห็นทางวิชาการที่รับผิดชอบต่อสังคม เช่น ไม่สร้างความแตกแยก ความวุ่นวายในสังคม 39.62 การแสดงความคิดเห็นทางวิชาการสามารถทำได้อย่างอิสระเต็มที่ 37.29 การแสดงความคิดเห็นทางวิชาการที่ไม่ละเมิดต่อกฎหมาย 35.20 การแสดงความคิดเห็นทางวิชาการอย่างสร้างสรรค์ เพื่อเดินหน้าประเทศ 30.39 การแสดงความคิดเห็นทางวิชาการที่ไม่ล้ำเส้นใคร 21.57 การแสดงความคิดเห็นทางวิชาการที่ไม่ถูกควบคุมเนื้อหา 16.20 อื่น ๆ เช่น หากเป็นเรื่องการเมือง ควรอยู่ในขอบเขตตามที่รัฐบาลได้ขอความร่วมมือไว้ และขอให้ดูสถานการณ์บ้านเมือง หากเป็นไปได้ ควรรอให้สถานการณ์บ้านเมืองเป็นปกติค่อยแสดงความเห็นอย่างเต็มที่ แต่หากเป็นเรื่อง อื่น ๆ เช่น การศึกษา ก็สามารถแสดงความคิดเห็นได้อย่างเต็มที่ 2.57 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ 1.68 2.ท่านคิดว่า ในสถานการณ์ปัจจุบัน เสรีภาพของสื่อ ควรเป็นอย่างไร (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) ความคิดเห็นของประชาชนต่อเสรีภาพของสื่อที่ควรจะเป็นในสถานการณ์ปัจจุบัน ร้อยละ การนำเสนอข่าวอย่างมีคุณธรรม จรรยาบรรณ เช่น เที่ยงตรง ไม่ลำเอียง และรอบด้าน 61.14 มีการคัดกรองข่าวก่อนนำเสนอ 46.79 การนำเสนอข่าวที่รับผิดชอบต่อสังคม เช่น ไม่สร้างความแตกแยก ความวุ่นวายในสังคม ไม่กล่าวร้ายใครโดยไม่มีหลักฐาน 39.18 การนำเสนอข่าวอย่างสร้างสรรค์ เพื่อเดินหน้าประเทศ 29.97 การนำเสนอข่าวสามารถทำได้อย่างอิสระเต็มที่ 26.84 การนำเสนอข่าวที่ไม่ละเมิดต่อกฎหมาย 26.68 การนำเสนอข่าวที่ไม่ขัดขวางต่อการทำงานของรัฐบาล 12.02 ควรดูสถานการณ์บ้านเมืองเป็นหลัก และอยู่ภายใต้ขอบเขตตามที่กฎหมายระบุไว้ และสื่อควรมีความรับผิดชอบหากมีการนำเสนอข่าวที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง 0.96 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ 1.12 ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง 1. ตารางที่ 1 แสดงจำนวน และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามภูมิภาค ภูมิภาค จำนวน ร้อยละ กรุงเทพฯ และปริมณฑล 251 20.11 ภาคกลาง 250 20.03 ภาคเหนือ 249 19.95 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 249 19.95 ภาคใต้ 249 19.95 รวม 1,248 100.00 2. ตารางที่ 2 แสดงจำนวน และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามเพศ เพศ จำนวน ร้อยละ ชาย 658 52.72 หญิง 588 47.12 เพศทางเลือก 2 0.16 รวม 1,248 100.00 3. ตารางที่ 3 แสดงจำนวน และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามอายุ อายุ จำนวน ร้อยละ ต่ำกว่า 25 ปี 83 6.69 25 – 39 ปี 627 50.52 40 – 59 ปี 436 35.13 60 ปี ขึ้นไป 95 7.66 รวม 1,241 100.00 4. ตารางที่ 4 แสดงจำนวน และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามศาสนา ศาสนา จำนวน ร้อยละ พุทธ 1,160 93.47 อิสลาม 58 4.67 คริสต์ และอื่น ๆ 23 1.85 รวม 1,241 100.00 5. ตารางที่ 5 แสดงจำนวน และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามสถานภาพการสมรส สถานภาพการสมรส จำนวน ร้อยละ โสด 491 39.56 สมรส 730 58.82 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ 20 1.61 รวม 1,241 100.00 ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง (ต่อ) 6. ตารางที่ 6 แสดงจำนวน และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามระดับการศึกษา ระดับการศึกษา จำนวน ร้อยละ ปริญญาตรีหรือเทียบเท่า 1,038 83.57 สูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า 204 16.43 รวม 1,242 100.00 7. ตารางที่ 7 แสดงจำนวน และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามอาชีพหลัก อาชีพหลัก จำนวน ร้อยละ ข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ 421 34.03 พนักงานเอกชน 339 27.41 เจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ 286 23.12 เกษตรกร/ประมง 21 1.70 รับจ้างทั่วไป 27 2.18 พ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน 126 10.19 นักศึกษา 17 1.37 รวม 1,237 100.00 8. ตารางที่ 8 แสดงจำนวน และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามรายได้เฉลี่ยต่อเดือน รายได้เฉลี่ยต่อเดือน จำนวน ร้อยละ ไม่มีรายได้ 70 5.61 ไม่เกิน10,000 38 3.04 10,001 – 20,000 380 30.45 20,001 – 30,000 265 21.23 30,001 – 40,000 155 12.42 มากกว่า 40,001 ขึ้นไป 229 18.35 ไม่ระบุ 111 8.89 รวม 1,248 100.00
แท็ก นิด้า  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ