มะเร็งผิวหนังพบปีละ 400 คน ทำอย่างไรไม่ให้เป็นคนที่ 401

ข่าวทั่วไป Monday December 8, 2014 10:03 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--8 ธ.ค.--Monday Integrated Communication “มะเร็งผิวหนังพบปีละ 400 คน ทำอย่างไรไม่ให้เป็นคนที่ 401”ร่วมเสวนาโดย พ.ญ. พรภุชงค์ เลาห์เกริกเกียรติแพทย์ผู้เชี่ยวเฉพาะด้าน ผิวหนังและ ศัลยกรรมเลเซอร์ดำเนินการเสวนาโดย ดร.อรณัฏฐ์ นครศรี ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ นักวิจัย และผู้ทรงคุณวุฒิกระทรวงสาธารณสุขในวันที่ 2 ธันวาคม 2557 ณ ห้อง จูปิเตอร์ 9 อิมแพค เมืองทองธาน (ในงาน Motor Expo 2014) จากที่กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ได้ออกมาให้ข้อมูลว่าตากแดดนานเพียง 15 นาที เสี่ยงรับรังสียูวีที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพผิว ทำให้เกิดการเจริญเติบโตของเซลล์ผิวหนังที่ผิดปกติ เนื่องจากการได้รับแสงแดดปริมาณมาก ทั้งยูวีเอ และยูวีบี ส่วนยูวีซี มีพลังงานสูงที่สุด อันตรายมากที่สุด แต่พบได้น้อยเนื่องจากจะถูกชั้นบรรยากาศกรองเอาไว้ การป้องกันผิวหนังจากการสัมผัสแสงแดดเป็นสิ่งจำเป็น แต่ความกังวลเรื่องบรรยากาศในชั้นโอโซนที่ถูกทำลาย จะทำให้รังสีต่างๆทะลุชั้นบรรยากาศมาสู่โลกมากขึ้น ปัจจุบันประเทศไทยมีผู้มะเร็งผิวหนัง 300- 400 รายต่อปี เป็นอันดับ 7 ของโรคมะเร็งในอวัยวะต่างๆ การตากแดดนานเกิน 15 นาที รังสียูวีสามารถทำลายภูมิคุ้มกันร่างกาย ผิวหนัง นัยน์ตา และก่อให้เกิดมะเร็งผิวหนัง ดร.อรณัฏฐ์ กล่าวว่าแสงแดดนั้นก็มีทั้งประโยชน์และโทษ ประโยชน์ คือช่วยฆ่าเชื้อ การรับแสงแดดในยามเช้าที่เป็นแสงแดดอ่อนๆ ก็จะลดอาการตัวเหลืองของเด็กทารกได้ สำหรับผู้ใหญ่ก็จะทำให้ร่างกายสร้างวิตามินดีได้ แต่ต้องเลือกช่วงเวลาที่เหมาะสม ไม่ใช่ช่วงที่แดดแรงจนเกินไป นอกจากนั้นยังพบสถิติผู้ป่วยโรคต้อก็เพิ่มจำนวนขึ้นทุกปี แพทย์หญิงพรภุชงค์ ให้ความรู้ เพิ่มเติมว่าแสงแดดที่ควรหลีกเลี่ยง คือ แสงแดดในช่วงเวลา 10.00-16.00 น. UV มีอยู่ทุกที่ทั้งในที่ทำงาน ในรถ ในบ้านจึงควรใช้ครีมกันแดดที่มี SPF 15 หรือมากกว่า ควรทามอยส์เจอไรเซอร์บำรุงผิวมือบ่อย ๆ และทาครีมกันแดดร่วมด้วย แพทย์แนะให้ความสำคัญ 3 จุดสำคัญบนร่างกาย ได้แก่ ริมฝีปาก ผิวตัว ผิวมือ ที่ต้องได้รับการปกป้องเพื่อป้องกันรังสีอัลตราไวโอเลต มิใช่เพียงฝ้า กระ หรือผิวดำแล้ว ในปัจจุบันพบผู้ป่วยมะเร็งผิวหนังเพิ่มขึ้นจากแสงแดดที่รุนแรง เรื่องใกล้ตัวคือเรื่องการทาครีมกันแดด ปริมาณที่เพียงพอคือ 2 ไมโครกรัม ต่อ ตารางเซนติเมตร หรืออธิบายง่ายๆคือ ประมาณ 2 ข้อนิ้วมือ บางตำราก็บอกว่าประมาณ 6 ซีซี และควรทาก่อนออกแดด 20-30 นาที โดยทาซ้ำทุกๆ 2 ชั่วโมง เพื่อให้คงประสิทธิภาพในการปกป้องรังสี UV พร้อมการสาธิตวิธีการทาครีมกันแดดอย่างถูกวิธี ควรทามอยส์เจอไรเซอร์ก่อนแล้วตามด้วยครีมกันแดด “การรับประทานคลอลาเจนจะช่วยลดการทำลายของเซลล์ผิวจากยูวีได้หรือไม่” แพทย์แนะนำว่า คลอลาเจนเป็นโปรตีนชนิดหนึ่ง หากเรารับประทานโปรตีนที่มีประโยชน์อยู่แล้ว ร่างกายก็จะผ่านกระบวนการย่อยและเปลี่ยนเป็นกรดอะมิโนเพื่อมาใช้ในการทำงานของเซลล์ต่างๆ ในร่างกาย การรับประทานคลอลาเจนร่างกายก็จะผ่านกระบวนการย่อยเช่นเดียวกัน ลองนึกภาพผู้หญิงที่ติดม่านบังแดด ใส่เสื้อแขนยาวใส่แว่นดำ คลุมตัวมิดชิด แล้วขับรถ ก็จะเป็นภาพที่คุ้นตากันดี ในส่วนของดวงตา ควรสวมแว่นกันแดดที่ป้องกัน UV 400 เน้นแว่นยิ่งดำหากไม่กัน UV จะยิ่งอันตรายเพราะจะทำให้ม่านตาขยาย และรับรังสี UV โดยตรง ทุกที่ที่มีแสงสว่างให้ตาเรามองเห็นได้ ไม่ว่าจะเป็นจากหลอดไฟ ในที่ทำงาน ในบ้าน ในรถ ก็มียูวีอยู่ทั้งสิ้น ลองสังเกตผิวข้างที่ขับรถ หรือข้างที่โดนแดดเป็นประจำจะมีกระ หรือคล้ำกว่าอีกข้างหนึ่ง สำหรับคนที่ไม่ชอบทาครีมกันแดดหรือคิดว่าทาแต่อาจจะมีปริมาณไม่เพียงพอ ก็อาจจะเลือกฟิลม์ติดรถยนต์ที่มีประสิทธิภาพในการป้องกัน UV 400 และ UV A1 ซึ่งอีกสิ่งหนึ่งที่เราจะรู้สึกได้คือ การป้องกันความร้อน (TSER) ฟิลม์ที่มีค่ากันความร้อนสูงๆ ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง หากเราสามารถป้องกันรังสียูวีได้มากขึ้น ก็จะลดปฏิกิริยาการเกิดอนุมูลอิสระในร่างกาย ช่วยถนอมผิวและ ยืดอายุการทำงานของจอประสาทตา เป็นการช่วยปกป้องอีกทาง นอกจากนั้น การอยู่กลางแจ้งในช่วงแดดแรงๆ ก็ควรกางร่ม หรืออยู่ในรถก็ควรติดฟิลม์เพื่อป้องกันยูวีเพื่อลดอาการไหม้ ผิวหนังอักเสบจากแสงแดด ฝ้า กระ จุดด่างดำ บางครั้งผู้หญิงเลือกใช้เครื่องสำอางราคาแพง รับประทานอาหารเสริมบำรุงมากมาย แต่อาจไม่คำนึงถึงฟิลม์กันแดด ใช้ฟิลม์อะไรก็ได้ที่ติดมากับของแถมรถยนต์ แต่ในความเป็นจริง เราทาครีมกันแดดกันในปริมาณที่เพียงพอ หรือไม่ ทาอย่างถูกต้องหรือไม่ เวลานั่งรถไปกับเด็ก เราได้ทาให้กับเด็กๆด้วยหรือไม่ ซึ่งจุดนี้ฟิลม์กันแดดอาจเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยปกป้องตัวเราและคนที่เรารัก แสงแดดจ้าทำให้อาการไมเกรนกำเริบขึ้นได้ หากเป็นโรคไมเกรนเมื่อต้องออกแดด แพทย์แนะนำสวมแว่นกันแดด ส่วนผู้ที่ขับรถก็อาจจะติดฟิลม์ที่ป้องกัน UV400/UV A1 และเน้นในส่วนด้านบนกระจกหน้าให้มีความเข้มมากขึ้นเพื่อลดการกระตุ้นจากแสงแดด ชมสาธิตวิธีการทดสอบฟลิม์ป้องกันยูวี อย่างมีประสิทธิภาพ จะใช้ชีวิตอย่างไร เมื่อต้องเผชิญกับรังสีเกือบทุกช่วงคลื่นแทบจะตลอดเวลาที่คุณต้องใช้แสงสว่าง 3 จุดบอบบางที่ต้องระวังเป็นพิเศษริมฝีปาก ผิวตัว ผิวมือ และการปกป้องดวงตา ฟลิม์กันแดดที่มีประสิทธิภาพในการป้องกัน UV 400 และ UV A1 เป็นอีกทางเลือกที่คุณจะช่วยป้องกัน เพื่อผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่คนที่ 401 จะได้ไม่ใช่คุณ บางครั้งมะเร็งอาจเป็นสิ่งที่ใกล้ตัว แต่ความร้อนในรถ และฝ้ากระ อาจเป็นสัญญานให้คุณต้องดูแลสุขภาพมากขึ้น

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ