สพฉ.จัดประชุมชี้แจงนโนบายพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉินประจำปี 2558 เน้นพัฒนาตามปัญหาพื้นที่ พร้อมเร่งพัฒนาคุณภาพการจัดการและมาตรฐานการให้บริการเพื่อปิดช่องว่างระบบการแพทย์ฉุกเฉินไทย

ข่าวทั่วไป Thursday December 18, 2014 17:27 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--18 ธ.ค.--สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชา พร้อมชูระบบสารสนเทศและระบบเทเลเมดิซีน ให้แพทย์เห็นผู้ป่วยฉุกเฉินในขณะเกิดเหตุเพื่อการช่วยเหลืออย่างมีประสิทธิภาพ สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) จัดประชุมชี้แจงนโยบายและการประเมินความก้าวหน้าในการพัฒนาคุณภาพการจัดการด้านการแพทย์ฉุกเฉินระดับจังหวัดประจำปี พ.ศ. 2558 ที่โรงแรมทีเคพาเลซกรุงเทพมหานคร โดยน.พ.อนุชา เศรษฐเสถียร เลขาธิการสพฉ.ได้บรรยายพิเศษเรื่อง “ห่วงโซ่คุณภาพการแพทย์ฉุกเฉินไทยและการคลำช้างทั้งตัว” ว่า การพัฒนาการแพทย์ฉุกเฉินระดับจังหวัดในปีหน้านี้จะมีการพัฒนาในสองประเด็นหลักคือ 1. เรื่องการพัฒนาคุณภาพการจัดการ อาทิ กลไกการบริหารจัดการภายในจังหวัด ซึ่งแต่ละจังหวัดจะต้องมีแผนในการแก้ไขปัญหาในจังหวัดของตนเองและเรื่องการมีส่วนร่วมขององค์การบริหารส่วนจังหวัด 2. ประเด็นการพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการบริการ โดยแต่ละหวัดจะต้องมีแผนเรื่องการจัดการสาธารณภัยมีการจัดซ้อมเป็นประจำ รวมทั้งมีความครอบคลุมในเรื่องหน่วยปฏิบัติการที่สามารถช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินได้อย่างรวดเร็ว และทีมส่งต่อมีคุณภาพผ่านการอบรมเป็นอย่างดี พร้อมให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง อย่างไรก็ตามสิ่งสำคัญที่ต้องเร่งพัฒนาคือการปิดช่องว่างของระบบการแพทย์ฉุกเฉิน ซึ่งจะต้องใช้ผลลัพธ์เป็นตัวตั้ง โดยในแต่ละจังหวัดจะต้องไปพิจารณาว่าจังหวัดของตนเองนั้นมีช่องว่างอะไรและจะต้องหาทางพัฒนาช่องว่างนั้นพร้อมกันทั่วประเทศ ซึ่งจะเป็นการแก้ไขปัญหาด้วยการใช้พื้นที่เป็นตัวตั้งไม่ใช่ใช้ตัวชี้วัดจากส่วนกลางและไปบังคับให้คนในพื้นที่ทำตาม ก็เหมือนกับการคลำช้างที่ไม่ใช่คลำจุดใดจุดหนึ่งเท่านั้นแต่ต้องคลำทั้งตัวเพื่อให้ปัญหาได้รับการแก้ไขอย่างแท้จริง ยกตัวอย่างเช่นจังหวัดเชียงใหม่จะมีการประชุมกันว่าพื้นที่ใดยังมีความครอบคลุมของหน่วยบริการไม่ทั่วถึงหรือประชาชนยังเข้าไม่ถึงสายด่วน 1669 เป็นรายอำเภอ และค่อยๆ นำมาแก้ไขปัญหาร่วมกันโดยมีเวทีของคณะอนุกรรมการคอยติดตามอย่างสม่ำเสมอทำให้การแก้ไขปัญหาสำเร็จ ด้าน นพ.ไพโรจน์ บุญศิริคำชัย รองเลขาธิการสพฉ.กล่าวถึงหลักการพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉินโดยมุ่งผลลัพธ์ว่าต้องทำใน 5 ประเด็นหลัก ดังนี้ 1. หลักการกระจายอำนาจ 2. หลักการสนับสนุนการบริหารจัดการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 3. หลักการเตรียมพร้อมรับสาธารณภัย 4. หลักการมีส่วนร่วมของชุมชน และ 5. การทำเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการแพทย์ฉุกเฉิน คือต้องพัฒนาศักยภาพการช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินให้ได้มาตรฐานและมีความครอบคลุม ซึ่งจากสถานการณ์ปัจจุบัน ประเทศไทยมีการออกปฏิบัติการฉุกเฉินรวมทั้งสิ้น 1,200,000 ต่อปี หรือ 1.76 ครั้งต่อจังหวัดต่อชั่วโมง ซึ่งถ้าต้องใช้เวลาในการออกปฏิบัติการครั้งละ1 ชั่วโมงจะต้องใช้รถพยาบาลขั้นสูงอย่างน้อย 2,168 คันต่อจังหวัด และต้องใช้เงินในการซื้อรถพยาบาลทั้งสิ้น 5,203 ล้านบาท ซึ่งประเทศไทยก็มีรถพยาบาลเพียงพอ รวมทั้งมีเครือข่ายที่ครอบคลุม ดังนั้นหากเรามีการบริหารจัดการที่ดี ก็จะทำให้การช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินมีคุณภาพมากขึ้นด้วย นอกจากนี้จะต้องมีการพัฒนาในส่วนอื่นๆ เพิ่มเติม อาทิ ความครอบคลุมและมาตรฐานของผู้ปฏิบัติการฉุกเฉิน ระบบศูนย์สั่งการ ระบบสารสนเทศที่จะต้องมีการพัฒนาระบบการบันทึกข้อมูลให้นำไปใช้ประโยชน์ต่อได้อย่างรวดเร็ว และที่สำคัญจะต้องมีการพัฒนาระบบเทเลเมดิซีน ให้แพทย์สามารถเห็นผู้ป่วยฉุกเฉินในขณะเกิดเหตุได้เพื่อที่จะได้ทำการช่วยเหลือได้อย่างรวดเร็วและมีคุณภาพ

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ