สถานการณ์ราคาน้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูปประจำสัปดาห์ที่ 29-30 ม.ค. 2558 และแนวโน้มในสัปดาห์ที่ 2-6 ก.พ. 2558 โดยบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)

ข่าวเศรษฐกิจ Monday February 2, 2015 16:08 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--2 ก.พ.--ปตท. สัปดาห์ ที่ผ่านมาราคาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) เพิ่มขึ้น 1.04 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ 49.67 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล และราคาน้ำมันดิบดูไบ (Dubai) เพิ่มขึ้น 0.05 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ 44.48เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล และราคาน้ำมันดิบเวสท์เท็กซัสฯ (WTI) ลดลง 0.82 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ 45.72 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล และราคาน้ำมันเบนซินออกเทน 95 เพิ่มขึ้น 0.33 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ 57.12 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล และน้ำมันดีเซลลดลง 0.57 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ 60.75 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ปัจจัยที่ส่งผลกระทบได้แก่ ปัจจัยที่กระทบต่อราคาน้ำมันดิบในเชิงบวก - Baker Hughes Inc. บริษัทให้บริการด้านขุดเจาะน้ำมันดิบรายงาน ผลสำรวจจำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมัน (Rig)ทั่วสหรัฐฯ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 23 ม.ค. 58 ลดลง 49 แท่น จากสัปดาห์ก่อน มาอยู่ที่ 1,317 แท่น ต่ำสุดในรอบ 2 ปี และเป็นการลดลงต่อเนื่อง 7 สัปดาห์ - ผู้ประกอบการด้านสำรวจและผลิตน้ำมันของสหรัฐฯ ระบุภาคการผลิตน้ำมันดิบในสหรัฐฯ ทยอยปิดแหล่งน้ำมันที่ไม่คุ้มทุน โดยเฉพาะแหล่งที่มีขนาดเล็ก (กำลังการผลิตน้อยกว่า 10 บาร์เรลต่อวัน) และดำเนินการมานานแล้ว ซึ่งหากราคาน้ำมันดิบยังคงลดลงจะทำให้แหล่งน้ำมันข้างต้นต้องปิดดำเนินการคิดเป็นปริมาณ 2% ของอุปทานในสหรัฐฯ ส่วน Energy Information Administration (EIA) ประเมินแท่นผลิตน้ำมันดิบในสหรัฐฯจะยุติการดำเนินการกว่า 24% ระหว่างเดือน ม.ค. – ต. ค. 58 - National Development and Reform Commission (NDRC) ต้องการให้โรงกลั่นจีนเก็บปริมาณสำรองเชิงพาณิชย์เพิ่มเป็น 15 วัน ของปริมาณการนำน้ำมันเข้ากลั่นของโรงกลั่นนั้นๆ โดยระดับการกักเก็บห้ามต่ำกว่า 10 วัน เพื่อเพิ่มความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศ อนึ่ง Bloomberg รายงานจีนกักเก็บปริมาณสำรองน้ำมันดิบเชิงพาณิชย์สิ้นสุดปี 2557 อยู่ที่ 244.6 ล้านบาร์เรล และมีแนวโน้มทีปริมาณการกักเก็บน้ำมันสำรองจะเพิ่มขึ้นจากมาตรการดั่งกล่าว - สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ Moody คาดการณ์กลุ่มบริษัทในอุตสาหกรรมพลังงานจะปรับลดลงการทุนประมาณ 35-40% ในช่วงครึ่งหลังของปี 2558 และมีความเสียงที่จะลดลงอีกในปี 2559 หากราคาน้ำมันยังคงอยู่ระดับต่ำ - ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) แถลงหลังการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (FOMC) ย้ำความเชื่อมั่นต่อการเติบโตอย่างแข็งแกร่งของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ด้วยการฟื้นตัวอย่างเด่นชัดของภาคแรงงาน อย่างไรก็ตาม Fed ยังยืนยันคำเดิมว่าจะพิจารณาอย่างถี่ถ้วน ในการพิจารณาขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย แม้ตระหนักถึงอัตราเงินเฟ้อที่ลดลงอย่างมากในปัจจุบัน ปัจจัยที่กระทบต่อราคาน้ำมันดิบในเชิงลบ - CFTC รายงาน กลุ่มผู้จัดการกองทุนปรับลดสถานะการถือครอง (Net Long Position) สัญญาน้ำมันดิบ WTI ในตลาดซื้อขายล่วงหน้าที่ตลาด ICE ลอนดอนและตลาด NYMEX สหรัฐฯ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 20 ม.ค. 58 ลง 4,198 สัญญา จากสัปดาห์ก่อนมาอยู่ที่ 225,926 สัญญา - ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของอิรักพุ่งแตะระดับสูงสุดในรอบ 35 ปี อยู่ที่ 4 ล้านบาร์เรลต่อวัน หลังจากรัฐบาลอิรักสามารถหาข้อตกลงกับรัฐปกครองพิเศษเคอร์ดิสถานได้ ซึ่งเพิ่มความกดดันต่อการครอบครองส่วนแบ่งตลาดโลกจากกลุ่มผู้ผลิต OPEC อิรักอาจจะต้องใช้นโยบายกำหนดราคาสู้กับซาอุดีอาระเบียเพื่อให้ได้มาซึ่งส่วนแบ่งการตลาดที่เพิ่มขึ้น - สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ Standard and Poor’s (S&P) ปรับลดระดับความน่าเชื่อถือของรัสเซียจากBBB- มาอยู่ที่ BB+ หรือสถานะขยะ (Junk) เป็นครั้งแรกในรอบ 10 ปี - ธนาคาร Goldman Sachs ระบุความต้องการน้ำมันดิบของจีนกับประเทศ Emerging Markets มีแนวโน้มชะลอตัวและประเมินราคาน้ำมันดิบ Brent ปีนี้อยู่ที่ระดับ 50 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ลดลงจากปี 2557 ที่ระดับ 99.49 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล แนวโน้มราคาน้ำมันดิบ ราคาน้ำมันดิบ ICE Brent ปรับตัวเพิ่มขึ้นกว่า 7.86% และปิดตัวที่ระดับ 52.99 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล เมื่อวันที่ 30 ม.ค. 58 หลังจากบริษัท Baker Hughes ประกาศผลสำรวจปริมาณแท่นขุดเจาะน้ำมัน (Oil Rig) ในสหรัฐฯ ลงรุนแรงที่สุดตั่งแต่ปี 2530 เป็นปัจจัยหนุนราคาน้ำมัน แสดงให้เห็นว่าตลาดเริ่มปรับตัวจากสภาวะราคาน้ำมันที่ตกต่ำและอุปทานที่ไม่สมดุลกับความต้องการของโลก ทั้งนี้ยังมีสัญญาณการชะลอการลงทุนในโครงการขุดเจาะน้ำมันใหม่ๆที่จะเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นแหล่งผลิตน้ำมันในทะเลเหนือหรือแหล่งขุดเจาะน้ำลึกในทะเลแดง อย่างไรก็ตามนักวิเคราะห์คาดว่าอุปทานที่ยังล้นตลาดอยู่ประมาณ 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน ปริมาณสำรองน้ำมันเชิงพาณิชย์ที่สูง ปัจจัยที่น่าจับตามองคือการตั้งราคาขายอย่างเป็นทางการ (OSP) ของน้ำมันซื้อขายเดือน มี.ค. 58 ของกลุ่มประเทศผู้ผลิต OPEC ที่จะประกาศต้นเดือนนี้ สัปดานี้คาดการณ์ว่า ICE Brent จะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ $49.64 - 53 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล และ WTI จะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 45.39 - 48.33 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล และ ดูไบ จะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 43.48 - 47.5 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล สถานการณ์ราคาน้ำมันเบนซิน สัปดาห์ที่ผ่านมาราคาน้ำมันเบนซินปรับเพิ่มขึ้นจาก Platts รายงานตลาดน้ำมันเบนซินยังคงตึงตัวเนื่องจากปริมาณอุปทานในเอเชียเหนือที่ต่ำในช่วงฤดูหนาว และ National Development and Reform Commission (NDRC) ของจีนปรับลดราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินในประเทศลง 0.27 หยวนต่อลิตร โดยน้ำมันเบนซิน 90 Ron อยู่ที่ 5.4 หยวนต่อลิตร (28.14 บาท/ลิตร) มีผลวันที่ 26 ม.ค. 58 และ Petroleum Association of Japan (PAJ)รายงานปริมาณสำรองน้ำมันเบนซินเชิงพาณิชย์ในญี่ปุ่น สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 24 ม.ค. 58 ลดลงจากสัปดาห์ก่อน 0.7ล้านบาร์เรล หรือ 2.9 % อยู่ที่ 10.7 ล้านบาร์เรล อย่างไรก็สำนักงานสถิติแห่งจีน รายงานปริมาณการผลิต น้ำมันเบนซิน ในเดือน ธ.ค. 57 เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 14.1% มาอยู่ที่ 84.9 ล้านบาร์เรล เนื่องจากโรงกลั่นได้หันมากลั่น น้ำมันเบนซินแทนที่น้ำมันดีเซล ในช่วงก่อนหน้า และ บริษัทน้ำมันแห่งชาติของเกาหลีใต้ ส่งออกน้ำมันเบนซิน เดือน ธ.ค. 57 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 20.6% มาอยู่ที่ 7.56 ล้านบาร์เรล และเมื่อรวมทั้งปี เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 14.6% มาอยู่ที่ 73.33 ล้านบาร์เรล อีกทั้ง ผู้ค้าคาด Pertamina ของอินโดนีเซียอาจนำเข้าน้ำมันเบนซินในเดือน ก.พ. 58 ลดลงจากเดือนก่อน 100,000 บาร์เรล ล้านบาร์เรลอยู่ที่ 9.0 ล้านบาร์เรล เนื่องจากอุปสงค์ในประเทศชะลอตัวต่อเนื่องหลังฝนตกหนักช่วงปลายปี 57 และรัฐบาลลดการอุดหนุนน้ำมันเบนซิน 88 RON ตั้งแต่ต้นปี 58 สัปดาห์นี้คาดว่าราคาน้ำมันเบนซินจะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 55.78-59.8 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล สถานการณ์ราคาน้ำมันดีเซล สัปดาห์ที่ผ่านมาราคาน้ำมันดีเซลเพิ่มขึ้นจาก NDRC ของจีนปรับลดราคาขายปลีกน้ำมันดีเซล ในประเทศลง 0.30 หยวนต่อลิตร โดยน้ำมันดีเซลมาอยู่ที่ 5.4 หยวนต่อลิตร (28.14 บาทต่อลิตร) มีผลวันที่ 26 ม.ค. 58 และPlatts รายงาน อุปสงค์น้ำมันดีเซลสำหรับเดินเรือ (Marine Gasoil) ในยุโรปเพิ่มสูงขึ้น โดย Rotterdam Port Authority เผยยอดขายน้ำมันดีเซลสำหรับเดินเรือ เดือน ธ.ค. 57 เพิ่มขึ้นเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนกว่า 563,000 บาร์เรล มาอยู่ที่ 938,000 บาร์เรล ทั้งนี้มีผลจากการซื้อเก็บก่อนการบังคับใช้น้ำมันเดินเรือที่ 0.1% S ในเขต Emission Control Area ที่มีผลในเดือน ม.ค. 58 ประกอบกับ PAJ รายงานปริมาณสำรองน้ำมันดีเซลเชิงพาณิชย์ในญี่ปุ่น สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 24 ม.ค. 58 ลดลงจากสัปดาห์ก่อน 700,000 บาร์เรล หรือ 6.1% อยู่ที่ 10.8 ล้านบาร์เรล และปริมาณสำรอง Kerosene ลดลง 1.4 ล้านบาร์เรล หรือ 9.2 % อยู่ที่ 14.0 ล้านบาร์เรล อย่างไรก็ตามผู้ค้าคาดโรงกลั่น Yanbu Aramco Sinopec Refining Co (Yasref) ในซาอุดีอาระเบียซึ่งปัจจุบันเดินเครื่องในอัตรา 60 % ของกำลังการผลิต (กำลังการกลั่นรวม 400,000 บาร์เรลต่อวัน) จะเดินเครื่องเต็มที่ในช่วงกลางเดือน ก.พ. 58 และเริ่มส่งออกน้ำมันดีเซล ในตลาดจร อีกทั้ง Platts รายงาน Arbitrage น้ำมันดีเซลจากเอเชียและตะวันออกกลางสู่ยุโรปปิด ขณะที่โรงกลั่นน้ำมันในเอเชียเร่งอัตราการกลั่นสูงขึ้นเนื่องจากค่าการกลั่น (Refining Margin) สูงในช่วงราคาน้ำมันดิบตกต่ำและ หน่วยงานศุลกากรของจีนรายงาน ยอดส่งออกน้ำมันดีเซลl ปี 2558 เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 47.5% มาอยู่ที่4.1 ล้านตัน หรือ 30.55 ล้านบาร์เรล สัปดาห์นี้คาดว่าราคาน้ำมันดีเซลจะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 59.16-59.8 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ