Gene therapy พันธุกรรมบำบัด

ข่าวทั่วไป Wednesday March 11, 2015 17:16 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--11 มี.ค.--เดอะเวย์ คอมมิวนิเคชั่น โรคมะเร็งปอด นับเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ในประเทศไทย ซึ่งสาเหตุการเกิดโรค 90% เกิดจากการสูบบุหรี่ แต่ในปัจจุบันนี้นักวิทยาศาสตร์ และวงการแพทย์ได้ทำการศึกษาเพื่อที่จะหาสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งพบว่ามะเร็งนั้น ยังสามารถเกิดจากความผิดปกติหรือการทำงานที่ผิดปกติของยีนที่มีหน้าที่ในการควบคุมกลไกการทำงานของอวัยวะนั้นๆ หรือสรุปได้ว่า “มะเร็งเกิดจากการกลายพันธุ์ของยีน (Gene mutation)”ศ.นพ.ทองปลิว เปรมปรี ผู้อำนวยการศูนย์มะเร็งและพันธุกรรมบำบัด โรงพยาบาลจุฬารัตน์ กล่าวว่า มะเร็งปอด คือ อุบัติการณ์ที่เซลล์ในปอดมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วผิดปกติที่ไม่สามารถควบคุมได้ และมีการเจริญเติบโตลุกลามรวมตัวกันเป็นกลุ่มเซลล์เนื้องอกที่มีขนาดโตขึ้นเรื่อยๆ (Tumor)ความรุนแรงของมะเร็งปอดขึ้นอยู่กับการลุกลามแพร่กระจายตัวของเซลล์มะเร็ง จนเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการผิดปกติหลายๆ อย่างตามมา ผู้ป่วยจึงควรให้ความสนใจและเข้ารับการรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มต้น มะเร็งปอดจะมีความแตกต่างกันตามชนิดของเซลล์ที่เจริญเติบโตผิดปกติ และผลกระทบของเซลล์มะเร็งที่ผิดปกติต่ออวัยวะการทำงานของปอดในแต่ละส่วน ส่งผลให้การรักษามีความแตกต่างตามชนิดของมะเร็งปอดมะเร็งปอดมี 2 ชนิด ที่พบมากในประเทศไทย ได้แก่ มะเร็งปอดชนิดไม่ใช่เซลล์ตัวเล็ก (Non-small cell lung cancer; NSCLC) มะเร็งปอดชนิดนี้พบได้มากประมาณ 80% ของมะเร็งปอด แม้การเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งจะไม่รวดเร็วเท่ากับชนิดเซลล์ตัวเล็ก แต่ก็สามารถลุกลามไปยังอวัยวะส่วนอื่นๆ ได้เช่นกันอีกชนิดหนึ่งคือ มะเร็งปอดชนิดเซลล์ตัวเล็ก (Small cell lung cancer; SCLC) เป็นมะเร็งปอดชนิดที่พบได้น้อย ประมาณ 20% ของมะเร็งปอดทั้งหมด แต่เป็นชนิดที่มีความรุนแรงมาก โอกาสการลุกลามของเซลล์มะเร็งไปยังอวัยวะส่วนต่างๆ มีมากถึง 70% เช่น อาจลุกลามไปที่กระดูก และสมอง เป็นต้น Gene therapy หรือ พันธุกรรมบำบัด คือ การรักษามะเร็งปอดที่มุ่งเน้นไปยังต้นเหตุของมะเร็ง คือ ยีนที่มีความผิดปกติ โดยจะต้องวิเคราะห์หาความผิดปกติของยีนในเซลล์มะเร็งก่อนแล้วให้การรักษาด้วยยาที่มีความจำเพาะ ต่อยีนที่มีความผิดปกตินั้นๆ โดยการนำสารพันธุกรรม หรือที่เรียกว่า ดีเอ็นเอ ไปตรวจเพื่อดูว่ายีนส่วนไหนมีการกลายพันธุ์ และมีลักษณะของการกลายพันธุ์แบบไหนเพราะว่าการกลายพันธุ์นี้ มีผลต่อการรักษาเป็นอย่างมาก และเมื่อคนไข้ได้รับการตรวจยีนจากโปรตีนและดีเอนเอแล้ว เราก็มาพิจารณากันว่าจะใช้การรักษาวิธีแบบใด ตัวอย่างเช่น ถ้าเราพบว่ายีน A ผิดปกติก็จะใช้ยาแอนติ A รักษาเพราะว่ามะเร็งแต่ละตัวมีความผิดปกติของยีนที่ไม่เหมือนกันบางครั้งเมื่อมีความผิดปกติเกิดขึ้น เรามียาแก้ก็คือใช้แอนติสำหรับยีนตัวนั้นโดยเฉพาะ ซึ่งการรักษาแบบพันธุกรรมบำบัดนี้แตกต่างจากการรักษาแบบวิธีเดิม คือ การใช้ เคมีบำบัด หรือการทำคีโม ซึ่งเป็นการให้ยาฆ่าเซลล์มะเร็งทั้งร่างกายไม่จำเพาะเจาะจง มีผลให้เซลล์ปกติในร่างกายจึงถูกทำลายไปด้วยการรักษาในรูปแบบของ Gene therapy เป็นการให้ยารักษาเพื่อควบคุมการแบ่งตัวและการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง ยาแต่ละชนิดจะออกฤทธิ์เฉพาะเป้าหมายที่ต้องการโดยไม่ทำอันตรายเซลล์ปกติ การออกฤทธิ์อย่างจำเพาะเจาะจงที่ยีนที่ผิดปกตินี้จึงทำให้ยาประเภทนี้มีผลข้างเคียงน้อยกว่า ผู้ป่วยจึงไม่รู้สึกทรมาน ไม่มีอาการผมร่วง อาเจียน อ่อนเพลียเหมือนแบบการทำคีโมซึ่งทำลายระบบภูมิคุมกันของร่างกายด้วย ทำให้ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตหรือทำกิจกรรมทำงานได้อย่างปกติ” บางกรณีจึงเรียกการรักษานี้ว่า Targeted therapy คือการรักษาแบบตรงเป้าหมาย สำหรับท่านใดที่สนใจ อยากฟังรายละเอียดและสอบถามแพทย์เกี่ยวกับวิธีการรักษาโดยตรงนั้ สามารถติดต่อได้ที่โรงพยาบาลจุฬารัตน์ (ทุกสาขา) หรือ Call Center 1609

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ