TIJ เชิญผู้สนใจ ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาตัวชี้วัด “สายวัดรอบเอวกระบวนการยุติธรรมไทย”

ข่าวทั่วไป Thursday March 26, 2015 10:28 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--26 มี.ค.--สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (TIJ) และสถานทูตแคนาดา ขอเชิญผู้สนใจเข้าร่วมการสัมมนา หัวข้อ “สายวัดรอบเอวกระบวนการยุติธรรมไทย” (Criminal Justice Performance Indicators) ในวันอังคารที่ 31 มีนาคม 2558 เวลา 08.30 - 17.00 น. ณ ห้องบอลรูม ๓ โรงแรมคอนราด กรุงเทพฯ เพื่อร่วมตระหนักถึงความสำคัญ แลกเปลี่ยนความรู้ ปูพื้นฐาน และพัฒนาตัวชี้วัดที่สอดคล้องสำหรับกระบวนการยุติธรรมไทย ซึ่งจะเป็นเครื่องมือสำคัญในการประเมินความคืบหน้า รวมไปถึงการควบคุมเพื่อให้การดำเนินงานในด้านต่างๆ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ถูกต้อง และครบถ้วน โดยการสัมมนาได้รับความร่วมมือจากประเทศต่าง ๆ ร่วมถึง Professor Ycon Dandurand ผู้เชี่ยวชาญจากประเทศแคนนาดา ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาชุดตัวชี้วัดกระบวนการยุติธรรมทางอาญาของสหประชาชาติ (UN) เข้าร่วมเป็นวิทยากรในงานนี้ด้วย ไฮไลท์ภายในงาน มีกิจกรรมให้ผู้เข้าสัมมนาทุกคนร่วมแสดงความคิดเห็นต่อประเด็นคำถามต่างๆ ผ่านเครื่องโหวต เพื่อร่วมเป็นเสียงสะท้อนเรื่องการนำตัวชี้วัดมาใช้กับกระบวนการยุติธรรมในประเทศไทย ในการนี้จึงขอเรียนเชิญประชาชนผู้สนใจเข้าร่วมการสัมมนา ในวัน เวลา และสถานที่ดังกล่าว ทั้งนี้ หากท่านสนใจเข้าร่วมการสัมมนา สามารถแจ้งความประสงค์ผ่านทางอีเมล ruleoflaw.tij@gmail.com ภายในวันศุกร์ที่ 27 มีนาคม 2558 นี้ (ขอสงวนสิทธิ์สำหรับคนที่ได้รับการยืนยันต่อจากหน้าที่แล้วเท่านั้น ) **หมายเหตุ ในการสัมมนามีล่ามแปลภาษาต่างประเทศและภาษาไทยตลอดการสัมมนา สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม www.facebook.com/TIJ2011 และฝ่ายประสานงานโครงการ กุลนิษฐ์ รัตนคูสกุล (คุณมุก) 02 – 118 – 9400 ต่อ 481 ทั้งนี้การสัมมนาในครั้งนี้ เป็นส่วนหนึ่งของ "ชุดโครงการสัมมนาเพื่อเสริมสร้างกระบวนการยุติธรรมไทย” (Thailand Institute of Justice Series of Criminal Justice Seminar) ซึ่งมีกำหนดรจัดการสัมมนาทั้งหมด 6 หัวข้อ ภายในปีนี้ (พ.ศ.2558) ดังต่อไปนี้ หัวข้อที่ 1 สายวัดรอบเอวกระบวนการยุติธรรมไทย (Criminal Justice Performance Indicators) หัวข้อที่ 2 ข้างนอกโปร่งใส ข้างในเป็นธรรม (Accountability & Transparency)หัวข้อที่ 3 คนยุติธรรม ที่ไม่อยุติธรรม (Criminal Justice Human Resources) หัวข้อที่ 4 เข้าถึงกระบวนการยุติธรรม เข้าให้ถึงความเป็นธรรม (Access to justice) หัวข้อที่ 5 คดีล้นศาล นักโทษล้นคุก ปัญหาจุกอกกระบวนการยุติธรรมไทย (Diversion) หัวข้อที่6 แบบแปลนโครงสร้างของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม (Criminal Justice Organization & Structural Design)

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ