คอมม์วอลท์ อัพเดท เดือนเมษายน 2558 การควบคุมข้อมูลของคุณด้วยโครงสร้างพื้นฐานระบบคอมพิวเตอร์เสมือน

ข่าวเทคโนโลยี Tuesday April 21, 2015 10:18 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--21 เม.ย.--โทเทิล ควอลิตี้ พีอาร์ ปริมาณข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ทั่วโลกทั้งหมดนั้นมีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวอย่างรวดเร็วในระยะเวลาเพียงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ในความเป็นจริง ขนาดของข้อมูลอันมหาศาลที่มีอยู่ในโลกมีการเติบโตขยายเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมากจนกระทั่งปัจจุบันนี้เราวัดปริมาณจำนวนรวมของข้อมูลเป็นเซตตะไบต์ (ZB) แล้ว ซึ่ง 1 เซตตะไบต์มีขนาดเท่ากับ 1 พันล้านเทราไบต์ (Terabytes) ในปี 2552 การเก็บรวบรวมข้อมูลที่มนุษย์สร้างขึ้นมีขนาดเพียง 0.8 เซตตะไบต์ ในปี 2558 คาดว่าจำนวนดังกล่าวจะสูงกว่าเดิมถึงสิบเท่าโดยมีขนาดถึง 8 เซตตะไบต์ และภายในปี 2563 นักวิเคราะห์มีการคาดการณ์ว่าจำนวนข้อมูลจะมีการขยายสูงถึง 35 เซตตะไบต์ ซึ่งเป็นปริมาณของข้อมูลที่มีมากถึง 44 เท่าเมื่อเทียบกับปี 2552 ภายในเวลาเพียง 11 ปีเท่านั้น นอกจากนี้ยังมีการประมาณการว่าในปี 2563 ข้อมูลกว่าหนึ่งในสามที่ถูกสร้างขึ้นจากทั่วทุกมุมโลกจะมีทั้งในส่วนที่อยู่ในหรือส่งผ่านระบบคลาวด์ บรรดาองค์กรต่างๆ ในอาเซียนก็ถือเป็นส่วนหนึ่งในของแนวโน้มนี้เช่นกัน มีการประเมินว่าข้อมูลแต่ละองค์กรจะเติบโตอยู่ประมาณร้อยละ 20 ถึงร้อยละ 50 เมื่อทำการเปรียบเทียบข้อมูลในปีต่อปี ซึ่งร้อยละ 17 มีการคาดการณ์ว่าข้อมูลนี้จะขยายตัวเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 50[1] การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีที่เราใช้ในการจัดเก็บ เข้าถึงและควบคุมทิศทางข้อมูลด้วยวิธีการที่มีประสิทธิภาพได้กลายเป็นปัจจัยสำคัญที่ไม่อาจละเลยได้ สำหรับองค์กรที่ต้องการคงศักยภาพความสามารถในการแข่งขันในธุรกิจโดยไม่ต้องทนรับกับค่าใช้จ่ายที่รั่วไหลในด้านการจัดเก็บข้อมูล หลายองค์กรกำลังมองหาเทคโนโลยีระบบการทำงานแบบเสมือน (Virtualization) และมุ่งหน้าสู่การใช้ประโยชน์จากบริการแบบคลาวด์สำหรับทั้งการประมวลผลและการจัดเก็บข้อมูล ซึ่งเป็นหนึ่งวิธีที่จะช่วยลดค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในขณะที่ยังคงไว้ซึ่งความพร้อมและความสมบูรณ์ของข้อมูล แต่ในขณะที่ระบบการทำงานแบบเสมือนสามารถกำจัดปัญหาเรื่องความซับซ้อนและค่าใช้จ่ายของการใช้งานโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพนั้น การจัดเก็บข้อมูลในเครื่องเสมือนจริง (Virtual Machine) และในระบบคลาวด์อาจสร้างความเสี่ยงต่อความปลอดภัยของข้อมูล ในบทความนี้ มร.มาร์ค เบนท์คาวเวอร์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิศวกรรมระบบ ประจำอาเซียน บริษัท คอมม์วอลท์ ซิสเท็มส์ ได้กล่าวถึงความท้าทายซึ่งเกิดจากสภาพแวดล้อมในการทำงานแบบระบบคลาวด์และวิธีการที่องค์กรซึ่งมีระบบและอุปกรณ์ครบครันสามารถใช้ประโยชน์จากเซิร์ฟเวอร์ระบบเสมือนในการควบคุมดูแลข้อมูล ระบบคลาวด์และระบบการทำงานแบบเสมือน จำนวนที่เพิ่มขึ้นขององค์กรมีการรวมเอาโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศไปไว้ยังระบบคลาวด์แบบส่วนตัวและสาธารณะ ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว บริษัท การ์ทเนอร์ (Gartner) ได้มีการคาดการณ์ถึงการใช้บริการคลาวด์สาธารณะว่าจะเติบโตไปถึง 137 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ด้วยอัตราการเติบโตประจำปี (CAGR) ถึงร้อยละ 16.9 ภายในปี 2560 ในขณะที่พื้นที่ความจุของระบบคลาวด์แบบส่วนตัวถูกคาดว่าจะแซงหน้าความสามารถในการจัดเก็บข้อมูลทั่วโลกถึง 1.5 เท่า (ร้อยละ 60 ถึงร้อยละ 40) การนำระบบคลาวด์มาใช้ในองค์กรนั้นได้เข้ามาช่วยแบ่งเบาเรื่องของค่าใช้จ่ายและความซับซ้อนที่เกี่ยวข้องกับความจำเป็นในการบริหารจัดการทั้งส่วนของฮาร์ดแวร์และทรัพยากรบุคคลที่ต้องมีในการควบคุมจัดการกับปริมาณข้อมูลที่ถาโถมมาพร้อมกันอย่างมหาศาลได้ ซึ่ง ณ ตอนนี้เกินกว่าที่ โครงสร้างพื้นฐานเดิมจะรองรับได้ ระบบการทำงานแบบเสมือน (Virtualization) เป็นตัวแปรที่จะมาเปลี่ยนแปลงรูปแบบของการนำการใช้งานระบบคลาวด์มาใช้ในองค์กรเพื่อเป็นแพลตฟอร์ม และ/หรือเป็นขอบเขตของพื้นที่จัดเก็บข้อมูล ประโยชน์อันน่าทึ่งของการใช้ระบบเซิร์ฟเวอร์แบบเสมือน (Server virtualization) เป็นผลมาจากการประหยัดค่าใช้จ่ายผ่านความยืดหยุ่นทางธุรกิจและความคล่องตัวซึ่งเป็นความสามารถที่มีอยู่ในสถาปัตยกรรมระบบคลาวด์แบบส่วนตัวและสาธารณะอย่างเห็นได้ชัด จากการสำรวจทั่วโลก พบว่าผู้จัดการฝ่ายไอทีเกือบ 9 คนจากทั้งหมด 10 คน เชื่อว่าระบบการจัดการคอมพิวเตอร์เสมือน (Virtual Machine (VM) management) นั้นถือเป็นความเสี่ยงถ้าไม่มีการวางแผนที่เหมาะสม[2] ถูกต้อง และสมบูรณ์ ส่วนความสะดวกในการนำคอมพิวเตอร์เสมือน (VM) แบบใหม่มาใช้นั้นสามารถก่อให้เกิดการขยายตัวของคอมพิวเตอร์เสมือน ซึ่งทำให้เกิดความยืดเยี้อและใช้เวลานานสำหรับผู้ดูแลระบบที่ต้องคอยติดตามการทำงานของคอมพิวเตอร์เสมือน (VM) ชุดใหม่และให้เป็นไปตามนโยบายการปกป้องข้อมูลและการเก็บรักษาข้อมูลขององค์กร ความจำเป็นในการมองเห็นโครงสร้างพื้นฐานระบบคอมพิวเตอร์เสมือนจริง (Virtualized infrastructure) ทั้งหมดในระบบ ขณะที่องค์กรส่วนใหญ่ไม่มีการนำเครื่องมือการบริหารจัดการคอมพิวเตอร์เสมือนมาใช้งานในสภาพแวดล้อมของระบบเสมือน แต่เครื่องมือในการสำรองข้อมูล (Backup) และการกู้คืนข้อมูล (Recovery) ของเครื่องเสมือนจริงยังถือเป็นมาตรฐานที่จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการสร้างความมั่นใจให้ความต่อเนื่องทางธุรกิจ นอกจากนี้ การเพิ่มกระบวนการอัตโนมัติต่างๆ ที่ขับเคลื่อนและกำหนดโดยนโยบายเข้ากับเครื่องมือการสำรองข้อมูลและการกู้คืนที่มีอยู่แล้วบนแพลตฟอร์มเฉพาะตัวนั้นทำให้ง่ายสำหรับองค์กรที่จะขจัดการเพิ่มจำนวนการขยายตัวของคอมพิวเตอร์เสมือน อย่างไรก็ตาม ด้วยความพร้อมในปัจจุบันของการมีเครื่องมือเฉพาะสำหรับแต่ละลักษณะงานและซอฟต์แวร์ด้านการบริหารจัดการในตลาดได้เข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการการสำรองและกู้คืนข้อมูลของระบบคอมพิวเตอร์เสมือน (VM backup and recovery) รวมถึงการนำเสนอการจัดการระบบคลาวด์ที่สมบูรณ์มากขึ้นไปในเวลาเดียวกัน เพื่อเป็นการช่วยให้องค์กรบรรลุถึงความคล่องตัวมากขึ้นในการใช้โครงสร้างพื้นฐานคอมพิวเตอร์เสมือนจริงในสภาพแวดล้อมแบบระบบคลาวด์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่า จึงพึงควรคำนึงถึงข้อควรปฏิบัติพื้นฐานเกี่ยวกับระบบการจัดการคอมพิวเตอร์เสมือน (Virtual Machine management) ทั้ง 3 ข้อดังนี้ 1. เลือกเครื่องมือที่เหมาะสมกับลักษณะงาน คอมพิวเตอร์เสมือน (VM) ทุกชุดไม่ได้ถูกสร้างขึ้นในลักษณะเดียวกัน ฉะนั้นจึงไม่สามารถที่จะช่วยปกป้องได้เหมือนกันทุกประการ ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญยิ่งต่อองค์กรที่จะเลือกวิธีการปกป้องข้อมูลที่มีประสิทธิภาพและคุ้มค่าสุดเพื่อตอบโจทย์เรื่องการกู้คืนข้อมูล (Recovery) วิธีการสำรองข้อมูลของเครื่องเสมือนจริง (VM backup) มีหลายวิธีที่สอดคล้องกับการใช้งานแต่ละกรณี อย่างเช่น การใช้งานการสำรองข้อมูลแบบสตรีมมิ่งโดยไม่ต้องใช้เอเจ้นต์ (Agentless streaming backups) ฮาร์ดแวร์ สแน็ปชอต (Hardware snapshots) การโอนย้ายเครื่องเสมือนจริง (VM replication) ระบบขจัดข้อมูลซ้ำแบบองค์รวม (Global deduplication)การโอนย้ายข้อมูลโดยขจัดข้อมูลซ้ำเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของระบบเครือข่าย WAN (WAN accelerated dedupe-aware replication) และอื่นๆ ดังนั้นบริษัทควรมองหาโซลูชันที่สามารถปรับสมดุลระหว่างค่าใช้จ่ายและความจำเป็นในการบริหารจัดการกับการกู้คืนข้อมูล VM รวมถึงการความจำเป็นเก็บรักษาข้อมูล ซึ่งทางที่ดีนั้นควรจะดำเนินการภายใต้วิธีการเพียงหนึ่งเดียวที่สามารถปรับขยายขีดความสามารถให้เหมาะสมกับแต่ละข้อกำหนดและความต้องการนั้นๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด 2. การลด การนำกลับมาใช้ใหม่ และการเรียกคืนทรัพยากร VM องค์กรจะได้รับประโยชน์จากการลงทุนในระบบ VM โดยการควบคุมการแพร่กระจายของข้อมูลที่มีจำนวนมากขึ้นของ VM การบริหารจัดการต้นทุนในการซื้อซอฟต์แวร์ และการลดค่าใช้จ่ายทางด้านฮาร์ดแวร์ นอกจากนี้นโยบายการควบคุมดูแลที่เหมาะสมยังสามารถกำหนดทั้งวิธีการที่ VM ถูกสร้างขึ้นและปริมาณของทรัพยากรที่ถูกใช้ ทีมผู้ดูแลระบบไอทียังสามารถจัดการกระบวนการตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำในรูปแบบอัตโนมัติได้ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น อีกทั้งผู้ใช้ก็สามารถกำหนดวงจรการทำงานของ VM ได้ ส่วนระบบ VM ที่มีข้อมูลสำคัญจัดเก็บอยู่แต่ยังอยู่ในสถานะที่ไม่มีการใช้งาน (inactive) สามารถดำเนินการต่างๆ ได้ เช่น การสำรองข้อมูลเก็บไว้ การจัดเก็บคลังอาร์ไคฟ์หรือการลบออกได้อย่างปลอดภัยสำหรับการเรียกคืนในภายหลังได้หากจำเป็น ทั้งหมดนี้จะช่วยเพิ่มพื้นที่ที่สำคัญในส่วนหน่วยประมวลผลกลาง (CPU) หน่วยความจำ การจัดเก็บข้อมูล และทรัพยากรเครือข่ายที่จะช่วยปรับปรุงการใช้ประโยชน์โดยรวมของโครงสร้างพื้นฐานคอมพิวเตอร์เสมือนได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3. สร้างระบบคลาวด์ส่วนตัวหรือไฮบริดในแบบที่ต้องการ การบริหารจัดการทรัพยากรระบบคลาวด์ให้อยู่ในรูปแบบอัตโนมัติทำให้ธุรกิจสามารถเพิ่มความคล่องตัวและความยืดหยุ่นได้ อีกทั้งยังสามารถเพิ่มประสิทธิภาพให้กับกระบวนการสำหรับการจัดเตรียม การบริหารจัดการ การปกป้อง และการปลดประจำการระบบ VM ซึ่งธุรกิจนั้นๆ สามารถปรับปริมาณงาน VM ที่นำมาใช้ได้อย่างรวดเร็วบนหลากหลายระบบการทำงานแบบเสมือนและแพลตฟอร์มคลาวด์ นอกจากนี้ยังสามารถใช้ประโยชน์จากการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อการกู้ข้อมูลคืนกรณีเกิดความเสียหายจากภัยพิบัติ (Disaster recovery) ได้เร็วขึ้นและง่ายขึ้น พร้อมทั้งลดความซับซ้อนในกระบวนการพัฒนาแอพลิเคชั่นและการทดสอบการเรียกคืนทรัพยากรที่อาจไม่ได้มีการใช้งาน ในขณะที่องค์กรนำระบบคลาวด์ส่วนตัวและไฮบริดมาใช้เพื่อเพิ่มความคล่องตัวทางธุรกิจนั้น คอมม์วอลท์ ซิมพานา โซลูชั่น เซต ชุดใหม่ (CommVault Simpana Solution Set) สามารถเพิ่มความเร็วในการนำระบบคลาวด์มาใช้ รวมไปถึงการทำศูนย์ข้อมูลให้ทันสมัยขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการส่งมอบนวัตกรรมซอฟต์แวร์เจเนอเรชั่นถัดไป ซึ่งชุดโซลูชั่นจะช่วยให้ผู้ดูแลระบบเครื่องเสมือนและผู้ใช้สามารถสร้าง ปกป้อง และเพิ่มประสิทธิภาพของโครงสร้างพื้นฐานคลาวด์ ด้วยการรองรับความสามารถในการเข้าถึงแบบบริการด้วยตนเองและการทำงานแบบเคลื่อนที่ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น การนำกลยุทธ์ระบบการทำงานแบบเสมือนจริงสำหรับการทำงานในสภาพแวดล้อมแบบคลาวด์ไม่ใช่เป็นเรื่องที่ง่ายเสมอไป แต่ถ้ามีการบริหารจัดการอย่างถูกต้องด้วยเครื่องมือที่เหมาะสมแล้วองค์กรจะสามารถปกป้อง บริหารจัดการ และเพิ่มมูลค่าของข้อมูลทางธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพและง่ายขึ้นท่ามกลางการเพิ่มขึ้นของข้อมูลและการปฏิบัติตามข้อกำหนดที่ถาโถมเข้ามา ในขณะเดียวกันกับการลดค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกิดขึ้น เผยแพร่โดย บริษัท โทเทิล ควอลิตี้ พีอาร์ (ประเทศไทย) จำกัด โทร. 02 260 5820

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ