6 พ.ค. นี้ เตรียมเปิดรับฟังความเห็นเลื่อนจ่ายเงินประมูล 4 ประเด็นพร้อมรายงานประเมินผลกระทบ

ข่าวเทคโนโลยี Monday April 27, 2015 16:13 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--27 เม.ย.--NBTC Rights นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ หนึ่งในคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า วันจันทร์ที่ 27 เม.ย. นี้ ในการประชุมคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์(กสท.) ครั้งที่ 14/2558 มีวาระการประชุมสำคัญน่าจับตา ได้แก่ รายงานการประเมินผลกระทบจากการเลื่อนเวลาชำระเงินค่าธรรมเนียมใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เพื่อการประกอบกิจการโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล ประเภทบริการทางธุรกิจระดับชาติ ภายหลัง กสทช. มีมติเห็นชอบหลักการให้เลื่อนการชำระเงินค่าประมูลออกไป 1 ปี โดยนำข้อสังเกตของกรรมการ กสทช. ไปรับฟังความคิดเห็นสาธารณะแบบเร่งรัดใน 15 วัน ใน 4ประเด็น ได้แก่ 1.เลื่อนการชำระเงินค่าประมูลทีวีดิจิตอลออกไป 1 ปี เฉพาะงวดที่ 2 เท่านั้น หรือ 2.เลื่อนการชำระเงินค่าประมูลทีวีดิจิตอลของทุกงวดออกไป 1 ปี 2.การคิดดอกเบี้ยระหว่างเลื่อนการชำระการประมูล โดยคิดอัตราดอกเบี้ยตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย และ 4.เงื่อนไขเพิ่มเติมกำหนดให้ผู้ประกอบการต้องทำการช่วยเหลือผู้บริโภคด้วย นางสาวสุภิญญา กล่าวเพิ่มเติมว่า นอกจากปัจจัยทางการเมืองที่ส่งผลต่อสภาพเศรษฐกิจ บรรยากาศสิทธิเสรีภาพสื่อที่ลดลงแล้ว ได้ส่งผลต่อทีวีดิจิตอลภายหลังการประมูลก็คือเหตุปัญหาความล่าช้าในเรื่องการวางโครงข่ายทีวีดิจิตอลที่ไม่เป็นไปตามเวลาที่กำหนดไว้ อาทิ อสมท.หรือกรมประชาสัมพันธ์ที่ให้เหตุผลว่าโครงข่ายล่าช้าเพราะต้องรอไฟเขียวจากผู้บริหารชุดใหม่หลังการเมืองเปลี่ยนแปลง อีกทั้งคุณภาพการบริการโครงข่ายอื่นๆก็มีปัญหาความไม่เสถียรในปีแรก ตามข้อร้องเรียนของช่อง แต่ กสทช. ก็ยืดหยุ่นให้กับหน่วยงานรัฐในการวางโครงข่าย ซึ่งไม่เป็นธรรมกับภาคเอกชนที่เช่าโครงข่ายในราคาแพงด้วย จึงเป็นเหตุผลหนึ่งที่ กสทช. เลื่อนการชำระเงินประมูลงวดสองไป 1 ปี แบบมีเงื่อนไข เพื่อพยุงความอยู่รอดของรายใหม่ๆให้มีศักยภาพสามารถยืนแข่งขันได้ในตลาดต่อไป “แต่ทีวีดิจิตอลทุกช่องก็ต้องพิสูจน์ตัวเองด้วยการเป็นทางเลือกใหม่ที่มีคุณภาพของคนดู ยึดจรรยาบรรณสื่อ และเคารพผู้บริโภคมากขึ้น อย่างไรก็ตาม มติเรื่องนี้ยังไม่มีผล จนกว่าร่างประกาศและรายงานผลกระทบฯ จะผ่านการรับฟังความเห็นสาธารณะ ผ่านบอร์ดใหญ่ กสทช. วันที่ 20 พ.ค. และลงในราชกิจจานุเบกษาก่อน ระหว่างนี้ ฝ่ายต่างๆมาร่วมแสดงความเห็นได้ในวันที่ 6 พ.ค.” นางสาวสุภิญญา กล่าว วาระอื่นๆ น่าสนใจจับตา ได้แก่ บันทึกความเข้าใจระหว่างสำนักงาน กสทช. กับ กองทัพบก เรื่อง ความร่วมมือในการสื่อสารเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการรับส่งสัญญาณดิจิตอลทีวี วาระโครงการความร่วมมือการผลิตข่าวในพระราชสำนัก และการถ่ายทอดสดงานพระราชพิธี และรัฐพิธี สำหรับการให้บริการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ของสำนักงานรวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย (ทรท.) ประจำปี 2558 วาระสรุปผลการรับฟังความคิดเห็นต่อ(ร่าง) ประกาศ เรื่องแผนความถี่วิทยุสำหรับกิจการโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล วาระแนวทางการพิจารณารายได้ที่นำมาคำนวณค่าธรรมเนียมใบอนุญาตรายปี(กรณีรายได้ส่วนแบ่งจากการร่วมธุรกิจ และรายได้บริการระหว่างใบอนุญาตภายในนิติบุคคลเดียวกัน) วาระการสอบทานการชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตรายปี (กรณีซับซ้อน) รอบปีบัญชี ๒๕๕๖ พร้อมกันนี้ คณะกรรมาธิการวิสามัญ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ได้เชิญ กรรมการ กสท. เข้าร่วมประชุมเพื่อหารือและชี้แจงเรื่องการดำเนินงานช่วงที่ผ่านมา ในวันพุธที่ 29 เม.ย.นี้ และวาระเดิมที่ยังคงค้างการพิจารณา คือเรื่องแนวทางการอนุญาตสำหรับการให้บริการที่มีความคาบเกี่ยวระหว่างกิจการโทรคมนาคม และกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ .6 พ.ค. นี้ เตรียมเปิดรับฟังความเห็นเลื่อนจ่ายเงินประมูล 4ประเด็นพร้อมรายงานประเมินผลกระทบ นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ หนึ่งในคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า วันจันทร์ที่ 27 เม.ย. นี้ ในการประชุมคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์(กสท.) ครั้งที่ 14/2558 มีวาระการประชุมสำคัญน่าจับตา ได้แก่ รายงานการประเมินผลกระทบจากการเลื่อนเวลาชำระเงินค่าธรรมเนียมใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เพื่อการประกอบกิจการโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล ประเภทบริการทางธุรกิจระดับชาติ ภายหลัง กสทช. มีมติเห็นชอบหลักการให้เลื่อนการชำระเงินค่าประมูลออกไป 1 ปี โดยนำข้อสังเกตของกรรมการ กสทช. ไปรับฟังความคิดเห็นสาธารณะแบบเร่งรัดใน 15 วัน ใน 4ประเด็น ได้แก่ 1.เลื่อนการชำระเงินค่าประมูลทีวีดิจิตอลออกไป 1 ปี เฉพาะงวดที่ 2 เท่านั้น หรือ 2.เลื่อนการชำระเงินค่าประมูลทีวีดิจิตอลของทุกงวดออกไป 1 ปี 2.การคิดดอกเบี้ยระหว่างเลื่อนการชำระการประมูล โดยคิดอัตราดอกเบี้ยตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย และ 4.เงื่อนไขเพิ่มเติมกำหนดให้ผู้ประกอบการต้องทำการช่วยเหลือผู้บริโภคด้วย นางสาวสุภิญญา กล่าวเพิ่มเติมว่า นอกจากปัจจัยทางการเมืองที่ส่งผลต่อสภาพเศรษฐกิจ บรรยากาศสิทธิเสรีภาพสื่อที่ลดลงแล้ว ได้ส่งผลต่อทีวีดิจิตอลภายหลังการประมูลก็คือเหตุปัญหาความล่าช้าในเรื่องการวางโครงข่ายทีวีดิจิตอลที่ไม่เป็นไปตามเวลาที่กำหนดไว้ อาทิ อสมท.หรือกรมประชาสัมพันธ์ที่ให้เหตุผลว่าโครงข่ายล่าช้าเพราะต้องรอไฟเขียวจากผู้บริหารชุดใหม่หลังการเมืองเปลี่ยนแปลง อีกทั้งคุณภาพการบริการโครงข่ายอื่นๆก็มีปัญหาความไม่เสถียรในปีแรก ตามข้อร้องเรียนของช่อง แต่ กสทช. ก็ยืดหยุ่นให้กับหน่วยงานรัฐในการวางโครงข่าย ซึ่งไม่เป็นธรรมกับภาคเอกชนที่เช่าโครงข่ายในราคาแพงด้วย จึงเป็นเหตุผลหนึ่งที่ กสทช. เลื่อนการชำระเงินประมูลงวดสองไป 1 ปี แบบมีเงื่อนไข เพื่อพยุงความอยู่รอดของรายใหม่ๆให้มีศักยภาพสามารถยืนแข่งขันได้ในตลาดต่อไป “แต่ทีวีดิจิตอลทุกช่องก็ต้องพิสูจน์ตัวเองด้วยการเป็นทางเลือกใหม่ที่มีคุณภาพของคนดู ยึดจรรยาบรรณสื่อ และเคารพผู้บริโภคมากขึ้น อย่างไรก็ตาม มติเรื่องนี้ยังไม่มีผล จนกว่าร่างประกาศและรายงานผลกระทบฯ จะผ่านการรับฟังความเห็นสาธารณะ ผ่านบอร์ดใหญ่ กสทช. วันที่ 20 พ.ค. และลงในราชกิจจานุเบกษาก่อน ระหว่างนี้ ฝ่ายต่างๆมาร่วมแสดงความเห็นได้ในวันที่ 6 พ.ค.” นางสาวสุภิญญา กล่าว วาระอื่นๆ น่าสนใจจับตา ได้แก่ บันทึกความเข้าใจระหว่างสำนักงาน กสทช. กับ กองทัพบก เรื่อง ความร่วมมือในการสื่อสารเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการรับส่งสัญญาณดิจิตอลทีวี วาระโครงการความร่วมมือการผลิตข่าวในพระราชสำนัก และการถ่ายทอดสดงานพระราชพิธี และรัฐพิธี สำหรับการให้บริการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ของสำนักงานรวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย (ทรท.) ประจำปี 2558 วาระสรุปผลการรับฟังความคิดเห็นต่อ(ร่าง) ประกาศ เรื่องแผนความถี่วิทยุสำหรับกิจการโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล วาระแนวทางการพิจารณารายได้ที่นำมาคำนวณค่าธรรมเนียมใบอนุญาตรายปี(กรณีรายได้ส่วนแบ่งจากการร่วมธุรกิจ และรายได้บริการระหว่างใบอนุญาตภายในนิติบุคคลเดียวกัน) วาระการสอบทานการชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตรายปี (กรณีซับซ้อน) รอบปีบัญชี ๒๕๕๖ พร้อมกันนี้ คณะกรรมาธิการวิสามัญ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ได้เชิญ กรรมการ กสท. เข้าร่วมประชุมเพื่อหารือและชี้แจงเรื่องการดำเนินงานช่วงที่ผ่านมา ในวันพุธที่ 29 เม.ย.นี้ และวาระเดิมที่ยังคงค้างการพิจารณา คือเรื่องแนวทางการอนุญาตสำหรับการให้บริการที่มีความคาบเกี่ยวระหว่างกิจการโทรคมนาคม และกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ