ปวดฟันคุด ควรรีบถอนก่อนเกิดผลเสีย

ข่าวทั่วไป Monday May 25, 2015 16:56 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--25 พ.ค.--niikimedia “ฟันคุด” เป็นฟันที่ใครๆไม่อยากให้เกิดขึ้นกับช่องปากของตัวเอง เพราะฟังจากประสบการณ์ของผู้ที่เคยเจ็บปวดทรมานมาหลายคน แต่ทราบหรือไม่ว่าฟันคุดเจ้าปัญหานี้มีผลเสียมากกว่าความเจ็บปวดหากเราไม่รีบถอนออก วันนี้เคล็ดลับสุขภาพดีจะมาไขข้อข้องใจเกี่ยวกับฟันคุดให้ได้ทราบกันอย่างทะลุโปร่งใสกันเลยค่ะ โดย ทันตแพทย์วิทยา ซื่อสัตย์ ศูนย์ทันตกรรมวัชรพล VDC Dental Ckinic ให้ความรู้ว่าคนส่วนใหญ่ยังเข้าใจผิดคิดว่า ฟันคุด (Impacted tooth) คือฟันที่ไม่สามารถขึ้นได้ตาม ปกติในช่องปากเท่านั้น แต่ที่ถูกต้อง ฟันที่ไม่สามารถขึ้นได้เรียกว่า ซึ่งสามารถแยกได้เป็น ฟันคุด กับ ฟันที่ฝังตัวในกระดูกขากรรไกรใต้เหงือก ซึ่งฟันที่ฝังตัว นี้จะอยู่นิ่ง อาจไม่ปวด ยกเว้นกดทับแนวเส้นประสาท ไม่มีแรงที่งอกขึ้นในช่องปาก ซึ่งตรงข้ามกับฟันคุด ที่จะพยายามงอกขึ้น แต่ไม่สามารถขึ้นได้ เพราะฟันเอียงมีการชนกระทบ (Impact) กับฟันข้างเคียง และมีพื้นที่กระดูกขากรรไกรไม่เพียงพอให้ฟันงอกขึ้นได้ ฟันซี่ที่พบว่าเป็นฟันคุดบ่อยที่สุด คือ ฟันกรามล่างซี่ที่สาม ซึ่งอยู่ด้านในสุดของกระดูกขากรรไกรล่าง บางทีจะเรียกว่า ฟันกรามล่างซี่สุดท้าย เป็นฟันที่งอกหลังสุด โดยปกติแล้วฟันซี่นี้จะขึ้นในช่วงอายุประมาณ 16-25 ปี แต่ฟันซี่นี้มักสร้างปัญหาเพราะเป็นฟันคุด คนที่ไม่เคยรู้จักความทุกข์เป็นอย่างไรก็จะรับรู้ได้ในครั้งนี้ เพราะการปวดฟันเป็นความทุกข์ ฟันซี่อื่นก็อาจพบเป็นฟันคุดได้ แต่พบน้อย ลักษณะแผลผ่าตัดฟันคุด ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ภายหลังการผ่าฟันคุด ได้แก่ อาการติดเชื้อหลังผ่าตัด มักพบในกรณีที่ฟันคุดอยู่ลึก ใช้เวลาในการทำนาน หรือคนไข้ไม่ดูแลรักษาความสะอาดแผลผ่าตัด แพ้ยาที่ใช้รับประทาน อาจเพื่อแก้ปวด, แก้อักเสบ หรือลดบวม ควรหยุดยาและรีบกลับมาพบทันตแพทย์โดยเร็วเลือดออกเยอะ ซึ่งคงต้องดูเป็นกรณีไปเช่น ฟันคุดอยู่ใกล้เส้นเลือดมาก หรือไหมที่เย็บไว้อาจจะหลุดเป็นต้น ควรรีบกลับมาพบทันตแพทย์ อาการชาริมฝีปาก หลังผ่าตัด เนื่องจากฟันคุดอยู่ใกล้หรือรากของฟันคุดเกี่ยวอยู่กับเส้นประสาทที่มาเลี้ยงฟัน การถอนฟันคุดมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อป้องกันการอักเสบของเหงือกที่ปกคลุมฟัน เพราะจะมีเศษ อาหารเข้าไปติดอยู่ใต้เหงือก แล้วไม่สามารถทำความสะอาดได้ เชื้อแบคทีเรียที่มาสะสมอยู่จะทำให้เหงือกอักเสบ ปวดและเป็นหนอง ถ้าทิ้งไว้การอักเสบจะลุกลามไปใต้คาง หรือใต้ลิ้น ซึ่งจะทำให้เกิดการแพร่กระจายของเชื้อโรคไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกายได้ง่าย นับว่าเป็นอันตรายอย่างยิ่ง มีผู้ป่วยจำนวนไม่น้อยเลยที่ต้องเข้านอนโรงพยาบาล เพื่อรักษาการติดเชื้อจากฟันคุดนี้ 2. เพื่อป้องกันฟันข้างเคียงผุ ซอกฟันระหว่างฟันคุดกับฟันกรามซี่ ที่สองที่อยู่ชิดกันนั้น ทำความสะอาดได้ยาก เพราะเป็น เล็กและแคบ เศษอาหารจะติดค้างอยู่ทำให้เกิดฟันผุได้ทั้งสองซี่ 3.เพื่อป้องกันการละลายตัวของกระดูก แรงดันจากฟันคุดที่ พยายามดันขึ้นมา จะทำให้กระดูกรอบรากฟัน หรือรากฟันข้างเคียงถูกทำลายไป 4.เพื่อป้องกันการเกิดถุงน้ำหรือเนื้องอก ฟันคุดที่ทิ้งไว้นานไปจะ ก่อปัญหา อาจเกิดเป็นถุงน้ำ แล้วโตขึ้นโดยไม่แสดงอาการเลย จนในที่สุดเกิดเป็นเนื้องอกทำลายฟันซี่ข้างเคียง และกระดูกรอบ ๆ บริเวณนั้น 5.เพื่อป้องกันกระดูกขากรรไกรหัก เนื่องด้วยการมีฟันคุดฝังอยู่ จะทำให้กระดูกบริเวณนั้นบางกว่าที่อื่น เกิดเป็นจุดอ่อน เมื่อเวลาได้รับอุบัติเหตุ หรือกระทบกระแทก กระดูกขากรรไกรบริเวณนั้นจะหักได้ง่าย 6.วัตถุประสงค์อื่น ๆ เช่น ในการจัดฟัน ต้องถอนฟันกรามซี่ที่ สาม ออกเสียก่อนเพื่อให้ง่ายต่อการเคลื่อนฟันซี่อื่น ๆ อาการที่พบได้หลังการผ่าตัดฟันคุดคือ จะมีอาการปวดและบวมบริเวณแก้มด้านที่ทำผ่า ตัดสัก 4-6 วัน อ้าปากได้น้อยลง แต่ยาแก้ปวดและยาปฏิชีวนะที่ทันตแพทย์จ่ายให้จะบรรเทาอาการลงได้ ผลข้างเคียงแทรกซ้อนของการผ่าตัดฟันคุดมีน้อย ที่พบได้ เช่น เลือดไหลจากแผลผ่าตัดมากผิดปกติ มีอาการชาของริมฝีปากล่างนานผิดปกติ ถ้ามีอาการเหล่านี้ควรรีบกลับไปพบทันตแพทย์ทันที แต่ผลข้างเคียงแทรกซ้อนเหล่านี้พบได้น้อยมาก ผลเสียของการไม่เอาฟันคุดออกในอายุอันควรคือ อาจเกิดการติดเชื้อแบบฉับพลัน หรือติดเชื้อแบบเรื้อรัง เป็นๆหายๆ ซึ่งคงไม่เป็นการดีที่จะปล่อยหนองหรือการอักเสบนั้นทิ้งไว้ ฟันคุดถ้าฝังอยู่ในขากรรไกรมักมีถุงหุ้มฟันอยู่ ซึ่งอาจพัฒนาไปเป็นถุงน้ำได้หากเก็บไว้ ปวดฟันฟันซี่ที่ติดกันผุและอาจเสียหายไปด้วย เพราะฟันคุดเอียงมาชนทำให้ยากต่อการทำความสะอาดเป็นจุดอ่อนของขากรรไกรกรณีได้รับอุบัติเหตุ อาจทำให้เกิดขากรรไกรหักได้
แท็ก ข้องใจ  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ