ผลวิจัยใหม่ชี้ สายการบินยักษ์ใหญ่แห่งสหรัฐฯ ได้รับสิทธิประโยชน์เป็นมูลค่าถึง7.148 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ

ข่าวทั่วไป Friday June 5, 2015 15:57 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--5 มิ.ย.--โทเทิล ควอลิตี้ พีอาร์ งานวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนโดยสายการบินเอทิฮัด สายการบินแห่งชาติของประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ได้วัดมูลค่าสิทธิประโยชน์จากรัฐบาลและศาลได้ให้การอนุมัติรวมถึงให้สัมปทานแก่ทั้งสามสายการบินยักษ์ใหญ่ของสหรัฐฯ ได้แก่ สายการบิน เดลต้าแอร์ไลน์ สายการบิน ยูไนเต็ดแอร์ไลน์ และอเมริกันแอร์ไลน์กรุ๊ปรวมถึงสายการบินอื่นๆที่ได้ควบรวมตัวกัน สายการบินยักษ์ใหญ่แห่งสหรัฐฯเหล่านี้ได้รับสิทธิประโยชน์เป็นมูลค่าถึง 7.148 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งตั้งแต่ปี2543 จำนวนเงินกว่า 7 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ ได้ ช่วยให้สายการบินทั้งสามรอดพ้นจากภาวะเกือบล้มละลายและผงาดขึ้นมาเป็นผู้นำอุตสาหกรรมเฉกเช่นทุกวันนี้ ทำให้แต่ละสายการบินได้สร้างกำไรหลายพันล้าน เมื่อปีที่ผ่านมาสามสายการบินยักษ์ใหญ่ของสหรัฐฯ มีกำไรสุทธิโดยรวมเป็นจำนวนเงิน 8.97 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ 45 ของ1.99 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งเป็นกำไรโดยรวมของอุตสาหกรรมสายการบินโลก แนวโน้มดังกล่าวนี้ยังได้ส่งผลต่อมาในปี 2558 เมื่อ 3 สายการบินยักษ์ใหญ่ของสหรัฐฯได้ประกาศถึงผลกำไรสุทธิที่แข็งแกร่งในไตรมาสแรกของปี บริษัทที่ปรึกษาระหว่างประเทศ The Risk Advisory Group ผู้จัดทำวิจัยให้สายการบินเอทิฮัด ได้ระบุถึงสิทธิประโยชน์หลักที่สำคัญ มาจากการปรับโครงสร้างภายใต้มาตรา 11 ของประมวลกฎหมายการล้มละลายธนาคารกลางสหรัฐซึ่งให้ผลประโยชน์เป็นจำนวนเงินอย่างน้อย 3.546 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ พร้อมอนุมัติกองทุนช่วยเหลือเงินบำเหน็จบำนาญเพิ่มเติมเป็นจำนวนรวม 2.94 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ จากบริษัทประกันผลประโยชน์เงินบำเหน็จบำนาญของรัฐบาลสหรัฐฯ (Pension Benefit Guaranty Corporation) สายการบินเอทิฮัดได้ปฏิเสธข้อกล่าวหาจากเดลต้า แอร์ไลน์ ยูไนเต็ดแอร์ไลน์ และอเมริกันแอร์ไลน์กรุ๊ป ถึงการได้รับเงินอุดหนุน ซึ่งได้กล่าวต่อสาธารณชนว่าสายการบินได้รับหุ้นทุน และเงินกู้ยืมจากผู้ถือหุ้นเพียงหนึ่งราย ซึ่งก็คือรัฐบาลแห่งอาบู ดาบี ซึ่งเป็นเมืองใหญ่ที่สุดและเป็นเมืองหลวงของยูเออี อีกด้วย มร.จิม คัลลาฮาน ที่ปรึกษาทั่วไปและเลขานุการบริษัทของสายการบินเอทิฮัด กล่าวถึงการเผยแพร่ผลการวิจัย จาก The Risk Advisory Group ว่า “เราไม่ได้มีข้อกังขาถึงความชอบธรรมทางกฎหมายต่อผลประโยชน์ดังกล่าวที่รัฐบาลสหรัฐฯ และศาลล้มละลายได้ให้ต่อบรรดาสายการบินดังกล่าว เราเพียงต้องการเน้นย้ำถึงข้อเท็จจริงที่ว่าสายการบินของสหรัฐฯ ได้รับผลประโยชน์มาอย่างต่อเนื่องจากระบอบกฏหมายที่เอื้อประโยชน์ทั้งที่ผ่านมาและต่อๆมา อาทิ กฏหมายล้มละลายเพื่อฟื้นฟูกิจการ การได้รับประกันเงินช่วยเหลือบำเหน็จบำนาญ และสิทธิประโยชน์อื่นๆ สิทธิประโยชน์ดังกล่าวที่มีให้เพื่อสายการบินของสหรัฐฯ เท่านั้น ก่อให้เกิดความบิดเบือนของสภาวะตลาดเป็นอันมากซึ่งก็เป็นตลาดที่สายการบินเอทิฮัดต้องแข่งขันอยู่” มร. คัลลาฮาน กล่าวถึงตัวเลขที่แสดงในผลวิจัยของ The Risk Advisory Group ว่าได้ถูกศึกษาและค้นคว้าอย่างระมัดระวัง โดยหลักฐานหาได้จากสาธารณะพร้อมคำแถลงการณ์ที่เชื่อถือได้ มร. คัลลาฮาน ได้อ้างอิงถึง บทสัมภาษณ์เมื่อปี 2554 ที่ได้รับการเผยแพร่โดย National Public Radio ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งมร. พีท รองประธานกรรมการสายการบินคอนติเนนตัล แอร์ไลน์ ยกคำพูดมา มร. พีทได้ว่า “การล้มละลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมการบิน เป็นเพียงวิธีการหนึ่งที่จะรีไฟแนนซ์ธุรกิจ เป็นก้าวหนึ่งทางการเงินที่ทำให้คุณสามารถดำเนินการอยู่ในธุรกิจได้ และให้เวลาในการเจรจาต่อรองกับผู้ให้กู้รายอื่นๆ” บริษัทที่ปรึกษาระหว่างประเทศ The Risk Advisory Groupระบุถึงผู้ได้รับประโยชน์รายใหญ่ภายใต้การปรับโครงสร้างตามมาตรา 11 และการอนุมัติงบประมาณจากบริษัทประกันผลประโยชน์เงินบำเหน็จบำนาญ (Pension Benefit Guaranty Corporation) : - สายการบิน ยูไนเต็ดแอร์ไลน์ ได้รับสิทธิประโยชน์โดยรวมประมาณ 4.44 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ - สายการบิน เดลต้า แอร์ไลน์ ที่ได้รับสิทธิประโยชน์โดยรวมประมาณ 15.02 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ - สายการบิน อเมริกันแอร์ไลน์ได้รับสิทธิประโยชน์โดยรวมประมาณ 1.205 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ ตัวเลขเหล่านี้แสดงให้เห็นถึง : - สายการบิน ยูไนเต็ดแอร์ไลน์ ได้รับการบรรเทาหนี้จากการล้มละลายเป็นจำนวนโดยรวม 2.6 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ - สายการบิน เดลต้าแอร์ไลน์ ได้รับการบรรเทาหนี้จากการล้มละลายเป็นจำนวนโดยรวม 7.9 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ และสิทฺธิประโยชน์จากการยกเลิกเงินบำเหน็จบำนาญ (pension termination benefits) เป็นจำนวนโดยรวม 4.55 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ - สายการบินอเมริกันแอร์ไลน์ ได้รับการบรรเทาหนี้จากการล้มละลายเป็นจำนวนโดยรวม 1.56 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ และสิทฺธิประโยชน์จากการยกเลิกเงินบำเหน็จบำนาญ (pension termination benefits) เป็นจำนวนโดยรวม 8.08 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ตัวเลขเหล่านี้ยังรวมถึงการปรับโครงสร้างและเงินช่วยเหลือต่อสายการบินอื่นๆของสหรัฐฯ ตั้งแต่ถูกรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของสายการบิน เดลต้า แอร์ไลน์ สายการบิน ยูไนเต็ดแอร์ไลน์ และสายการบินอเมริกันแอร์ไลน์ มร. คัลลาฮาน กล่าวถึงคำกล่าวหาโดยสายการบิน ยูไนเต็ดแอร์ไลน์ สายการบิน เดลต้า แอร์ไลน์ และสายการบินอเมริกันแอร์ไลน์ว่าในขณะนี้ถูกคุกคามจากการดำเนินการโดยสายการบินเอทิฮัดจึงไม่มีมูลความจริง แต่เป็นการพยายามที่จะกีดขวางการแข่งขันที่มีคุณภาพสูงขึ้นกว่าเดิม “ไม่มีหลักฐานใดๆเลยว่าสายการบินเอทิฮัดกระทำการอันร้ายแรงต่อสามสายการบินยักษ์ใหญ่ของสหรัฐฯ” “นโยบายโอเพ่นสกายส์ของสหรัฐฯ ได้ส่งมอบทางเลือกที่มากและดียิ่งขึ้นแก่ลูกค้าหลายล้านคน สายการบินมากขึ้นเดินทางเข้าและออกจากสหรัฐฯ สร้างผลกำไรให้สายการบินยักษ์ใหญ่ของสหรัฐฯ ขณะนี้เป็นเวลาที่ต้องคำนึงถึงแก่นแท้สาระว่า – นโยบายกำลังโอเพ่นสกายส์ได้ส่งมอบผลประโยชน์ตามจุดประสงค์ที่ตั้งไว้แล้ว ซึ่งทุกฝ่ายๆถือเป็นผู้ชนะ” โปรดเยี่ยมชม www.KeepTheSkiesOpen.com สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับแคมเปญโอเพ่นสกายส์ของสายการบินเอทิฮัด

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ