รายงานสถานะหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนเมษายน 2558 และผลการบริหารจัดการหนี้ภาครัฐที่ดำเนินการโดยสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ประจำเดือนเมษายน 2558

ข่าวทั่วไป Thursday June 18, 2015 11:31 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--18 มิ.ย.--กลุ่มสารนิเทศการคลัง กระทรวงการคลัง นายธีรัชย์ อัตนวานิช รองผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะในฐานะโฆษกสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ได้แถลงข่าวการดำเนินงานของสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) ดังนี้ 1. รายงานหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนเมษายน 2558 ยอดหนี้สาธารณะคงค้าง ณ 30 เมษายน 2558 มีจำนวนทั้งสิ้น 5,775,710.53 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 43.46 ของ GDP เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้า หนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นสุทธิ 45,191.30 ล้านบาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้ หนี้ของรัฐบาลเพิ่มขึ้น 43,306.28 ล้านบาท ซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญเกิดจาก - การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณเพิ่มขึ้น จำนวน 42,000 ล้านบาท - การกู้เงินเพื่อการลงทุนจากแหล่งเงินกู้ในประเทศและต่างประเทศ จำนวน 1,437.26 ล้านบาท ประกอบด้วย การให้กู้ต่อแก่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยและการรถไฟแห่งประเทศไทย จำนวน 1,274.73 ล้านบาท สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว สายสีน้ำเงิน สายสีม่วง รถไฟสายสีแดง และโครงการปรับปรุงทางรถไฟที่ไม่ปลอดภัย การเบิกจ่ายเงินกู้เพื่อใช้ในโครงการก่อสร้างทางสายหลักเป็น 4 ช่องจราจร (ระยะที่ 2) จำนวน 40.21 ล้านบาท และการเบิกจ่ายเงินกู้เพื่อใช้ในโครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณถนนนนทบุรี 1 จำนวน 122.32 ล้านบาท - การเบิกจ่ายเงินกู้ภายใต้ พ.ร.ก. บริหารจัดการน้ำและสร้างอนาคตประเทศ จำนวน 130 ล้านบาท - การชำระหนี้ที่กู้มาเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ต่างประเทศที่กระทรวงการคลังค้ำประกัน จำนวน 516.67 ล้านบาท หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงินมียอดหนี้คงค้างเพิ่มขึ้น 6,828.53 ล้านบาท เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนและการเบิกจ่ายเงินกู้มากกว่าชำระคืนต้นเงินกู้ ซึ่งในเดือนเมษายน 2558 มีการกู้เงินที่สำคัญ ได้แก่ การเบิกจ่ายเงินกู้เพื่อดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย และการออกหุ้นกู้ของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนและไถ่ถอนหุ้นกู้ที่จะครบกำหนดในเดือนพฤษภาคม 2558 หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) มียอดหนี้คงค้างลดลง 3,777.27 ล้านบาทเนื่องจากการชำระหนี้เงินต้นของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หนี้หน่วยงานของรัฐ มียอดหนี้คงค้างลดลง 1,166.24 ล้านบาท เนื่องจากการชำระหนี้เงินต้นของกองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย และสำนักงานธนานุเคราะห์ หนี้สาธารณะ ณ สิ้นเดือนเมษายน 2558 เท่ากับ 5,775,710.53 ล้านบาท แบ่งเป็น หนี้ในประเทศ5,430,695.42 ล้านบาท หรือเท่ากับร้อยละ 94.03 และหนี้ต่างประเทศ 345,015.11 ล้านบาท (ประมาณ 10,421.92 ล้านเหรียญสหรัฐ) หรือเท่ากับร้อยละ 5.97 ของยอดหนี้สาธารณะคงค้าง และหากเปรียบเทียบกับ เงินสำรองระหว่างประเทศ จำนวน 161,103.29 ล้านเหรียญสหรัฐ (ข้อมูล ณ 30 เมษายน 2558) หนี้ต่างประเทศจะคิดเป็นสัดส่วนเพียงร้อยละ 6.46 ของเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงเสถียรภาพและความมั่นคงในด้านการเงินของประเทศ โดยหนี้สาธารณะแบ่งออกเป็นหนี้ระยะยาวถึง 5,610,347.45 ล้านบาท หรือร้อยละ 97.14 และมีหนี้ระยะสั้นเพียง 165,363.08 ล้านบาท หรือร้อยละ 2.86 2. รายงานผลการบริหารจัดการหนี้ภาครัฐที่ดำเนินการโดยสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะประจำเดือนเมษายน 2558 สบน. มีการบริหารจัดการหนี้ภาครัฐ วงเงินรวม 78,044.78 ล้านบาท แบ่งเป็นหนี้ของรัฐบาล จำนวน 63,280.84 ล้านบาท และหนี้รัฐวิสาหกิจ จำนวน 14,763.94 ล้านบาท v การบริหารจัดการหนี้ของรัฐบาล วงเงิน 63,280.84 ล้านบาท ประกอบด้วย ผลการกู้เงินในประเทศของรัฐบาล จำนวน 43,373.66 ล้านบาท - การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ โดยการออกพันธบัตรรัฐบาล 3 รุ่น อายุ 5 ปี 15 ปี และ 25 ปี จำนวน 42,000 ล้านบาท - การเบิกจ่ายเงินกู้เพื่อวางระบบบริหารจัดการน้ำ จำนวน 130 ล้านบาท จากสัญญาเงินกู้วงเงิน 15,393 ล้านบาท ที่ได้ลงนามในสัญญาเงินกู้เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2556 ภายใต้ พ.ร.ก. บริหารจัดการน้ำและสร้างอนาคตประเทศฯ - การเบิกจ่ายเงินกู้ให้กู้ต่อ จำนวน 1,243.66 ล้านบาท การเบิกจ่ายเงินกู้จากต่างประเทศของรัฐบาล จำนวน 193.60 ล้านบาท ประกอบด้วยการเบิกจ่ายเงินกู้จากธนาคารพัฒนาเอเชีย จำนวน 122.32 ล้านบาท สำหรับโครงการก่อสร้างทางสายหลักให้เป็น 4 ช่องจราจร (ระยะที่ 2) ของกรมทางหลวง และการเบิกจ่ายเงินกู้จากองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น จำนวน 71.28 ล้านบาท แบ่งเป็นเงินกู้สำหรับโครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณถนน นนทบุรี 1 ของกรมทางหลวงชนบท จำนวน 40.21 ล้านบาท และโครงการรถไฟสายสีแดงของการรถไฟ แห่งประเทศไทย จำนวน 31.07 ล้านบาท การปรับโครงสร้างหนี้ในประเทศของรัฐบาล จำนวน 14,440 ล้านบาท โดยกระทรวงการคลังได้ปรับโครงสร้างหนี้ตั๋วสัญญาใช้เงิน ที่ออกภายใต้ พ.ร.ก ช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ (FIDF 1) โดยการกู้เงินระยะสั้น การชำระหนี้ของรัฐบาล จำนวน 5,273.58 ล้านบาท แบ่งเป็น - การชำระหนี้โดยใช้เงินจากงบประมาณ จำนวน 2,207.17 ล้านบาท แบ่งเป็น ชำระต้นเงิน 327.78ล้านบาท และชำระดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียม 1,879.39 ล้านบาท - การชำระดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อชดเชยความเสียหายให้แก่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ จำนวน 2,549.74 ล้านบาท โดยใช้เงินจากบัญชีสะสมเพื่อการชำระคืนต้นเงินกู้ชดใช้ความเสียหาย ของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ - การชำระต้นเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างหนี้ต่างประเทศที่กระทรวงการคลังค้ำประกัน จำนวน516.67 ล้านบาท โดยใช้เงินงบประมาณของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย การบริหารจัดการหนี้รัฐวิสาหกิจ วงเงิน 14,763.94 ล้านบาท ประกอบด้วย การกู้เงินในประเทศของรัฐวิสาหกิจ จำนวน 619 ล้านบาท โดยองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพกู้เงินในประเทศ เพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนและดำเนินกิจการอื่นๆ การเบิกจ่ายเงินกู้ต่างประเทศของรัฐวิสาหกิจ จำนวน 8.94 ล้านบาท โดยการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย เบิกจ่ายเงินกู้เพื่อจัดทำโครงการรถไฟสายสีม่วง การปรับโครงสร้างหนี้ในประเทศของรัฐวิสาหกิจ จำนวน 14,136 ล้านบาท ประกอบด้วยการปรับโครงสร้างหนี้ขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ 5,181 ล้านบาท และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร 8,955 ล้านบาท

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ