1 ปี สภานิติบัญญัติแห่งชาติ

ข่าวทั่วไป Wednesday July 29, 2015 16:03 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--29 ก.ค.--นิด้าโพล ศูนย์สำรวจความคิดเห็น "นิด้าโพล" สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง "1 ปี สภานิติบัญญัติแห่งชาติ" ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 20 – 25 กรกฎาคม 2558 จากประชาชนทั่วประเทศ กระจายทุกระดับการศึกษา และอาชีพ รวมทั้งสิ้น จำนวน 2,527 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการรับรู้บทบาท หน้าที่ และการดำเนินงานของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ในรอบ 1 ปี การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ "นิด้าโพล" ด้วยความน่าจะเป็นด้วยวิธีแบบเป็นระบบ (Systematic Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนด ค่าความเชื่อมั่นที่ ร้อยละ 95.0 และมีค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน (Standard Error: S.E.) ไม่เกิน 1.0 จากการสำรวจ เมื่อถามถึงการรับทราบของประชาชนเกี่ยวกับสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ว่า คืออะไร พบว่าประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 57.70 ระบุว่า ไม่ทราบว่า สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) คืออะไร ขณะที่ ร้อยละ 42.30 ระบุว่าทราบ ด้านการได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชนเกี่ยวกับการดำเนินงานของ สนช. ในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา พบว่า ประชาชน ส่วนใหญ่ ร้อยละ 68.48 ระบุว่า ได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารบ้างเป็นครั้งคราว รองลงมา ร้อยละ 13.75 ระบุว่า เลือกที่จะรับรู้ข้อมูลข่าวสารเฉพาะประเด็นที่สนใจ ร้อยละ 11.51 ระบุว่า ได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารตลอดเวลา ร้อยละ 6.27 ระบุว่า ไม่เคยรับรู้ข้อมูลข่าวสารใด ๆ เลย สำหรับความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการดำเนินงานในรอบ 1 ปี ของ สนช.พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 27.13 ระบุว่า สนช. ส่วนใหญ่มุ่งมั่นทำงานเพื่อการปฏิรูปประเทศ รองลงมา ร้อยละ 26.66 ระบุว่า สนช.สามารถพิจารณาออกกฎหมายที่สำคัญจำนวนมาก ร้อยละ 22.54 ระบุว่า สนช.สามารถตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ร้อยละ 16.00 ระบุว่า สนช. ทำได้เพียงออกกฎหมายตามใบสั่งของรัฐบาลและ คสช. เท่านั้น ร้อยละ 14.03 ระบุว่า สนช. สามารถเป็นกระบอกเสียงของประชาชนได้ ร้อยละ 11.51 ระบุว่า สนช. ไม่ค่อยกล้าในการพิจารณาและตัดสินใจในประเด็นทางการเมืองที่สำคัญ ร้อยละ 11.41 ระบุว่า สนช. มีความกล้าในการพิจารณาและตัดสินใจในประเด็นทางการเมืองที่สำคัญ เช่น การถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ร้อยละ 10.66 ระบุว่า สนช. ทำงานอย่างเป็นอิสระ ร้อยละ 9.92 ระบุว่า สนช. ทำงานโดยรับฟังคำสั่งจาก รัฐบาลและ คสช. เท่านั้น ร้อยละ 9.64 ระบุว่า ประชาชนเข้าถึง สนช. ได้ยาก ร้อยละ 8.70 ระบุว่า สนช. ไม่มีประสิทธิภาพในการตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล ร้อยละ 4.86 ระบุว่า สนช. ส่วนใหญ่เป็นข้าราชการประจำหรืออดีตข้าราชการที่ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลงเพราะกลัวจะเสียประโยชน์ ร้อยละ 0.47 ระบุว่า อื่น ๆ ได้แก่ สนช. ยังคงมีความคิดเห็นที่ไม่ตรงกัน ขัดแย้งกันเอง การออกกฎหมาย หรือพิจารณากฎหมายบางอย่างยังมีความล่าช้า และควรให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการเลือก สนช. ด้วย และร้อยละ 8.42 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ ท้ายที่สุด เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการทำงานของ สนช. เมื่อเปรียบเทียบกับการทำงานของสมาชิกรัฐสภาที่มาจากการเลือกตั้งในอดีต พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 37.04 ระบุว่า สนช. ทำงานได้ดีกว่า สมาชิกรัฐสภาที่มาจากการเลือกตั้งในอดีต รองลงมา ร้อยละ 33.21 ระบุว่า สนช. และ สมาชิกรัฐสภาที่มาจากการเลือกตั้งในอดีต ทำงานได้ดีพอ ๆ กัน ร้อยละ 14.22 ระบุว่า สมาชิกรัฐสภาที่มาจากการเลือกตั้งในอดีต ทำงานได้ดีกว่า สนช. ร้อยละ 8.05 ระบุว่า สนช. และ สมาชิกรัฐสภาที่มาจากการเลือกตั้งในอดีต ทำงานได้แย่พอ ๆ กัน และร้อยละ 7.48 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 16.26 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ร้อยละ 17.97 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคกลาง ร้อยละ 16.46 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 34.86 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และร้อยละ 14.44 ภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ ตัวอย่างร้อยละ 51.33 เป็นเพศชาย ร้อยละ 48.60 เป็นเพศหญิง และร้อยละ 0.08 เป็นเพศทางเลือก ตัวอย่างร้อยละ 8.98 มีอายุ น้อยกว่า 25 ปี ร้อยละ 19.27 มีอายุ 26 – 35 ปี ร้อยละ 25.33 มีอายุ 36 – 45 ปี ร้อยละ 35.22 มีอายุ 46 – 60 ปี ร้อยละ 10.96 มีอายุ 60 ปี ขึ้นไป และร้อยละ 0.24 ไม่ระบุอายุ ตัวอย่างร้อยละ 95.05 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 3.40 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 1.15 นับถือศาสนาคริสต์และอื่น ๆ และร้อยละ 0.40 ไม่ระบุศาสนา ตัวอย่างร้อยละ 23.55 สถานภาพโสด ตัวอย่างร้อยละ 73.88 สมรสแล้ว ตัวอย่างร้อยละ 2.14 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ และร้อยละ 0.44 ไม่ระบุสถานภาพการสมรส ตัวอย่างร้อยละ 31.86 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 32.81 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 9.62 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 20.93 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 3.72 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 1.07 ไม่ระบุระดับการศึกษา ตัวอย่างร้อยละ 9.46 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ตัวอย่างร้อยละ 12.23 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ตัวอย่าง ร้อยละ 21.80 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ตัวอย่าง ร้อยละ 17.61 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ตัวอย่างร้อยละ 19.31 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ตัวอย่างร้อยละ 14.17 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน ตัวอย่างร้อยละ 4.23 เป็นนักเรียน/นักศึกษา ตัวอย่างร้อยละ 0.08 เป็นพนักงานองค์กรอิสระ ที่ไม่แสวงหากำไร และร้อยละ 1.11 ไม่ระบุอาชีพ ตัวอย่าง ร้อยละ 16.19 ไม่มีรายได้ ตัวอย่าง ร้อยละ 27.82 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ไม่เกิน 10,000 ตัวอย่างร้อยละ 29.17 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001 – 20,000 ตัวอย่างร้อยละ 10.49 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 – 30,000 บาท ตัวอย่างร้อยละ 4.12 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001 – 40,000 ร้อยละ 5.46 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนมากกว่า 40,001 บาท ขึ้นไป และร้อยละ 6.77 ไม่ระบุรายได้
แท็ก นิด้า  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ