จับผู้ร้ายในหัวใจได้อย่างไร เมื่อหัวใจเต้นผิดปกติบางเวลา

ข่าวทั่วไป Tuesday August 4, 2015 17:56 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--4 ส.ค.--โรงพยาบาลรามคำแหง จับผู้ร้ายในหัวใจได้อย่างไร เมื่อหัวใจเต้นผิดปกติบางเวลา เครื่องมือตรวจการเต้นของหัวใจหลายชนิดที่ช่วยในการวินิจฉัยหัวใจเต้นผิดปกติ 1. คลื่นไฟฟ้าหัวใจ ( Electrocardiography, EKG) เหมาะกับผู้ป่วยที่มีอาการนานพอที่จะมาถึงโรงพยาบาลที่มีเครื่องตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ 2. เครื่องบันทึกการเต้นของหัวใจต่อเนื่อง 24-48 ชั่วโมง (Holter monitoring) เหมาะกับผู้ป่วยที่มีอาการทุกวันหรือเกือบทุกวัน แต่อาการเกิดขึ้นช่วงสั้นๆ ไม่นานพอที่จะมาตรวจที่โรงพยาบาล 3. เครื่องบันทึกการเต้นของหัวใจชนิดพกพา (Event recorder/ Loop recorder) เหมาะกับผู้ป่วยที่อาการไม่บ่อย อาจจะเดือนละ 1-2 ครั้ง และอาการไม่นานพอที่จะไปรับการตรวจที่โรงพยาบาล ผู้ป่วยที่เป็นลมหมดสติเวลาเกิดหัวใจเต้นผิดปกติจะใช้วิธีนี้ไม่ได้ 4. เครื่องบันทึกการเต้นของหัวใจชนิดฝังใต้ผิวหนัง (Implantable loop recorder, ILR) เครื่องมีอายุแบตเตอรี 2-3 ปี เครื่องนี้เหมาะกับผู้ป่วยที่มีอาการนานๆ ครั้งแต่อาการรุนแรง เช่นผู้ป่วยที่มีอาการหมดสติที่ไม่ทราบสาเหตุ 5. การตรวจการทำงานของระบบไฟฟ้าหัวใจด้วยสายสวนหัวใจ ( Cardiac Electrophhysiology, EP study) เป็นวิธีที่มีความปลอดภัยสูแต่เนื่องจากเป็นการตรวจที่มีราคาแพง จึงใช้วิธีนี้ในกรณีที่ไม่สามารถตรวจหาความผิดปกติด้วยวิธีอื่นๆ ดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.ram-hosp.co.th/Cardiac%20Arrhythmia.html สายด่วนสุขภาพโทร 0-2743-9999, 0-2374-0200-16

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ