มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วางใจใช้ “ซิสโก้” เป็นเครือข่ายหลัก (Core Network) และโซลูชั่นไวร์เลสของซิสโก้ รองรับการเรียนการสอนแบบโมบิลิตี้

ข่าวเทคโนโลยี Wednesday September 30, 2015 17:11 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--30 ก.ย.--พีซี แอนด์ แอสโซซิเอทส์ คอนซัลติ้ง พร้อมระบบรักษาความปลอดภัยเต็มสูบ.. เปลี่ยนผ่านรูปแบบการเรียนการสอน เป็น"Digital University" เตรียมพร้อมสำหรับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 มหาวิทยาลัยแห่งแรกที่ทางราชการจัดตั้งขึ้นในส่วนภูมิภาคของประเทศไทย ติดตั้ง เครือข่ายหลัก (core network), โซลูชั่นไวร์เลสและ โซลูชั่นรักษาความปลอดภัยของซิสโก้ ครอบคลุมทั้งมหาวิทยาลัย เพื่อรองรับการเชื่อมต่อทุกที่ ทุกเวลา รองรับการนำอุปกรณ์ส่วนตัวมาใช้ในมหาวิทยาลัย บรรลุเป้าหมายในการเป็น 'Digital University' ตอบรับการการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ที่การเรียนรู้ และติดตามข้อมูลข่าวสารต่างๆจะผ่านสมาร์ทดีไวซ์ มากกว่าการอ่านในรูปแบบเดิม เนื่องด้วยความต้องการการใช้งานอินเทอร์เน็ตที่เพิ่มมากขึ้นของนักศึกษา และบุคลากร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จึงมองหาเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตรูปแบบใหม่ที่พร้อมรองรับการทำงานในอนาคตแทนระบบ ATM (หรือAsynchronous Transfer Mode ) รูปแบบเดิม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ตัดสินใจปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานไอที เลือกใช้เทคโนโลยี กิกะบิต อีเธอร์เน็ต (Gigabit Ethernet) ของซิสโก้มาเป็นระบบเครือข่ายหลักของทางมหาวิทยาลัย เพื่อรองรับการติดตั้งโครงข่ายอีเทอร์เน็ต 10 กิกะบิต และโซลูชั่นไวร์เลส เพื่อให้นักศึกษา และบุคลากร สามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ ทุกที่ ทุกเวลา บนทุกอุปกรณ์ โดยปัจจุบันเครือข่ายไวร์เลสของมหาวิทยาลัยสามารถรองรับการทำงานของดีไวซ์ไม่ต่ำกว่า 100,000 เครื่อง และแต่ละแอคเค้าท์สามารถรองรับการใช้งานดีไวซ์ได้ถึง 5 เครื่อง โดยที่สามารถใช้งานได้พร้อมๆกัน สำหรับระบบการรักษาความปลอดภัย ทางมหาวิทยาลัยเลือกโซลูชั่นรักษาความปลอดภัย Cisco Email Securityโดยทำหน้าที่เป็นด่านแรกในการจัดการทุกปัญหาของอีเมล ไม่ว่าจะเป็นการลดข้อความสแปมที่ไม่ต้องการ การตรวจสอบแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในอนาคต นอกจากนี้ยังมีระบบอัพเดตข้อมูลสแปมและไวรัสอัตโนมัติ รวมถึงความสามารถในการป้องกันปัญหาการโจมตีในรูปแบบต่างๆ และระบบจัดการอีเมลที่ช่วยให้การใช้งานอีเมลเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การจัดคิวการรับส่งอีเมล การรับมือกับเมลที่ถูกตีกลับ และการบริหารการเชื่อมต่อในระบบ เพื่อให้มั่นใจว่าระบบพื้นฐานของอีเมล ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ แม้ในช่วงที่มีการแพร่กระจายของไวรัสหรือการโจมตีของสแปม จึงช่วยให้มหาวิทยาลัยประหยัดค่าใช้จ่ายทั้งในส่วนของฮาร์ดแวร์ พลังงานที่ใช้ แบนด์วิดธ์ของระบบ รวมถึงประหยัดเวลาของผู้ดูแลระบบไอทีอีกด้วย อีกทั้งมหาวิทยาลัยได้นำ Cisco Intrusion Prevention System (Cisco IPS) มาใช้ตั้งแต่ปี 2555 ซึ่งเป็นระบบการป้องกันการบุกรุกระบบเครือข่าย มอนิเตอร์ภัยคุกคามต่างๆที่เกิดขึ้นในระบบ และพฤติกรรมของผู้ใช้งาน สามารถรู้ลำดับของเหตุการณ์ของระบบที่เกิดจากการโจมตีได้ล่วงหน้า ระบุแนวโน้มของภัยคุกคามและตอบสนองได้อย่างรวดเร็ว โดย Cisco IPS ทำหน้าที่มอนิเตอร์ทราฟฟิกเครือข่าย ซึ่งการเจาะระบบอาจจะเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วหลังจากที่ผู้โจมตีสามารถเข้าถึงระบบได้แล้ว Cisco IPS จะทำการตอบโต้ได้ทันที โดยจะช่วยป้องกันการโจมตีที่เกิดขึ้นจากช่องโหว่ในระบบเครือข่ายและระบบปฏิบัติการ และป้องกันการโจมตีจาก Virus หรือ Worm ได้แบบอัตโนมัติ ทำให้กระบวนการเรียนการสอนเป็นไปอย่างราบรื่น มหาวิทยาลัยยังสามารถเพิ่มแบนด์วิธในการรองรับแอพพลิเคชั่นการเรียนการสอน จัดการเวิร์กโหลดที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยไม่มีปัญหา เนื่องจากระบบรักษาความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพ ช่วยในการป้องกันปัญหาการโจมตี ทั้งภายใน และภายนอกอย่างเต็มรูปแบบ การอัพเกรดเทคโนโลยีครั้งนี้ช่วยให้ผู้ใช้กว่า 50,000 คน ประกอบด้วย นักศึกษากว่า 37,000 คน บุคลากรกว่า 11,300 คน ใน 22 คณะของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สามารถใช้ประโยชน์จากเครือข่ายไร้สายที่ปลอดภัยและปรับขนาดได้อย่างยืดหยุ่น ผ่านแอ็คเซสพอยต์ประมาณ 2,700 จุด บนความเร็วในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตขนาด 5Gbps ครอบคลุมทุกหน่วยงานทั้งในส่วนวิชาการ และส่วนสนับสนุน ทั่วทั้งมหาวิทยาลัย ปัจจุบันมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นมหาวิทยาลัยที่มีไวร์เลส แอ็คเซส มากที่สุดเป็นอันดับหนึ่งของภาคเหนือ และอันดับสองของประเทศ นักศึกษา และบุคลากรสามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ ทุกที่ ทุกเวลา ทุกอุปกรณ์ ไม่ว่าจะเป็น พีซี โน๊ตบุ๊ค ไอ-แพด หรือ สมาร์ทโฟน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เริ่มพัฒนาการเป็น Digital University โดยเฟสแรกเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556 ซึ่งเฟสแรกนี้รวมถึง การพัฒนาระบบเครือข่ายไร้สาย, โมบายล์เซอร์วิส, พัฒนาการระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารด้วย Business Intelligence เพื่อให้ผู้บริหารมหาวิทยาลัยสามารถใช้เพื่อการวางแผน การตัดสินใจจากข้อมูล คาดการณ์แนวโน้มที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างถูกต้อง และแม่นยำ, Smart Learning & Smart Classroom, Digital Literacy โดยเป็นไปอย่างราบรื่น และคาดว่าจะเริ่มเฟสสอง ภายในปี 2559 เพื่อให้มหาวิทยาลัยเชียงใหม่กลายเป็นต้นแบบแห่งการใช้ชีวิตแบบดิจิตอลที่สมบูรณ์แบบ ด้วยโซลูชั่นของซิสโก้ ไม่ว่าจะเป็นเครือข่ายหลัก (core network) โซลูชั่นไวร์เลส และระบบรักษาความปลอดภัยที่ทำงานร่วมกัน เป็นรากฐานของมหาวิทยาลัยในการรองรับ "Internet of Everything" ที่เชื่อมโยงผู้คน ข้อมูล กระบวนการ และสิ่งต่างๆ เข้าด้วยกัน ด้วยความสะดวกง่ายดาย ความชาญฉลาด ความยืดหยุ่นในการปรับขนาด และประสิทธิภาพ ช่วยให้มหาวิทยาลัยปรับเปลี่ยนสู่ยุค Internet of Everything ได้อย่างราบรื่น

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ