สสจ.นครพนม เกาะติด 'ไข้เลือดออก’ เข้ม ประชุมทุกสัปดาห์ ตั้งเป้า “ลดป่วย-ไม่ตาย”

ข่าวทั่วไป Thursday June 23, 2016 12:22 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--23 มิ.ย.--สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม เมื่อเร็ว ๆ นี้ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม โดยกลุ่มงานควบคุมโรคติดต่อ จัดประชุม War room ไข้เลือดออก จังหวัดนครพนม โดยนายแพทย์ปรีดา วรหาร นายแพทย์เชี่ยวชาญ (ด้านเวชกรรมป้องกัน) เป็นประธานการประชุม War room ไข้เลือดออก จังหวัดนครพนม ณ ห้องประชุมร่มโพธิ์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม ซึ่งได้แจ้งให้ที่ประชุมรับทราบว่า นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครพนม ให้ดำเนินการจัดประชุม War room ป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกจังหวัดทุกสัปดาห์ ในช่วงการระบาด และจากข้อมูลสถานการณ์โรคไข้เลือดออกของจังหวัดนครพนม พบว่าจะเกิดในช่วงอายุ 10 – 24 ปี อยู่ในกลุ่มของนักเรียนและกลุ่มวัยทำงาน จึงได้เน้นย้ำให้มีการดำเนินการในโรงเรียนและโรงงานอย่างเข้มข้นเพิ่มขึ้น และขอให้ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง พร้อมให้ดำเนินการจัดทำข้อมูลเพื่อเติม โดยระบุให้ได้ว่านักเรียนที่เป็นโรคไข้เลือดออกเรียนอยู่โรงเรียนไหน ควรเร่งรัดดำเนินการอย่างจริงจัง เพื่อลดอัตราป่วยในโรงเรียน จากข้อมูลอุตุวิทยาแจ้งว่าปริมาณน้ำฝนจะขาดช่วงในสัปดาห์นี้ จะต้องมีข้อมูลกำกับติดตาม และมีมาตรการต่าง ๆ เพื่อเป้าหมาย คือ ไม่มีผู้ป่วยเสียชีวิต และลดอัตราป่วยโรคไข้เลือดออก นายแพทย์ปรีดา วรหาร นายแพทย์เชี่ยวชาญ (ด้านเวชกรรมป้องกัน) เปิดเผยว่า ที่ประชุมได้เห็นชอบการพิจารณาข้อสั่งการจากการประชุม War room การป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก ครั้งที่ 1 จังหวัดนครพนม กล่าวคือ การจัดให้มีการประชุม War room เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกทุกสัปดาห์ (ในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคไข้เลือดออก) เพื่อให้เกิดการคืนข้อมูลแก่ชุมชน สร้างภาคีเครือข่ายความร่วมมือให้มากขึ้นจนกว่าสถานการณ์จะดีขึ้น หากต้องการจะต้องให้จังหวัดลงพื้นที่เพื่อร่วมประชุมสามารถแจ้งได้ทันที 2.ให้เร่งรัดการใช้มาตรการ 3 : 3 : 1 ในพื้นที่ให้มีประสิทธิภาพ หากยังพบว่าเกิดการระบาดในพื้นที่ให้นำเอามาตรการควบคุมการระบาดของไวรัสซิกามาปรับใช้ คือ การพ่นหมอกควัน กำจัดลูกน้ำยุงลายซ้ำ ทุก 0 3 7 14 21 28 วัน เพื่อตัดวงจรการเกิดโรค นอกจากนั้นยังเห็นชอบให้มีการจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการควบคุมป้องกันโรคให้พร้อมเสมอ เช่น เครื่องพ่นหมอกควัน น้ำยา ทรายอะเบท สเปรย์พ่นยุง โลชั่นทากันยุง โดยให้แต่ละ CUP เป็นผู้จัดหา และบริหารจัดการให้เพียงพอต่อการใช้งาน รวมทั้งกรณีที่ประชากรกลุ่มป่วยและกลุ่มเสี่ยงส่วนใหญ่เป็นกลุ่มนักเรียน ทั้งระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ดังนั้น จึงขอให้ทุกอำเภอประสานความร่วมมือกับผู้บริหารสถานศึกษาในพื้นที่ เพื่อให้การควบคุมและป้องกันโรคมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น พร้อมกับให้เร่งรัดการส่งรายงานผลการดำเนินการการสอบสวนและกิจกรรมป้องกันควบคุมโรคให้ครบทุกราย โดยจมีการประชุมครั้งต่อไปในวันที่ 30 มิถุนายน 2559

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ