คปภ. ลงนามเอ็มโอยู ขสมก. เพิ่มประสิทธิภาพความคุ้มครองประชาชน พร้อมหนุนติดกล้องบันทึกภาพ – เครื่องจับความเร็ว - GPS เป็นตัวช่วยลดข้อโต้แย้งอุบัติเหตุ

ข่าวทั่วไป Tuesday July 26, 2016 09:49 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--26 ก.ค.--กลุ่มสารนิเทศการคลัง กระทรวงการคลัง ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.)เปิดเผยว่า จากการที่คณะผู้บริหารระดับสูงขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ได้เข้าหารือกับสำนักงานคปภ. เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2559 เพื่อนำระบบประกันภัยที่เหมาะสมเข้าไปลดความเสี่ยงภัยให้กับรถยนต์โดยสารสาธารณะภายใต้การดำเนินงานของ ขสมก. อย่างเป็นระบบ ครบวงจร และนำมาซึ่งการเตรียมการจัดทำบันทึกความเข้าใจ (MOU) เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการนำระบบประกันภัยเข้าไปช่วยบริหารความเสี่ยงแก่ขสมก. อย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งในวันนี้ ( 25 กรกฎาคม 2559) จึงได้มีการลงนามในบันทึกความเข้าใจร่วมกัน สำหรับกรอบความมือในครั้งนี้สำนักงาน คปภ. จะให้คำปรึกษา แนะนำด้านข้อมูล ข้อกฎหมายที่เป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจ และการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ด้านการประกันภัยให้กับเจ้าหน้าที่และพนักงานของ ขสมก. รวมทั้งประชาชนผู้ใช้บริการรถโดยสารประจำทางในเขตกรุงเทพและปริมณฑลนอกจากนี้ขสมก.จะร่วมมืออานวยความสะดวกและให้การสนับสนุนสำนักงาน คปภ. เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการประกันภัยให้กับประชาชนผู้ใช้บริการรถโดยสารประจำทางในเขตกรุงเทพ และปริมณฑล ให้มี ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ความคุ้มครองของระบบประกันภัย และเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการประกันภัยให้กับเจ้าหน้าที่และพนักงาน ขสมก. รวมทั้งสำนักงานคปภ. และ ขสมก.จะประสานแลกเปลี่ยนข้อมูลร่วมกันจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมให้ประชาชนผู้ใช้บริการรถโดยสารประจำทางเห็นความสาคัญโดยใช้ระบบประกันภัยเป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงและการป้องกันอุบัติภัย เลขาธิการ คปภ. กล่าวด้วยว่า การทำ MOU ของทั้งสองหน่วยงานในครั้งนี้ส่วนหนึ่งเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนผู้ใช้บริการรถยนต์โดยสารสาธารณะภายใต้การบริการจัดการของ ขสมก. ว่าจะได้รับความคุ้มครองจากระบบประกันภัยอย่างมีประสิทธิภาพ และขณะนี้มีความคืบหน้าในการดำเนินการตามความร่วมมือดังกล่าวแล้ว โดยจากการประชุมหารือร่วมกันหลายครั้งระหว่างผู้บริหารของ สำนักงาน คปภ. กับ ขสมก.เพื่อศึกษาข้อมูลต่างๆเกี่ยวกับรูปแบบกรมธรรม์ที่ขสมก. ทำประกันภัยไว้ก่อนหน้านี้ ซึ่งทราบว่านอกเหนือจากการประกันภัยรถภาคบังคับตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 แล้ว ขสมก.ยังได้จัดทำประกันภัยรถยนต์ประเภท 3 อีกด้วย ซึ่งขสมก.ประเมินว่า มีความคุ้มครองที่เหมาะสมกับการดาเนินงานของ ขสมก.เนื่องจากค่าเบี้ยประกันภัยมีราคาถูกกว่าประเภทอื่นๆ นอกจากนี้ ขสมก. มีโครงการจัดซื้อรถโดยสารใหม่ โดยกำหนด TOR ให้ติดตั้งกล้องบันทึกภาพจำนวน 4 ตัว (ด้านหน้า 1 ตัว ภายในรถ 2 ตัว และด้านหลัง 1 ตัว) ซึ่งถือเป็นอุปกรณ์ส่วนหนึ่งของรถและกำลังจะเริ่มใช้งานจริงในเร็วๆนี้ อย่างไรก็ตามทางสำนักงานคปภ.ได้เสนอให้มีการจัดทำกรมธรรม์โดยเฉพาะ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อ ขสมก.และประชาชนโดยรวม ซึ่งอยู่บนพื้นฐานของการประกันภัยรถยนต์ประเภท 3 ที่เพิ่มความคุ้มครองตัวรถกรณีชนกับยานพาหนะทางบก (3+) รวมทั้งขยายความคุ้มครองอุบัติเหตุส่วนบุคคลสำหรับผู้โดยสารเพิ่มเติม และควรกำหนดให้บริษัทประกันภัยส่งเสริมการตลาดในกลุ่มรถโดยสาร ในกรณีเกี่ยวกับอุปกรณ์ในการช่วยลดอุบัติเหตุเช่น กล้องติดรถยนต์ อุปกรณ์ตรวจจับความเร็วและระบบ GPS เป็นต้น ซึ่งในเบื้องต้นทางขสมก. เห็นด้วยกับแนวทางในการดำเนินการตามข้อเสนอของคปภ. ดังนั้นหลังจากนี้ไปจะมีการตั้งทีมงานระหว่างสำนักงานคปภ.ที่กำกับดูแลผลิตภัณฑ์ประกันภัยกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการของขสมก.เพื่อจัดทำแบบกรมธรรม์ให้มีความชัดเจนและเป็นรูปธรรมต่อไป "ปัจจุบัน ขสมก. มีรถยนต์โดยสารประจำทางวิ่งรับส่งประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล5 จังหวัด ได้แก่ นนทบุรี นครปฐม ปทุมธานีสมุทรสาคร สมุทรปราการ โดยวิ่งให้บริการในเส้นทางต่าง ๆ รวม461 เส้นทาง มีจำนวนรถทั้งสิ้น 2,774 คัน หากรถทั้งหมดนี้เข้าสู่ระบบการประกันภัยอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพก็จะทำให้ผู้เสียหายอันเกิดจากการเดินรถของขสมก. ได้รับความคุ้มครองภัยอย่างมีประสิทธิภาพด้วย ซึ่งจะสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนและส่งผลดีต่อภาพลักษณ์ของขสมก.โดยรวมอีกด้วย" ดร.สุทธิพลกล่าวในตอนท้าย

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ