SIPA Technology Meetup : High-performance Computing Trends and Security

ข่าวเทคโนโลยี Thursday July 28, 2016 12:55 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--28 ก.ค.--ไอที เบเคอรี่ คุณฉัตรชัย คุณปิติลักษณ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) กล่าวเปิดงานเชิญชวนพันธมิตรจากภาคส่วนต่าง ๆ มาร่วมงานสัมมนาเพื่อพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ร่วมกับความรู้และข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญ ในครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก คุณ Kevin Wu ซึ่งเป็น CTO of Data Center Solutions และ คุณวิรุฬณ์ ฤทัยกาญจนา IT Solution Manager HUAWEI Technology (Thailand) และผศ. ดร. สุดสงวน งามสุริยโรจน์ จากคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยมหิดล มาให้ความรู้และข้อมูลที่น่าสนใจในหัวข้อ High-performance Computing Trends and Security ณ Huawei CSIC ชั้น 11 ของอาคารจีพีเอฟ วิทยุ ทาวเวอร์ บี ถนนวิทยุ ในช่วงแรกคุณ Kevin Wu เป็นบรรยายในหัวข้อ Cloud Computing Trends in Government โดยได้อธิบายถึงการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีในแต่ละยุคสมัย ซึ่งภาครัฐได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการนำไอทีเข้ามาใช้งานเพื่อเพิ่มศักยภาพให้กับองค์กร และการนำเทคโนโลยีมาพัฒนาสภาพแวดล้อมต่าง ๆ จากการนำไอทีเข้ามาช่วยจัดการในองค์กรทำให้เห็นถึงปัญหาด้านความปลอดภัยของข้อมูลเมื่อผู้ไม่หวังดีต้องการโจมตีเพื่อขโมยข้อมูล จึงต้องมีการคิดวิธีการเพื่อป้องกันการโจรกรรมข้อมูล ข้อมูลในปัจจุบันที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นทำให้สามารถนำมาใช้ในการวิเคราะห์ได้ถูกต้องแม่นยำและเมื่อมีการนำไอทีเข้ามาใช้งานในหลายๆประเทศจึงก่อให้เกิดความร่วมมือกันเพื่อสร้างประโยชน์อันสูงสุด ซึ่งในแต่ละประเทศที่นำไอทีเข้ามาใช้งานมีการพัฒนา Cloud Platform เพื่อใช้งานมากขึ้น ประเทศที่พัฒนาแล้วจะมีการลงทุนด้านไอทีมากกว่าประเทศที่กำลังพัฒนาเป็นสองเท่า และรัฐบาลเป็นหน่วยงานที่ทำการลงทุนสูงมาก ตัวอย่างของประเทศที่มีการนำไอทีมาใช้งาน คือ ประเทศสหรัฐอเมริกาได้สนับสนุนการนำไอทีเข้ามาช่วยจัดการข้อมูลภายในองค์กร เช่น ซีไอเอ, กระทรวงกลาโหม โดยได้จัดตั้ง NDC ซึ่งประโยชน์คือ สามารถแชร์ข้อมูลด้วย Cloud และทำการจัดสรรข้อมูลการเข้าใช้งาน หมายความว่าไม่ว่าข้อมูลจะมีความสำคัญขนาดไหน ก็สามารถใช้งานบน Cloud ได้ เพราะมีความปลอดภัยสูง เมื่อมีการใช้งานไอทีมากขึ้น ก็จะมีบริการใหม่ๆตามมา อาทิ e-payment ซึ่งเหตุผลหลักของการทำ NDC คือ การลดค่าใช้จ่าย และในประเทศสหราชอาณาจักรได้มีการใช้ Cloud กับส่วนของภาครัฐ ทำให้สามารถลดค่าใช้จ่ายได้ถึง 316 ล้านยูโร ในปี 2011-2012 Huawei มีบทบาทในการบริหารจัดการด้านเทคโนโลยี Cloud ของเมือง Zhejiang โดยได้ทำการพัฒนาให้กับภาครัฐเพื่อช่วยลดค่าใช้จ่าย เพิ่มความปลอดภัยให้กับข้อมูล และทำการรวบรวมข้อมูลที่มีการกระจายก็จะนำมารวบรวมไว้ที่ส่วนกลางเพื่อทำการแชร์ข้อมูล จากนั้นจะทำการอัพเดตให้ประชาชนทราบว่ามีการพัฒนาระบบ Cloud เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้งาน ซึ่งหลังจากที่ Huawei ได้เข้ามาจัดการนั้น สามารถลดค่าใช้จ่ายได้ จึงแสดงให้เห็นว่าสามารถตอบโจทย์ให้กับลูกค้าได้ ในช่วงที่สอง ผศ.ดร. สุดสงวน งามสุริยโรจน์ได้บรรยายเรื่อง Cloud Security Issues and Adoption Guideline for Thai Government Agencies โดยเน้นในเรื่องของการที่นำระบบ Cloud มาใช้ในองค์กรภาครัฐหรือเอกชนนั้น จะต้องคำนึงถึงการวิเคราะห์ workload ขององค์กรว่ามีความเหมาะสมในการใช้งาน Cloud มากน้อยเพียงใด เช่น แอพพลิเคชันที่ใช้งานอยู่มีความเหมาะสมที่จะเปลี่ยนแพลตฟอร์มจากระบบเดิมไปยังระบบ Cloud รวมถึงความพร้อมของ Infrastructure และพนักงานด้านไอที และยังต้องคำนึงถึงงบประมาณในการใช้จ่ายอีกด้วย ซึ่งในการที่ประเทศไทยจะใช้งานระบบ cloud นั้นยังมีปัจจัยที่ต้องวิเคราะห์หลายปัจจัย เช่น การใช้งานแอพพลิเคชัน การแบ่งแอพพลิเคชันที่สามารถเปิดเผยได้ การจำกัดสิทธิในการเข้าถึงข้อมูล ระบบที่มีลักษณะเป็นระบบปิดที่ใช้เฉพาะในองค์กร เป็นต้น โดยจะต้องมีการตรวจสอบความพร้อมขององค์กรที่จะใช้งานระบบ cloud ด้วยการทำ Workload forecastเพื่อวิเคราะห์ปัจจัยต่างๆ ซึ่งภัยคุกคามของระบบ cloud ที่สำคัญคือ Data Breaches และ Data Loss ส่วนในการแก้ปัญหานั้นจะทำ Data Encryption และ Data Masking ในกระบวนการ Data Life Cycle นั้นจะต้องมีขั้นตอนในการทำลายข้อมูลที่มีความสำคัญกับองค์กร จะต้องถูกทำลายให้สิ้นซากโดยไม่สามารถกู้คืนกลับมาได้ และจะต้องมีการเพิ่ม firewall เพื่อป้องกันบุคคลผู้ไม่ประสงค์ดีเข้ามาในระบบ คุณอนุชิต ชโลธร นักเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) ได้กล่าวสรุปโดยแนะนำการที่จะผลักดันองค์กรก้าวเข้าสู่ระบบ cloud นั้นจะต้องทำการศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องและส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงด้วยการทำ workload analysis เพื่อวิเคราะห์แนวโน้มความต้องการระบบ cloud เข้ามาใช้งานในองค์กร ที่เกิดจากความร่วมมือกันระหว่างเจ้าหน้าที่ที่เกียวข้องภายในองค์กร และต้องคำนึงถึงค่าใช้จ่ายที่ต้องใช้ในการเปลี่ยนระบบ เชิญชวนทุกท่านเข้าร่วมงาน SIPA Technology Meetup ในครั้งต่อ ๆ ไป ท่านที่สนใจงาน SIPA Technology Meetup สามารถติดตามได้ที่ www.sipatechmeetup.com

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ