หอการค้าไทยและสภาหอการค้าฯ เสนอยกเครื่องพัฒนาและแก้ไขปัญหาแรงงานของประเทศไทย

ข่าวทั่วไป Tuesday August 30, 2016 13:25 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--30 ส.ค.--หอการค้าไทย ตามที่ ประเทศไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงประเทศจากสังคมเกษตรกรรมมาเป็นสังคมอุตสาหกรรม และเศรษฐกิจ Thailand 4.0 ส่งผลให้เกิดการขยายตัวของภาวะเศรษฐกิจทั่วภูมิภาคของประเทศอย่างมากมาย โดยรัฐบาลออกนโยบายการส่งเสริมการลงทุนขึ้น และเป็นปัจจัยสำคัญที่ต้องใช้กำลังแรงงานมากขึ้น อาทิ แรงงานภาคก่อสร้าง แรงงานภาคอุตสาหกรรม แรงงานภาคการเกษตรและเกษตรแปรรูป แรงงานภาคบริการและการท่องเที่ยว จากอดีตเมื่อ 15 ปีที่แล้วจนถึงปัจจุบัน ประเทศไทยไม่สามารถหาแรงงานได้อย่างเพียงพอส่งผลให้เกิดปัญหาการขาดแคลนแรงงานอย่างรุนแรง จนต้องมีการใช้แรงงานต่างชาติจำนวนมาก ในปัจจุบัน จากการกำหนดแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ยังประสบปัญหาแรงงานในหลากหลายด้านอาทิ ปัญหาแรงงานข้ามชาติผิดกฎหมาย ปัญหาการค้ามนุษย์และการใช้แรงงานเด็ก ปัญหาแรงงานประสิทธิภาพต่ำ (Labor Productivity) และใช้แรงงานสิ้นเปลือง จึงเป็นเหตุจำเป็นภาครัฐและภาคเอกชนต้องพัฒนาและแก้ไขปัญหาแรงงานของประเทศไทยอย่างบูรณาการ เป็นต้น ดร.พจน์ อร่ามวัฒนานนท์ รองประธานกรรมการสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่า จากสถานการณ์กำลังแรงงานของประเทศ ในไตรมาสที่ 1 ปี 2559 พบว่า ประเทศไทยมีประชากรที่อยู่ในวัยทำงานหรืออายุ 15 ปีขึ้นไปจำนวน 55.5 ล้านคน จำแนกเป็นผู้อยู่ในกำลังแรงงาน 38.3 ล้านคน หรือคิดเป็นอัตราการมีส่วนร่วมในกำลังแรงงาน ร้อยละ 70.42 ของประชากรวัยแรงงานทั้งหมด และหากพิจารณาถึงการเปรียบเทียบจำนวนผู้มีงานทำจำแนกตามอุตสาหกรรมที่สำคัญ ข้อมูลไตรมาสที่ 1 พบว่าในปี 2559 3 อันแรกที่ใช้แรงงานมากที่สุด ได้แก่1)ภาคเกษตรกรรม มีจำนวนแรงงานประมาณ 11.2 ล้านคน รองลงมา คือ 2) ภาคธุรกิจค้าปลีกและค้าส่งจำนวน 6.4 ล้านคน 3) การผลิต จำนวน 6.4 ล้านคน 4) ที่พักแรม จำนวน 2.7 ล้านคน 5) ก่อสร้าง จำนวน 2.6 ล้านคน 6) การบริหารราชการ จำนวน 1.6 ล้านคน 7) ขนส่ง จำนวน 1.3 ล้านคน เป็นต้น อย่างไรก็ตาม หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้ร่วมทำการสำรวจความคิดเห็นจากผู้ประกอบการที่เป็นสมาชิกทั่วประเทศเกี่ยวกับปัญหาแรงงานต่างด้าวในประเทศไทย ในประเด็นผลกระทบแรงงานต่างด้าวในประเทศไทย ได้แก่ผลกระทบด้านทางสังคม ผลกระทบด้านความมั่นคง และผลกระทบด้านสาธารณสุข เพื่อนำผลการศึกษาดังกล่าวมาเป็นตัวชี้นำและกำหนดนโยบายของรัฐบาลและภาคเอกชนในการแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพอย่างถูกต้อง ดร.พจน์ กล่าวว่า จากประเด็นผลการสำรวจความคิดเห็นปัญหาแรงงานต่างด้าว และปัญหาแรงงานของประเทศไทยที่พบในปัจจุบัน หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย จึงได้จัดทำข้อเสนอในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาแรงงานของประเทศไทย ดังนี้ การส่งเสริมการพัฒนาเพิ่มประสิทธิภาพแรงงานไทย (นโยบายทดแทนแรงงาน) จากผลการจัดอันดับขีดความสามารถด้านประสิทธิภาพของตลาดแรงงาน (Labor Market Efficiency) โดย Global Competitiveness Report 2016 ซึ่งขีดความสามารถด้านประสิทธิภาพของตลาดแรงงานของประเทศไทย อยู่ที่ลำดับ 67 จากทั้งหมด 140 ประเทศ และอยู่ในอันดับที่ 6 เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอาเซียน อย่างไรก็ตาม ประสิทธิภาพการผลิตของแรงงานในภาคเกษตรของไทย(Agricultural Productivity) พบว่ายังคงต่ำกว่าหลายประเทศ โดยประเทศไทย มีผลิตภาพการผลิต 6,346 ดอลลาร์/คน/ปี ต่ำกว่ามาเลเซียเกือบ 5 เท่า และต่ำกว่าประเทศออสเตรเลียถึง 13 เท่า หากพิจารณาเปรียบเทียบประสิทธิภาพรถตัดอ้อยกับแรงงานตัดอ้อย ระหว่างประเทศไทยกับประเทศออสเตรเลียแล้ว ในการตัดอ้อย 750 วัน/ตัน ประเทศไทย ใช้แรงงานถึง 620 คน แต่ประเทศออสเตรเลียใช้แรงงานเพียง 6 คน ดังนั้น การเพิ่มประสิทธิภาพแรงงานไทย (Labor Productivity) จึงเป็นเรื่องที่รัฐบาลต้องให้ความสำคัญและควรกำหนดนโยบายในการส่งเสริมผู้ประกอบการ ได้แก่ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการใช้เทคโนโลยีหรือเครื่องจักรกลมาช่วยในการส่งเสริมในการทำงานเพื่อลดการใช้แรงงานสิ้นเปลือง ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการ จัดทำกระบวนการทำงาน (Work Improvement) โดยนำการลดหรือเลิกขั้นตอนส่วนเกิน ส่วนที่ไม่จำเป็น ด้วยการเปลี่ยนวิธีการทำงาน หรือ Kaizenส่งเสริมให้ผู้ประกอบการ การบริหารจัดการระบบโลจิสติกส์และโซ่อุปทานกำหนดนโยบายแรงงานทดแทน โดยการส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากกลุ่มประชากรที่มีศักยภาพในตลาดแรงงาน เพื่อลดปัญหาการขาดแคลนแรงงานของประเทศ ซึ่งปัจจุบันมีกลุ่มประชากรไทยที่ยังไม่ได้เข้าสู่ตลาดแรงงานที่มีศักยภาพและนำมาพัฒนาประสิทธิภาพและมาตรฐานฝีมือเพื่อส่งเข้าตลาดแรงงานได้ อาทิชนกลุ่มน้อย มีจำนวนประมาณ 1.4 ล้านคน (ยังไม่มีมาตรการของรัฐบาลกำหนดสถานะ ประมาณ 1 ล้านคน , บุคคลไร้สัญชาติที่กรมการปกครองขึ้นทะเบียน (ชนกลุ่มน้อย) 437,766 คน และแรงงานชนกลุ่มน้อยที่ได้รับอนุญาตทำงานตาม พ.ร.บ.การทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2551 มี 27 ประเภทอาชีพ มีจำนวน 25,370 คน)แรงงาน under employment อาทิ รถมอเตอร์ไซค์รับจ้างสาธารณะ มีจำนวน 176,417 คัน(ข้อมูลการจดทะเบียนที่กระทรวงคมนาคม) แรงงานไทยในต่างประเทศ มีจำนวน 153,586 คน แรงงานภาคเกษตรกรรม มีจำนวน 11.2 ล้านคน (ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ) ผู้สูงอายุ มีจำนวน 10,014,705 คน (ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี 2557) แก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานของประเทศไทย โดยกระทรวงแรงงาน ต้องเป็นเจ้าภาพในการจัดทำฐานข้อมูลอุปสงค์ อุปทาน ของแรงงาน (Database of Demand and Supply) เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานของประเทศไทย พร้อมทั้ง จัดตั้งคณะกรรมการในการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานโดยดึงข้อมูลจากทุกภาคส่วนมาบูรณาการให้เป็นฐานข้อมูลเดียวกัน เป็นต้น การปรับปรุงนโยบายคนเข้าเมืองให้สะดวกมากขึ้น เพื่อดึงแรงงานทักษะฝีมือสูงหรือแรงงานมีฝีมือจากต่างประเทศ (Talent Mobility) และบริษัทที่มีศักยภาพมาลงทุนในประเทศไทย ดังนี้ การดำเนินการออกใบอนุญาต Visa และ Work Permit ควรกำหนดประเภทวีซ่าทำงานตามทักษะ ฝีมือหรือรายได้ เป็น 4 ประเภท ดังนี้ 1) แรงงานทักษะต่ำ .2) แรงงานทักษะปานกลาง .3) แรงงานทักษะสูงและ 4) ผู้ที่ได้รับการเชื้อเชิญ พร้อมทั้ง ออกมาตรการส่งเสริมสิทธิประโยชน์ของแต่ละประเภทให้จูงใจ อาทิ ช่องทางพิเศษ สิทธินำครอบครัวและผู้ติดตามเข้ามาอยู่อาศัย สิทธิการถือครองที่ดิน และถิ่นที่อยู่ถาวร เป็นต้น ควรจัดตั้งศูนย์บริการวีซ่าและใบอนุญาตทำงาน One Stop Service สำหรับแรงงานกลุ่มทักษะสูงและผู้ที่ได้รับการเชื้อเชิญ ในจังหวัดนำร่องแต่ละภูมิภาค 5 ภูมิภาค โดยจัดเก็บค่าธรรมเนียมการให้บริการ ควรเร่งประชาสัมพันธ์สร้างความรู้เกี่ยวกับกิจกรรมที่ไม่เข้าข่ายเป็นการทำงาน ตามประกาศกรมการจัดหางานเรื่อง "กิจกรรมที่ไม่เข้าข่ายเป็นการทำงานตามพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าวพ.ศ.2551" เพื่อสร้างการรับรู้กับผู้ประกอบการต่างประเทศ (กิจการที่ไม่เข้าข่ายเป็นการทำงาน มีดังนี้ กิจกรรมการเข้าร่วมประชุม หารือ สัมมนา , กิจกรรมการเข้างานนิทรรศการ หรืองานแสดงสินค้า , กิจกรรมการเข้ามาเยี่ยมชมธุรกิจ หรือพบปะเจรจาธุรกิจ , กิจกรรมการเข้ารับฟังการบรรยายพิเศษและวิชาการ , กิจกรรมการเข้าฟัง การบรรยายในการอบรมและสัมมนาทางด้านเทคนิค , กิจกรรมการซื้อสินค้าในงานแสดงสินค้า และกิจกรรมการเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการบริษัทของตน)ปรับปรุงกฎหมายและกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรค ได้แก่ควรออกประกาศกระทรวงแรงงานเกี่ยวกับชั่วโมงการทำงานของแรงงานในภาคเกษตรกรรมเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาการค้ามนุษย์ด้านแรงงานภาคเกษตร โดยการนับชั่วโมงการทำงานของภาคเกษตรกรรมให้สอดคล้องกับการปฏิบัติจริง การอำนวยความสะดวกให้นายจ้าง กรณีเคลื่อนย้ายแรงงานไปตามสถานที่ทำงาน โดยการจัดทำระบบการลงทะเบียนแจ้งรายชื่อแรงงานต่างด้าวผ่านระบบออนไลน์เพื่อแจ้งการเปลี่ยนแปลงสถานที่ทำงานและท้องที่การทำงานของแรงงานต่าวด้าวในธุรกิจก่อสร้างและธุรกิจโลจิสติกส์ควรจัดตั้งคณะทำงานในการศึกษาการใช้แรงงานต่างด้าวไร้ฝีมือในโครงการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนของ BOI โดยให้กระทรวงแรงงาน เป็นเจ้าภาพ เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้แรงงานต่างด้าวไร้ฝีมือในกิจการที่ขอรับการส่งเสริมการลงทุน บางประเภทกิจการที่ใช้แรงงานเข้มข้น ภายหลังการสิ้นสุดระยะเวลา ตามประกาศผ่อนผันการใช้แรงงานต่างด้าวไร้ฝีมือของ BOI ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561การจัดระเบียบระบบแรงงานต่างด้าวและการคุ้มครองแรงงานต่างด้าว จากการลงพื้นที่ในการศึกษาดูงานเกี่ยวกับศูนย์เบ็ดเสร็จด้านแรงงานใน 6 จังหวัด ได้แก่ ชลบุรี ระยอง สมุทรสาคร สมุทรปราการ สงขลาและตาก พบว่ามีแรงงานต่างด้าวมาจดทะเบียน ณ ศูนย์เบ็ดเสร็จด้านแรงงาน ประมาณ 60-70 % เท่านั้นจากจำนวนการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวเมื่อปี 2558 อาจจะสุ่มเสี่ยงต่อการเป็นแรงงานผิดกฎหมาย และยังอาจจะส่งผลทั้งด้านความมั่นคง สาธารณสุข และสังคม ด้วยเหตุดังกล่าว และผลการสำรวจความคิดเห็นผู้ประกอบการ เห็นควรว่ากระทรวงแรงงาน ควรมีมาตรการ ดังนี้ควรมีการเปิดจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวใหม่ โดยต้องมีนายจ้างพาไปขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าว พร้อมทั้ง ต้องมีการรับรองจากนายจ้างหรือหนังสือสัญญาจากนายจ้างในการดูแลลูกจ้างแรงงานต่างด้าว และต้องมีกฎหมายในการลงโทษนายจ้างหากมีการกระทำความผิด จะต้องผู้รับผิดชอบแรงงานต่างด้าวในส่วนของตนรับผิดชอบ ควรให้มีมาตรการดูแลการเปลี่ยนงานของแรงงานต่างด้าว โดยจะต้องมีการแจ้งการเปลี่ยนแปลงนายจ้างใหม่ที่จัดหางานจังหวัด พร้อมทั้ง ต้องได้รับการยินยอมจากนายจ้างเดิมก่อน และให้นายจ้างเดิมมาแจ้งรายชื่อลูกจ้างที่ออกต่อสำนักงานจัดหางานในจังหวัดนั้นๆ ซึ่งต้องเป็นแรงงาน MOU และแรงงานบัตรสีชมพูที่ถูกกฎหมายเท่านั้น ทั้งนี้ หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ได้จัดตั้งคณะกรรมการร่วมภาครัฐและภาคเอกชน (กรอ.) เพื่อทำงานร่วมกับกระทรวงแรงงาน ในการดำเนินการแก้ไขปัญหาแรงงานของประเทศไทยอย่างบูรณาการ และขับเคลื่อนข้อเสนอต่างๆ ให้เกิดความเป็นรูปธรรม และขอขอบคุณ นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน หน่วยงานภาครัฐและเอกชนทุกภาคส่วน ที่ได้ร่วมมือแก้ไขปัญหาแรงงานของประเทศไทยอย่างจริงจัง และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าข้อเสนอของหอการค้าไทยจะแก้ไขปัญหาแรงงานได้อย่างเบ็ดเสร็จและยกระดับแรงงานไทยเพื่อรองรับ Thailand 4.0 ต่อไป

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ