ปภ.รายงานสถานการณ์อุทกภัยใน 10 จังหวัด พร้อมบูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งช่วยเหลือผู้ประสบภัย

ข่าวทั่วไป Tuesday August 1, 2017 17:35 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--1 ส.ค.--กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) รายงานตั้งแต่วันที่ 5 กรกฎาคม – 1 สิงหาคม 2560 มีพื้นที่ เกิดสถานการณ์อุทกภัยและน้ำไหลหลาก รวม 43 จังหวัด ปัจจุบันสถานการณ์คลี่คลายแล้ว 33 จังหวัด ยังคงมีสถานการณ์ 10 จังหวัด ได้แก่ สกลนคร ร้อยเอ็ด นครพนม นครราชสีมา กาฬสินธุ์ ยโสธร มุกดาหาร อำนาจเจริญ อุบลราชธานี และพระนครศรีอยุธยา ทั้งนี้ ปภ. ได้ร่วมกับหน่วยทหาร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัย พร้อมระดมเครื่องจักรกลด้านสาธารณภัยแก้ไขปัญหาอุทกภัย เพื่อคลี่คลายสถานการณ์ให้กลับสู่ภาวะปกติโดยเร็ว นายฉัตรชัย พรหมเลิศ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า ฝนที่ตกหนักต่อเนื่องในหลายพื้นที่ตั้งแต่วันที่ 5 กรกฎาคม – 1 สิงหาคม 2560 ทำให้เกิดสถานการณ์อุทกภัยและน้ำไหลหลากใน 43 จังหวัด รวม 221 อำเภอ 938 ตำบล 5,366 หมู่บ้าน 1 ชุมชน ปัจจุบันสถานการณ์คลี่คลายแล้ว 33 จังหวัด ยังคงมีสถานการณ์ 10 จังหวัด รวม 90 อำเภอ 497 ตำบล 3,472 หมู่บ้าน แยกเป็น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 9 จังหวัด ได้แก่ สกลนคร น้ำไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่ 7 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองสกลนคร อำเภอสว่างแดนดิน อำเภอพังโคน อำเภอเต่างอย อำเภอกุสุมาลย์ อำเภอพรรณานิคม และอำเภออากาศอำนวย รวม 38 ตำบล 351 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 7,846 ครัวเรือน 23,538 คน ผู้เสียชีวิต 4 ราย ร้อยเอ็ด น้ำไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่ 18 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเสลภูมิ อำเภอจังหาร อำเภอโพธิ์ชัย อำเภอโพนทราย อำเภอสุวรรณภูมิ อำเภอทุ่งเขาหลวง อำเภอเมืองร้อยเอ็ด อำเภอเกษตรวิสัย อำเภอเชียงขวัญ อำเภอศรีสมเด็จ อำเภอธวัชบุรี อำเภอจตุรพักตรพิมาน อำเภออาจสามารถ อำเภอพนมไพร อำเภอหนองพอก อำเภอเมืองสรวง อำเภอเมยวดี และอำเภอโพนทอง รวม 116 ตำบล 847 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 13,105 ครัวเรือน ผู้เสียชีวิต 1 ราย นครพนม ฝนที่ตกหนักและมวลน้ำจากหนองหาน จังหวัดสกลนครไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่ 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอนาแก อำเภอนาหว้า อำเภอวังยาง อำเภอเรณูนคร อำเภอศรีสงคราม และอำเภอโพนสวรรค์ รวม 21 ตำบล61 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 360 ครัวเรือน นครราชสีมา ยังคงมีน้ำท่วมขังใน 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอบัวใหญ่ อำเภอโนนแดง อำเภอด่านขุนทด และอำเภอประทาย รวม 31 ตำบล 298 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 24,833 ครัวเรือน กาฬสินธุ์ น้ำไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่ 15 อำเภอ ได้แก่ อำเภอนามนอำเภอท่าคันโท อำเภอนาคู อำเภอสมเด็จ อำเภอเขาวง อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ อำเภอห้วยผึ้ง อำเภอดอนจาน อำเภอยางตลาด อำเภอกมลาไสย อำเภอกุฉินารายณ์ อำเภอคำม่วง อำเภอร่องคำ อำเภอห้วยเม็ก และอำเภอฆ้องชัย รวม 70 ตำบล 493 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ920 ครัวเรือน อพยพประชาชน 30 ครัวเรือน ยโสธร น้ำไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่ 8 อำเภอ ได้แก่ อำเภอป่าติ้ว อำเภอคำเขื่อนแก้ว อำเภอกุดชุม อำเภอไทยเจริญ อำเภอทรายมูล อำเภอค้อวัง อำเภอเลิงนกทา และอำเภอเมืองยโสธร รวม 42 ตำบล 281 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ11,993 ครัวเรือน มุกดาหาร น้ำไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่ 7 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองมุกดาหาร อำเภอดงหลวง อำเภอนิคมคำสร้อย อำเภอหว้านใหญ่ อำเภอหนองสูง อำเภอดอนตาล และอำเภอคำชะอี รวม 45 ตำบล 403 หมู่บ้าน ผู้เสียชีวิต 2 ราย อำนาจเจริญ น้ำไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่การเกษตร7 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองอำนาจเจริญ อำเภอหัวตะพาน อำเภอลืออำนาจ อำเภอพนา อำเภอปทุมราชวงศา อำเภอชานุมาน และอำเภอเสนางคนิคมรวม 52 ตำบล 370 หมู่บ้าน 11,137 ครัวเรือน พื้นที่การเกษตรเสียหาย 52,359 ไร่ อุบลราชธานี น้ำไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่ 12 อำเภอ ได้แก่ อำเภอโขงเจียม อำเภอศรีเมืองใหม่ อำเภอน้ำยืน อำเภอบุณฑริก อำเภอน้ำขุ่น อำเภอเมืองอุบลราชธานี อำเภอม่วงสามสิบ อำเภอนาจะหลวย อำเภอเดชอุดม อำเภอสว่างวีระวงศ์ อำเภอกุดข้าวปุ้น และอำเภอดอนมดแดง รวม 13 ตำบล 76 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 1,943 ครัวเรือนภาคกลาง1 จังหวัด ได้แก่ พระนครศรีอยุธยา ผลกระทบจากเขื่อนเจ้าพระยาทำให้น้ำท่วมในพื้นที่ 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอบางบาล อำเภอเสนา อำเภอบางปะอินอำเภอผักไห่ อำเภอพระนครศรีอยุธยา และอำเภอบางไทร รวม 68 ตำบล 297 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 9,019 ครัวเรือน 28,985 คน ทั้งนี้ ปภ.ได้ประสานจังหวัด ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขตและสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดในพื้นที่เสี่ยงภัยจัดเจ้าหน้าที่ติดตามสภาพอากาศและเฝ้าระวังสถานการณ์ภัยอย่างใกล้ชิด อีกทั้งจัดชุดเคลื่อนที่เร็วและจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์และเครื่องจักรกลด้านสาธารณภัยให้พร้อมปฏิบัติการเผชิญเหตุและช่วยเหลือผู้ประสบภัยอย่างทันท่วงที สำหรับประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากสถานการณ์ภัย สามารถติดต่อขอความช่วยเหลือได้ทางสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อประสานให้การช่วยเหลือโดยด่วนต่อไป

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ