ไอดีซี ประกาศรายชื่อโครงการสมาร์ทซิตี้ 18 โครงการในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกยกเว้นญีปุ่น ที่เป็นสุดยอดของสุดยอดสำหรับรางวัล IDC SCAPA ประจำปี 2017

ข่าวทั่วไป Thursday August 17, 2017 11:57 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--17 ส.ค.--ไอดีซี ประเทศนิวซีแลนด์และสิงคโปร์ ได้รับรางวัลมากที่สุด ถึงสองปีซ้อน ไอดีซี เอเชียแปซิฟิก ได้ประกาศรายชื่อผู้ชนะรางวัล Smart City Asia Pacific Awards 2017 (SCAPA) โดยนิวซีแลนด์ได้รางวัลชนะเลิศมากที่สุด 4 โครงการ และ สิงคโปร์ได้รางวัลชนะเลิศมากที่สุด 3 โครงการ ขณะที่ประเทศออสเตรเลีย เกาหลีใต้ ฮ่องกง และจีน ได้รางวัลชนะเลิศประเทศละ 2 โครงการ และประเทศมาเลเซีย ไต้หวันและไทยมีผู้ชนะอย่างละ 1 โครงการ เข้าสู่ปีที่สามแล้ว ที่รางวัล SCAPA ได้เชิดชูโครงการสมาร์ทซิตี้ที่โดดเด่นในประเทศต่าง ๆ ทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกยกเว้นญีปุ่น ที่ประกอบด้วยรางวัลสาขาทั้งหมด 14 สาขา อย่างไรก็ตาม มี 18 โครงการที่ได้รับการเสนอชื่อให้เป็นโครงการที่ดีที่สุดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟก เมื่อเราเห็นการแข่งขันอย่างเข้มข้นใน 4 สาขาที่มีผลคะแนนเสมอกัน สาขาเหล่านี้ได้แก่ การบริหารจัดการ (Administration) การศึกษา (Education) การใช้พื้นที่และการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม (Land Use and Environmental Management) และ อาคารอัจฉริยะ (Smart Building) ผู้ชนะเลิศรางวัล IDC Smart City Asia Pacific Awards 2017 มีดังต่อไปนี้ โครงการสมาร์ทซิตี้ในเอเชียแปซิฟิกในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ได้แสดงให้เห็นถึงการพัฒนาประเทศอย่างจริงจังที่มุ่งเน้น ไปเพื่อการพัฒนาโดยมีประชากรในประเทศเป็นศูนย์กลาง ภายใต้แนวคิด "ลงทุนน้อย แต่ส่งผลเป็นวงกว้าง" ทั้งหมดมีเป้าหมายในเรื่องการดึงดูดบุคลากรที่มีทักษะและการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในสัดส่วนที่เหมาะสม" นายเจอหราด หวัง หัวหน้าส่วนงาน ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก IDC Government Insights นายหวังกล่าวเสริม "เศรษฐกิจสังคมเหล่านี้กำลังมุ่งไปสู่การสร้างระบบแวดล้อมที่เหมาะกับท้องถิ่นและมีคุณภาพมากขึ้น ซึ่งได้รับผลกระทบมาจากแรงขับเคลื่อนด้านการค้าระหว่างประเทศและภูมิภาค ความล้มเหลวของข้อตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก หรือ TPP และความพยายามของประเทศจีนในการขยายอำนาจความเป็นผู้นำระดับโลกของตนเองด้วยการผลักดันนโยบาย Belt and Road Initiative จะยังคงเป็นแรงกระตุ้นในการปรับเปลี่ยนการค้าและนวัตกรรมในภูมิภาคนี้" ในช่วงต้นปีของปีนี้ ไอดีซี ได้คาดการแนวโน้มที่จะปรับเปลี่ยนโครงการสมาร์ทซิตี้ในปี 2017 และ ปีต่อ ๆ ไป อาทิ: เศรษฐกิจเมืองที่ยั่งยืน: การบริหารจัดการความเสี่ยง ลดการขาดทุนงบประมาณรายจ่ายประจำปี และหนี้สาธารณะ และ การบริหารจัดการนโยบายการเงิน ความปลอดภัยบนไซเบอร์และกฏระเบียบทั่วทั้งประเทศ: การเพิ่มการสอดส่องดูแลและหน้าที่ความรับผิดชอบ การขยายขอบเขตความรับผิดชอบและความโปร่งใส รวมถึงการสร้างความแข็งแกร่งให้กับระบบการรักษาความปลอดภัยและการปกป้องความเป็นส่วนบุคคลของประชาชน ประชากรแห่งอนาคต: โครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการไปสู่เศรษฐกิจสังคม การฟื้นฟูอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจและลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมที่จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอาชญากรรม ความเสี่ยงเรื่องปัญหาที่อยู่อาศัย และ ความเสี่ยงของการเกิดโรคเรื้อรังที่เพิ่มสูงขึ้น เมืองแห่งอนาคต: ระบบโครงสร้างพื้นฐานยุคหน้าสำหรับสมาร์ทซิตี้ การเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงด้านประชากรศาสตร์ ที่มาจาก การลงทุนในด้านโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ เช่นการขยายตัวอย่างรวดเร็วของประชากรบางประเทศในภูมิภาคของเอเชีย (เช่น เมืองหรือจังหวัด) และอัตราส่วนการพึ่งพิงที่ลดอย่างเลวร้าย ซึ่งทั้งหมดนี้จะสร้างแรงกดดันต่อระบบต่าง ๆ เช่น การสื่อสารและโทรคมนาคม สุขภาพ การศึกษา การประกันสังคม การคมนาคมขนส่ง, และระบบความปลอดภัยของสาธารณะ การประกันอนาคต: การลงทุนที่ปลอดภัย และการพัฒนาบุคลากรที่ยั่งยืน การสนับสนุนต่าง ๆ เพื่อคงความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจที่การแข่งขันระหว่างประเทศกำลังเพิ่มขึ้น ในการที่จะรับประกันที่แน่นอนสำหรับการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศและการดึงดูดบุคลากรที่มีทักษะ ในสัดส่วนที่เหมาะสมเพื่อสร้างและปรับเปลี่ยนอุตสาหกรรมของประเทศ "แนวโน้มที่ระบุไว้ข้างต้นยังคงเป็นข้อเท็จจริงสำหรับโครงการสมาร์ทซิตี้ในหลายประเทศของภูมิภาคนี้ โดยหน้าที่หลักแล้ว นอกเหนือไปจากการมุ่งเป้าไปในสาขาด้านการรักษาความปลอดภัยสาธารณะและระบบการขนส่งในหลายปีที่ผ่านมา เรากำลังเห็นการลงทุนที่เพิ่มขึ้นในสมาร์ทซิตี้สาขาอื่น ๆ เช่น การศึกษา การดูแลรักษาสุขภาพครบวงจร การบริหารจัดการที่ดินและการรักษาสิงแวดล้อม อาคารอัจฉริยะ รวมถึงงานการบริหารจากหน่วยงานรัฐฯ สัญญาณเหล่านี้เป็นผลมาจากความพยายามของผู้บริหารหรือผู้วางแผนเมืองที่ต้องการเพิ่มศักยภาพของท้องถิ่นและพัฒนามาตรฐานชีวิต และความเป็นอยู่ของประชากร ซึ่งจะช่วยเสริมว่าสมาร์ทซิตี้ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเป็นของการเติบโตของความยั่งยืนทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศชาติยุคใหม่" นายหวัง กล่าว IDC Government Insights ได้ทำการเปรียบเทียบคุณสมบัติต่าง ๆ ในหกขั้นตอน เพื่อคัดเลือกผู้ชนะ Top Smart City ประจำปี 2016-2017 ที่มาของผู้ชนะได้มาจากการค้นหาและการจัดกลุ่มให้กับโครงการสมาร์ทซิตี้ที่โดดเด่นที่เกิดขึ้นในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยมาจากการคัดเลือกของนักวิเคราะห์ของไอดีซีในภูมิภาคนี้ (25%) การโหวตผลแสดงความคิดเห็นผ่านออนไลน์ (50%) และการประเมินจากสถาบันที่ปรึกษาระหว่างประเทศ (25%) หากท่านต้องการทราบรายละเอียดเกี่ยวกับกรณีศึกษาของผู้ชนะโครงการสมาร์ทซิตี้ทั้ง 14 สาขา IDC Government Insights Smart City Development Index ของปี 2016 – 2017 จะถูกตีพิมพ์และเผยแพร่ราวปี 2560 นี้ และหากท่านมีข้อสงสัยประการใดเกี่ยวกับงานวิจัยดังกล่าวนี้ สามารถติดต่อไปที่นาย เจอราด หวัง gwang@idc.com หากเป็นข้อมูลเกี่ยวกับรางวัล SCAPA ท่านสามารถเข้าไปยัง http://www.idc.asia/IDCSCAPA/ หากเกี่ยวกับสื่อประชาสัมพันธ์สามารถติดต่อได้ที่ Tessa Rago trago@idc.com หรือ Alvin Afuang at aafuang@idc.com

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ