ผลการดำเนินงานงบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2560 สำนักบริหารยุทธศาตร์กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน 1 สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย

ข่าวทั่วไป Thursday September 14, 2017 10:02 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--14 ก.ย.--สโกมาดิ กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน 1 เป็นกลุ่มจังหวัดในพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา/ป่าสัก ประกอบด้วย 4 จังหวัด (1) จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (2) จังหวัดปทุมธานี (3) จังหวัดนนทบุรี (4) จังหวัดสระบุรี ดำเนินงานโดย ดร.สุจินต์ ไชยชุมศักดิ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (ปฏิบัติหน้าที่เป็นหัวหน้ากลุ่มจังหวัด) นายสุรชัย ขันอาสา ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี นายนิสิต จันทร์สมวงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี และ นายบัณฑิตย์ เทวีทิวารักษ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน 1 มีพื้นที่เหมาะสมต่อการประกอบอาชีพเกษตรกรรมและเป็นศูนย์กลางคมนาคมเชื่อมโยงกับภูมิภาคต่างๆทั้งภาคเหนือ, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, ภาคตะวันออก มีพื้นที่ติดกับกรุงเทพมหานคร รวมทั้งเป็นที่ตั้งของสถาบันการศึกษา และนิคมอุตสาหกรรมจำนวนหลายแห่งทำให้เป็นพื้นที่น่าลงทุนและสะดวกต่อการท่องเที่ยว สำหรับปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน 1 ได้บูรณาการร่วมกันทั้ง 4 จังหวัดในการมุ่งมั่นที่จะพัฒนาเพื่อให้ประชาชนมีสุขภาวะที่ดี การกระจายรายได้สู่ชุมชน ภาคธุรกิจมีความสามารถการแข่งขันระบบนิเวศมีความสมดุลยั่งยืน ซึ่งได้รับการจัดสรรงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 รวมทั้งสิ้น 353,960,300 บาท (สามร้อยห้าสิบสามล้านเก้าแสนหกหมื่นสามร้อยบาทถ้วน) เพื่อดำเนินการครอบคลุม 3 ด้าน ดังนี้ 1. การพัฒนาการท่องเที่ยวในพื้นที่ ได้แก่ (1). พัฒนาศักยภาพศูนย์เรียนรู้แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร (2). พัฒนาพื้นที่ศูนย์บริการการท่องเที่ยว (3). ซ่อมผิวทางเส้นทางคมนาคมนำสู่แหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่ ผลที่ได้รับ คือ เพิ่มจำนวนและรายได้จากการท่องเที่ยว และสร้างความพึงพอใจให้กับนักท่องเที่ยว 2. การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ส่งเสริมการบริโภค และผลิตอาหารปลอดภัย ได้แก่ (1). พัฒนาผลิตภัณฑ์ ชุมชนและส่งเสริมอาหารโบราณของกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน 1 (2). พัฒนาเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการผลผลิตของผู้ประกอบการเกษตรระดับชุมชน จัดงานมหกรรมสินค้าเกษตรเชื่อมโยงการผลิตและการตลาด และเพิ่มศักยภาพการผลิตและการแข่งขันขององค์กรเกษตร ผลที่ได้รับ คือ พัฒนาและออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้กับผลิตภัณฑ์ชุมชนและพืชปลอดสารพิษ ลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกร กลุ่มอาชีพและเกษตรกรมีช่องทางจำหน่ายสินค้าเพิ่มขึ้น และให้ผู้ผลิตสินค้าในท้องถิ่นได้พบกับผู้ซื้อโดยตรง 3. ฟื้นฟูคุณภาพระบบนิเวศของแม่น้ำเจ้าพระยา/ป่าสัก ได้แก่ (1). พัฒนาลำคลองต่อเชื่อมแม่นำสายหลัก อาทิ การก่อสร้างท่อระบายน้ำ ก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่ง การปรับปรุงอ่างเก็บน้ำคลองเพรียว – เสาไห้ เชื่อมโยงกับแม่น้ำป่าสัก (2). พัฒนาระบบเฝ้าระวังและปรับปรุงคุณภาพน้ำทิ้ง (3). การติดตั้งตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม (4). เพิ่มความหลากหลายของสัตว์น้ำในท้องถิ่นในลุ่มน้ำเจ้าพระยา/ป่าสัก ผลที่ได้รับ คือ ระบบนิเวศของแม่น้ำเจ้าพระยา และลุ่มน้ำสาขาได้รับการดูแลฟื้นฟูและรักษาสภาพน้ำให้อยู่ในเกณฑ์คุณภาพที่เหมาะสม ความสำเร็จในการดำเนินการดังกล่าว เกิดจากความร่วมมือทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และสถาบันการศึกษาในพื้นที่ ที่ร่วมกันคิด ร่วมทำ และร่วมรับผิดชอบ กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน 1 จะสานต่อและพัฒนาการดำเนินการเชิงบูรณาการในมิติกลุ่มจังหวัด เพื่อให้สอดคล้องกับแผนงานและยุทธศาสตร์ในระดับชาติต่อไป

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ