ปภ.แนะผู้ขับขี่เรียนรู้วิธีปฏิบัติเบื้องต้นกรณีประสบอุบัติเหตุทางถนน

ข่าวทั่วไป Thursday September 28, 2017 16:34 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--28 ก.ย.--กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) แนะวิธีปฏิบัติตนในเบื้องต้น เมื่อประสบอุบัติเหตุ โดยประเมินสถานการณ์ และความรุนแรงของอุบัติเหตุ พร้อมรับมือเหตุการณ์อย่างมีสติ ระมัดระวังการเกิดอุบัติเหตุซ้ำ โดยเฉพาะในเส้นทางหลักที่รถใช้ความเร็วสูง สำรวจและตรวจสอบอาการของผู้ได้รับบาดเจ็บ พร้อมโทรศัพท์แจ้งข้อมูลการบาดเจ็บแก่หน่วยกู้ชีพกู้ภัย โทรศัพท์แจ้งตำรวจ แจ้งบริษัทประกันภัย ให้จัดส่งเจ้าหน้าที่ประกันภัยมาตรวจสอบรายละเอียดของอุบัติเหตุและความเสียหายของรถ รวบรวมพยานหลักฐานในที่เกิดเหตุ หากตกลงกับคู่กรณีไม่ได้ ควรให้เจ้าหน้าที่ตำรวจเป็นผู้ทำเครื่องหมายในที่เกิดเหตุ ก่อนเคลื่อนรถไปในจุดที่ปลอดภัย นายฉัตรชัย พรหมเลิศ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กล่าวว่า เมื่อประสบอุบัติเหตุทางถนน การเรียนรู้วิธีปฏิบัติในการแก้ไขเหตุฉุกเฉินเบื้องต้น ทำให้สามารถรับมือสถานการณ์ได้อย่างมีสติ จึงช่วยป้องกันอุบัติเหตุซ้ำซ้อน ลดความสูญเสียชีวิตและทรัพย์สิน เพื่อความปลอดภัย กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ขอแนะวิธีปฏิบัติตนในเบื้องต้นเมื่อประสบอุบัติเหตุทางถนน โดยตั้งสติ ควบคุมอารมณ์ ประเมินสถานการณ์และความรุนแรงของอุบัติเหต พร้อมรับมือเหตุการณ์อย่างมีสคิ ระมัดระวังการเกิดอุบัติเหตุซ้ำ โดยเฉพาะเส้นทางหลักที่รถใช้ความเร็วสูง ให้เปิดไฟฉุกเฉิน นำกิ่งไม้หรือกรวยสามเหลี่ยมสะท้อนแสงมาวางด้านหลังรถ เพื่อเตือนให้ผู้ร่วมใช้เส้นทางเพิ่มความระมัดระวัง หากยังมีสติ ไม่บาดเจ็บมากนัก ให้รีบออกจากรถโดยเร็ว เพื่อป้องกันอันตรายจากเพลิงไหม้รถ พร้อมรอการช่วยเหลือในบริเวณที่ปลอดภัย เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุซ้ำ สำรวจและตรวจสอบอาการผู้ได้รับบาดเจ็บ พร้อมโทรศัพท์แจ้งข้อมูลการบาดเจ็บต่อ หน่วยกู้ชีพกู้ภัย จะได้วางแผนการช่วยเหลือในเบื้องต้นอย่างถูกต้อง กรณีผู้ประสบเหตุหมดสติ ไม่หายใจ และเสียเลือดมาก ให้ทำการปฐมพยาบาลในเบื้องต้น ห้ามเคลื่อนย้ายผู้ประสบเหตุด้วยตนเอง เพราะอาจทำให้พิการหรือเสียชีวิตได้ โทรศัพท์แจ้งตำรวจ ตรวจสอบพื้นที่เกิดเหตุ และลงบันทึกประจำวันไว้เป็นหลักฐาน ซึ่งตำรวจจะเป็นผู้สั่งให้เคลื่อนย้ายรถออกจาก ที่เกิดเหตุ แจ้งบริษัทประกันภัย ให้จัดส่งเจ้าหน้าที่ประกันภัยมาตรวจสอบรายละเอียดของอุบัติเหตุ และความเสียหายของรถ รวมถึงจัดเตรียมสำเนาเอกสารที่สำคัญไว้ประจำรถ เช่น ทะเบียนรถ กรมธรรม์ประกันภัย บัตรประชาชน ใบอนุญาตขับรถ เป็นต้น สำหรับใช้ดำเนินคดี หรือเรียกร้องค่าเสียหาย เมื่อสามารถตกลงกับคู่กรณีได้แล้วให้เคลื่อนรถออกจากที่เกิดเหตุไม่ให้กีดขวางช่องทางจราจร เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุซ้ำรวบรวมพยานหลักฐานในที่เกิดเหตุ โดยถ่ายรูปที่เกิดเหตุ และสภาพรถ หลังประสบอุบัติเหตุให้มากที่สุด หากตกลงกับคู่กรณีไม่ได้ ควรแจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจเป็นผู้ทำเครื่องหมายในที่เกิดเหตุ ก่อนเคลื่อนรถไปในจุดที่ปลอดภัย ทั้งนี้ กรณีประสบอุบัติเหตุแล้วคู่กรณีหลบหนี ควรจดทะเบียนรถคู่กรณี บันทึกวัน เวลา และสถานที่เกิดเหตุ พร้อมแจ้งความต่อสถานีตำรวจท้องที่เกิดเหตุ โดยระบุในใบแจ้งความว่า เพื่อดำเนินคดี และแจ้งบริษัทประกันรถยนต์

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ