87 เปอร์เซ็นต์ของบริษัทภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมองว่าซอฟต์แวร์สำคัญอย่างยิ่งต่อการเปลี่ยนผ่านดิจิตอล

ข่าวเทคโนโลยี Wednesday December 6, 2017 12:11 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--6 ธ.ค.--ไอเดีย เวิร์คส์ คอมมิวนิเคชั่นส์ 87 เปอร์เซ็นต์ของบริษัทภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมองว่าซอฟต์แวร์สำคัญอย่างยิ่งต่อการเปลี่ยนผ่านดิจิตอล แต่พบปัญหาขาดมือไอที่พัฒนาซอฟต์แวร์ ผลการศึกษาใหม่ยังได้ชี้ให้เห็นว่า บริษัทที่เหนือชั้นด้านซอฟแวร์ในเอเชียแปซิฟิกมีขีดความสามารถในการปรับตัวเพื่อใช้ซอฟต์แวร์ให้บรรลุเป้าหมายทางธุรกิจที่ดีกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่ง ในระดับโลก ผลการสำรวจใหม่ของ ผู้บริหารไอทีระดับสูงและผู้บริหารทางธุรกิจโดยบริษัทซีเอ เทคโนโลยีชี้ขาดความสำคัญทางยุทธศาสตร์ที่เติบโตขึ้นของการพัฒนาซอฟต์แวร์ในวงการธุรกิจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยผู้บริหารกว่า 87% ได้ระบุว่าหลีกเลี่ยงไม่ได้เลยที่จะต้องนำซอฟต์แวร์มาใช้เผื่อเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิตอล ซอฟต์แวร์คือตัวขับเคลื่อนคุณค่าทางธุรกิจที่สำคัญในทุกวันนี้ จากข้อมูลของงานวิจัย "อย่าปล่อยให้ยุทธศาตร์ซอฟต์แวร์ที่ล้าสมัยมาเป็นอุปสรรค" ที่ใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า Don't Let an Outdated Software Strategy Hold You Back" พบว่ามีผู้ตอบแบบสอบถามมากกว่า 95% ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกได้ระบุว่าซอฟต์แวร์คือสิ่งที่จำเป็นและมีความสำคัญในการขับเคลื่อนการเติบโตและการขยายธุรกิจในตลาดปัจจุบัน โดยมีจำนวน 87% ได้ระบุว่า คือหัวใจสำคัญในการสร้างโปรดักส์และเซอร์วิส ใหม่ๆในการเข้ารุกตลาดใหม่ๆ ผลการวิจัยนี้ได้แสดงให้เห็นว่าภาคธุรกิจในเอเชียแปซิฟิกได้ตระหนักถึงความสำคัญของซอฟต์แวร์ในการที่เป็นตัวชี้วัดความได้เปรียบในการแข่งขันและช่วยให้ในการสร้างธุรกิจยุคใหม่ ที่พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงหรือเปลี่ยนแปรรูปธุรกิจแบบเดิม ไปสู่ทิศทางใหม่ โดยมีถึง 89 เปอร์เซ็นต์ของบริษัทได้ชี้ให้เห็นว่าซอฟต์แวร์คือตัวแปรสำคัญอย่างยิ่งที่ช่วยให้ธุรกิจยังแข่งขันได้ในทุกวันนี้ บริษัทต่างๆในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ได้มองเห็นว่าซอฟต์แวร์มีความสำคัญในแง่เป็นแพลตฟอร์มที่สนับสนุนแนวคิดทางธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับลูกค้าดังนี้ • 91 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบแบบสอบถามระบุว่าซอฟแวร์มีความจำเป็นสำหรับตนในการนำเสนอประสบการณ์การใช้งานที่ดีกว่าสำหรับลูกค้า • 89 เปอร์เซ็นต์ระบุว่า จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปรับปรุงข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับความต้องการและความจำเป็นที่ลูกค้าของตน • 82 เปอร์เซ็นต์ระบุว่า จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องจัดวางโพสิชั่นนิ่งของบริษัทใหม่ ในรูปแบบของแบรนด์ "ซอฟต์แวร์จำเป็นอย่างยิ่งทั้งในแง่การเป็นตัวช่วยทำธุรกิจที่สำคัญและการสร้างความแตกต่างที่เหนือกว่าใน ธุรกิจยุคเศรษฐกิจแอพพลิเคชั่นที่มีการเปลี่ยนแปลงและการแข่งขันสูง โดยจะเป็นตัวจักรสำคัญ ของบริษัทระดับเอ็นเตอร์ไพรส์ขนาดใหญ่ ที่จะรับมือการใช้งานของลูกค้าและมีประสิทธิภาพในแง่การรับรู้และตอบสนองต่อความต้องการใหม่ๆ ตลอดทั้งภัยคุกคามและโอกาสทางธุรกิจใหม่ที่เข้ามา" มาร์ติน แม็คเคย์ประธานและผู้จัดการทั่วไปประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่นบริษัทซีเอ เทคโนโลยีกล่าวพร้อมกับเสริมว่า " ไม่ว่าคุณจะอยู่ในอุตสาหกรรมใด ทุกๆ แบรนด์จะแสดงตัวตน สื่อสารและถูกตัดสินคุณค่าที่มี ผ่านตัวเทคโนโลยีที่ใช้ในการสร้างประสบการณ์การใช้งานของลูกค้า " ช่องว่างยังห่างในเรื่องลำดับความสำคัญของซอฟต์แวร์และศักยภาพที่มี อย่างไรก็ตามในขณะที่ภูมิภาคบริษัทในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่นจะได้ตระหนักถึงบทบาทสำคัญที่ขาดไม่ได้ของซอฟต์แวร์ในการช่วยให้บรรลุเป้าหมายตามลำดับความสำคัญทางธุรกิจที่ตัวเองมี โดย 92% ของผู้ตอบแบบสอบถามได้ชี้ให้เห็นว่าเป็นหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องมีการจัดลำดับความสำคัญของการพัฒนาซอฟต์แวร์ ให้ตรงตามเป้าหมายทางธุรกิจ อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าประเด็นนี้จะถูกมองว่าเป็นเรื่องที่มีความสำคัญมากที่สุดในด้านซอฟต์แวร์ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก แต่กลับมีเพียง 23% ที่ตอบว่าทีมไอทีของตนมีประสิทธิภาพอย่างยิ่งในการบรรลุเป้าหมายนี้ โดยช่องว่างของขีดความสามารถด้านซอฟต์แวร์ที่มี มีดังนี้ ผู้ตอบแบบสอบถามที่ชี้ว่า เป้าหมายนี้สำคัญต่อการพัฒนาทางธุรกิจ ผู้ตอบแบบสอบถามที่ระบุว่าทีมไอทีมีประสิทธิภาพอย่างยิ่งในการบรรลุเป้าหมายนั้น เป้าหมายการรักษาความปลอดภัยที่เป็นหนึ่งเดียวกับการพัฒนา กระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ 89% 30% เป้าหมายการออกแบบแอพพลิเคชั่นและระบบที่มีการปรับปรุงเชิงคุณภาพและความต่อเนื่อง 89% 28% เป้าหมายการบรรลุถึงข้อมูลเชิงลึกว่าลูกค้าต้องการให้ปรับปรุงประสิทธิภาพแอพพลิเคชั่นและการตอบสนองอย่างไร 89% 29% จะเห็นได้ว่าถึงแม้ซอฟต์แวร์จะเป็นตัวเปลี่ยนผ่านสำคัญสำหรับการเติบโตของบริษัทต่างๆ แต่การสำรวจนี้ยังพบว่าส่วนใหญ่ของบริษัทและองค์กรต่างๆยังขาดแคลนขีดความสามารถทางด้านไอทีที่จำเป็น ซึ่งตรงนี้จะเป็นอุปสรรคขัดขวางความสามารถในการพัฒนาและนำเสนอซอฟต์แวร์ที่จำเป็นต่อการสนับสนุนบรรลุเป้าหมายทางธุรกิจ แนวคิดระบบการผลิตซอฟต์แวร์สมัยใหม่คือทางออกที่เหนือกว่า เพื่อที่จะแก้ปัญหาตรงนี้บริษัทซีเอ เทคโนโลยีเชื่อว่าบริษัทต่างๆจำเป็นที่จะต้องสร้างระบบการผลิตซอฟต์แวร์สมัยใหม่ ที่จะช่วยให้สามารถแข่งขันได้ในระบบเศรษฐกิจ แอพพลิเคชั่นที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วโดยบรรลุเป้าหมายและไปให้ไกลเกินกว่าความคาดหวังด้วยการนำเสนอแอพพลิเคชั่นที่ มีความสมบูรณ์แบบและสร้างประสบการณ์การใช้งานที่เหนือกว่าสำหรับลูกค้า การวิจัยครั้งนี้ได้ตรวจสอบ พิจารณาดูว่าแต่ละบริษัทสามารถบรรลุเป้าหมาย 4 ข้อหลักของระบบการผลิตซอฟต์แวร์สมัยใหม่ได้อย่างไรบ้างนั่นคือ ความยืดหยุ่น ระบบอัตโนมัติ ข้อมูลเชิงลึกและการรักษาความปลอดภัยโดย พบว่ามี 24 เปอร์เซ็นต์ของบริษัทในเอเชียแปซิฟิกเป็นบริษัทระดับเหนือชั่น ที่มีขีดความสามารถเชี่ยวชาญในการใช้งานระบบผลิตซอฟต์แวร์สมัยใหม่ โดยบริษัทเหล่านี้จะมีผลกำไรที่มียอดเติบโตสูงกว่าบริษัทอื่นทั่วไปกว่า 70 เปอร์เซ็นต์และมียอดรายรับที่สูงกว่า 50% โดยเฉลี่ย ผลการสำรวจนี้ได้แสดงให้เห็นว่า บริษัทที่มีความเชี่ยวชาญเรื่องซอฟต์แวร์จะ เหนือกว่าในแง่ของวิสัยทัศน์ ยุทธศาสตร์และขีดความสามารถในการแข่งขันและประสบความสำเร็จในยุคปัจจุบันเมื่อเปรียบเทียบกับบริษัทโดยทั่วไป • ผู้ตอบแบบสอบถามเห็นด้วยกับความเห็นที่ว่าบริษัทของตนมีวิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์ที่ถูกต้องในการบรรลุเป้าหมายในยุคเศรษฐกิจแอพพลิเคชั่นมากกว่าบริษัททั่วไปถึง 5.7 เท่าซึ่งค่าเฉลี่ยตรงนี้สูงกว่าค่าเฉลี่ยระดับโลกที่มีแค่เพียง 4.4 เท่า • ผู้ตอบแบบสอบถามเห็นด้วยกับความเห็นที่ว่าบริษัทได้ดำเนินการไปอย่างรวดเร็วเพียงพอที่จะเอาชนะคู่แข่งขัน มากกว่าถึง 3 เท่า เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยระดับโลก ที่มีเพียง 2.7 เท่า บริษัทที่เชี่ยวชาญในด้านซอฟต์แวร์ในเอเชียแปซิฟิกยังมีขีดความสามารถมากกว่าในการนำเอาความได้เปรียบทางด้านซอฟต์แวร์มาสร้างผลลัพธ์ที่ดีกว่าเมื่อเทียบกับบริษัทอื่นๆโดยทั่วไป • บริษัทที่มีความเชี่ยวชาญจะมีประสิทธิภาพมากกว่าในการจัดลำดับความสำคัญของการพัฒนาซอฟต์แวร์ให้ตรงกับเป้าหมายทางธุรกิจ มากกว่าบริษัททั่วไปถึง 4.1 เท่าซึ่งค่าเฉลี่ยตรงนี้สูงกว่าค่าเฉลี่ยระดับโลกที่มีเพียง 3.5 เท่า • บริษัทที่มีความเชี่ยวชาญในด้านนี้จะมีประสิทธิภาพมากกว่า ในการนำเสนอแอพพลิเคชั่นที่มีการปรับปรุงทั้งคุณภาพและความต่อเนื่อง มากกว่าบริษัทโดยทั่วไปถึง 2.8 เท่าซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยระดับโลกที่มีอยู่เพียง 2.2 เท่า เคล็ดลับความสำคัญเบื้องหลังความสำเร็จของบริษัทเหล่านี้ก็คือความเต็มใจที่จะยอมรับการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เข้ามา โดยมี 48 เปอร์เซ็นต์ของผู้นำทางธุรกิจในบริษัทชั้นนำเหล่านี้ได้เห็นด้วยอย่างยิ่งว่าตนมีความพร้อมที่จะนำเอายุทธศาสตร์ การใช้ซอฟต์แวร์เป็นตัวขับเคลื่อนธุรกิจมาใช้งาน ในขณะที่บริษัทโดยทั่วไปเห็นด้วยกับเรื่องนี้เพียง 17% นอกจากนั้นมากกว่าครึ่งหรือ 55 เปอร์เซ็นต์ได้เห็นด้วยอย่างยิ่งกับความเห็นที่ว่าบริษัทของตน มีวัฒนธรรมทางธุรกิจที่สนับสนุนการกล้าเสี่ยง ในขณะที่ตรงจุดนี้ของบริษัททั่วไปมีเพียง 15 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบแบบสอบถามเท่านั้น อีกหัวใจของความสำเร็จที่เป็นตัวแปรสำคัญก็คือการเน้นเจาะละเอียดในเรื่องความจำเป็นที่ลูกค้าต้องการโดยมีกว่า 57 เปอร์เซ็นต์ของบริษัทชั้นนำในภูมิภาคนี้ได้เห็นด้วยว่าตนได้เข้าใจ ถึงความจำเป็นที่ลูกค้ามีและนำเสนอประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดสำหรับลูกค้า ในขณะที่บริษัททั่วไป มีการตอบเรื่องนี้เพียง 18 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น "การเข้าใช้ประโยชน์จากพลังของความยืดหยุ่นปรับตัวและระบบอัตโนมัติรวมทั้งข้อมูลเชิงรุกของลูกค้า ตลอดจนซอฟต์แวร์การรักษาความปลอดภัยจะช่วยให้บริษัทชั้นนำเหล่านี้สามารถสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันเหนือคู่แข่งโดยสามารถสร้างและนำเสนอประสบการณ์การใช้งานใหม่ๆ เปลี่ยนไอเดียแปลกใหม่ให้เป็นโซลูชั่นที่ใช้งานได้จริง ด้วยจังหวะเวลาที่เร็วที่สุด" มาร์ติน แมคเคย์ กล่าวพร้อมกับเสริมว่า "บริษัทและองค์กรต่างๆในเอเชียแปซิฟิกจำเป็นที่จะต้องตระหนักและเข้าใจว่า ทุกๆบริษัทในทุกวันนี้ก็คือบริษัทซอฟต์แวร์ทั้งสิ้น ดังนั้นถ้าไม่มีวิธีการสมัยใหม่ในการบริหารจัดการซอฟต์แวร์ก็จะต้องล้าหลังในโลกที่ผู้เชี่ยวชาญเรื่องซอฟต์แวร์จะเป็นผู้ชนะในตลาดในที่สุด" ระเบียบวิธีวิจัย ผลการสำรวจออนไลน์ระดับโลก ของผู้บริหารและผู้บริหารธุรกิจจำนวน 1279 ราย และมีผู้ตอบแบบสอบถาม 575 รายในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก การวิจัยในครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนโดยบริษัทซีเอ เทคโนโลยีและดำเนินการโดย บริษัทวิจัย Freeform Dynamics Intelligence Unitในเดือนกรกฎาคม 2017 และยังได้เพิ่มเจาะลึกการสำรวจด้วยการพูดคุยทางโทรศัพท์เชิงลึกกับผู้บริหาร ในอุตสาหกรรมหลักๆ สำหรับประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่มีการสำรวจในครั้งนี้ ได้แก่ออสเตรเลีย จีน ฮ่องกง อินเดีย ญี่ปุ่นสิงคโปร์และเกาหลีใต้
แท็ก เอเชีย   ไอที  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ